นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

พัฒนาการของการใช้จุลินทรีย์และสารธรรมชาติในการเพิ่มผลผลิต (๒)


วันนี้เรามาติดตามต่อในส่วนกลางของบทความที่กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของพัฒนาการใช้จุลินทรีย์และสารธรรมชาติในการเพิ่มลผลิตเห็ดกันต่อโดยในส่วนนี้จะกล่าวถึงบาซิลลัส ซับธิลิส พลายแก้วในการป้องกันกำจัดเชื้อราโรคพืชและเห็ด ซึ่งท่านอาจารย์ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรตินายกสมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย ได้เล่าถึงที่มาที่ไปกว่าจะได้มาซึ่งบีเอสพลายแก้วมาให้พวกเราได้นำไปใช้เผยแพร่และใช้ประโยชน์ในเชิงเกษตรกันตราบเท่าทุกวันนี้เชิญติดตามครับ

...การใช้ บาซิลลัส ซับทิลิส(บีเอส) (Bacillus subtilis ; Bs.) มาหมักขยายให้ได้จำนวนมากและนำไปใช้ควบคุมเชื้อราโรคพืชต่างๆรวมทั้งราเขียวในเห็ดได้เกิดขึ้นภายหลังความสำเร็จจากการขยายเชื้อบีทีและยังได้นำไปใช้กระตุ้นเส้นใยให้สร้างดอกเห็ดเพิ่มขึ้นด้วย

เมื่อกว่า ๓๐ ปีก่อน ในหนังสือMushroom Science เล่ม ๔ มีเรื่องการพบเชื้อ บาซิลลัสชนิดหนึ่งปนเปื้อนในอาหารเลี้ยงเห็ด Psilocybe หรือเห็ดขี้ควายทำให้เกิดเขตแนวยับยั้งเส้นใยเห็ด และไม่สามารถเจริญเข้าใกล้แบคทีเรียได้แต่มีผลทำให้เส้นใยเห็ดรวมตัวกันแล้วสร้างดอกเห็ดขึ้นมาในขณะที่เชื้อเห็ดบนอาหารปรกติยังไม่สร้างดอกเห็ดเลยนักเพาะเห็ดญี่ปุ่นรายนี้ได้เพ่าะขยายเชื้อบาซิลลัสแล้วนำไปใส่แปลงเพาะเห็ดแชมปิฌอง ทำให้ผลผลิตเห็ดเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า ๑๐เปอร์เซ็นต์

เชื้อแบคทีเรียยับยั้งเชื้อราใกล้เคียงที่สามารถพบได้บ่อยๆในห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาในสถาบันการศึกษาและงานวิจัยทั่วไปเชื้อแบคทีเรียนี้มักเป็นเชื้อบาซิลลัส ซับทิลิส จากดิน น้ำ และอากาศการพัฒนาการใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่เป็นการให้เอกชนระดับนายทุนหาวิธีผลิตให้เป็นชีวภัณฑ์สำเร็จรูปเพื่อขายเอากำไรอย่างเดียวโดยไม่หวังพัฒนาองค์ความรู้ของเกษตรกร งานศึกษาวิจัยและพัฒนาการใช้บีเอสยังมีมากในการป้องกันกำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

พ.ศ. ๒๕๔๓มีวิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาโรคพืชวิทยา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์โดยคุณนริสา จันทร์เรือง เรื่อง“การคัดเลือกแบคทีเรียปฏิปักษ์ในการควบคุมเชื้อ Phytophthorabotryose ของยางพาราโดยชีววิธี”

งานชิ้นนี้ยังเป็นงานการป้องกันกำจัดโรคพืชของพืชสีเขียวยังไม่เกี่ยวข้องกับเห็ด

พ.ศ. ๒๕๔๓ พากเพียร อรัญนารถ, นงรัตน์ นิลพานิชย์, วิชิตศิริสันธนะ และสมคิด ดิสถาพร เสอนผลงานวิจัย “ประสิทธิ์ภาพของชีวภัณฑ์ Bacillus subtilis ในการควบคุมโรคกาบใบแห้งของข้าว” ในข่าวสารโรคพืชและจุลชีววิทยา ปีที่ ๑๐ เล่ม ๒ (พฤษภาคม-สิงหาคม๒๕๔๓) หน้า ๒-๘

พ.ศ. ๒๕๔๕ วารสารโรคพืชปีที่๑๖ เล่มที่ ๑-๒ (มกราคม-ธันวาคม ๒๕๔๖) ลงบทความเรื่อง “ประสิทธิภาพของรา Trichoderma harzianum และแบคทีเรีย Bacillussubtilis ในการป้องกันโรครากเน่าไฟทอฟธอราของส้มเขียวหวานในเรือนทดลอง”ผู้เขียนบทความคือ อมรรัชฎ์ คิดใจเดียวและจิรเดช แจ่มสว่างพบว่า Bacillus subtilis ลดการเกิดรากเน่าของส้มจาก Phytophyhoraได้ดี

พ.ศ. ๒๕๔๕ คุณอัจฉรา พยัพพานนท์ กองโรงพืชและจุลชีววิทยาได้เขียนบทความเรื่องวัสดุที่ใช้เพาะเห็ดยานางิลงในข่าวสารเพื่อผู้เพาะเห็ด ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๒ (พฤษภาคม – สิงหาคม ๒๕๔๕ ) หน้า๒๑-๒๗ มีเรื่องพาดพิงถึง Bacillus subtilis จากการทบทวนรายงานของStolze และ Grabbe (๑๙๙๑)ที่ว่าการนำก้อนเชื้อเก่าของเห็ดถุง มาผสมวัสดุใหม่ใช้ทำเชื้อเห็ดถุงหากวัสดุเพาะมี Bacillus subtilisจะยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Trichoderma hamatum (ราเขียว) Mucorsp. (ราข้าวหมาก) Fusarium equiseti (รากินท่อน้ำท่ออาหารของพืชผัก)และ Gilmaniella husicola กับเห็ดนางรม เห็ด K.mutabilis และเห็ดหอมแต่เห็ดยานางิยังคงเจริญอยูได้ (เอกสารที่อ้าง หน้า ๒๓)

พ.ศ. ๒๕๔๖ คุณพลายแก้ว เพชรบ่อแก นิสิตคณะประมงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบเชื้อ Bacillussubtilis จากกุ้งแห้ง เป็นเชื้อไอโซเลทที่มีความสามารถสูงในการยับยั้งเชื้อแอสเปอร์จิลลัส ที่บังเอิญปนเปื้อนลงในจานเลี้ยงเชื้อ และเจริญขึ้นพร้อมกันจึงนำเชื้อนี้มาแยกให้เป็นเชื้อบริสุทธิ์ และตั้งชื่อเป็น “บีเอส พลายแก้ว”

ต่อมานายปรเมษฐ์ ขวัญอยู่ได้นำเชื้อ Bacillus subtilis สายพันธุ์พลายแก้วมาทดสอบความสามารถในการยับยั้งเชื้อราโรคพืชต่างๆที่พบเป็นเชื้อสามัญทั่วไปกับพืชในประเทศไทย โดยขอตัวอย่างเชื้อจากกรมวิชาการเกษตรภาควิชาโรคพืช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และแยกเชื้อเองจากพืชที่เป็นโรค

พ.ศ. ๒๕๔๗ ปรเมษฐ์ขวัญอยู่ ๔๓๐๔๒๖๔๗นิสิตภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เสนอผลงานวิจัยย่อย “ปัญหาพิเศาระดับปริญญาตรี) เรื่อง“การยับยั้งการเจริญของเชื้อราก่อโรคโดยเชื้อแบคทีเรีย Bacillus subtilis สายพันธุ์พลายแก้ว”ว่าเชื้อนี้สามารถยับยั้งเชื้อ Colletotrichum capsici, C. gleosporioides,Rhizoctonia sp., Acremonium sp. ได้ดี ที่ยับยั้งได้รองลงมาคือ Tricodermasp. และ Phytophthora parasitica แต่ในการทดลองนี้ไม่สามารถยับยั้งsclerotium sp. แต่กลับเสริมการเจริญของเชื้อนี้

ในงานวิจัยนี้ได้ทดลองขยายเชื้อแบบง่ายๆตามแบบของสุภศิษฎ์ เปรมัษเฐียร (๒๕๔๖)ที่ใช้กับบีที พบว่าได้ผลเช่นเดียวกันและพบว่าเชื้อนี้ตอบสนองต่อน้ำมะพร้าวดีเป็นพิเศษโดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำมะพร้าวอ่อน เชื้อเพิ่มจำนวนได้ถึง ๑ x ๑๐๑๒ ภายใน ๒๔-๔๘ ชั่วโมง

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษwww.thaigreenagro.com




Create Date : 17 พฤษภาคม 2555
Last Update : 17 พฤษภาคม 2555 8:09:45 น. 0 comments
Counter : 1305 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]