<<< a_somjai a_somjai's blog === อ่านเขียนบล็อก อ่านเขียนโลก <<<== a_somjai อ่านเขียนบล็อก a_somjai a_somjai's blog
Group Blog
 
All Blogs
 

ย้าย The weblog community กลับฐาน Bloggology

อ้างอิงการย้ายหมวดเรื่อง The weblog community กลับมาสู่ฐานข้อมูลกลุ่มบล็อก Bloggology

*** หมายความว่า ==>> หากต้องการอ่านเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ถูกอ้างอิงการย้ายฐานกลับมา ดังกล่าวแล้วต้อง คลิกตาม Link ที่ทำไว้ให้แล้ว <ข้างล่างนี้> กลับเข้าไปที่ตั้งกลุ่มอ้างอิงเดิมนะครับ ขอบคุณ ****

---------------------------------------------------------------------

**เรื่อง: แจ้งให้ทราบ

เนื่องจากต้องการใช้พื้นที่กลู่มบล็อกจากเดิมชื่อ The weblog community ด้วยเหตุต้องเปลี่ยนแปลงชื่อหัวใหม่ กลุ่มใหม่ ในชื่ออื่นให้สอดคล้องกับการใช้งานจริง ประหยัดเนื้อที่ยิ่งขึ้น

จึงขอย้าย 3 เรื่องแรกที่ปรากกฏบนกลุ่ม blog เดิม ได้แก่


  • หน่วยพื้นฐานของ The weblog community – สังคมชุมชนเว็บบล็อก (01)
  • The weblog community – ชุมชนเว็บบล็อก: ชั้นเรียนของผู้มีประสบการณ์ตรง
  • ประกาศเปิด "The weblog community" (ทดสอบระบบใหม่)


  • ย้ายมายุบรวมไว้กับ กลุ่ม Bloggology หรือ Studying Blog นี้



    a_somjai
    14-01-2008



    by
    a_somjai's blog a_somjai




     

    Create Date : 14 มกราคม 2551    
    Last Update : 1 กุมภาพันธ์ 2551 4:25:57 น.
    Counter : 809 Pageviews.  

    Burmese Bloggers: บล็อกเกอร์ในพม่า 2007/2550




    เนื้อเรื่องเต็ม a_somjai's blog โพสต์ที่ The Internet Shutdown in Burma: การปิดกั้นอินเตอร์ในพม่า 2007/2500


    รายงานสด ๆ ร้อน ๆ (ตุลาคม-พฤศจิกายน-ธันวาคม 2007/2550) ของ OpenNet Initiative เรื่อง Pulling the Plug: A Technical Review of the Internet Shutdown in BurMa (file PDF)


    เป็นกรณีศึกษา ที่แสดงให้เห็นถึง "โลกของข่าวสารข้อมูลที่ปิดกั้นได้ยากในยุคดิจิตอล" โดยเฉพาะการตื่นตัวของพลเมืองธรรมดา ที่เป็นประชากรเล่นเน็ตในรูปแบบ Blogger ในรูปของการแชร์ข้อมูลภาษาเขียน ภาพถ่ายนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ที่ถูกบันทึกไว้จากผู้ร่วมอยู่ในเหตุการณ์เดินขบวนประท้วงรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า จากสถานที่จริง อันถ่ายทอดสะท้อนจากอารมณ์ความรู้สึกของประชาชนชาวพม่าที่ต้องต่อสู้กับอำนาจรัฐ(เผด็จการ) นำเสนอผ่านช่องทางเปิดให้ตนเองได้ทำการสื่อสาร เผยแพร่ข้อเท็จจริงออกไปสู่ชาวโลกอื่น ๆ ได้สะดวกรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์และไร้ข้อจำกัด มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

    ขณะที่(อำนาจ)รัฐเองก็พยายามปิดกั้นอินเดอร์เน็ตอย่างสุดฤทธิ์สุดเดช นอกจากการใช้กำลังโดยตรงแล้ว ยังใช้เทคนิคต่าง ๆ ต่าง ๆ มาปิดกั้นการใช้อินเตอร์เน็ตของประชาชนอีกด้วย



    (อ่านรายงานฉบับเต็ม คลิกที่ภาพ)



    บางข้อความ....จากรายงาน ฉบับนี้....











    อ่านเพิ่มเติม
    เว็บไซต์ USjnfo.state.gov วันที่ 01 November 2007 เรื่อง .........
    Protest Images from Burma Showed Web Effectiveness and Frailty

    Images rallied world support, but junta’s control of access enabled blackout

    "Washington -- Media coverage of the pro-democracy protests in Burma depended largely on the bravery and technical know-how of the country’s few citizens who had access to the Internet and cellular phones. However, Burma’s military rulers also showed the challenges bloggers and other citizen journalists face under authoritarian regimes when they effectively isolated the country from outside observers by shutting down Internet service providers (ISPs) and cell phone towers."


    (อ่านข่าวฉบับเต็ม คลิกที่ภาพ)





    เรื่องต่อเนื่อง




    2. ภาพและเสียง การคัดค้าน “เผด็จการ รัฐบาลทหาร พม่า” บนอินเตอร์เน็ต


    ตัวอย่างข่าวสารภาคประชาชนยุคดิจิเตอลเอจ ที่นำเสนอบันทึกเหตุการณ์ ประชาชนพลเรื่อนพม่าต่อต้านเผด็จการทหารพม่า นำโดยพระภิกษุสงฆ์ในพม่า ในช่วงเดือน กันยาน-ตุลาคม-พฤศจิกายน 2007-2550 นี้ ที่ a_somjai สำรวจจากเว็บไซต์ YOU TUBE



    (อ่านเรื่องนี้ คลิกที่ภาพ)



    1. Burma Blogs Blocked

    a_somjai อ่าน รายงานกรณีศึกษาเรื่อง "Internet Filtering in Burma in 2005" (fle pdf) ของInternet Flitering in Burma in 2005: A Coutry Study เมื่อปี 2005/2548 พบว่า "พม่า เพื่อนบ้านด้านตะวันตกของไทยเรา หรือ เดี๋ยวนี้เรียกชื่อว่า เมียนม่าร์ (Burma = Myanmar) เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ได้เริ่มมีการจำกัดการใช้อินเทอร์เน็ตโดยการควบคุมดูแลการออนไลน์ของพลเมืองตนอย่างเข้มงวด ในระดับขั้นที่เรียกได้ว่าเป็น "สังคมเผด็จการออนไลน์" มากที่สุดในโลกทีเดียว



    (อ่านเรื่องนี้ คลิกที่ภาพ)












    posted by a_somjai on Sunday December 16, 2007 @ 8:41 AM
    .




     

    Create Date : 16 ธันวาคม 2550    
    Last Update : 19 ธันวาคม 2550 0:44:17 น.
    Counter : 642 Pageviews.  

    BLOG, BLOGGING, BLOGGER: ปรากฏการณ์บล็อกระบาดในเอเชีย - Asia's blogosphere 2006



    ในแง่การศึกษาเรื่องบล็อก (blogology บล็อกวิทยา/บล็อกศาสตร์)แล้ว สิ่งที่เราสนใจติดตามในช่วงปีนี้ คือ Windows Live Spaces เจ้าใหญ่แนวหน้ารายหนึ่งที่ให้บริการผู้ใช้สื่อดิจิตอลด้วยบริการหลากหลายได้แก่ “เปิดให้สามารถพิมพ์โพสต์เผยแพร่ weblog หรือ blog บนโทรศัพท์มือถือ, เพิ่มรายการเพลง/ดนตรีและจัดการธุระปะปังกับเพื่อน ๆ ได้”


    แน่นอน! เรื่องราวของ Windows Live Spaces เป็นเรื่องปรากฏการณ์ทางธุรกิจของบรรษัทยักษ์ใหญ่ในการขยายจักรวรรดิบนโลกไซเปอร์


    แต่สำหรับเรื่องของโลกของ ‘Blog –บล็อก’ แล้ว ทุกก้าวย่างของ Windows Live Spaces – Blog นั้น หมายถึงทิศทางของความเป็นอยู่และจะเป็นไปของชีวิตในโลกออนไลน์บนบรรยากาศการเล่นบล็อก (blogosphere) เลยทีเดียว



    สำหรับเราชาวเอเชีย
    รายงานการวิจัยสด ๆ ร้อน ๆ (พฤศจิกายน ๒๕๔๙) เรื่องของ Asia's blogosphere 2006 (ปรากฏการณ์การเล่นบล็อกของชาวเน็ตประเทศในเอเชีย ปี พ.ศ. ๒๕๔๙) ของ Microsoft's MSN and Windows Live Online Services Business น่าสนใจ….จึงขอนำข่าวคราวมาเล่าต่อพอหอมปากหอมคอไว้ดังนี้



    "Blogging Asia: A Windows Live Report",
    ผลการศึกษาที่สำคัญ- Key Research Findings;


     เกือบครึ่งหนึ่งของประชากรออนไลน์ในเอเชีย มีบล็อก-blog (46%)

     74% ของชาวเน็ตประเทศเอเชียเล่น/ให้ความสนใจ blogs เพราะเกี่ยวข้องกับ “เพื่อนและครอบครัว” มากที่สุดกว่าเหตุผลอื่น

     เด็ก/เยาวชนและผู้หญิง มีจำนวนมากและเป็นผู้มีส่วนสำคัญในโลกของบล็อกในเอเชีย (ยกเว็น “ในพื้นที่อิทธิพลของพวกผู้ชาย” และข้อยกเว้นที่ประเทศเกาหลีใต้ซึ่ง การเล่นบล็อก – blogging เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันสำหรับใครทุกคน)

     50% (ของบล็อกเกอร์ในเอเชีย) เชื่อว่า เนื้อหาของบล็อก (blog content) เป็นความจริงที่เชื่อถือได้ เหมือนกับ สื่อหลักที่เคยมีมา (traditional media –สื่อกระแสหลัก เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ และสถาบันราชการ เป็นต้น __ a_somjai)

     ชาวบล็อกเกอร์ในเอชีย 41% ใช้เวลามากกว่า 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เล่น(โพสต์/เขียน-อ่าน) blogging

     มากกว่า 40% ในหมู่ชาวบล็อกเอเชีย “มีผู้มาเยี่ยมบล็อกของตน น้อยกว่า 10 visitors ต่อสัปดาห์”




    นอกจากนี้ ในรายงานวิจัยดังกล่าว ยังแสดงให้เห็นว่า การเล่นบล็อก - blogging เป็นปรากฎการณ์ทางสังคมอันมีนัยสำคัญแสดงถึง “การใช้บล็อกเป็นเครื่องมือสร้างโอกาสและรักษาไว้ซึ่ง การเชื่อมต่อทางสังคม และเพื่อแสดงตัวตนของพวกเขา” (อ้อ---หากจะให้ชัดเจน ก็ลองคลิก/เปิดไปอ่านบทต้น ๆ บล็อกย่อยหมวด Blogology ที่ a_somjai เล่น blogging ไว้แล้วก็ได้)


    เป็นที่น่าสนใจกว่าคือ การสำรวจนี้ ทำกับประชากรกลุ่มตัวอย่าง ผู้เข้าเยี่ยมชมเวปไซต์ MSN จำนวน 25,000 visitors ครอบคลุมชาวเอเชียใน 7 ตลาด ได้แก่ - Hong Kong, India, Korea, Malaysia, Singapore, Taiwan, and Thailand

    แต่…อะ อะ… งัยรายละเอียดเกี่ยวกับบล็อกเกอร์เชาวไทยกลับไม่มีกล่าวถึงไว้ในรายงานต่าง ๆ (ที่ a_somjai ออกแรงค้นหามาอ่านได้) เลย …เฮ้อ

    (และโปรดสังเกตนะครับว่า... งานสำรวจของ MSN ครั้งนี้ ไม่ครอบคลุมประชากรเน็ตตลาดกลุ่มใหญ่ที่สุดในเอเชีย---คือจีนแผ่นดินใหญ่--- ข่าวบางสำนักว่าช่วงเวลาที่ผ่านมาถึงทุกวันนี้มีผู้เปิดบล็อก โพสต์ด้วยภาษาจีน มากมายเป็นประวัติการณ์นับได้สิบ ๆ ล้านบล็อก ขณะที่ประชากรเน็ตที่อ่านบล็อกมีเป็นร้อย ๆ ล้านคนทีเดียวเชียวแหละ!)


    แต่ไหน ๆ ก็ไหน ๆ แล้ว
    หลายวันนี้ ผู้เขียนตั้งใจว่าจะออกไปลาดตระเวนโลกไซเปอร์ เพื่อเก็บเกี่ยวเรื่องราวของชาวบล็อก ในเอเซียในภูมิภาค-ประเทศ-ท้องถิ่นมาคุยสู่กัน

    ใครสนใจก็ติดตาม
    ใครไม่สนก็ข้ามไปอ่านเรื่องอื่นละกัน
    อิสรภาพบนบล็อก - อินเตอร์เน็ต ไม่มีใครก้าวก่ายกันดอกนะท่าน


    สำหรับวันนี้
    ศรีสวัสดี
    ครับ
    ท่านผู้เข้ามาเยี่ยมทุกท่าน






    * อ้างอิง/ตามอ่านในรายละเอียด;
    1. Dmasia.com: Blogging is social phenomenon in Asia: report 28/11/2006 by Parthajit
    2. Blogging Phenomenon Sweeps Asia Nov. 28
    3. Study: Blogging for social connections and self-expression
    4. Blogomania grips Asia, says Microsoft By Stuart Corner Wednesday, 29 November 2006


    ** posted by a_somjai Wednesday, February 21, 2007 @ 3:26 AM.





    UPDATED: 2007-02-22




    เมื่อหันมามองบ้านเรา
    จากการสังเกตเอาของเราในฐานะคนเล่นบล็อกแล้ว

    เรื่องคนเล่นเน็ต แล้วเล่นบล็อกนี่ เราว่าไม่น่าจะมีถึงร้อยละ 40 (2 ใน 5 คน) ดอกนะ คิดว่าถึงต้นปีนี้คงสักราว ๆ สัก 1 ใน 10 คน ก็ถือว่าโข อยู่อะ

    เรื่องบล็อกเกอร์ชาวไทยให้ความสนใจ blogs, blogging เพราะเกี่ยวข้องกับ “เพื่อนและครอบครัว” มากที่สุดกว่าเหตุผลอื่น ด้วยกับคนเล่นบล็อกในเอเซียประเทศอื่นหรือไม่นั้น ขอฟันธงว่า ใช่แน่นอน เพราะคนไทยเราชอบเล่าเรื่องและชอบฟังเรื่องของ เพื่อน ๆ และครอบครัว อยู่แล้ว

    เรื่องเด็ก/เยาวชนและผู้หญิง เล่นบล็อกมากกว่าผู้ชายและวัยอื่น ๆ นั้นก็คงจริงเหมือนกัน ไม่เชื่อก็ลองเข้าไปสำรวจในหน้ารวมชุมชน Bloggang.com ดู---ที่บล๊อกรายชื่อสมาชิกที่มีผู้เข้าเยี่ยมชมมากสุด ๆ ที่กรอบ TOP Page views by ทรูฮิต ดูนะครับ, จะพบว่า สมาชิกยอดนิยมเหล่านั้นคุณเธอ(เอาเป็นว่า 9 ใน 10 blogs)ล้วนเป็น ผู้หญิง, โพสต์เรื่องเล่า พูดคุยกันแบบหญิง ๆ และในแง่ของการเล่นบล็อกเพื่อการเชื่อมต่อทางสังคม - Blogging for social connections นั้นก็ดูได้ที่ visitors ที่เข้าบล็อกมาอ่าน-มาฟัง-มาดูเนื้อหาในบล็อกแล้วทิ้ง comments ไว้ จะพบว่าผู้เข้ามาเชื่อมต่อสังสรรค์สังคมกันเหล่านั้นก็ล้วนแล้วแต่เป็นผู้หญิง ในสัดส่วน(หญิง 9:ชาย 1) คือผู้หญิงเล่นบล็อกมากกว่าผู้ชายประมาณเดียวกันแหละ.. จริงมะ

    ส่วนข้อยกเว้นที่บล็อกเกอร์หญิงมีส่วนเข้าไปร่วมอ่าน ร่วมเขียนด้วยน้อยในพื้นที่ของผู้ชายนั้น a_somjai เข้าใจว่า คงเป็นบล็อกเขียน-คุยกันเรื่องที่ผู้ชายมีแนวโน้มให้ความสนใจเป็นพิเศษ เช่น เรื่องเทคโนโลยี เรื่องการเมือง เป็นต้น


    ส่วนข้อเท็จจริงอันสุดท้ายคือสถิติผู้เข้ามาเยี่ยมชมบล็อกของตนต่อสัปดาห์ ที่บอกว่าบล็อก 2 ใน 5 มี visitors เข้ามาไม่เกิน 10 รายนั้น คงทำให้เพื่อน ๆ บล็อกเกอร์บ้านเราหลายต่อหลายท่าน..เรียกว่าส่วนใหญ่ สบายใจได้ละซิ..เนอะ! ...อิอิ


    a_somjai




     

    Create Date : 21 กุมภาพันธ์ 2550    
    Last Update : 24 กุมภาพันธ์ 2550 2:52:14 น.
    Counter : 521 Pageviews.  

    Love blog: การทดลองสืบค้นจาก Search Engines ทางเลือก


    Posted by a_somjai on Wednesday, February 14, 2007 @ 4:29 AM.



    ถ้าคุณ ค้นหา – search หาคำว่า love blog ใน search engine บนอินเตอร์เน็ตเมื่อเวลาราว ๆ ตีสองของวันนี้ (วันวาเลนไทน์ปี พ.ศ. ๒๕๕๐)
    คุณจะพบอะไร?

  • ที่ Google ประเทศไทย
  • คุณจะพบว่ามี Web / Website (เว็บ) แสดง
    ผลการค้นหาไว้ถึงประมาณ 334,000,000 สำหรับคำว่า love blog. (0.11 วินาที)

    ส่วนหน้าตาการแสดงรายการข้อมูลไว้ จะเป็นอย่างไรนั้น ก็ลองคลิกตามไปดูกันเองก็แล้วก้นครับ


    เออ…แล้วคราวนี้
    เราจะทดลองตามไปดู คุณภาพของการค้นหา สุดยอด 100 Search Engines ทางเลือกบริการสืบค้นข้อมูล (นอกเหนือจาก Google, Yahoo!, และ MSN) ที่โพสต์ลง blog around the blog ไว้เมื่อคราวก่อนหน้านี้กันดู (ทดลองกันสัก 2-3 เจ้า ดูก่อน, แล้วโอกาสหน้าค่อยทดลองกับ คำ-ความ-เรื่อง อื่น ๆ กัน)



  • A9
  • มี search sources by topic ให้เลือกมากกว่าสิบทางเลือก หากทดลองใช้บริการอย่างรวดเร็ว (quick start) แล้ว A9 จะใช้งาน การสืบค้นและแสดงผลโดยบริการค้นหาสองแห่งได้แก่ ค้นหาเว็ปโดย live.com และค้นหาหนังสือโดย amazon

    (web by or power by) live.com หรือ Windows Live แสดงผลจากการค้นหาคำว่า love blog ไว้ 15,095,063 results

    ส่วนผลการค้นหา love blog จากรายชื่อหนังสือของ Amazon.com แสดงไว้ 3,873 results

    ไหน ๆ ก็โพสต์เรื่องนี้ใน วันแห่งความรัก - Valentine’s day แล้ว เลยถือโอกาสนำเนื้อความดี ๆ สั้น ๆ จากผลการสืบค้นในเว็ปที่น่าสนใจมาลงไว้ ดังนี้….

    1 iamlove.blogspot.com
    The Love Blog a personal view of the world from a hopeful human being longing for a world of love, for an earth called Unity.
    //iamlove.blogspot.com/ -

    2 Love Blog thoughts of spirituality raise mass consciousness
    Love Blog thoughts of unconditional love, spiritual truths and metaphysics elevates mass ... Mass consciousness is the sum of cumulative thoughts emanating from every person.
    //www.clickfx.net/loveblog/ -


    4 Love Without Boundaries Blog
    Love Without Boundaries is a worldwide group of volunteers who have realized that people with a pure love for helping children can truly make a difference.
    //lwbchinablog.blogspot.com/ -




    ไปดู image –ภาพ จากการค้นหา love blog กันบ้าง

  • ConGoo.com

  • แสดงผลการค้นหาภาพ (Web Results for love blog ) จากเว็ปไซต์ต่าง ๆ จำนวน 6545 รายการ

    ลองตามไปดูภาพจากเว็ปตัวอย่างกัน—



    weloveblog-thumb....
    142x142, 10K
    aiba.tv




    YouKnowyouLoveSom...
    663x369, 24K
    www.LoversQuotes.com




    love-heart.jpg
    251x226, 15K
    www.djsta.org






    มาส่งท้ายกันด้วย ภาพจากเพื่อน – Friend ของ a_somjaiจาก flickr.com


    "The Heart that Sings"




    by caribbeanfreephoto



    เขา (caribbeanfreephoto - Georgia Popplewell ) ใช้ภาพนี้โพสต์ใน บทความวัน Valentine's Day ที่ Global Voices ด้วย, นักกลอนที่เขียนภาษาสากลได้ก็ตามลิงค์ไปประกวดบทกวีได้ที่ Enter the Global Voices Valentine’s Day poetry contest! - //www.globalvoicesonline.org/?p=20816




    ศรีสวัสดีวันแห่งความรักครับ
    a_somjai







     

    Create Date : 14 กุมภาพันธ์ 2550    
    Last Update : 14 กุมภาพันธ์ 2550 4:55:21 น.
    Counter : 410 Pageviews.  

    เครือเนชั่นเปิดบล็อกแล้ว: ยินดีตอนรับ OK Nation Blog

    เมื่อโลกเราก้าวเข้าสู่ยุคการปฏิวัติดิจิตอล (The Digital Revolution) มาจนทุกวันนี้ (ต้นปี 2007/2550) การปะทุขึ้นโดยกลไกของเทคโนโลยีการสื่อสารและข่าวสารข้อมูลนั้น ได้เปลี่ยนแปลงรากฐานแนวคิดของประชาชน, แนวทางการประพฤติ, แนวทางการติดต่อสื่อสาร, รวมทั้งแนวทางการทำงานและแนวทางการทำมาหากินอย่างใหญ่หลวงกว้างขวางที่สุดนับแต่มีสังคมมนุษย์มาก็ว่าได้

    (อ้อ… ลองมองหาตัวอย่างนี้ได้ง่าย ๆ จากปรากฏการณ์ คนเดินไปพูดไปคนเดียวกับโทรศัพท์มือถือตามท้องถนนหนทาง เหมือนคนบ้าบ่นดัง ๆ อยู่คนเดียว ไปจนถึงดูเหมือนพวกเขาโต้เถียงกับตัวเองอยู่คนเดียวในที่สาธารณะต่าง ๆ ก็ได้ …และแม้แต่ในเขตชนบทภูดอยก็จะเห็นการใช้โทรศัพท์มือถือของเกษตรกรในท้องทุ่งหรือไร่นาสวน เหล่านี้ก็มีอยู่ทั่วไป)

    การปฏิวัติดิจิตอลเทคโนโลยีได้ให้แนวทางใหม่สร้างเสริมการสร้างสรรค์ความรู้, การศึกษาของประชาชนและการเผยแผ่ข้อมูลข่าวสาร การปฏิวัติเทคโนโลยีดิจิตอลได้ปรับสร้างโครงสร้างแนวทางการอำนวยการเศรฐกิจโลกและโครงสร้างแนวทางการดำเนินธุรกิจการค้า, โครงสร้างการบริหารงานราชการและการสร้างความสนใจทางการเมืองการปกครอง

    การปฏิวัติดิจิตอลเทคโนโลยีได้ให้การสนับสนุนช่องทางนำส่งที่รวดเร็วขึ้นสำหรับความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์และสุขภาพอนามัยแก่มนุษยชาติ และได้ให้วิสัยทัศน์ใหม่สำหรับการปกป้องสภาพแวดล้อม การปฏิวัติดิจิตอลเทคโนโลยีได้สร้างสรรค์แนวทางนันทนาการใหม่ ๆ และรูปแบบเนื้อหาการใช้เวลาว่างของมนุษย์

    ดังนั้น การกระจาย ผลของการปฏิวัติดิจิตอล ไปสู่พลเมืองโลกอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันจึงเป็นสิ่งที่ท้าทายยุคสมัยที่เรามีชีวิตอยู่ร่วมกันในโลกดวงนี้

    ขณะที่มีการดำเนินการเพื่อยกระดับเสรีภาพในการติดต่อสื่อสารระหว่างพลเมืองโลกและการพัฒนาหมู่บ้านโลกไปสู่สังคมแห่งความรู้ดังกล่าวแล้วนั้น แบบชีวิตสังคมวัฒนธรรมอินเทอร์เน็ตและหรือฃุมชนออนไลน์ของประชากรเน็ต(ผู้เข้าถึงผลแห่งการปฏิวัติดิจิตอล)ในแต่ละประเทศ ได้เปิดช่องให้ก่อเกิดรูปแบบเนื้อหาของการผลิตสร้างและเสพข่าวสารความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นอย่างมากมายมหาศาล

    นอกจากข้อเท็จจริงที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถทำงานได้รวดเร็ว ไม่จำกัดช่วงเวลา และการติดต่อสื่อสารกินอาณาเขตกว้างไกลไร้ขีดคั่นพรมแดนแล้ว ผลของมันคือรูประเบียบที่ฝั่งแน่นในโครงสร้างระบบสังคมแบบเดิม ๆ ถูกกระทบกระเทือนอย่างแรงถึงขั้น "วิถีชีวิตตามคุณค่าแบบใหม่ในวัฒนธรรมอินเทอร์เน็ตได้ละเมิดคุณค่าแบบเก่า ๆ ที่วิถีชีวิตสังคมเดิมเคยยึดถือและปฎิบัติกันมา" จนกระทั่งดูเหมือนว่าสถาบันทางสังคมและกฏเกณฑ์มาตรฐานตามธรรมเนียมประเพณีเก่า ๆ ที่เคยใช้ควบคุมสังคมให้(เชื่อร่วมกันว่า)สังคมอยู่ในภาวะปกติเรียบร้อยดีนั้น สูญเสียสิทธิธรรมและอำนาจในการบริหารจัดการประชาชนและสังคมของตนเองได้โดยดีอีกต่อไป

    ด้วยเหตุนี้เอง การเปลี่ยนแปลงปรับตัวครั้งใหญ่ขององค์กรทุกระดับทุกภาคส่วนทั่วโลกจึงเกิดขึ้นอย่างผลิกฟ้ารื้นแผ่นดิน (ในภาคส่วนของสื่อสารมวลชนขอแนะนำให้เข้าไปอ่านดูความเคลื่อนไหวในกระแสได้ที่ เวปไซต์ | Online Journalism Review | I Want Media: a Web site focusing on diversified media news and resources. It provides quick access to media news and industry data, updated throughout the day. |AlterNet : The mix message of news magazine and online community |ZonaEuropa.com | BBC.UK | Reporters Without Borders, และ |The Editors Weblog: Editorial solution for newspaper renaissance)


    ที่เกริ่นนำเสียยืดยาวนี้ ก็เพื่อที่จะบอกว่า
    โลกสื่อสารมวลชน ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากและรวดเร็ว (จนคนที่อยู่ในวงการนี้เอง ก็ยังตามกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมาแทบทุกวินาที ---ไม่ทัน)


    อย่างเช่น (เข้าประเด็นเสียที) ความจริงแล้ว “สื่อกระแสหลัก mainstream media (MSM)” ที่ดำรงอยู่เดิม หมายถึง หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง ได้กลายเป็น สื่อเก่า – Old media อย่างรวดเร็ว (และคนในวงการสื่อจำนวนมากก็ยังไม่รู้ตัวว่า ตนเองตกยุคไปตั้งนานแล้ว –อิ อิ อิ ก็อ่านเอาจากโลกออนไลน์นี้แหละ มีว่าไว้มากในบล็อกที่โพสต์โดยคนในวงการสื่อเขาว่ากันเองนะเออ)

    ด้วยเหตุว่า “พื้นที่สื่อบน weblog, บนอินเทอร์เน็ตหรือบนโลกออนไลน์” ได้ก้าวเข้ามา(แย่งชิง, เบียดขับ, ขอพูดด้วยคน) เพื่อ “ท้าทาย” การกุม “อำนาจ” ผ่านเรื่องเล่าและการเล่าเรื่องในสังคมโลกยุคดิจิตอลไปบ้างแล้ว และจะยิ่งรุกรานพื้นที่ของสื่อ(แบบ)เก่าไปเรื่อย ๆ

    Blog หรือ Weblog นั้น เป็น New media เป็นสื่อกระแสรอง ที่มาแรงมาก เห็นได้จากการมีศัพท์บัญญัติ ขึ้นใช้บอกคุณลักษณะของ คนทำงานหรือการทำงานบนพื้นที่สื่อชนิดใหม่บนโลกดิจิตอลในรูปแบบเนื้อหาของ Blog หรือ Weblog อยู่หลายคำ ดังนี้

  • grassroots journalism

  • networked journalism

  • open source journalism

  • citizen media

  • participatory journalism

  • hyperlocal journalism

  • bottom-up journalism

  • stand-alone journalism

  • distributed journalism


  • [อ่านประเด็นนี้ที่นี่ => MSM vs. Blogs (Citizens media) ทั้งในส่วนเนื้อหาและประเด็นข้อมูลเพิ่มติมในส่วนคอมเมนต์]


    เมื่อหันมามอง “โลกของบล็อก หรือ blogosphere ในเมืองไทย” เรา พบว่ามีผู้คนเปิดเวปบล็อกส่วนบุคคล/ส่วนตัว และเปืดบล็อกเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในลักษณะชุมชนบล็อก เกิดขึ้นจำนวนหนึ่ง และนับวันก็จะมากขึ้นเรื่อย ๆ

    เอ้าอ้างอิงเสียหน่อย—a_somjai เคยโพสต์ไว้เมื่อ เดือนพฤษภาคม ปีกลาย (2006/2549) (อ่านที่นี้ ) มีรายงานที่น่าสนใจดังนี้

    ตัวอย่างเวปไซต์ที่เปิดให้บริการเล่นบล็อกในลักษณะชุมชนชาวบล็อกของเมืองไทยเราเวลานี้ (ไม่รวมไซต์ประเภทเวปบล็อกส่วนบุคคล และไซต์ที่เปิดเวปบล็อกของหน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน) ได้แก่

  • www.bloggang.com

  • www.Exteen.com

  • www.storythai.com

  • www.diarycafe.com

  • www.diaryclub.com

  • www.blogdd.com

  • www.whenifallinlove.net

  • www.diaryhub.com

  • www.monrak.net

  • www.manager.co.th

  • www.updiary.com

  • www.glomblog.com

  • www.diaryis.com

  • www.diarylove.com



  • จากข้อมูลปีกลายข้างต้น เวปของสื่อมวลชนไทยที่เปิด Weblog Community มีอยู่เพียงค่ายเดียวคือเครือหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ www.manager.co.th

    แต่ข่าวล่าวันนี้คือ – ก็อย่างที่ขึ้นหัวเรื่องบล็อกโพสต์นี้ว่า

    เครือเนชั่นเปิดบล็อกแล้ว: OK Nation Blog


    ผู้ดูแล OK Nation Blog เขียนแนะนำตัว “เกี่ยวกับเรา” ไว้เมื่อ วันศุกร์ ที่ 19 มกราคม 2550 (Post by blog_guru : 18:22:40 น.) ว่าอย่างนี้ครับ—

    OK nation เกิดขึ้นจากความต้องการสร้างสถานที่สำหรับอิสระทางปัญญา ทุกคนมีสิทธิเขียน เผยแพร่ความคิดผ่านอินเทอร์เน็ต ช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด

    เนชั่นกรุ๊ป ในฐานะสื่อที่ทำหน้าที่ ตรงไปตรงมา ด้วยความน่าเชื่อถือ ทันเหตุการณ์ อย่างสร้างสรรค์ เปิดบล็อกสำหรับทุกท่าน เพื่อบอกเล่าเรื่องราว สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ประสบการณ์ ความรู้ ถ่ายทอดสู่ผู้อื่น ร่วมแสดงความเห็นอย่างเสรี

    เราขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมเปิดบล็อกกับ OK nation ด้วยขั้นตอนง่ายๆ เพียง 3 ขั้นตอน เริ่มต้นจาก ลงทะเบียน , สร้างบล็อก และเลือก Template ที่ต้องการ ที่นี่นอกจากจะใส่เรื่องราวของคุณในรูปแบบตัวหนังสือแล้ว ยังสามารถใส่เก็บรูปภาพเป็นแกลอรี่ หรือจะใส่วิดีโอคลิป เราเตรียมพื้นที่ไว้รองรับอย่างเพียงพอ

    หากมีข้อสงสัย หรือ ต้องการแนะนำ สามารถเขียนลงไปในช่องแสดงความคิดเห็นได้ทันที

    ขอบคุณ

    ทีมงาน OK nation



    a_somjai ในฐานะ Blogger ชาวไทยผู้หนึ่ง -- : ยินดีตอนรับ OK Nation Blog ครับ


    ป.ล. ที่อยู่ที่ติดต่อได้ของชุมชนเวปบล็อกนี้คือ
    www.oknation.net
    44 หมู่ 10 ถนนบางนา-ตราด กม.4.5 บางนา กทม 10260
    โทร.02-316-5900
    email: charlee@nationgroup.com






    posted by a_somjai on 2007-01-24 at 3:46 AM.
    Tags: Thai Blogosphere, Weblog, Web Blog Community, mainstream media, citizen media, new media




     

    Create Date : 24 มกราคม 2550    
    Last Update : 5 มิถุนายน 2550 8:26:15 น.
    Counter : 1067 Pageviews.  

    1  2  3  4  5  6  

    a_somjai
    Location :
    เชียงใหม่ Thailand

    [Profile ทั้งหมด]

    ฝากข้อความหลังไมค์
    Rss Feed
    Smember
    ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




    Friends' blogs
    [Add a_somjai's blog to your web]
    Links
     

     Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.