<<< a_somjai a_somjai's blog === อ่านเขียนบล็อก อ่านเขียนโลก <<<== a_somjai อ่านเขียนบล็อก a_somjai a_somjai's blog
Group Blog
 
All Blogs
 
นักเขียนเมืองจีน: จากพู่กันจีนถึงคีย์บอร์ด (006/02)

posted by a_somjai | 29 November 2005 @ 3: 09 Am | Writers นักเขียน | Bloggers บล็อกเกอร์ | Internet Users | Chinese Blogosphere |

Yu Jie (余杰) แสดงปาฐกถาในงาน The 2005 Asia-Pacific Regional Writers' Forum ที่กรุง Melbourne ประเทศ Australia ว่า
"...จีนก็เหมือนกับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก คือ ชาวจีนจำนวนมากเป็นนักเล่นเกมออนไลน์ ผู้ใช้เน็ตเป็นผู้กระหายค้นหาข้อมูลข่าวสาร และเป็นนักเล่นแช็ต ในขณะที่จำนวนผู้คนที่ลงมือเขียนอย่างนักเขียนในอินเทอร์เน็ตมีเพียงเศษเสี้ยวของคนเล่นเน็ตท้งหมดเท่านั้น แต่ด้วยส่วนต่างของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั้งหมด(เป็นร้อยล้าน)ที่ห่อหุ้มสัดส่วนข้างน้อยของนักเขียนบนเน็ตเหล่านี้เอาไว้ ทำให้พวกนักเขียนบนเน็ตดูเหมือนไม่น่าจะมีความสำคัญ ทว่าเมื่อดูกันให้ดี ๆ แล้วผู้ใช้เน็ตฝ่ายข้างน้อยเหล่านี้ก็มีจำนวนเป็นหลายล้านคนทีเดียว ซึ่งเมื่อเทียบระหว่างคนชอบเขียนสื่อสารผ่านตัวหนังสือด้วยกันแล้ว นักเขียนบนเน็ตก็มีจำนวนมากกว่านักเขียนอภิสิทธิชนที่ยอมรับกันอยู่ในขนบเก่าของจีนเสียอีก" ( The Freedom and Perils of Internet Writing in China โดย Yu Jie (余杰) )

ประเด็นสืบเนื่องสำคัญที่ยกมาคุยกันตอนที่ผ่านมาคือ "เสรีภาพในการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ท" ส่วนวันนี้จะมาว่ากันต่อให้ลงลึกไปถึง "นักเขียนบนอินเทอร์เน็ท" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ "นักเขียนในเมืองจีน" และเป็นส่วนที่ขยายตัวอย่างกว้างขวางรวดเร็วแพร่หลายมากในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ ดังที่ Yu Jie ได้ให้ข้อสังเกตไว้เสียด้วย

การศึกษาเรื่อง "นักเขียนในเมืองจีน" นี้ มีจุดประสงค์เพื่อว่าในตอนต่อ ๆ ไปจะลองนำแบบประเภทของ "ชนชั้นนักเขียนเมืองจีน" มาเทียบเคียงกับสถานะและประเภทของพัฒนาการ "ชนชั้นนักเขียนเมืองไทย" ในบ้านเราดูบ้าง ด้วยฉันเริ่มสังเกตเห็นว่าในชุมชนออนไลน์ที่มีบริการ Weblog ได้มีนักเขียนทั้งอาชีพและสมัครเล่น เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ และเห็นว่าขณะเดียวกันนี้สำหรับผู้ที่เข้าใจโลกอินเทอร์เน็ทยุคนี้ดี ความนิยมเปิดเว็ปบล็อกส่วนตัว ก็คงไม่มีการเปิดเพิ่มขึ้นอีกแล้ว และที่มีเปิดอยู่ก่อนหน้า ก็คงลดจำนวนลงไปอีก ส่วนจะด้วยเหตุผลใดนั้น จะยังไม่พูดถึงกันในตอนนี้
แล้วอีกอย่าง เพื่อให้ใจความกระชับขึ้น จึงจะเขียนเล่าเรื่องด้วยสำนวนเจ้าของบล็อกก็แล้วกัน ถ้าท่านใดสนใจรายละเอียดลึก ๆ ก็ไปหาอ่านจากต้นฉบับบนหน้าเวปไชต์ที่ลิงค์มาแปะไว้ในนี้กันเอง เชิญตามสะดวกครับ

นักเขียนอภิสิทธิชนที่ยอมรับกันอยู่ในขนบเก่าของจีน ที่ท่าน Yu Jie กล่าวถึงนั้น ในภาษาอังกฤษเขาใช้ว่า - the "privileged" "writers" in the traditional sense - คนกลุ่มนี้มีอยู่ในสังคมยุคเก่าของจีน เป็นพลเมืองที่อยู่บนยอดปิรามิดประชากร อธิบายได้อย่างนี้...ลองนึกถึงโครงสร้างอาคารรูปทรงปิรามิด เริ่มจากก้อนอิฐฐานรากข้างล่างสุดใหญ่กว้างแผ่ออกไป แล้วอิฐชั้นถัดไปก็ค่อย ๆ เรียงซ้อนกันแบบขั้นบันไดโดยจำนวนและพื้นที่ของก้อนอิฐลดลั่นกันขึ้นไปเป็นชั้น ๆ จนสิ้นสุดที่ยอดแหลมเล็ก หากเอาพลเมืองทั้งหมดในเมือง/ประเทศหนึ่งมาวางเรียงกันเหมือนก้อนอิฐอาคารปิรามิด โดยแบ่งคนตามสถานภาพทางสังคมแล้ว พวกนักเขียนยุคเก่าของจีน จะอยู่บนยอดปิรามิด

พูดให้เข้าใจง่าย ๆ ได้ว่าคนพลเมืองที่อยู่บนยอดปิรามิดของสังคมยุคเก่าเท่านั้น ที่เป็นผู้ได้รับโอกาสทางการศึกษาทั้งเรื่องของระบบวิชาภาษาจีนชั้นสูงและความรู้อื่น ๆ ที่ดีมีอยู่ครบถ้วนแล้วในการศึกษาสำหรับคนระดับนำในสังคมจีนโบราณ ดังนั้นคนพวกนี้เท่านั้นที่จะกลายสภาพเป็น "นักเขียน" - "writers" ได้ ถ้าจะให้ขยายความตามความเข้าใจของฉัน ก็ต้องนึกถึง นักปราชญ์จีน ที่ถูกยกย่องให้เป็น "จื้อ" ต่อท้ายชื่อ หรือขงนำหน้า เช่น "ขงเบ้ง ขงจื้อ จวงจื้อ เม่งจื้อ เล่าจื้อ" รวมทั้งพวกปัญญาชนราชสำนักผู้ได้รับแต่งตั้งเป็น จอหงวน ขุนนาง เจ้าเมือง แม่ทัพ นายทหารใหญ่ที่ทรงภูมิรู้ นอกนั้นก็เป็นปัญญาชน (ก็มีพวกชนชั้นสูงปัญญาชนดังกล่าวแล้วปน ๆ อยู่ในนั้นด้วย) ประเภทเป็นนักเขียนผู้รังสรรค์งานวรรณกวี คีตกวี ตำราพิชัยสงคราม ตำรากฏหมาย ตำราจริยธรรมและแนวความคิดทางศาสนา เป็นต้น คนเหล่านั้นล้วนแล้วแต่เป็นชนชั้นสูงหรือมีพื้นเพจากสังคมคนชั้นสูงของจีนทั้งสิ้น

เมื่อชาวจีนคอมมิวนิสต์ครองอำนาจในปี 1949 (พ.ศ. ๒๔๙๓) พวกเขาก็รับเอาอุดมการณ์และวัฒนธรรมแบบชาวรัสเซียเขามา กล่าวคือรัฐบาลได้ให้การดูแล "นักเขียน" ทั้งหมดที่ยอมรับ/เชื่อฟัง/สยบยอมต่ออุดมการณ์ของชาติ โดยการจ่ายเงินเดือนให้นักเขียน และให้สวัสดิการด้านสุขภาพและสิทธิพิเศษในการท่องเที่ยว ในยุคนั้นองค์กรที่เรียกว่า สมาคมนักเขียน - The Writers' Association - จึงกลายเป็นหน่ายงานบริหารงานแบบราชการที่ใหญ่โตซับซ้อนมาก (a massive government bureaucracy) ได้แก่ มีขั้นตอนมาก กฏระเบียบหยุมหยิมแต่เคร่งครัด สมาชิกในองค์กรจึงขาดอิสระเพราะเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน จึงทำให้องค์กรและหน่วยงานอุ้ยอ้าย การดำเนินงานล้าช้า บริการให้สมาชิกไม่ทั่วถึง โดยหาสาเหตุไม่พบ หรือหาคนรับผิดขอบแก้ปัญหาไม่ได้ เป็นต้น เหตุนี้ระบบของนักเขียนจีนทั้งปวงจึงกลายเป็นส่วนสำคัญของการวางแผนเศรษฐกิจไปเสียฉิบ ภายใต้สภาพแวดล้อมดังกล่าว "นักเขียน" จึงต้องเป็นสมาชิกของสมาคมนักเขียนอย่างเป็นทางการ ก่อนที่เขาหรือหล่อนจะสามารถ(พัฒนาตนเองจน)กลายเป็น "นักเขียน" จริง ๆ ได้เสียอีก (คิดง่าย ๆ ในทางกลับกันก็คือ คุณจะเป็นนักเขียนไม่ได้ ถ้าคุณไม่เข้าเป็นสมาชิกสมาคมนักเขียนของทางการ แล้วอีกอย่างไอ้คนที่มันเป็นสมาชิกสมาคมนักเขียนของทางการนั้นก็ไม่จำเป็นว่ามันจะต้องแต่งหนังสือเป็นมาก่อนหน้า หรือว่าจะสามารถแต่งหนังสือได้ในปัจจุบันหรือว่าในอนาคต)

จนกระทั่งเมื่อ Internet ปรากฏขึ้น(ในเมืองจีน) เริ่มแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๓๓ เป็นต้นมา ประวัติศาสตร์ของ "นักเขียน" ในเมืองจีน จึงได้เปลี่ยนรูปแบบไป อย่างไรก็ตามจนทุกวันนี้ หนังสือพิมพ์ของคนจีน ผู้พิมพ์ผู้โฆษณาที่อยู่ในกติกา สถานีวิทยุ สถานีโทรทัศน์ และสื่อชนิดอื่น ๆ ก็ยังคงตกอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างเข้มงวดของ "พรรค" (คอมมิวนิสต์จีน) มีหน่วยงานราชการที่เรียกชื่อว่า กระทรวงโฆษณาการ(ชวนเชื่อ)กลาง - The Central Propaganda Department - เป็นองค์กรพิเศษที่อยู่เหนือกฏหมายอื่น ๆ ดำเนินกิจการควบคุมสิทธิการผลิตข่าวสารและการใช้อำนาจในทางเทคนิคเพื่อควบคุมการรับรู้ข่าวสารของประชาชน งานขององค์กรนี้จึงเสมือนก้างชิ้นใหญ่ที่คอยทิ่มตำคอหอยของนักเขียนจีนทุกคนอยู่ตลอดเวลาเลยก็ว่าได้

China - Polizeiausbildung by fbishof's photostream

Chinese policemen perform martial arts during a police drill in Xining, in west China's Qinghai Province, Saturday 25 September 2004. Qinghai, adjacent to Xinjiang and Tibet, organized a provincial police training and drill in the last six months. Foto: SHAN HAIJING dpa



อย่างไรก็ดีอาจพูดได้ว่า นักเขียนชาวจีนไม่เคยมีอิสระภาพพื้นฐานที่จะสร้างสรรค์งานเขียนมาก่อน แต่อิสระภาพนี้กำลังก้าวเข้ามาเป็นจริงพร้อมกับการเข้ามาของ Internet ในรูปสาระของช่องทางการสื่อสารใหม่ ช่วงสิบปีที่ผ่านมานี้ นักเขียนคนรุ่นใหม่ติดนิสัยการเขียนโดยตรงบนอินเทอร์เน็ท โดยไม่ได้สนใจกับ "การส่งงานเขียนของตนให้ต้องผ่านกระบวนการการประเมินผลและการเลือกสรรโดยบรรณาธิการตามประเพณีปฏิบติแบบเดิม ๆ" ที่เคยทำสืบกันมาอีกต่อไปแล้ว

เมืองจีนยุคปัจจุบัน อิสรภาพแห่งการพิมพ์ถูกส่งผ่านไปยังอิสรภาพในการคิดและอิสรภาพในการเขียน ดังนั้นจินตภาพแห่ง "การเขียน" ได้มีความหมายใหม่ขยายขอบเขตออกไปจากเดิมไปเสียแล้ว ประเภทที่แตกต่างหลากหลายของช่องทางการสื่อสารและกระบวนการรังสรรค์เนื้อหาการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต ได้ทำลายขอบเขตพรมแดนของรูปแบบการเขียนแบบเดิม ๆ ของโลกเก่าลงไปอย่างสิ้นเชิง และความหลากหลายของสิ่งต้องห้ามในโลกเก่าที่ใครก็แตะต้องมิได้ - Taboo - ได้เริ่มถูกหยิบยกขึ้นมาคิดมาเขียนวิพากษ์วิจารณ์ถึงมากขึ้น (หากจะขยายความ ก็คงจะหมายถึงสิ่งที่คนในสังคมแต่เดิมลำบากใจที่จะพูดถึง เป็นสิ่งสุดเอื้อมที่จะแตะต้อง เช่น เรื่องเพศสัมพันธ์ คุณค่าที่เคยเชื่อถือสืบกันมาว่าเป็นศีลธรรมจริยธรรม และอุดมคติของชีวิต อย่างเช่นการตั้งคำถามเรื่อง ผู้ชายต้องเป็นใหญ่เหนือกว่าหญิง ตามจริยธรรมแนวขงจื้อ หรือการที่ผู้หญิงไม่ควรเปิดเผยเรื่องความต้องการทางเพศของตนต่อผู้อื่น การทำงานหาเงินทองมีสิทธิครอบครองทรัพย์สมบัติเป็นของส่วนตัว/ปัจเจกบุคคล แทนที่จะเป็นของครอบครัว/กลุ่มเครือญาติที่ตนสังกัดอยู่ เป็นต้น )

"ในทรรศนะของฉัน การเขียนบนอินเทอร์เน็ทในเมืองจีน สามารถแบ่งออกเป็น การเขียนวิชาการบนอินเทอร์เน็ต, การเขียนวรรณกรรมบนอินเทอร์เน็ท, และ การเขียนแสดวความคิดเห็นทางการเมืองบนอินเทอร์เน็ต
In my view, the Internet writings in China can be divided into Internet scholarship, Internet literature and Internet political commentary."
Yu Jie (余杰)


สถานะของนักเขียนทั้งสามประเภทดังกล่าวนี้ เป็นอยู่กันอย่างไรบนโลกออนไลน์เมืองจีน เราจะมาว่ากันต่อคราวหน้าครับ.

CHINA MILITARY by herman71

Chinese police train at a military base in Wuhan in central China's Hubei province August 30, 2005. China was setting up elite police squads in 36 cities to counter the threat of "terrorist crimes" and to put down riots, Xinhua news agency reported. Beijing has already stepped up security ahead of the 2008 Olympics. CHINA OUT REUTERS/China Newsphoto



Create Date : 29 พฤศจิกายน 2548
Last Update : 1 ธันวาคม 2548 8:05:14 น. 5 comments
Counter : 794 Pageviews.

 
สังคมออนไลน์ ศิลปินแขนงต่างๆในโลกไซเบอร์ของจีนนี่มีมากมายยิ่งใหญ่กันมากๆ
เด็กอนุบาลจีนข้างบ้านเล่นเน็ตเซิรท์หาข้อมูลเก่งกว่าผมอีก ตะลึง ฮิๆๆๆๆ
ขอบคุณที่นำมาให้ได้อ่านได้คิดกันครับ


โดย: ตี๋น้อย (Zantha ) วันที่: 29 พฤศจิกายน 2548 เวลา:7:15:25 น.  

 



แวะมาทักทายจ้า.....

คิดถึงเชียงใหม่จัง




โดย: อย่ามาทำหน้าเขียวใส่นะยะ วันที่: 29 พฤศจิกายน 2548 เวลา:10:06:07 น.  

 
ภาพประกอบแปลกดีค่า

แวะมาราตรีสวัสดิ์นะคะ


โดย: Batgirl 2001 วันที่: 30 พฤศจิกายน 2548 เวลา:0:10:52 น.  

 





โดย: อย่ามาทำหน้าเขียวใส่นะยะ วันที่: 30 พฤศจิกายน 2548 เวลา:11:01:29 น.  

 


โดย: รรรรรรร IP: 125.24.249.115 วันที่: 20 มิถุนายน 2550 เวลา:21:10:44 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

a_somjai
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add a_somjai's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.