<<< a_somjai a_somjai's blog === อ่านเขียนบล็อก อ่านเขียนโลก <<<== a_somjai อ่านเขียนบล็อก a_somjai a_somjai's blog
Group Blog
 
All Blogs
 
Net Neutrality : อีกไม่นาน… “ใครอยากเข้าเว็ปไซต์หรือเล่นบล็อกได้สะดวกรวดเร็ว ต้องเสียเงิน?”

12 มิถุนายน 2549
วันนี้วันจันทร์เบา ๆ ที่อยู่ในช่วงฉลองงานสำคัญของชาติเราคืองานสมโภชพระเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงครองราชครบ ๖๐ ปี กับอีกเป็นช่วงเทศกาลการแข่งขันกีฬาสำคัญของชาวโลกคือ FIFA WORLDCUP 2006

คนไทยจำนวนมากจึงเข้าไปเกี่ยวข้องกับงานทั้งสองนี้มาก จนมีเวลาให้กับกิจกรรมอื่น ๆ น้อยลง หรือต้องละจากงานการและการเล่นอื่น ๆ ไปก็มาก แม้ในชุมชน bloggang.com นี้ก็มีโพสต์เรื่องหนัก ๆ น้อย และมีคนเข้ามาโพสต์เรื่องราวลงบล็อกในแต่ละวันมีไม่มาก (คงเป็นเพราะว่าในช่วงวันจันทร์-อังคารที่ 11 – 12 นี้ ส่วนหนึ่งคือประชากรชาวเน็ตในเขตกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล ที่เล่นคอมพ์ในที่ทำงานต้องหยุดเล่น ด้วยทางการกำหนดให้เป็นวันหยุดทำงาน เนื่องจากการจัดงานเฉลิมฉลอง ฯ และอีกอย่างพวกดูแข่งบอลโลกรอบแรกคืนละ 3 คู่คงมีอยู่เป็นจำนวนมากทั้งชายและหญิง ต้องอดตาหลับขับตานอนจึงไม่มีเรี่ยวแรงมาเขียนบล็อก)

ส่วนเรามีเรื่องอยากเล่าสู่กันฟังมาตังแต่ต้นปีแล้ว แต่ก็อะนะ… เรื่องมันค่อนข้างเกี่ยวข้องกับความซับซ้อนทางเทคโนโลยีดิจิตอล ความซับซ้อนทางกฎหมาย ความซับซ้อนทางการค้าธุรกิจของบรรษัทข้ามชาติ และก็แต่ว่ามันเกี่ยวข้องเป็นอย่างมากกับพวกเรา—ประชากรผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลกทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

เรื่องมันจึงพูด(เล่า/เขียน)ยาก…กลัวตนเองเข้าใจผิด…หรือไม่รู้จริง ...ก็เลยชักเข้าชักออกมาหลายหนแล้ว

เอาเป็นว่า…วันนี้จะเขียนเล่าไว้ในกลุ่มย่อย ชีวิตในโลกออนไลน์ ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยอันใดที่สงสัยกันก็ตามลิงค์ไปอ่านกันเอาเองก็แล้วกันนะครับ




ในฐานะชาวเน็ตผู้เล่นบล็อกที่บล็อกแก๊งด๊อตคอม
ขอเริ่มอย่างนี้…

(1) หลายเดือนมานี้จำนวนสมาชิกชุมชนบล็อกแก๊งได้เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วมากกว่าเท่าตัว (สังเกตดูว่ากลางปีที่แล้ว มีสมาชิกเปิดบล็อก 1 หมื่น 2 พันราย มาถึงต้นเดือนมิถุนายน 2549 นี้ สมาชิกบล็อกแก๊งมีถึง 2 หมื่น ห้าพันรายขึ้นไปแล้ว)

สิ่งที่สมาชิกเก่าทุกคนประสบเข้ากับตนเองก็คือ …การเล่นเน็ต/บล็อกในลักษณะ..เข้าออกหน้าบล็อกของตนเองและเพื่อน ๆ ชาวบล็อกทำได้ช้าลง…อืด…ดาวน์โหลด…อัพโหลด…นานนาที…จนน่าเบื่อหน่าย ….โดยเฉพาะการจัดการสร้าง แก้ไข…การเขียนบล็อก (blogging) บางครั้งก็เข้าไม่ได้ หรือต้องรอคิวแล้วพยายามเข้าใหม่หลายครั้ง (ที่เห็นชัดเจนคือวันทำงานที่มีคนเล่นมากในช่วงหลังเที่ยงไปจนถึงห้าโมงเย็นเป็นต้น)

นั้นคือโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว การเข้าใช้บล็อกใด ๆ นั้น ก็ย่อมมีปัญหาอย่างเดียวกันนั้นเหมือน ๆ กันหมด

แต่ที่ไม่เท่ากันคือ…บล็อกของเราหรือบล็อกของเพื่อน ๆ ที่มีลูกเล่นมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็น…ปริมาณภาพและเสียงที่โพสต์ข้อมูลใส่เข้าไปไว้ในบล็อก ยิ่งมีมากและซับซ้อนเพียงใด …เวลาเข้าไปใช้งาน/จัดการบล็อกหรือเพียงเปิดเข้าไปอ่านและ/หรือว่าเขียนคอมเมนต์เท่านั้น ก็จะเกิดเรื่องที่มีปัญหาการเข้าถึงบล็อกมากยิ่งขึ้น (นอกจากการเข้าดูเข้าใช้แล้ว ถ้าหากคอมพ์ของเราสมรรถนะต่ำ และ/หรือว่าเล่นเน็ตผ่านระบบถ่ายโอนข้อมูลความเร็วต่ำ ก็ยิ่งแย่…ถึงขนาดระบบปฏิบัติการ/วินโดว์ล้มไปเลย…ก็มีขึ้นออกบ่อย)

2. พักข้อแรกไว้…แล้วกลับไปดูที่บริการ “ฟังเพลงออนไลน์ Pantip Music Station” ของพันทิพบ้าง สองสามเดือนมานี้มีประกาศแปะไว้ว่า “เนื่องด้วยทางบริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ประสงค์จะเปลี่ยนนโยบายการอนุญาตเผยแพร่ลิขสิทธิ์เพลงผ่านสื่อเว็บไซต์ โดยจากเดิมที่อนุญาตให้เว็บไซต์พันธมิตรต่างๆ ให้บริการฟังหรือชม เพลง Music Video และ/หรือ Karaokae ได้ฟรี แบบเต็มเพลง จะเปลี่ยนให้การฟังเพลงได้ฟรีมีความยาวไม่เกินเพลงละ 60 วินาทีจากเริ่มต้นเพลง หรือเปลี่ยนระบบเป็นการให้บริการฟังเพลงออนไลน์แบบเก็บเงิน User รายเดือน ซึ่งจะมีผลการให้อนุญาตตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2549”

สรุปก็คือ …หากคุณคนเล่นบริการบันเทิงออนไลน์ (ก็บนโลกดิจิตอล หรือ ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์…อินเตอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือด้วยนั้นแหละ)… คุณประสงค์จะใช้บริการ “เพลงของเรา...ออนไลน์” ได้เต็ม ๆ ดี ๆ …สะดวก รวดเร็ว มีคุณภาพ…. คุณต้องจ่ายเงินให้เราเจ้าของลิขสิทธิหรือผู้ให้บริการเพลงออนไลน์เสียก่อน.... ใช่เปล่า?…

แล้ง งะ?

3. แล้วกลับไปที่ข้อ 1. ใหม่… สมมติว่า…ในอนาคต

ข้อย้ำว่า…สมมติว่า…ในอนาคต… (หมายถึงสิ่งที่จะกล่าวถึงนี้ ยังไม่เกิดขึ้นจริง ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่เกิดขึ้นจริงก็ได้ในอนาคต…อันใกล้…หรือ อันไกลโพ้น….ไม่มีใครรู้)

เรื่องสมมติดังจะกล่าวถึงนี้….มันว่าอย่างนี้ครับ….. ทางเจ้าของผู้ให้บริการเวปไซต์เพื่อการเล่นบล็อก…หรือชุมชนเวปบล็อกใด ๆ (ดังตัวอย่างที่ยกมาในข้อ 1. อันเป็นปัญหาจริงในการใช้งาน…การเข้าถึงบล็อกได้ช้าและมีอุปสรรค ก็คือชุมชนบล็อกแก๊งของชาวเรา)

(3.1) มีนโยบาย …ทำนองเดียวกับเรื่องบริการใช้/เข้าถึงเพลงออนในข้อ 2. …คือให้ทุกคนใช้/เข้าถึงบล็อกได้ฟรีอย่างเก่าอยู่แหละ …

(3.2) แต่หากว่าใครสมัครใจจ่ายเงินค่าธรรมเนียมให้ทางเจ้าของเวปไซต์ผู้ให้บริการเล่นบล็อกแล้วละก็ …ท่านก็จะได้รับบริการพิเศษคือให้เจ้าของบล็อกและรวมทั้ง visitors ผู้เข้าเยี่ยมชม มาใช้ มาอ่าน มาแสดงความคิดเห็นในบล็อกของคุณ….แอ่นแอน…ได้ใช้เวปบล็อกของคุณเจ้าของบล็อกซึ่งจะถูกเรียกว่าสมาชิกประเภทเสียเงินค่าบำรุง/การใช้บริการ…ได้สะดวกเร็วกว่า…มีอุปสรรคการใช้/การเข้าถึงบล็อกของคุณสมาชิกพิเศษเหล่านั้นได้รวดเร็วทันใจและมีคุณภาพมากกว่าบล็อกของสมาชิกประเภทเล่นฟรีแบบเดิม ๆ

จบเรื่องสมมติ ….(ท่านใดได้อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว จะคิดอะไรต่อไปหรือไม่คิดอะไรต่อ… ก็คงไม่แปลกแตกต่างกันดอกครับ… แต่ท่านที่ไม่อยากคิดอะไรต่อไปให้ปวดกบาล ก็หยุดอ่านเสียแต่ตรงนี้ก็ได้ครับ)




4. ต่อไปนี้เป็นเรื่องจริง… ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในประเทศที่มีอิทธิพลมากและสูงที่สุดต่อโลกอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะต่อผู้ใช้ ผู้ให้บริการ ผู้ผลิตงาน และบรรษัทเทคโนโลยีโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ของโลก…. ในประเทศสหรัฐอเมริกา

นั้นคือ ความพยายาม(ของนายทุนเทคโนโลยี)ผลักดันกฎหมาย เพื่อเก็บเงินจากการใช้อินเตอร์เน็ต แบ่งตามประเภทของการมี-การใช้- การเข้าถึงเนื้อหา – Content เช่น เพลง ดนตรี ภาพถ่าย ภาพยนตร์ ……ข่าว ….ฯลฯ .และบล็อก

สรุปสั้น ๆ ก็คือ หากกฎหมายนี้ผ่านออกมาได้ … (ข่าวล่าว่า เมื่อ วันศุกร์ที่ 9 มิถุนายน 2549 กฎหมายนี้ได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร ..สภาล่าง – House ของประเทศสหรัฐอเมริกา แล้วเสียด้วย) (แก้ไขเป็น ข่าวรายงานว่าสภา Congress (สภาผู้แทนราษฎร/สภาล่าง)ได้พิจารณาชี้ชะตาอนาคตของอินเตอร์เน็ต โดยการ vote ไม่รับรอง... Net neutrality rules ไปเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 ผ่านมานี้เรียบร้อยแล้ว) …บรรษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอย่าง AT&T เป็นต้นก็จะเก็บเงินสำหรับเจ้าของเวปไซต์ที่ต้องการให้บริการเวปไซต์ของตนเองด้วยเทคโนโลยีถ่ายโอนข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง …ได้นั้นเอง

ผลกระทบต่อพวกเราผู้ใช้อินเตอร์เน็ต หรือคนเล่นเวป เล่นบล็อกนะเหรอ…. จะบอกให้.....
ชาวเน็ตก็จะไม่อาจเข้าไซต์ได้ทุกไซต์ได้ด้วยคุณภาพที่เท่าเทียมกันได้ดังที่เป็นกันอยู่นี้ได้อีกต่อไป …กล่าวคือบางไซต์ก็เข้าได้สะดวกรวดเร็ว…บางไซต์ก็เข้าได้ด้วยความเร็วธรรมดา

แล้วไง?

ก็…เวลาเข้าเวปโป๊ลามกเราก็เข้าถึงเข้าใช้ได้เร็วมาก …พอ ๆ กับเวลาเข้าเวปธุรกิจขายเพลง…ดนตรี…หนัง…ก็ทำได้สะดวก่รวดเร็วเช่นกัน เป็นต้น

แต่ว่า…ชาวเน็ทจะเข้าไปค้นเอกสารในห้องสมุดออนไลน์ หรือแม้แต่เว็ปไซต์ของร้านหนังสือเล็ก ๆ ก็จะเข้าถึงได้ด้วยความเร็วต่ำ ๆ ...อืด เฉื่อย ช้า...และเข้าถึงเข้าหาเข้าใช้ได้ยากกว่าเวปไซต์ที่จ่ายเงินซื้อบริการพิเศษ …หรือว่าหากเมื่อชาวเน็ตจะเข้าเวปไซต์ของคนธรรมดา ๆ สามัญก็ดีและเวปไซต์ที่ให้บริการ Content ด้านการศึกษา วัฒนธรรม สังคม ศาสนา และความรู้ท้องถิ่นก็ดี ท่านก็จะต้องประสบกับปัญหาเดิม ๆ

...คือทำได้ช้ากว่าเว็ปไซต์ทางด้านธุรกิจ หรือ เวปไซต์ทีมีเนื้อหาหวังผลกำไร....

เว้นแต่เจ้าของเวปไซต์ที่ไม่หวังผลกำไรบางราย …จะยอมจ่ายเงินค่าธรรมเนียมการใช้เวปไซต์แบบส่งถ่ายข้อมูลด้วยความเร็วสูงแก่บริษัทเจ้าพ่อ/เจ้าของบริการไฮเทคโนโลยีเล่านั้นเสียก่อน

เฮ้อ…แล้วเวปไซต์ที่ต้องเสียเงินค่าบริการเพื่ออำนวยการให้เกิดการมีการใช้เวปไซต์ของตนเองได้สะดวกรวดเร็ว อันพึงมีพึงได้จากความสะดวกจากเทคโนฯ บนอินเตอร์เน็ตเหล่านั้น ก็ย่อมจะต้องตามไปไล่เก็บเงินจาก “พวกเรา – ลูกค้า ผู้ใช้เว็ปไซต์” อยู่ดี ใช่เปล่า?

คาดกันได้ล่วงหน้าว่า....เขาย่อมเก็บเงินจากผู้ใช้ไวปไซต์….ไม่ทางตรง ก็ทางอ้อม อย่างแน่นอน (ทางตรงก็เช่นเก็บค่าเป็นสมาชิกเวปไซต์ …ส่วนทางอ้อมก็เช่น บวกเพิ่มไปในราคาสินค้าบริการตรง ๆ หรือ บวกเข้าไปในการเพิ่มค่าโฆษณาสินค้าบนเวป เป็นต้น)

พวกเราคนเล่นเน็ต….ก็ต้องโดนล้วงกระเป๋าทั้งขึ้นทั้งล่องอยู่ดี

เกี่ยวกับปรากฏการณ์นี้ ไม่แต่เป็นเรื่องใหญ่ด้านกฏหมายเท่านั้นนะ….ยังมีรายละเอียดที่ลึก ๆ อีกเยอะ เก็บเอาไว้เล่าต่อคราวหน้าละกัน

…หากใครสนใจจริง ๆ ก็ตามไปอ่านกระแสข่าวความเป็นมาและกำลังเป็นอยู่ในขณะนี้ ล่วงหน้าได้ก่อนที่เวปไซต์ SavetheInternet.com


Posted by a_somjai | June 12, 2006 |
Tag: Save the Internet, Net Neutrality




Create Date : 12 มิถุนายน 2549
Last Update : 20 ตุลาคม 2549 10:44:53 น. 9 comments
Counter : 940 Pageviews.

 
อินทรีทองคำว่าจ่ายก็ได้ ไม่เห็นจาแปลกนะคุณสมใจ


โดย: มะเหมี่ยวเอ็กซ์ วันที่: 12 มิถุนายน 2549 เวลา:13:19:50 น.  

 
ประกาศ ต่อไปใครเข้าบล็อกผม ต้องจ่ายค่าชมแล้วครับ ฮิๆๆๆๆ


โดย: ตี๋น้อย (Zantha ) วันที่: 12 มิถุนายน 2549 เวลา:13:22:01 น.  

 
ถ้าต้องจ่ายตังค์ในการใช้บล๊อก คนคงหายไปเยอะพอดูค่ะ

เค้าน่าจะเลือกที่จะแบ่งกลุ่มคนใช้มากกว่า

อย่างเช่นเนื้อที่ ลูกเล่น

คุณไม่จ่ายตังค์ ก็ได้เล่นแค่นี้

อะไรอย่างนี้


โดย: PADAPA--DOO วันที่: 12 มิถุนายน 2549 เวลา:14:00:57 น.  

 
กดเข้าไปในลิงค์ออนไลน์ แล้วขึ้นว่ามีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมากอีกแล้วค่ะ
พูดตรงๆว่าเมื่อสองวันก่อน เพิ่งมาสะดุดกับโฆษณาเพลงออนไลน์ของ RS (รึแกรมมี่ไม่รู้)ก็คิดอยู่เหมือนกันว่าสงสัยจะให้เก็บเงินรึเปล่า แล้วในส่วนระบบของบล็อกที่ให้สมาชิกฟังเพลงออนไลน์นี่ ไม่ทราบว่าเข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิรึเปล่า และบางทีในอนาคตอาจจะต้องปิดบริการในส่วนนี้ไป (รึเปล่า) รึปัญหาลิขสิทธิที่เพิ่มมากขึ้นตามจำนวนของสมาชิกที่เพิ่มมากขึ้น จะทำให้มีข้อกำหนดใดๆเพิ่มขึ้นควบคุมการเล่นบล็อกของสมาชิกเหมือนการโพสต์กระทู้ที่หน้าเวปพันทิปรึไม่
ส่วนในเรื่องโอกาสที่จะเก็บเงินจากการเล่นบล็อก ถ้าบล็อกแกงค์นี่ยังคิดว่าอาจจะยังไม่มีการเก็บเงินไปอีกระยะนอกเสียจากว่าในส่วนของบล็อกแกงค์ที่ให้สมาชิกได้เล่นฟรีนี่ มีรายได้พิเศษจากทางใดรึเปล่า (เช่นการโฆษณา) และระบบก็ไม่ได้สเถียรพอเพียง เพราะมักจะerrors อยู่บ่อยๆ (คงเพราะยังเล่นฟรีเลยไม่ได้นำเงินไปซื้อ server ใหม่ที่เสถียรกว่าเดิม)

ส่วนข้อสุดท้าย อ่านแล้วใจหายค่ะ รอดูความเป็นไปในอนาคต (ที่มืดมน)


โดย: ฟรุตที IP: 124.120.6.43 วันที่: 12 มิถุนายน 2549 เวลา:21:47:29 น.  

 
เวปไหนเก็บตังค์ ยอดผู้เข้าชมเวปนั้นจะลดลงครับ
ทางออกน่าจะต้องอยู่ที่การหารายได้จากการโฆษณา


โดย: 9A วันที่: 12 มิถุนายน 2549 เวลา:22:04:39 น.  

 
พูดถึงเพลง online นี่ อืม....
กลุ้มใจจัง คืองี้ครับ

คือช่วงแรกที่เล่น blog ใหม่ ๆ มันเป็นช่วงมีวิกฤตการเมือง ผมก็เอาแต่อ่านข่าวการเมือง แล้วก็อยากบ่น ก็เลยเขียน blog

ทำไปทำมา อืม เขียนมากก็เครียดเอง บ่นไปมาก็ย่ำอยู่เรื่องเดิม เลยเปิด group blog ใหม่อีกอัน เป็นประเภทเพลง online เพราะเห็นว่ามี group นี้ให้เลือกอยู่ด้วย ก้เลยคิดว่าคงไม่ปัญหากระมัง

ก็พอดีเห็นว่ามีให้ฟังเพลงได้จากหลาย web ไม่เว้นแม้แต่ pantip

พอเห็นทาง web pantip บอกว่าจะงดให้บริการส่วนนั้น ก็ใจหาย ว่าสงสัยต้องหยุดทำ group blog เพลงแล้วกระมัง

แต่ส่วนใหญ่เพลงใน blog ผมเป็นเพลง classic แล้วก็บรรเลงอื่น ๆ ไม่รู้ว่าต้องหยุด update ไหมนี่ ก็ตราบใดที่ bloggang ยังไม่ตัด "กลุ่มย่อย" เพลง online ออกไป ผมคง update ต่อมั้ง

เพราะว่า ผมก็ไม่ได้ให้ฟังเพลงเฉย ๆ บ่นเรื่องโน้น เล่าเรื่องนี้ อธิบายเกร็ดเรื่องนั้น ไปด้วย

แล้วผมก็ไม่อนุญาตให้ download เพลงที่ blog ผมด้วย เพราะทำเป็น flash หมด (ไม่ใช่ mp3 กับ wma ถึงแอบโหลดได้ ก็เอาไปเล่นใน mp3 player ไม่ได้อยู่ดี)

เฮ้อ กลุ้ม ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ อยาก up เพลงอ่ะ

ส่วนเรื่องเก็บตังค์ ผมว่าเรื่องเงินมันไม่เข้าใครออกใคร แล้วโดยส่วนตัวคิดว่า เดิมทีที่ให้บริการฟรี ก็เพราะเป็นการล่อให้คนเข้ามาใช้แล้วติดใจ เวลาจะเก็บค่าบริการ จะได้มีคนยอมจ่าย

ส่วนที่คุณ 9A ว่ามา ก็จริง ถ้ามีบริษัทคู่แข่งออกมาให้บริการลักษณะเดียวกันเป็นทางเลือก โดยไม่มีปัญหาเรื่องเงิน แต่ในที่สุดแล้ว ทางเลือกนั้นก็คงต้องเรียกเก็บเงินล่ะ

แม้เห็นด้วยว่า รายได้ถ้าได้จากโฆษณา ก็น่าจะเป็นทางออกให้กับการให้บริการฟรีต่อไปได้

แต่ก็มีกรณ๊ศึกษานะครับ

ตัวอย่างก็จะมีจากการให้บริการ opensource เช่น linux... ถ้าใครจำได้นะ สัก 4-5 ปีก่อน มีข่าวเกรียวกราวว่า Mandrake linux ต้องขอเก็บตังค์แล้ว เดิมให้ฟรี แม้ตอนนี้จะฟรี แต่ก็ไม่ฟรีเหมือนแต่ก่อน มีปลีกย่อยเช่นให้บริการไม่ครบ

ตอนนั้นรู้ว่าสถานการณ์การเงินแย่มาก ทนไม่ไหวแล้ว ที่จะให้บริการฟรีต่อ เพราะรายได้มันไม่มีพอ

อืม แต่ที่ทำสำเร็จก็คือ RedHat Linux ครับ คือทำ Fedora ฟรีออกมา แต่เก็บตังค์ linux โดยเน้นเก็บที่บริการหลังการติดตั้งให้ แบบประมาณขาย server แถม linux แล้วให้บริการหลังขาย server โดยเก็บเงินในส่วนบริการ ไม่ได้เก็บเงินค่าระบบปฎิบัติการ

สรุปคือ เป็นการเก็บเงิน ถ้ามีการขอความช่วยเหลือทางเทคนิค

แหะ ๆ เอางี้ดีไหม ถ้าในอนาคต bloggang ต้องเก็บเงิน ก็คงต้องขอเก็บเพราะบริการเสริมในแง่ความช่วยเหลือ หรือลูกเล่นต่าง ๆ ที่ไม่ได้สลักสำคัญ (แต่กระตุ้นกิเลศ blogmaster

ส่วน bandwidth นี่ เฮ้อ แล้วแต่จะคิดกันนะครับ

เฮ้อ


โดย: Plin, :-p วันที่: 12 มิถุนายน 2549 เวลา:22:31:33 น.  

 


UPDATED: October 20, 2006

  • The Financial Times | Congress must keep broadband competition alive By Lawrence Lessig Published: October 18 2006

    "The question of internet “network neutrality” has been bounced around by Washington policymakers for more than a year. Yet most still have no idea what it means. Google’s gobbling of YouTube should make this critically important policy issue quite clear. For the phenomenal success of YouTube is testimony to the extraordinary value of a neutral internet."

    (................................)

    "The US is facing a competitive crisis in broadband deployment. Yet as it continues to fall behind its competitors, the Federal Communications Commission continues to live in denial. The more it has “deregulated” telecommunications, the worse (comparatively) broadband competition and service have become. When it was 10th in the world George W. Bush, US president, said that “10th is 10 spots too low”. The nation is now 16th. Broadband in the US is 12 times the price in Japan and six times the price in France.

    "Network neutrality legislation alone will not solve those problems. But it will make sure that the one bright spot in the internet economy – the one place where vigorous competition continues – will be protected. Congress needs to remove the incentive to keep broadband in its currently hobbled state. A thin rule of network neutrality could help do just that."


  • Save the Most Democratic of Media >>>>> Against an Imperial Internet By Bill Moyers and Scott Fogdall


    "(..............................................)"

    "Nevertheless, the Internet’s power as a social force counters these arguments….A non-neutral Internet would discourage competition, thereby costing consumers money and diminishing the benefits of lower subscription prices for Internet access. More importantly, people today pay for Internet access with the understanding that they are accessing a wide, level field of sites where only their preferences will guide them. Non-neutrality changes the very essence of the Internet, thereby making the product provided to users less valuable.

    So the Internet is reaching a crucial crossroads in its astonishing evolution. Will we shape it to enlarge democracy in the digital era? Will we assure that commerce is not its only contribution to the American experience?

    The monopolists tell us not to worry: They will take care of us, and see to it that the public interest is honored and democracy served by this most remarkable of technologies.

    They said the same thing about radio.

    And about television.

    And about cable.

    Will future historians speak of an Internet Golden Age that ended when the 21st century began?"




  • โดย: a_somjai วันที่: 20 ตุลาคม 2549 เวลา:9:10:31 น.  

     
    Newspapers, the YouTube and Google merger and the future. | Editors Weblog- Analysis | posting on Tuesday, October 10, 2006



    "Yesterday's Google YouTube merger must be seen as an emerging business model. Google has the advertising pool and infrastructure to monetize Web pages and YouTube delivers the kind of content many advertisers want: young, smart, creative people with pocket money and spare time to spend . . .


    Of course neither Google nor YouTube went into business to become a large media concern but that is what they keenly decided they had become and are now leveraging their ability to deliver a tightly-focused audience to people who want to pay to be in front of them. Some think Google could have bought the New York Times for that much money - maybe - but that is not the online audience that their advertisers want.

    Newspapers have mountains of precious data but need to develop better structures to allow that rich information to be accessed by users.

    I recently developed a video newspaper prototype for a client and made sure to show them five ways that their videocasts could be monetized off the same asset. They hadn't planned much beyond selling pre-roll spots against the videos. Newspaper web sites get a lot of traffic but they are not sticky. Video help makes them sticky but that is only the start.
    The key is to develop these new story tools to make sites more satisfying for the user. When people are satisfied - they linger and return frequently and, no surprise, sponsors like that.

    Today I was interviewed by a business reporter from Zurich about the future of video and podcasts and she asked for data and research to divine the future. That's a reasonable request and certainly there is a lot of measuring being done except that deals like YouTube/Google kind of suddenly upset the best projections and models. e.g. Last December I was asked to write a multimedia article for the World Editors Forum for the "Trends in Newsrooms" book and predicted that 'Video' would be the word of the year. Right, so far - but I didn't know about YouTube then. The lesson is to be constantly getting familiar with new story tools and remain nimble so you can develop rapidly. That way you are ready to adjust quickly to your audience. This approach requires a different style of leadership and a new newsroom culture for many."

    (..............................MORE......)





    Link for 2006-10-13 : Does YouTube Make Google a Big Target For Copyright Suits? ที่ไซต์ WSJ.COm (The Wall Street Journal Online) | October 11, 2006

    ข่าว Google Inc. ซื้อไซต์ video-sharing -> YouTube ด้วยเงินถึง $1.65 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (1.65 x 1,000 x 1,000,000 x 38 = ? บาท)



    นอกจากจะเป็นเรื่องน่าคิด และชวนให้ติดตามต่อไปว่า Google จะเติบโตเป็นอภิมหายักษ์ระดับนำในวงการตลาด online video ของโลกหรือไม่? อย่างไร? แล้ว

    สิ่งที่ นักเล่นเน็ต โดยเฉพาะ Bloggers ทั้งหลาย ที่ชอบเล่นชอบโพสต์ "เพลงออนไลน์" ต้องสนใจและทำความเข้าใจให้เท่าทันการ/การณ์ ก็คือ เรื่องประเด็นทางกฎหมายลิขสิทธิ์ระหว่าง --- the "copyright" กับ/และ the "fair use"

    ตัวอย่างเช่นความเห็นของ John Palfrey, Professor ด้านกฏหมายแห่ง Harvard University และ ผู้อำนวยการ the Berkman Center for Internet & Society ตอนหนึ่ง ว่าไว้ดังนี้


    "There are two levels on which liability will be assessed by the courts.

    First, a judge will have to consider whether the YouTube user violated someone else's copyright by creating and distributing the video they posted online. That's where the "fair use" analysis comes in. So, let's imagine that a YouTube video creator used a bit of music in the background of one of the videos they created and posted online. Let's assume that user gets sued by the recording company that controls most of the bundle of rights associated with the sound recording used in this video. The YouTube video creator might then respond that their use of the music is protected by the fair use defense. That's a four-factor balancing test that determines whether or not the copying of the sound recording was permissible under the law, despite the fact that someone else holds the copyright in that work. A big question is whether or not we could determine, as a society, what "best practices" or permissible use of others' sound recordings might look like in the context of a video posted to the net. My hope would be that YouTube users are given wide latitude, so long as the market for the work was not adversely affected and so long as the use of the music was creative (and, in the words of the law, perhaps even "transformative.") It's also possible that Google could solve many of these problems in advance through blanket licensing, which would be a great outcome, but isn't necessarily the only way for them to avoid liability here.

    "The second level of analysis is whether YouTube, or its parent company, is liable for secondary copyright infringement. One answer is that a 1998 law, the Digital Millennium Copyright Act, set up a system whereby the Googles of the world have a chance to avail themselves of a safe harbor if they agree to take down infringing works once notified by copyright holders. In my view, this is exactly the kind of situation that this law was created to handle. I suppose it is possible that the case would go further -- that a copyright holder might sue YouTube and its parent for secondary copyright liability -- but I think that Google would have a very strong defense."

    ท่านที่สนใจสามารถอ่านเพิ่มเติม>>READ>> การสนทนาออนไลน์กันในเรื่องนี้ ทั้งประเด็นทางกฎหมายและประเด็นทางเศรษฐกิจ/ธุรกิจออนไลน์ ระหว่าง Harvard law professor John Palfrey กํบ Economist Stan Liebowitz ได้ที่ไซต์ WSJ.COm (The Wall Street Journal Online ในรายงานเรื่อง Does YouTube Make Google a Big Target For Copyright Suits?

    Posted by a_somjai on 2006-10-13



    โดย: a_somjai วันที่: 20 ตุลาคม 2549 เวลา:10:29:36 น.  

     
    ดู ชม วีดีทัศน์นี้ ได้เลย

    Save the Internet!


    โดย: a_somjai วันที่: 17 เมษายน 2551 เวลา:13:49:24 น.  

    ชื่อ :
    Comment :
      *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
     

    a_somjai
    Location :
    เชียงใหม่ Thailand

    [Profile ทั้งหมด]

    ฝากข้อความหลังไมค์
    Rss Feed
    Smember
    ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




    Friends' blogs
    [Add a_somjai's blog to your web]
    Links
     

     Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.