นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

การสร้างสปอร์หรือหัวเชื้อเห็ดสามารถทำได้ไม่ต้องรอ

เมื่อเราได้ทราบว่าการเกิดดอกเห็ดนั้น จะต้องมีเมล็ดหรือสปอร์เห็ดเป็นหัวเชื้อ ซึ่งจะต้องอาศัยดอกเห็ดแก่มาบดขยำตำกับน้ำเพื่อให้ได้สปอร์แพร่กระจายไปราดรดบนวัสดุที่เป็นแหล่งอาหารของเห็ดแต่ละชนิด ทีนี้เราลองมาศึกษาเรียนรู้พัฒนาผลิตหัวเชื้อเห็ดเองให้ได้เพื่อจะได้ไม่ต้องรอโชคลาภวาสนาให้ลมพัดพาสปอร์ปลิวมาตก เพราะกว่าจะปลิวมา กว่าจะได้ชนิดเห็ดที่ต้องการคงจะต้องใช้ระยะเวลานานและไม่แน่นอน ผู้ที่ชื่นชอบรับประทานเห็ดเป็นชีวิตจิตใจจึงควรที่จะต้องผลิตหัวเชื้อเห็ดไว้เป็นสต๊อคเพื่อตอบสนองความอยากของตนเองไว้บ้างจึงดี

หัวเชื้อเห็ดสามารถผลิตเองได้โดยเลี้ยงบนอาหารวุ้น พีดีเอ (PDA = Potato Dextrose Agar) ซึ่งเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปที่ไหนๆก็สามารถทำได้ถ้าหมั่นศึกษาเรียนรู้ทดลองหรือจะซื้อจากฟาร์มเห็ดใกล้บ้านเพื่อเป็นการประหยัดเวลาและต้นทุนก็ได้ไม่ว่ากัน เพราะปัจจุบันมีเห็ดมากมายหลากหลายชนิดที่สามารถผลิตและเพาะได้เอง เพียงคัดเลือกดอกเห็ดที่ชอบรับประทานอายุดอกที่กลางอ่อนกลางแก่ (ไม่อ่อนจัดหรือแก่จัดเกินไป) มีลักษณะสมบูรณ์อวบอ้วน ฉีกผ่าครึ่งเป็นสองซีกแล้วใช้เข็มเขี่ยลนไฟสกิดเนื้อเยื่อตรงบริเวณกึ่งกลางระหว่างก้านและกลีบดอกที่เพิ่งฉีกออกไปโดยพื้นที่บริเวณนี้ไม่ควรไปสัมผัสกับวัสดุใดๆอย่างเด็ดขาดแล้วนำไปวางบนอาหารวุ้น PDA ตามกระบวนและเทคนิคปลอดเชื้อทิ้งไว้เพียง 5-7 วันก็จะเห็นเนื้อเยื่อเส้นใยเห็ดเจริญออกมา

เชื้อที่ได้ในระยะแรกนี้เราเรียกว่า "เชื้อวุ้น" ซึ่งเป็นหัวเชื้อที่จะต้องนำไปต่ออีกทีบนข้าวฟ่าง, ข้าวเปลือกหรือเมล็ดธัญญพืชต่างๆที่เหมาะสม ที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อเรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันนิยมใส่ขวดโซดามากกว่าขวดแบนอย่างในอดีต หยอดเชื้อลงในเมล็ดข้าวฟ่างจนเส้นใยเดินเต็มแล้วประมาณ 7-10 วัน เรียกว่าเชื้อข้าวฟ่าง ซึ่งจะนำไปต่อเชื้อลงบนก้อนเชื้อขี้เลื่อยอีกครั้งหนึ่งทิ้งไว้จนเส้นใยเดินเต็มประมาณ 25-30วันเราก็จะได้หัวเชื้อหรือสปอร์เห็ดตามที่ต้องการเพื่อนำไปเพาะบ่มเลี้ยงในพื้นที่ที่เราต้องการให้เกิดดอกเห็ดโดยไม่ต้องพึ่งพาความหวังลมๆแล้งๆจากสปอร์เห็ดในอากาศที่จะมาตกลงพื้นที่ที่พอเหมาะพอดีเมื่อไรก็ไม่รู้ หรือจะนำไปเพาะบ่มเปิดดอกในโรงเรือนอย่างที่นิยมทำกันโดยทั่วไปก็ได้หรือจะนำไปวางกลบฝังไว้ใต้ร่มไม้ในสวนป่า สวนปาล์ม สวนยาง สวนผลไม้ก็จะช่วยให้พืชเหล่านั้นทนแล้ง ทนร้อน มีการเจริญเติบโตกว่าที่ดีกว่าพืชที่ไม่มีเห็ดอาศัยอยู่

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com





Create Date : 05 มิถุนายน 2555
Last Update : 5 มิถุนายน 2555 7:28:55 น. 0 comments
Counter : 1273 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]