นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

เห็ดให้ผลผลิตดี เมื่อมีความชื้นที่คงที่

เราเคยสังเกตกันไหมครับว่าทุกฤดูฝนจะมีเห็ดจากธรรมชาติออกมาให้เราได้บริโภครับประทานกันทุกฤดูกาลและมีหลากหลายชนิดของเห็ดเท่าที่คนเก็บของป่าจะนำออกมาขายได้และในฤดูกาลนี้ก็มักจะมีข่าวชาวบ้านบริโภคเห็ดพิษเห็ดเมาเจ็บป่วยและตายลงไปด้วยเช่นกันเนื่องด้วยว่ามีเห็ดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติออกมามากมายหลากหลายชนิดให้เราได้เลือกเก็บเลือกกิน สภาพแวดล้อมและอุณหภูมิที่เหมาะสมช่วยเกื้อหนุนค้ำจุนให้เห็ดเจริญเติบโตได้อย่างสม่ำเสมอความชื้นช่วยทำเส้นใย (mycelium) ของเห็ดสามารถที่จะพัฒนาเจริญเติบโตไปตามกระบวนการได้อย่างสม่ำเสมอและรวดรวดเร็วเมื่อพัฒนาจนครบระยะก็จะเกิดดอกเห็ดออกมา

ในการเพาะเห็ดที่เลียนแบบธรรมชาติทุกชนิดจึงควรให้ความเอาใจใส่กับความชื้นเป็นพิเศษคือพยายามให้สภาวะแวดล้อมที่เพาะเห็ดนั้นสามารถกักเก็บ ควบคุมอุณหภูมิให้มีความชื้นได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ผันแปรไปตามสภาวะแวดล้อมภายนอกซึ่งในปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงค่อนข้างสูงและหลากหลายวันหนึ่งมีหลายบรรยากาศเดี๋ยวเช้าหนาว กลางวันร้อน เย็นฝนตก เป็นต้นถ้าปล่อยให้เห็ดเป็นไปตามยถากรรมก็จะทำให้ผลผลิตเห็ดออกมาน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดอีกทั้งทำให้ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนอันนี้ผู้เพาะเห็ดรายใหม่จึงต้องระมัดระวังและให้ความสนใจเป็นพิเศษเนื่องด้วยประการณ์ในการแก้ไขปัญหาต่างๆนั้นยังน้อยอยู่

การให้ความชื้นแก่เห็ดจะแตกต่างจากการให้น้ำพืชที่สามารถใช้น้ำรดให้เปียกชุ่มโชกเหมือนฝนตกสัมผัสได้ทุกสัดส่วนของต้นไม้ก็ไม่เป็นไรแต่เห็ดถ้าทำอย่างกรณีเดียวกันบางครั้งอาจจะทำให้เห็ดบอบช้ำเน่าเสียได้ง่ายความจริงถ้าเป็นการเพาะแบบโรงเรือนก็ควรที่จะรักษาความชื้นสัมพัทธ์ในโรงเรือนให้สม่ำเสมอด้วยการราดรดที่พื้น ด้านข้างก้อนหรืออาจจะใช้ทรายมารองพื้นเพื่อกักเก็บดูดซับรักษาความชื้นไว้ให้ได้นานที่สุดโดยที่ไม่จำเป็นต้องฉีดพ่นเสปรย์ผ่านหน้าก้อนอยู่ตลอดเวลาทุกครั้งก็ได้(ถ้ามีความชื้นสัมพันธ์ในโรงเรือนที่เพียงพอ และอากาศตามฤดูกาลไม่ร้อนจัดมากเกินไป) การใช้สารอุ้มน้ำ “โพลิเมอร์” (CrosslinkedCopolymer of Acrylamide and PotassiumAcrylate) ซึ่งมีความสามารถดูดกักเก็บน้ำได้มากถึง 200 เท่าเมื่อนำไปไว้ในโรงเรือนเห็ดสามารถที่จะให้ความชื้นระเหยออกมาสู่บรรยากาศภายในโรงเรือนได้ตลอดเวลาเมื่อสภาพอากาศเริ่มเหือดแห้งลดลงไป อีกทั้งการนำโพลิเมอร์ไปโรยบนหน้าก้อนเห็ดที่เดินเต็มก้อนแล้วโดยพับหรือตัดปากถุงให้เหลือพื้นที่เหนือก้อนเชื้อประมาณ1 ถึง 2 เซนติเมตร ก็จะเป็นการคลุมผิวหน้าก้อน (Casing) เพื่อรักษาความชื้นให้แก่ก้อนเห็ดได้ตลอดเวลาเมื่อวางไว้ตามใต้ร่มไม้ชายคาหรือสวนยางสวนปาล์มก็จะสามารถให้ผลผลิตเห็ดออกมาได้โดยที่ไม่ต้องใช้โรงเรือนที่อาจจะเป็นการสิ้นเปลืองต้นทุนมากเกินไปเหมาะสำหรับผู้ที่มีสวนป่า สวนยาง สวนปาล์มและต้องการให้มีเห็ดไว้รับประทานใต้โคนต้นไม้

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปอลดสารพิษ www.thaigreenagro.com




Create Date : 26 สิงหาคม 2556
Last Update : 26 สิงหาคม 2556 11:56:03 น. 0 comments
Counter : 1502 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]