<<< a_somjai a_somjai's blog === อ่านเขียนบล็อก อ่านเขียนโลก <<<== a_somjai อ่านเขียนบล็อก a_somjai a_somjai's blog
Group Blog
 
All Blogs
 

2008-01-01 [บันทึกสรุประยะก่อตั้ง] LAO study @ A_somjai's blog: อ้างอิง (2007-11/12)

LAO study
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=esanlanna&group=12
: อ้างอิง (2007-11/12)

รายการบล็อกระยะเริ่มก่อตั้ง จำนวน 10 รายการ ดังนี้:

  • 20-12-2007 เรื่องเหาเหา <พักฟังลำ “อุ้ยตาย!...ผัวข้อย...มีเหา”>
    //www.bloggang.com/mainblog.php?id=esanlanna&month=20-12-2007&group=12&gblog=10

  • 14-12-2007 คิดฮอดเมืองลาว – I miss Laos. บทผนวก/จบ (6)
    //www.bloggang.com/mainblog.php?id=esanlanna&month=14-12-2007&group=12&gblog=9

  • 09-12-2007 คิดฮอดเมืองลาว – I miss Laos. (5)
    //www.bloggang.com/mainblog.php?id=esanlanna&month=09-12-2007&group=12&gblog=7

  • 07-12-2007 คิดฮอดเมืองลาว – I miss Laos. (3)
    //www.bloggang.com/mainblog.php?id=esanlanna&month=07-12-2007&group=12&gblog=6

  • 04-12-2007 คิดฮอดเมืองลาว – I miss Laos. (2)
    //www.bloggang.com/mainblog.php?id=esanlanna&month=04-12-2007&group=12&gblog=5

  • 30-11-2007 คิดฮอดเมืองลาว – I miss Laos. (1)
    //www.bloggang.com/mainblog.php?id=esanlanna&month=30-11-2007&group=12&gblog=4

  • 27-11-2007 Lao study: จาก“ขี่เก๋งอย่าลืมเกวียน” เมืองไทย ถึง “อย่าลืมเมืองลาว”
    //www.bloggang.com/mainblog.php?id=esanlanna&month=27-11-2007&group=12&gblog=3

  • 25-11-2007 Loa Study: ฟ้อนลาวดวงเดือน เมืองไทย-เมืองลาว
    //www.bloggang.com/mainblog.php?id=esanlanna&month=25-11-2007&group=12&gblog=2

  • 22-11-2007 Loa study: ร้อง เพลง และ ฟ้อน จำปาเมืองลาว หรือ ดวงจำปา
    //www.bloggang.com/mainblog.php?id=esanlanna&month=22-11-2007&group=12&gblog=1





    หน้าอ้างอิง: รหัสและคำสั่งสำหรับ
    “Online or InterNet Resources หมวดบล็อก Lao Study”
    ที่รวบรวบไว้โดยหน้า A_Somjai’s Blog
    บันทึก สรุป ไว้ ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 (2008-01-01)







    Lao Kids by Mathew Knott @ Flickr.com


    LAO STUDY - ลาวศึกษา
    (ล้านนา-อีสาน-ล้านช้าง)







    Mouay-lao-sign-2 by aysomphone @ Flickr.com

    ป้าย:มวยลาว ภาพโดย อ้ายสมโพน @ aysomphone's Flickr













    by
    a_somjai's blog a_somjai on Tuesday, January 01, 2007 @ 1.15 PM.




     

    Create Date : 01 มกราคม 2551    
    Last Update : 29 มิถุนายน 2551 3:18:22 น.
    Counter : 4039 Pageviews.  
  • เรื่องเหาเหา <พักฟังลำ “อุ้ยตาย!...ผัวข้อย...มีเหา”>

    เรื่องเกี่ยวข้อง: “SAPA LI HAOW” (คำเตือน: เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีไม่ควรเข้ามาชมโดยลำพัง)


    ช่วงนี้กำลังรวบรวมแห่งข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต เกี่ยวกับ LAO STUDY - ลาวศึกษา ให้ครอบคลุมหลาย ๆ ด้านทั้งทางล้านนา อีสาน และล้านช้างทางเมืองลาว รวมไปถึงเรื่องของไทใหญ่ ไต ไทลื้อทางรัฐฉานของประเทศพม่าและคนไทคนลื้นคนลาวจากดินแดนสิบสองปันนาในเขตจีนตอนใต้ด้วย ก็เป็นภาพใหญ่ที่รวบรวมมาจากทั่วโลกแหละ (ยกเว้นภาษาที่เราไม่รู้ เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษาจีน ภาษาเวียตนาม ภาษาเขมร และภาษาพม่า เป็นต้น) ดังที่เห็นเป็นกลุ่มอยู่ด้านซ้ายของหน้า a_somjai’s blog นั้นแหละ (โปรดสังเกต …ขอบอก..อิอิ)

    LAO STUDY - ลาวศึกษา ก็เลยขอพักเรื่องลึก ๆ หนัก ๆ ไว้ก่อน
    มื้อนี้ ก็เลยขออนุญาต…บ่เว้าหลาย
    หากใครอยู่วาง ๆ บ่รู้จะทำอะไร ก็เลยชวนไปหาเหากันดีกว่า
    (5 5 5 5 5)


    ปะ..ตำอิด หัวที ทีแรก* นี้ เฮาไปฟังลำกันถ้อน*…พี่น้อง




    เพลง: ผัวมีเหา
    ร้องโดย: มาลาพอนพิกุน (มาลา พรพิกุล)
    แต่งโดย: (ภาพไม่ชัด อ่านไม่ออก)


    From: nofixedaddress Added: July 03, 2006
    About This Video: Poua Mee Haow, Maarapone pigoune
    ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=7VQ-uFu6oHQ

    คำร้องเพลง ผัวมีเหา
    (ถอดจากอักษรวิ่งพาสาลาว)

    อุ้ยตายผัวข้อยมีเหา (ๆ)
    แม่นไป*ติดเอานำผู้ใด๋*มา
    ทุกวันคือเห็นเจ้าสระหัว*อยู่นี่หนา มามีเหาได้
    อุ้ยเป็นตาหน่าย*ผู้ชายมีเหา

    แต่ก่อนกะยังบ่มี (ๆ)
    ตกมาเดี๋ยวนี้ หยัง*มามีเหา
    เฮ็ดให้ข้อยอุกอั่งเอ้า*
    เจ้าไปติดเหาอยู่ใส*มาอ้าย
    บอกมาไว ๆ อย่าได้ปิดบัง

    หรือว่ายังหาหม้น*
    ซน*ไปบ่เลือกที่ ไปหานอนบ่อนนั้นบ่อนนี้* หนีหน้าแต่ละวัน
    บางวันไป...จนแจ้ง* แฮงบ่มี กลับมาฮอดบ่อน*
    ได้แต่นอนอ่อนอยู่แอ้แล้*..แอ้แล้ โอ้ย แอ้แล้ แอ้แล้
    แท้นอ เจ้าอี่พ่อผัว*

    ในเมื่อ หัวผัว มีเหา (ๆ)
    จำเป็นแล้วเฮานี้ต้องได้ฆ่า*
    บ่จ่ง*มันไว้เลยหนา จับหน้อย*มันมาแผ่ผาย*ไปได้
    กำจัดทั้งไข่เหาใหญ่เหาน้อย

    ขืนปล่อยมันเอาไว้ ต้องอันตรายเอาไว้บ่อยู่
    ซาติว่าคนนิสัยเจ้าชู้ ชูไว้อยู่ซู่แจ*
    ข้อยซิแถ..แถหัว*ของเจ้า คันยังบ่เซา*มีเหาอยู่อ้าย
    แถออกไปแถเลยเดียวนี้ บ่ให้เหาเหลืออยู่ดี๋ดี๋*
    บ่ให้ผัวมี โอยเหาได้ โอยเหาได้.






    หมายเหตุของ a_somjai

    *ตำอิด (ลาว) ตำแหน่ง+แรก หรือ ตำครั้งแรก มาจากคำสองคำว่า; ตำ ที่หมายถึง ชน สะดุด อย่างเว้าลาวว่า รถตำกัน ย่าง(เดิน)ตำกัน หัวตำกัน เป็นต้น อีกความหมายหนึ่งที่ใช้พูดกันบ่อยและเข้าใจกันดีในหมู่ชนไทย-ลาว คือ ตำที่หมายว่า ทิ่มตำ ทิ่มแทง หรือการใช้สากหรือของอื่นที่คล้ายคลึงกับสากทิ่มลงไปเรื่อย ๆ เช่น ตำแจ่ว ตำน้ำพริก ตำสัมตำปักหุ่ง นั้นแล้ว

    เมื่อคนลาวอีสานเว้าว่า ตำอิดตำก่อ เพื่อบอกเล่าหรือชี้แจงต้นสายปลายเหตุที่มาของเรื่องราวนั้น วลีนี้นอกจากแสดงอาการตำ ทิ่ม แทง ชี้หมายไว้แล้ว ยังมีต้นต่อมาจากคำลาวอีกสองคำ คือคำว่า อิด กับ ก่อ; ก่อ หมายว่า ต้นเหตุ ทุกสิ่งเกิดจากเหตุ, ส่วนคำว่า อิด ในความหมายว่าครั้งแรก ต้นต่อ ลำดับแรกนี้ น่าจะมาจากคำเดิมว่า เอ็ด (อีกความหมายหนึ่งแปลว่า อ่อนล้า ว่า อิดอ่อน)

    เพราะว่า เอ็ด เป็นคำเรียกลำดับตัวเลข ๑ ที่อยู่ท้ายเลขจำนวนข้างหน้าที่หารด้วยสิบลงตัว เช่น 21 อ่านว่าซาวเอ็ดหรือยี่สิบเอ็ด = 20+1 , 101 อ่านว่า ร้อยเอ็ด = 100+1 หรืออย่างเรื่องเล่าอาหรับราตรีใน หนังสือ นิทาน 1001 ทิวา หรือ 1001 ราตรี อ่านว่า นิทานพันเอ็ดทิวา นิทานพันเอ็ดราตรี เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีคำเรียกเลขหนิ่งอยู่ในภาษลาวภาษาไทยอีกคำหนึ่งคือคำว่า อ้าย "อ้าย" ใช้เมื่อเป็นจำนวนนับอันดับที่ ๑ เช่นเรียกพี่ชายคนแรกว่าอ้าย, เดือนแรกว่าเดือนอ้าย (ดังนั้น อ้ายจึงเป็นคำเรียกเชิงให้เกียรติยกย่องพี่ชายหรือเมื่อเอ่ยถึงบุรุษที่สามเพศชายที่มีอายุมากว่าเมื่อเปรียบเทียบกับอายุของใครอีกคนหนึ่งแล้ว อนึ่งคนชนบทในภาคเหนือไทย/ล้านนายังคงใช้ อ้าย เรียกขาน ทักท้าย หรือนำหน้าชื่อของผู้ชายโดยทั่วไป ที่ไม่ใช่ผู้เฒ่าผู้แก่ เหมือนกับคนเว้าคำลาวในปัจจุบันอีกด้วย)

    ดังนั้นจึงอาจคิดเอาได้ว่า ตำอิดตำก่อ ที่ถูกน่าจะมาจากคำเดิมว่า ตำเอ็ดตำก่อ ที่พากย์ไทยได้ว่า แรกเริ่มเดิมที นั้นเอง

    และอีกประการหนึ่งน่าสังเกตว่า เอ็ดและอ้าย ของภาษาลาว-ภาษาไทย คล้ายกับคำว่า อิก หรือ อิด เรียกเลขหนึ่งในภาษาจีนแต้จ๋ว หรือออกเสียงว่า อญี่ yi ในภาษาจีนกลาง ดังชื่อนิยายกำลังภายในบทประพันธ์ของโก้วเล้งเรื่องหนึ่งตั้งชื่อตามพระเอกว่า “เซียวจับอิดนึ้ง” แปลตรงตัวว่า “บุรุษที่สิบเอ็ดแซ่เซียว” พิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2512 ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยชื่อ จับอิดนึ้ง และเห็นมีสร้างเป็นหนังจีนฉายทางทีวีและมีเป็นวีดีโอชื่อ จอมโจร จอมยุทธ์ เซียวจับอิดนึ้ง

    [updated: 200-01-03 พบคำว่า "ทำอิด" ในพาสาลาวแล้ว (เสียง ท กับ ต นั้น ออกเสียงแทนกันได้ เช่นล้านนาเชียงใหม่ ทังหลาย ว่า ตังหลาย, ทุ่ง ท่ง หรือ โท่ง ออกเสียงว่า โต้ง เป็นต้น อีกอย่างคำว่า ตำ กับ ทำ นั้นก็มาจาก "กระทำ การ ...อะไรสักอย่าง" เหมือน ๆ กัน)

    ที่เว็บไซต์ ธนาคารพงสะหวัน ซึ่งเป็นธนาคารพานิชย์ (เอกชน) แห่งแรกของ ส.ป.ป. ลาว ที่ //www.phongsavanhbank.com/index_la.php ท่านจะอ่านข้อความภาษาลาวได้จะต้อง มี Lao Font ในเครื่องของท่านเสียก่อนนะครับ ....

    ข้อความภาษาอังกฤษ:
    "Phongsavanh Bank, Lao’s only wholly privately Lao owned bank, opened its doors to the general public in March 2007. With a registered capital of USD$10 million, Phongsavanh Bank provides full retail and commercial banking services to its client base."

    ข้อความพาสาลาว:
    "ທະນາຄານ ພົງສະຫວັນ, ທີ່ເປັນທະນາຄານເອກະຊົນແຫ່ງທຳອິດ ໃນ ສ.ປ.ປ. ລາວ, ໄດ້ທຳການເປີດໂຕຢ່າງເປັນທາງການໃນເດືອນ ມີນາ 2007. ດ້ວຍເງິນທຶນຈົດທະບຽນໃນເບື້ອງຕົ້ນ ຈຳນວນ 10 ລ້ານ ໂດລາສະຫະລັດ, ທະນາຄານ ພົງສະຫວັນ ສາມາດໃຫ້ການ ບໍລິການ ທາງດ້ານການທະນາຄານແກ່ລູກຄ້າທຸກປະເພດ, ລວມທັງລູກຄ້າທຸລະກິດ."

    พากย์ไทย (โดย a_somjai):
    "ธนาคาร พงสะหวัน, ที่เป็นธนาคารเอกชนแห่งทำอิต ใน ส.ป.ป. ลาว. ได้ทำการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดิอน มีนาคม 2007 ด้วยเงินทุนจดทะเบียนในเบื้องต้น จำนวน 10 ล้าน ดอลล่าร์สหรัฐฯ, ธนาคาร พงสะหวัน สามารถให้การบริการทางด้านการธนาคารแก่ลูกค้าทุกประเภท, รวมทั้งลูกค้าธุรกิจ"

    ความ/คำว่า แห่งทำอิต ที่ขีดเส้นใต้ไว้นั้น ตรงกับคำไทยว่า แห่งแรก นั้นเอง

    อนึ่ง โปรดสังเกตว่า...ทุกเว็บไซต์ที่นำเสนอเป็นภาษาลาว จะเขียนเมนู Home หรือ Homepage หน้าแรกของเว็บไซต์ว่า "หน้าทำอิด" เสมอ

    และแล้ว เราก็ได้ข้อสังเกตเพิ่มขึ้นมาอีกว่า... คำ "ทำ" กับ "ตำ" นั้น เป็นคำกลายเสียงกัน และคงมาจากต้นทางเดียวกัน ขอยกเอาวิถ๊ชีวิตพื้น ๆ ที่สุดของคนลาว-คนไทยดั้งเดิมมาอ้างเลยก็ได้ เรื่องที่คนเรามักจะสนทนากันอยู่เป็นประจำก็คือ "ลาว...เอ็ดหยังกัน" "ล้านนา...เยียะหยังกิน" "ไทย..ทำอะไรกิน" คงมาจากความพื้นฐานเดิม ๆ จากบทสนทนาด้วย... "คำถามว่า....ตำหยัง?" และจะได้ "คำตอบว่า...ตำข้าว... ตำแจ่ว ตำน้ำพริก" ตามวัฒนธรรมวิถีชีวิตการกินอาหารของบรรพชนของเรา ดังนั้น ตำ ในที่นี้ก็คือ ทำ.. งาน.. สร้าง... อะไรสักอย่าง ใช่หรือไม่? ดังนี้แล]

    หัวที* (ล้านนา ทีหัว หรือ หัวที นี้เห็นในภาษาวรรณกรรมลาวเดิมก็ใช้ บางครั้งคำปากว่า ที คำเดียว)

    ทีแรก* (ไทย เมื่อเริ่มต้น อันดับที่ ๑)

    [** สำหรับคำว่า ที หมายว่า ครั้ง นี้ก็เกี่ยวกับคำว่า ทำและ/หรือตำ อีกนั้นแหละ, โปรดพิจารณาคำที่หมายว่า ที ครั้ง ที่ยังใช้อยู่ในชีวิตประจำวันของคนสกุลภาษาลาวดังนี้ ___ ลาวอีสานว่า เทื่อ เป็นคำคุณศัทพ์หรือกริยาวิเศษณ์ หมายว่า ครั้ง, คราว, หน เช่น ครั้งแรก ว่า เทื่อแรก เทื่อทำ/ตำอิด ส่วน__ล้านนาว่า เทื่อ, เตื้อ เช่นว่า เทื่อ/เตื้อเดียว หมายว่า ครั้งเดียว เป็นต้น**]

    ถ้อน* พูดเพื่อชักชวน หรือขอร้องให้เป็นไปเช่นนั้น มักจะเว้าว่า แด่ถ้อน* ในภาษาวรรณกรรมใช้ ถ้อน เถิน เถินเถิ้น ก็ว่า อย่างในเรื่องสังข์ศิลปชัยว่า "ขอแก่เทพแผ่นหล้าหลายชั้นช่อยข้อยแด่ถ้อน" เป็นต้น.

    แม่นไป* แล้วไปทำ...อะไร ทำไม ที่ไหน อย่างไร มาล่ะ? (ใช้ขึ้นต้นเป็นคำถาม แสดงความสงสัยข้องใจ)

    นำผู้ใด* ได้รับมา-ไป-กับ-ด้วย....จากใคร ถ้าเป็นคำถามจะขึ้นท้ายเสียงเป็น นำผู้ใด๋?

    สระหัว* สระผม

    เป็นตาหน่าย* น่าเบื่อหน่าย

    เฮ็ดให้ข้อยอุกอั่งเอ้า* ทำให้ฉันกลุ้มใจ อึดอัดใจ และร้อนใจ [“อุก กลุ้มใจ”, “อั่ง คับ, แออัด, แออัดยัดเยียด”, “เอ้า ร้อน, อบอ้าว”]

    อยู่ใส* อยู่ที่ไหน (เป็นคำถาม เช่นว่า อยู่ใส, ไปใส)

    หยัง* ทำไม, อะไร, (เป็นคำถาม เช่นว่า เฮ้ดหยัง ทำอะไร, เฮ็ดเฮ็ดหยัง ทำอะไรอย่างนั้น ทำอย่างนั้นทำไม)

    หรือว่ายังหาหม้น* หรือว่ายังเที่ยวไปหม้น ไปแสวงหา ไปฝ่า ไปบุก ไปรุก ไปซุกซนไม่เลือกที่

    ซน* อาจจะเป็นว่า ชน โดนตำแรง ๆ หรืออาจจะเป็นว่า ซน ซุกซนหมายว่าอาการอยู่ไม่สุข แต่สองคำสองความหมายที่กล่าวมานี้ ไม่น่าจะเป็นสำนวนในภาษาของคนเว้าลาว (เพราะไม่มีในคลังคำเว้าของไทบ้านและไม่มีอยู่ในพจนานุกรมภาษาลาว) และอีกประการหนึ่งในคำร้องของเพลงนี้ที่ว่า "อุกอั่งเอ้า" นั้น เขาออกเสียงว่า "อุกอั่งเอา" นักร้องหมอลำลาวสาวนี้ก็ร้องชัดเชนว่า เอา ไม่ได้ว่า เอ้า และอีกทีเมื่อคำร้องว่า "จำเป็นแล้วเฮานี้ต้องได้ฆ่า ก้ร้องว่า จำเป็นแล้วเฮานี้ต้องได้คา" ดังนั้นจึงสรุปได้อย่างมั่นใจในท่อนเนื้อร้องที่ว่า "ซนไปบ่เลือกที่" นั้นหากจะให้ความสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้ชายมีเหาแล้ว ก็ควรจะเป็นคนจำพวก "ซ้นไปบ่เลือกที่" มากกว่า เพราะคำว่า "ซ้น" แปลว่า แอบ บัง หลบซ่อน อย่างที่หลบฝน ที่หลบภัยอันตราย เรียกว่า ที่ซ็น ม้องซ้น หรืออาจจะคิดให้เลยเถิดไปไกลอีกก็ได้ว่า ซ้น เป็นคำที่กลายเสียงเป็น ซ่อน ในภาษาไทย (ชิมิคะ นี่ก็เป็นตัวอย่างคำภาษา Chat ที่กลายเสียงมาจาก ใช่มั๊ยคะ เป็นต้น)

    นอนบ่อนนั้นบ่อนนี้* นอนที่โน้นที่นี้ นอนไปเรื่อย

    กลับมาฮอดบ่อน* กลับมาถึงที่นอน; บ่อน* แปลว่า สถานที่คนหรือสัตว์มักโคจรไปมาอาศัยหรือทำกิจกรรมอยู่เป็นประจำ บ่อนในเพลงท่อนนี้หมายถึง ที่นอน ที่เข้าหลับนอนเป็นประจำ ในคำภาษาไทยกลางเหลือใช้หมายไปในทางไม่ดีได้แก่ บ่อนการพนัน บ่อน(ชน)ไก่(ชน)วัว เป็นต้น. ถ้าเป็นการพูดเพื่อบอกระบุแหล่งที่อยู่ที่ตั้งของพื้นที่นั้น ๆ อย่างชัดเจน ว่าเป็น เวิ้ง ลาน บริเวณใด จะใช้คำว่า "ม้อง" แต่ก็อีกนั้นแหละถ้ามีคนถามเราว่า "ของอยู่บ่อนใด๋ล่ะ?" กับถามว่า "ของอยู่ม้องใด๋ล่ะ?" สองคำถามนี้คิดว่าในปัจจุบันก็คงไม่ได้มีความหมายแตกต่างกันแต่อย่างใดเลย (ทั้ง ๆ ที่คนเว้าลาวทุกคนก็รู้ว่าความหมายของคำมันแตกต่างกัน... ฟังแล้ว เจ้างงบ่?)

    จนแจ้ง* จนรุ่งแจ้ง รุ่งเช้า

    ได้แต่นอนอ่อนอยู่แอ้แล้* ได้แต่กลับมานอนอ่อนล้าหมดเรี่ยวแรง (แอแล เป็นอาการนอนของคนจ่อยคนผอม, แอ้แล้ เป็นอาการหมดเรี่ยวแรงอย่างสิ้นเชิงจนไม่สามารถลุกขึ้นทำอะไรได้เลย, ดังนั้น…ได้แต่นอนอ่อนอยู่แอ้แล้… ในเพลงนี้ ก็ลองจินตนาการดูว่ามีอะไรของเจ้าอี่พ่อผัวของนางคนนี้ บ้างที่…ได้แต่นอนอ่อนอยู่แอ้แล้ แอ้แล้ โอ้ย แอ้แล้ แอ้แล้)

    เจ้าอี่พ่อผัว* เจ้า, อี หรือ อี่, พ่อ, ผัว เป็นคำเรียกอย่างให้เกียรติสามี เท่ากับคำว่า คุณ ในภาษาไทย อย่างภรรยา/เมียพูดว่า “คุณสามี” จะว่าเป็นการพูดเพื่อยกย่องก็ได้ พูดประชดประชันอย่างรักใคร่ก็ได้ สำนวนลาวว่า “เจ้าอี่พ่อผัว” คงเทียบกับสำนวนไทยได้ว่า “คุณฝาระมี คุณสามี ท่านเจ้าคุณผัว พ่อผัวตัวดี ไอ้คุณผัวตัวดี” เป็นต้น

    ในอีกมุมมองหนึ่ง คำ "อีนาง อีนางน้อย อีหล้า บักหล้า(บาหล้า) บักหำ บักหำน้อย อีพ่อ อีแม่" (บัก หรือ บะ กลายเสียงมาจาก บา) เป็นคำเรียกที่ใช้เป็นภาษาสุภาพเพื่อเรียกขานคนที่เรารักเอ็นดู คนคุ้นเคยกัน คนในอุปการะกัน คนในวงญาติพี่น้องกัน ไปจนถึงผู้ที่เราเคารพนับถือเป็นคนของสาธารณะก็ได้, สำหรับคำว่า "อีพ่อ อีแม่" เรามักจะได้ยินคนเว้าลาวอีสานใช้พูดกันในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ (ใช้กับคนทุกกลุ่มอายุ) และคิดว่าในหมู่คนลาวหรือคนทางเมืองลาวก็คงเป็นเช่นเดียวกันนี้ แต่ก็อีกแหละนะ...บางทีการพูดคำว่า "อีพ่อ" ในบางบริบทบางสถานการณ์ก็มีความหมายไปในทางประชดประชันได้เหมือนกัน อย่างในกรณี "อีพ่อผัว" นี้เป็นต้น.

    บ่จ่งไว้* ไม่เหลือไว้ ไม่ปล่อยไว้, จ่ง คือ เหลือไว้ เช่นว่า จงผม คือไว้ผมให้ยาวเป็นต้น.

    จับหน้อย* หน้อย หมายถึง เล็ก, ไม่ใหญ่ ในที่นี้คงหมายถึง จับเหาตัวเล็ก ๆ

    แผ่ผาย* แผ่ (ลาว) เรี่ยไร ขอ (ไทย) คลื่ขยายกระจายออกไปให้มีลักษณะแบนราบหรือกว้างกว่าเดิมหรืออาการอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน เช่น แผ่หาง แผ่อาณาเขต และแปลว่า ให้ เช่น แผ่ส่วนบุญ ส่วนคำว่า ผาย (ลาว) เปิดเผย เดิน เหาะ ไป จับ ซัด หว่าน คำว่า ผาย ในคำไทย หมายถึง แผ่กว้างออก เคลื่อนที่จาก เปิด ระบายออก (อย่าง ตด ว่า ผายลม) แบะออก แยกออก (ดูเพิ่มเติมใน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน)

    อย่างว่า "เสียงแผ่ผาย กระจายบุญ เสียงบอกบุญ", "กลีบดอกแผ่ผายกว้าง", และในพุทธทํานายพื้นเมืองอีสาน ว่า "อันว่าในพันนี้พระยาธรรมลงมาเกิด ชื่อว่าพระยาศรีธรรมโศกราชเจ้าบุญกว้างแผ่ผาย พระก็พาพลพร้อมบริวารหลายเหล่า ขุดเอาพระธาตุเจ้าจอมไท้ขึ้นจากดิน". (คำล้านนา ในวรรณกรรมพุทธศาสนา จากหนังเรื่อง อนาคตวงส์ เมตเตยยสูตต์และเมตเตยยวงส์, บำเพ็ญ ระวิน (ปริวรรต)) จัดพิมพ์โดย มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตสวนดอก เชียงใหม่: 2535 ว่า แผ่ชลาบ "เหตุลูกสิกข์พระพุทธเจ้า ก็บ่แผ่ชลาบไปชุบ้านชุเมือง".

    ชูไว้อยู่ซู่แจ* (ซาติว่าคนนิสัยเจ้าชู้นั้นย่อมจะ) ชูไว้ หมายถึง การที่ชายคนนั้นเที่ยวไป “ชูสาว” คำว่า ชู ในที่นี้จึงหมายถึงการแอบไปสมสู่อยู่ร่วมกับหญิง โดยยังไม่ถูกต้องตามทำนอง/ครรลองคลองธรรม, ส่วนคำว่า ซู่ แปลว่า ครบ ถ้วน ทุก ทุกอย่าง (อักษรวิ่งใน Music video เพลงลาวชุดนี้เขียนว่า สุ, คำเขียนลาวว่า ซู่ ตรงกับภาษาเขียนล้านนาว่า ชุ คำปากว่า จุ๊) และคำว่า แจ แปลว่า มุม, อย่างผญาอีสานว่า “สิเอาเมียให้ถามซู่แจบ้าน สิต้านชู้ให้ถามซู่แจเมือง” (ต้าน พูด เจรจา)

    แถหัว* แถผม โกนหัว โกนผม อย่างวรรณกรรมเรื่องขูลูนางอั้ว ว่า “กูจักแถหัวเช้าทรงศีลถือบวช” (กูจักโกนหัวตอนเช้า รักษาศึลถือบวช)

    คันยัง…บ่เซา* ถ้า(หากว่า)ยัง…ไม่หยุด ไม่เลิก ไม่หาย

    เหลืออยู่ดี๋ดี๋* เหลืออยู่เห็น ๆ


    คราวนี้ก็มาถึงเรื่องดี ๆ ของ....
    คนมีปัญหาเหาเหาภายในครอบครัว
    และคนมีปัญหาเหาเหาในที่ทำงานกันบ้าง

    ความรู้เรื่องเหาเหา:

    1. การรักษาเหา



    ที่มา://www.bangkokhealth.com/skin_htdoc/skin_health_detail.asp?Number=9623



    2. เหาพลัดถิ่นในอเมริกา


    ที่มา: //www.sakulthai.com/board/forum_posts.asp?TID=161&PN=45





    posted by a_somjai on Thursday, December 20, 2007 @ 09:06 AM
  • <<กลับหน้าหลัก Lao Study - ลาวศึกษา >>




  •  

    Create Date : 20 ธันวาคม 2550    
    Last Update : 16 มกราคม 2551 16:02:35 น.
    Counter : 2306 Pageviews.  

    คิดฮอดเมืองลาว – I miss Laos. บทผนวก/จบ (6)

    เรื่องต่อเนื่อง: [คิดฮอดเมืองลาว – I miss Laos. (5)],
    [คิดฮอดเมืองลาว – I miss Laos. (4)], [(3)], [(2)], [(1)]


    [คิดฮอดเมืองลาว – I miss Laos. (5)] ได้คุยกันถึงที่ไปที่มาของ“พิธีสู่ขวัญ” หรือที่เรียกว่า “การบาศรีสู่ขวัญ” เป็นประเพณีดั้งเดิมเก่าแก่ที่คนไทย คนลาว หรือคนกลุ่มอื่น ๆ ผู้มีความเชื่อเรื่อง ขวัญ และผีวิญญาณ ในแถบภาคพื้นนี้ นิยมกระทำสืบเนื่องติดต่อกันมาช้านาน เพื่อให้เกิดสิริมงคลแก่ชีวิต เป็นกำลังใจในการประกอบคุณงามความดีและให้มีความสุขความเจริญในชีวิต ต่อ ๆ ไป โดยเฉพาะลงรากเหง้าไปถึงประเพณีความเชื่อนี้ของคนพูดภาษาลาวทางเมืองอีสานบ้านไทยเฮา

    แล้วก็ส่งท้ายให้เข้าเรื่องใหญ่ Lao Study – ลาวศึกษา: คิดฮอดเมืองลาว – I miss Loas. ด้วยการพา blog’s visitors ไปดูชม พิธีการบาศรี สู่ขวัญ ในงานแต่งงานของคู่บ่าวสาวคนลาว ที่จัดขึ้น ณ นครเวียงจันทร์ ประเทศลาว เมื่อต้นปี 2007/2550 นี้เอง

    ความจริงแล้ว Series-ซี่รี่ ชุดนี้ ก็ควรจะจบลงแค่ตอนที่ 5 นั้นแล้ว

    • เพราะประการแรกเลย คนเขียนคิดว่า เป็นการปิดเรื่องแบบ อวสานสวัสดี - Happy Ending ที่สมบูรณ์แบบ (มั๊ก ๆ ๆ แหละ)

    • ประการหลังนั้น เพราะเห็นว่า..สำหรับผู้เข้ามาอ่านเอาความรู้เรื่องเมืองลาวร่วมสมัยแล้ว ก็ได้อะไรไปแบบว่า ไม่สั้นเกินไป ไม่ยาวเกินไป และได้เสพอ่านบล็อกทั้งในแบบเนื้อ ๆ Textual or Literal blog, และเสพชมบล็อกแบบบันเทิงคดี V-blog or Video Blog พร้อมกันไปด้วย (เด็กแนว…เอ้ย..ทันสมัยซะไม่มีล่ะ ว่างั้นเต๊อะ…ข้อยบ่ได้โม้เน้อ…อันนี้พูดแบบ คำลาวอีสานบ้านเดิมอยู่เมืองขอนแก่น ปน คำเมืองเหนือนครเชียงใหม่)


    แต่ไหน ๆ จังใด๋ ๆ แล้ว…
    ด้วยความเสียดายข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับทางลาวศึกษาบางชิ้นบางอันที่คว้าหามาได้ ประเมินแล้วข่าวสารนี้เป็นสิ่งที่นักวิชาการเขาเรียกว่า “เนื้อในมือ” ชิ้นสำคัญที่เดียวเชียว จึงต้องขอนำมาเสนอไว้ เป็นติ่ง ตื่ม(ลาว, ล้านช้าง) เตื่อม(ลื้อ, ล้านนา) เติม(ไทย) เพิ่ม แถม ผนวกเข้าไว้เป็นเรื่องที่ควรรู้ประกอบตอนท้ายบท สัก 2 เรื่อง ก็แล้วกัน สำหรับท่านที่ไม่สนใจก็ข้ามบทนี้ไปเสียก็ได้ครับ


    ผนวกที่ ๑


    ภาพข่าวงานกินดองเชื้อสายกษัตริย์ลาวองค์สุดท้าย
    ระหว่างเจ้าชายสูริวงศ์ สว่าง* กับ เจ้าหญิงจันทร์สุก สุกธารา


    Exile Lao Prince, His Royal Highness Crown Prince Soulivong SAVANG, grandson of the last King of Laos Savang Vatthana wedded Princess Chansouk SOUKTHALA on Saturday 10th November 2007 in Canada.
    ที่มา: //www.laopress.com/


    สู เจ้าฮู้บ่.....เจ้าฟ้าชายลาวพลัดถิ่น นามว่า เจ้าฟ้าชายสุริวงศ์ สว่าง ผู้เป็นหลานปู่ของ เจ้ามหาชีวิตสว่างวัฒนา กษัตริย์องค์สุดท้ายของเมืองลาว




    เจ้ามหาชีวิตสว่างวัฒนา กษัตริย์องค์สุดท้ายของเมืองลาว
    The last King of Laos Savang Vatthana


    เจ้าสุริวงศ์ สว่าง*…. ได้เข้าพิธีมงคลสมรสแล้ว (การกินดอง-แต่งดอง-การแต่งาน-wedded-wedding) กับเจ้า(หญิง)จันสุก สุกธารา (เจ้าจันทร์สุก สุขธารา ?) เมื่อวันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน 2550/2007 ที่ผ่านมานี้ งานกินดองของเจ้าชายและเจ้าหญิงทั้งคู่จัดขึ้นที่ประเทศแคนาดา …(ความตามเนื้อข่าวต่อ ๆ มา เป็นเรื่องเกี่ยวกับเจ้าชายที่เข้าไปพัวกันกับการแย่งชิงอำนาจรัฐหรือการเมืองในลาว ...
    ..หากใครอยากรู้เรื่องเพิ่มเติมก็ตามไปอ่านประวัติของเจ้าชายพระองค์นี้..ที่หน้าเว็บไซต์ //en.wikipedia.org/wiki/Soulivong_Savang ส่วนในหน้าบล็อกนี้ไม่เขียนถึงไว้ เพราะเหตุว่า…คงจะได้พูดถึงกันหลายอีกต่อไปข้างหน้า เมื่อเปิดเรื่อ ลาวศึกษา ลงลึกไปในเหตุการณ์ทางการเมือง การปกครอง ในลาว)

    ณ ที่นี้ เพียงแต่เอารูปงานแต่งงาน ของเจ้าชายกับเจ้าหญิงลาวมาลงไว้ให้ดูประกอบเรื่อง “ประเพณี การบาสี สู่ขวัญ ของคนลาว” เพื่อเพิ่มน้ำหนักให้เนื้อหาด้านวัฒนธรรมเดิมของลาว (และของไทย) ว่ายังคงมีการถือปฏิบัติอยู่ในยุคปัจจุบันนี้ เท่านั้นเอง.


    *(อนึ่ง เรื่องของชื่อ สุริวงค์ สว่าง ? นั้น **updated 02-02-2007 -> อ้างอิงตามเสียงพูดของศิลปินชาวลาวพลัดถิ่น ท่านอนุศักดิ์ ธรรมะวงสา หัวหน้าวงดนตรีสายสัมพันธ์ ที่ประเทศแคนาดา ผู้แต่งเพลงยอยศเจ้าชายพระองค์นี้เพื่อร้องในงานแต่งงานครั้งนี้ ออกเสียงชื่อเพลงนี้ว่า "เจ้าฟ้าชายสุริวงส์" จึงถือเป็นยุติว่าเป็นพระนามที่ถูกต้องแล้ว รับฟังได้ที่ วิทยุ online เอเชียเสรี RFA ที่ //www.rfa.org/service/mp3/LAO/ProgName-LAO-2008-0126-1900.m3u รายการประจำวันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม 2551 date:2008/01/27 ตรงกับคืนวันเสาร์ที่ 26 เวลา ณ กรุง Washington DC ชื่อ ProgName-LAO-2008-0120-1900 ช่วงเวลา/Time ระหว่างนาทีที่ 42:30-48:22 )*

    * เจ้าสูริวงศ์ สว่าง (สุริวงค์ สว่าง ?) หรือว่า *เจ้าชายโสลิวงส์ สว่าง
    ตามอ้างอิงนี้บอกว่าชื่อ...เจ้าชายโสลิวงส์ -->
    //topicstock.pantip.com/library/topicstock/2006/10/K4785650/K4785650.html
    กระทู้ห้องสมุด pantip.com ชื่อ "หนังสือแจก ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงเจ้ามหาชีวิตสีสว่างวงส์" จากคุณ : Viengวิไล - [ 12 ต.ค. 49 02:25:02 ]


    ภาพปกหนังสือ
    ข้อความบน: พระราชประวัติ สมเด็จพระเจ้าสีสว่างวงส์ พระมหากษัตริย์
    แห่งพระราชอาณาจักรลาว
    ข้อความล่าง: พิมพ์น้อมเกล้าถวายเพื่อพระราชทานแจก ในพระราชพิธีถวายพระเพลิง พระบรมศพ วันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1981



    ข้อความบน:
    พระราชปวัด พระบาดสมเด็ดพระเจ้าสีสว่างวงส์
    พระมหากะสัด แห่ง พระราชอานาจักลาว

    ข้อความล่าง:
    พิมน้อมเก้าถวายเพื่อพระราชทานแจก ในพระราชพิทีถวายพะเพิง
    พระบรมะสบ วันที่ ๒๙ เมสา ค.ส. ๑๙๘๑


    ความคิดเห็นที่ 31 จากคุณ : Viengวิไล - [ 16 ต.ค. 49 01:28:49 ]


    (a_somjai, updated: 2007-12-22)






    ผนวกที่ ๒

    เป็นบทความภาษาอังกฤษ ที่พูดถึงเรื่อง "ประเพณี การบาสี สู่ขวัญ ของลาว” เนื้อหาก็ไม่ได้แตกต่างจาก "ประเพณี การบาศรี สู่ขวัญ หรือ พิธีบาศรีสูตรขวัญ ของไทยอีสาน” ที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว ในกลุ่มบล็อกนี้เรื่อง [คิดฮอดเมืองลาว – I miss Laos. (5)] เท่าใดนัก

    จึงไม่ขอถอดความออกมาเป็นภาษาของเรา (เพราะมันยาว…แล้วก็ขี้เกียจเปิด Dictionary ด้วย…แฮะ ๆ)

    เอาเป็นว่า…ถ่ายสำเนาข่าวมาให้ดูเฉพาะหน้าที่มีภาพถ่ายในพิธีสู่ขวัญวันบาสี ก็แล้วกัน… เหตุที่ไม่ Copy เนื้อหาเป็น Text ทั้งหมดมาลงไว้ เพราะอยากให้ตามไปอ่านเรื่องต้นฉบับ THE SOUKHOUANE AND THE LAO PEOPLE By Dr Thongrith Phoumirath (ดร.ทองฤทธิ์ ภูมิรัตน์ * แก้ไข รัฐ เป็น รัตน์ แปลว่า แ้ก้ว ตามความประสงค์ของเจ้าของนาม) ที่เว็บไซต์ laopress.com กัน,

    ส่วนว่าใผต้องการภาพถ่ายสำเนาบทความทั้งหมดนี้ก็ขอมาเป็นการส่วนตัวได้ ผู้เขียนได้ถ่ายเก็บไว้เพราะกลัวว่าในอนาคตข้างหน้า เผื่อไว้หากเกิดปัญหาไม่สามารถเข้าไปดูข้อมูลที่หน้าเว็บไซต์ต้นทางได้ …อันนี้ก็คือ ข้อมูลสำคัญ ๆ นั้นจะสูญหายไปอย่างน่าเสียดาย …

    ...ในการศึกษาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตดังที่ทำอยู่นี้ ผู้เขียนพบปัญหาข้อมูลจากแหล่งต้นทางสูญหายบ่อยมาก…แล้วปัญหาดังกล่าวก็อยู่นอกเหนือกำลังของผู้ใช้อินเตอร์ (ในฐานะผู้บริโภค) อย่างเรา ๆ ท่าน ๆ จะเข้าไปทำอะไรได้เสียด้วย… จึงอยากขอร้องคนทำ Website ผุ้เล่น Weblog หรือ blog, Bloggers ทั้งหลายว่า… เขียนใส่อะไรลงไปในหน้า Web หน้า blog ของคุณแล้ว กรุณา…อย่าลบข้อมูลทิ้ง หรือ เลิกการดูแลไซต์นั้น ๆ เสียล่ะ เพราะหากทำเช่นนั้น…คุณอาจจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ลบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญของโลก…ก็เป็นได้


    อ้าว…ออกอ่าว…ไปไกลเชียว

    มาจบชุด คิดฮอดเมืองลาว – I miss Laos. ด้วย “การบาศรี สู่ขวัญ”
    ด้วยกันอีกครั้งครับ


    "มา...เถิดเย้อ มาเยอขวัญเอย มาเย้อ..ขวัญเอย
    หมู่...ชาวเมืองมา เบื้องขวานั่งซ่ายล่าย เบื้องซ้ายนั่งเป็นแถว
    ยอ..พาขวัญ ไม้จันทร์เพริศแพร้ว
    ขวัญ.มาแล้ว มาสู่ คีงแพง"

    (คำเดิมเขาร้องว่า คึงกลม )

    อยู่แดงมีฮี อยู่ดีมีแฮง กันชุผู้ชุคนเด้อ
    อ้ายน้อง อาอาว ลาวไทย ทั้งหลาย.



    ภาพชุด
    พิธี การบาสี สู่ขวัญ ของคนลาว
    THE SOUKHOUANE AND THE LAO PEOPLE

    By Dr Thongrith Phoumirath
    ที่มา: เว็บไซต์ ww.laopress.com หน้า //www.laopress.com/news/custom/soukhouane/index.htm




























    posted by a_somjai on Friday , December 14, 2007 @ 11:23 AM
    <<กลับหน้าหลัก Lao Study - ลาวศึกษา >>




     

    Create Date : 14 ธันวาคม 2550    
    Last Update : 17 ตุลาคม 2553 2:22:26 น.
    Counter : 8268 Pageviews.  

    คิดฮอดเมืองลาว – I miss Laos. (5)

    เรื่องต่อเนื่อง: [คิดฮอดเมืองลาว – I miss Laos. (4)], [(3)], [(2)], [(1)]


    คิดฮอดเมืองลาว – I miss Laos. คราวที่ผ่านมา ได้พาเรื่องของ “คนลาวพลัดถิ่น” หรือ “คนลาวอพยพ” ไปดูชม “รำบายศรี” หรือ “ฟ้อนบายศรี” ของคนอีสานยุคปัจจุบันที่สร้างขึ้นมาเพื่อการรำในพิธีบายศรีสู่ขวัญแขกผู้มาเยือน เป็นการเรียกขวัญ ร้องขวัญ เอิ้นขวัญ สู่ขวัญ ที่หนีไปเที่ยว ไปทำงาน ไปเพลิดเพลินอยู่ที่อื่นที่ไกลจากคีงจากร่างกายและจิตใจตนตัวให้กลับมาอยู่เป็นสิริมงคลเแก่ชีวิต เกิดความเจริญก้าวหน้าต่อ ๆ ไปนั้นแล้ว

    ความจริงแล้ว เรื่อง บาศรี บายศรี สู่ขวัญ สูตรขวัญ ดังว่านี้ เมื่อไปค้นคว้าเก็บเกี่ยวเอาที่ท่านผู้รู้มาก่อนเรา ได้บอกกล่าวสืบต่อกันไว้นั้น เห็นว่าควรจะนำมาเล่าสิ่งดี ๆ นี้ ต่อ ๆ กันไป จึงขอเปิดเรื่องวันนี้เลยละกัน



    “พิธีสู่ขวัญ” หรือที่เรียกว่า “การบาศรีสู่ขวัญ” เป็นประเพณีดั้งเดิมเก่าแก่ที่คนไทย คนลาว หรือคนกลุ่มอื่น ๆ ผู้มีความเชื่อเรื่อง ขวัญ และผีวิญญาณ ในแถบภาคพื้นนี้ นิยมกระทำสืบเนื่องติดต่อกันมาช้านาน เพื่อให้เกิดสิริมงคลแก่ชีวิต เป็นกำลังใจในการประกอบคุณงามความดีและให้มีความสุขความเจริญในชีวิต ต่อ ๆ ไป

    สำหรับชาวอีสาน จากการศึกษาของผู้รู้พบว่าเดิมนั้น พิธีบาศรีสู่ขวัญ เป็นพิธีที่จัดในหมู่ของเจ้านายผู้ใหญ่จึงเรียกว่า " บาศรี " เพราะคำว่า "บา" ได้แก่ เจ้าขุนมูลนาย เช่น ชาวอีสานมักเรียกเจ้านายว่า บาคาน บาท้าว บาไทท้าว หรือบาบ่าวท้าว เป็นต้น ดังจะเห็นได้จากหนังสือวรรณกรรมอีสานเรื่องการะเกด สินไช หรือแม้แต่ในหนังสือ "เชตพน" ที่ไปสืบศาสนาในกรุงสาวัตถี ก็มีการเรียกขุนไทว่า "บา" เหมือนกัน ศัพท์คำว่า "บาศรี" ก็คือ การทำสิริหรือความดีให้กับชนชั้นผู้ดีหรือสิริแบบอย่างที่ทำให้กับ ผู้ดี ในสมัยต่อมาจึงนิยมแพร่หลายไปยังกลุ่มชาวบ้านที่เป็นสามัญชน ดังนั้นการประกอบพิธีอันก่อให้เกิดสิริมงคลนี้จึงเรียกว่า "การบาศรีสูตรขวัญ" ซึ่งเป็นศัพท์ดั้งเดิม (จากหนังสือ: การบาศรีสูตรขวัญ ของอาจารย์มนัส สุขสาย. Imprint, อุบลราชธานี ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2526.)

    อนึ่งกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ในตำนานที่ได้รับการนับถือจากชนกลุ่มต่าง ๆ ในเขตลุ่มน้ำโขง คือ ท้าวฮุ่ง ขุนเจือง เจือง เจื๋อง เจืองหาน ท้าวยี่ บาเจือง มีคำเรียกอย่างยกยอไว้ในสถานะสูงกว่าคนทั้งหลายด้วย คำว่า บา ดังในวรรณคดีภาษาลาวที่เก่าแก่เรื่องท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง จะมีคำว่า… บาเจือง บาสี บาไท ไทบาลูกจอม บาสีเจ้าจอมธรรม์ พระบาท้าว… เป็นต้น (--a_somjai)

    [updated 4 ตุลาคม 2551-- อ้างอิงเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำว่า "บา" "บาศรี" จากหนังสือสารานุกรม ภาษาอีสาน-ไทย-อังกฤษ โดย ปรีชา พิณทอง, โรงพิมพ์ศิริธรรม, อุบลราชธานี, พ.ศ. 2532

    - (หน้า ๔๖๖) บา ๑ น. ใช้นำหน้าชื่อผู้ชาย เรียก บา อย่างว่า ประดับส่ำข้าถือดาบตาวตาม บาก็เกรงใจไปสู่นางเดินดั้น .... (ฮุ่ง = วรรณกรรมท้าวรุ่งท้าว/ขุนเจือง)
    - (หน้า ๔๖๖) บาคราญ น. ชายหนุ่ม ชายงาม เรียก บาคราญ อย่างว่า ... บาคราญเปลื้องพระกาโยไววิ่ง... (สังข์ศิลปชัย)
    - (หน้า ๔๖๖) บาชัย น. ชายผู้มีชัยชนะ ....
    - (หน้า ๔๖๘) บาบ่าว น. ชายหนุ่ม / บาบุญ น. ชายผู้มีบุญ **และข้อสังเกตต่อคำว่า "บาย" ในหนังสือนี้ว่า บาย ๑ น. ข้าว / บาย ๒ ก. จับ, หยิบ, ฉวยเอา***
    - (หน้า ๔๖๙) บาเรียน น. ผู้เล่าเรียน, ผู้รู้ธรรม, ผู้คงแก่เรียน, ผู้รอบรู้

    - (หน้า ๔๖๙) บาศรี ๑ น. การสู่ขวัญ เรียก บาศรี / บาศรี ๒ น. คำว่าบาหมายถึง ผู้ชาย ศรี หมายถึง ผู้หญิง การที่ชายหญิงแต่งงานกันเรียกว่า บาศรี อย่างว่า เขาก็บาศรีท้าวทังนางเป็นคู่อยู่สืบสร้างเฮือนย้าวฮ่วมกัน (กาฬเกษ) / บาศรี ๓ น. ชายผู้มีความงาม เรียกบาศรี อย่างว่า เมื่อนั้นบาศรีท้าวทวนเสียงสนองพากย์ หลานอยู่สร้างแคว้นน้อยหอมข้าไพร่พล พุ้นดาย (สังข์ศิลปชัย) / บาฮาม น. ชายหนุ่ม --- ]



    สูตร เป็นคำเก่าแก่ของคนอีสาน ที่นิยมเรียกการสวดว่า "สูตร" เช่น สวดมนต์ คนอีสานเรียกว่า "สูตรมนต์" (เคยได้ยินคำพระภิกษุเมืองเหนือแต่เดิม ก็ว่า สูตร) พิธีสวดเหมือนกับการสวดมนต์ก็ต้องเรียกว่า สูตร ดังนั้นการสวดขวัญคนอีสานจึงเรียก "สูตรขวัญ" เข้าใจว่าการสูตรขวัญเป็นพิธีกรรมดั้งเดิมของศาสนาพราหมณ์ (น่าจะเป็นพราหมณ์ ปนกลืนกับ ความเชื่อเรื่องผี-วิญญาณ อันเป็นจักรวาลวิทยาดั้งเดิมของคนในแถบอุษาคเนย์ เสียมากกว่า ดังนั้นหมอพราหมณ์ ก็คือ ผู้ทำบทบาทหน้าที่หมอผีไปพร้อมกันกับเป็นพ่อพราหมณ์ในพิธีกรรม นั้นเอง --a_somjai))

    คนลาว-คนไทย และคนชนเผ่าอื่น ๆ ผู้เชื่อเรื่อง “ขวัญ” จะถือว่า ขวัญ เป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน ไม่สามารถเห็นหรือจับต้องได้ ขวัญมีลักษณะคล้ายกับจิตหรือวิญญาณ ซึ่งแฝงอยู่ในตัวตนของคนและสัตว์ตั้งแต่เกิดและจะต้องอยู่ประจำตนตลอดเวลา ถ้าตกใจ เสียใจ ป่วยไข้ ขวัญจะหนี เมื่อขวัญหนีไปไม่อยู่กับเนื้อกับตัวของผู้ใดแล้ว อาจจะทำให้เจ้าของคีง/ร่างถึงแก่ความตายได้

    ฉะนั้นจึงต้องแก้ไขด้วย ทำการเรียกขวัญ ฮ้องขวัญ เอิ้นขวัญ สู่ขวัญ เพื่อให้ขวัญกลับมาอยู่กับเนื้อกับตัว จะได้มีความสุขสบาย เป็นปกติดี ถ้าทำเป็นพิธี หรือ จัดให้มีพิธีกรรม จึงเรียกว่า พิธีสู่ขวัญ หรือ พิธีสูตรขวัญ นั้นเอง

    แล้วความเชื่อเรื่อง ขวัญ นี้ ก็ไม่ได้เชื่อว่า ขวัญจะมีอยู่กับตัวคนเท่านั้นดอก แต่ขวัญของคนลาวคนไทยนั้น จำเป็นต้องให้สิงสถิตอยู่กับ “ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตอยู่ของคน” นั้นแหละ พูดให้สั้น ๆ ก็ได้ว่า “พิธีสู่ขวัญ” จึงมีขึ้นได้ทั้ง การสู่ขวัญคน ๑, การสู่ขวัญสัตว์ ๑, และ การสู่ขวัญสิ่งอื่นที่ไม่มีชีวิต ๑ (จะเรียกว่า การสู่ขวัญ 3 ประเภทก็ได้) หากอยากรู้ในรายละเอียดลงลึก ก็ตามลิงค์ไปอ่านกันได้


    • ประเพณีการสู่ขวัญ ที่นี่ มีตั้งแต่….สู่ขวัญหลุ่ม สู่ขวัญเทิง สู่ขวัญน้อย สู่ขวัญแม่มาน สู่ขวัญแม่อยู่กรรม สู่ขวัญแม่ลูกอ่อน สู่ขวัญเด็กน้อย สู่ขวัญบ่าวสาว สู่ขวัญนาค บาศรีพระพุทธรูป บาศรีพระเณร สู่ขวัญแต่งงาน สู่ขวัญคนป่วย สู่ขวัญงัวควาย สู่ขวัญ ฃลาน สู่ขวัญข้าว สู่ขวัญเฮือน สู่ขวัญเกวียน-รถ สู่ขวัญเด็กน้อยชายและหญิง สู่ขวัญนา สู่ขวัญม้อน(ตัวไหม) สู่ขวัญเล้า การส่อนขวัญ และรวมคำผูกแขนต่าง ๆ ไปจนถึง การฟ้อนบายศรี


    หรือว่า

    • ประเพณีการสู่ขวัญ ที่นี้ ว่าด้วยเรื่องการสู่ขวัญคน สู่ขวัญสัตว์ และสู่ขวัญสิ่งของ

      ตัวอย่างรายการสู่ขวัญคน มีตั้งแต่…

      1. การสู่ขวัญพระสงฆ์ ได้สมณศักดิ์เป็นยาครู หรือซา
      2. การสู่ขวัญออกกรรม ผู้หญิงที่คลอดบุตรต้องอยู่ไฟ
      3. การสู่ขวัญเด็กน้อย เด็ก ๆ ขี้ตกใจง่าย
      4. การสู่ขวัญคนธรรมดา เมื่อไปค้าขายได้ลาภ หรือได้เลื่อนยศตำแหน่ง
      5. การสู่ขวัญนาค ก่อนเข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ
      6. การสู่ขวัญน้อยก่อนแต่งงาน (กินดอง) มักกระทำที่บ้านเจ้าบ่าวก่อนจะมีพิธีแต่งงาน
      7. การสู่ขวัญบ่าวสาวเวลาแต่งงาน ก่อนที่หนุ่มสาวจะอยู่กินเป็นผัวเมียร่วมหอลงเรือน
      8. การสู่ขวัญหลวง เวลาพ่อแม่หรือผู้เฒ่าผู้แก่เกิดมีอาการเจ็บป่วย
      9. การสู่ขวัญคนป่วย คนเจ็บไข้นาน ๆ ช าวบ้านเรียกว่า "ป่วยปี" ขวัญหนีเนื้อหนีคีง ต้องฮ้องขวัญกลับคีงคืนมาอยู่กับร่าง
      10. การสู่ขวัญพา ถ้าผู้ใดเจ็บไข้ได้ป่วย กินไม่ได้นอนไม่หลับ



    ก็ตามอัธยาศรัยของใผของมันก็แล้วกันเด้อพ่อแม่พี่น้อง อาวอาป้าลุง เด้อครับเด้อ


    การประกอบพิธีสู่ขวัญ
    สำหรับเมืองไทยนั้น พิธีสู่ขวัญ มีกันทุกภาค ถึงแม้ว่าการจัดพิธีกรรม จะแตกต่างกันไปบ้าง แต่ก็มีหลักการใหญ่ ๆ และจุดมุ่งหมายอันเดียวกัน

    การประกอบพิธีสู่ขวัญ อาจทำได้ 2 พิธี คือ พิธีทางศาสนาพุทธและพิธีทางศาสนาพราหมณ์

    • พิธีทางศาสนาพุทธ จะนิมนต์พระสงฆ์อย่างน้อย 5 รูป มาเจริญพระพุทธมนต์ พระสงฆ์สวดไชยมงคลคาถา ในพิธีนี้ถ้าเจ้าภาพมีศรัทธามากก็จะถวายภัตตาหารเช้าหรือเพลก็ได้ แล้วนำฝ้ายมาผูกแขนให้เจ้าของขวัญเป็นอันเสร็จพิธี

    • ส่วนพิธีทางศาสนาพราหมณ์ จะต้องมี “พาขวัญ” หรือ “พานบาศรี” ซึ่งประกอบด้วยเครื่องสังเวยต่าง ๆ ฝ้ายผูกแขน และ บทสูตรขวัญของหมอสูตร ก็จะต้องหยิบมาใช้ตามโอกาสอันควรกับวัตถุประสงค์ของการทำพิธีสู่ขวัญ







    วันนี้ของส่งท้ายให้เข้าเรื่องใหญ่ของเราคือ
    Lao Study – ลาวศึกษา: คิดฮอดเมืองลาว – I miss Laos.
    จะพาไปดูชม พิธีการบาศรี สู่ขวัญ ในงานแต่งงานของคนลาวที่เมืองลาวกัน
    กราบเรียนเชิญทุกท่าน…ตาม-ตวย-นำข้อยมาโลด.



    Lao Wedding Pt. 3/15 (Traditional Lao Wedding Ceremony)

    ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=Ll_pveRMF3s


    ภาพเรื่องราวในวีดีโอที่นำมาให้ชมนี้ เป็นงานแต่งงานของ คนลาวในเมืองลาวปัจจุบัน คิดว่าคู่บ่าวสาวน่าจะเป็นหรือคงมาจากครอบครัวคนชั้นสูงหรือคนชั้นกลางผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมอยู่ในขั้นดี ที่จัดพิธีแต่งงานอย่าง “เป็นทางการ” แบบลาวเดิมและแบบประยุกต์ (มีการอ่าน"ใบอนุมัติสร้างครอบครัว" รับรองการแต่งงาน จากทางการลาวด้วย)

    สำหรับ พิธีบาศรีสูตรขวัญ สามารถชมได้ นับเวลาใน Video ชุด Lao Wedding Pt. 3 /15 เริ่มตั้งแต่เวลา 04.20-10.26 นาที. ต่อเนื่องไปยัง การมัดมือหรือผูกแขนอวยพรคู่บ่าวสาว ในชุดต่อไปนี้….


    LAOS - Lao Wedding Pt. 4/15 (Tying Knot Ceremony)

    ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=AjAH93sKFUM

    About This Video: Opening lao wedding or basi soukhoune for the bride and groom at the bride's house Ban Sisavath, Vientiane Laos.
    From: Bounnisa Added: July 14, 2007


    อนึ่งโปรดสังเกตว่า ผู้โพสต์วีดีโอชุดนี้ ใชัคำภาษาอังกฤษว่า “basi soukhoune” ถอดออกมาตรง ๆ ว่า “บาสี สู่ขวน” หรือเป็นภาษาเขียนไทยว่า “บาศรี สู่ขวัญ”, พิธีแต่งงานจัดขึ้นที่ เรือนเจ้าสาว บ้านสีสวาท (นคร)เวียงจันทร์ ประเทศลาว


    ดูชมแล้ว จะวิจารณ์ว่าเหมือนกัน คล้ายกัน หรือแตกต่างกับ กับวัฒนธรรมการแต่งงานแนวอนุรักษ์พื้นเมืองเดิมของคนชั้นกลางสมัยใหม่ทางเมืองไทย ประการใดนั้น …เรื่องนี้จะได้คุยกันในบล็อกกลุ่ม Lao study นี้ ในหมวดเรื่อง การเปลี่ยนแปลงทางสังคมไปสู่สังคมคนชั้นกลาง จากศูนย์กลางความเเจริญ เมืองหลวง เมืองใหญ่ ในเมืองลาว…เปรียบเทียบกับบทเรียนจากเมืองไทย ในโอกาสต่อ ๆ ไป --a_somjai)


    Updated เพิ่มเติม: 2008-03-16

    Bah Si: Pi Mai Lao (Lao new year) บาศรี ปีใหม่ลาว

    ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=g66sNTDXX40
    From: fanfamlaos, Added: April 13, 2007





    posted by a_somjai on Wednesday , December 12, 2007 @ 12:13 AM
    <<กลับหน้าหลัก Lao Study - ลาวศึกษา >>




     

    Create Date : 12 ธันวาคม 2550    
    Last Update : 4 ตุลาคม 2551 21:34:20 น.
    Counter : 1506 Pageviews.  

    คิดฮอดเมืองลาว – I miss Laos. (4)

    เรื่องต่อเนื่อง: [คิดฮอดเมืองลาว – I miss Laos. (3)], [(2)], [(1)]




    “คนที่ไม่ได้อยู่บ้านนั้นแหละ ถึงจะมีสิทธิพูดได้ว่า ฉันคิดถึงบ้าน”

    คำกล่าวข้างบนนี้ อาจไม่ใช่ความจริงเสมอไป
    เพราะคนที่มีบ้านอยู่แล้วในปัจจุบัน ก็อาจจะคิดถึงบ้านที่เคยอยู่อาศัยมาในอดีตก็เป็นได้

    บางเวลา สำหรับบางคน….
    “การโหยหาบ้านเกิดเมืองนอน จึงเป็นโรคประจำตัวชนิดหนึ่ง”

    แต่บางคน ก็ไปแล้ว ไปเลย ได้หน้า ก็ลืมหลัง
    ลืมถิ่นเกิด บ้านเดิม ….ไปตายเอาดาบหน้า

    แต่เชื่อข้อยเถอะ...ไม่ว่าจะเป็นตายร้ายดี จะเป็นอยู่อย่างไร
    คนเราก็ต้องมีเวลาคิดถึง “บ้าน” จนได้
    หรือใครว่าไม่จริง?


    คิดฮอดเมืองลาว – I miss Laos.

    About This VDO: Warning! this song is protected by the U.S copy right.
    The artist is Miss Champaseng Sangsayarath former pakse radio station anchor.Author is BounTeum Phongkhamtay. All right Reseved. This song is special for all Laotian who lives apart from their love one.
    From: champadeng Added: May 09, 2007
    ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=alm3J-QQjMw&feature=related


    เพลง: คิดฮอดเมืองลาว
    คำร้องและทำนอง: บุนเติม ฟองคำใต
    ศิลปิน: จำปาแสงสัง ไชยะลาด
    (ใน about this Video โพสต์ว่า ศิลปินคือนางจำปาสัง แสงชัยราช อดีตผู้สื่ข่าวสถานีวิทยุปากเซ และผู้เขียนเพลงคือบุญเติม ฟองคำใต ...ขออภัยหากถอดชื่อนามไม่ถูกต้อง)


    กลิ่นลำดวน ยังหอมหวนซาบซึ้งอุรา
    กลิ่นจำปา หอมซึ้งอุราบ่มีวันหาย
    แม่น้ำของ ระดู*1 น้ำลง ยังจำฝั่งใจ
    ผักกุ่ม*2 ดอกไค้** ก็ยังจำได้บ่เคยลืมไล

    ปั้นข้าวเหนียว กับ แกงเห็ดบด ยามเดือนยี่
    บุญเข้าจี่*3 เดือนสามเดือนสี่ ติดใจไม่หาย
    ตรุษ*4 สงกรานต์ บุญปีใหม่ วันอวยพรชัย
    คิดฮอดบ่หาย ยานนี่ห่างไกล ใจข้า กล้ำกลืน*5

    โชคบ่ดี จึ่งต้องหนีไกลห่าง
    ความหวังยังอยู่ในใจ จะมาเยี่ยมเยือน*6
    อยู่ห่างไกล หัวใจข้าเศร้าสุดฝืน
    วันและคืน คิดเถิงเมืองลาว อยู่บ่เซา*7

    ท้องท่งนา*8 ป่าไม้ ภูเขา ทุกท้องถิ่น
    บ่อนเคยหลิ้น*9 ถิ่นเคยเซา เมื่อคราวยังเยาว์
    กราบไหว้วอน พระพรหมให้ช่วย ครอบงำ*10
    สุขเลิศล้ำ จงชั่วนิรันดร์เถิด เมืองลาวเอย







    หมายเหตุของ a_somjai

    *1 ระดู ฤดู

    * 2 ผักกุ่ม และ ดอกไค้**

    • "กุ่ม" เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจำแนกตามลักษณะที่เกิดเป็น 2 ชนิดคือ กุ่มบก และ กุ่มน้ำ คนไทยสมัยก่อนปลูกต้นกุ่มไว้เป็นอาหารและเป็นยารักษาโรค ต้นกุ่มนับเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกในทิศตะวันตก เชื่อว่าจะทำให้ครอบครัวและเศรษฐานะเป็นกลุ่มเป็นก้อนดั่งชื่อของต้นไม้ นอกจากนี้เปลือกกุ่มน้ำยังใช้ทำเยื่อกระดาษและเครื่องใช้เล็ก ๆ น้อย ๆ ของชาวชนบท

      1) "กุ่มบก" ชื่อวิทยาศาสตร์ "CratevaReligiosaHam"; ชื่อพื้นเมือง "กุ่มบก(ชลบุรี),กุ่ม(เลย),กุ่มบก (ในภาคกลาง),ทะงัน(เขมร)"



      กุ่ม ผักกุ่ม; กุ่มบก(ไทยภาคกลาง), ทะงัน(เขมร), กะงัน สะเบาถะงัน ก่าม (อีสาน) กุ่ม(เลย)
      ภาพ: www.panmai.com


      2)"กุ่มน้ำ" ชื่อวิทยาศาสตร์ "CratevaAdansoniiCE." "C.RoxburghiiR.Br.(Syn.)"; ชื่อพื้นเมือง "อำเภอ(สุพรรณบุรี),เหาะเกาะ (กระเหรี่ยง-ตะวันตก),ผักกุ่ม(พิจิตร, ปราจึนบุรี, อุดรธานี), ผักก่าม(มหาสารคาม), กุ่มน้ำ(ไทยภาคกลาง,ภาคตะวันตก),รอถะ(ลัวะ-เชียงใหม่), ผักกุ่ม(พังงา,ระนอง),กุ่มน้ำ(สงขลา,ชุมพร,ระนอง)"


      กุ่มน้ำ(ไม้ยืนต้น) ผักกุ่ม ผักก่าม เหาะเถาะ(กะเหรี่ยง-ตะวันตก)
      ภาพ: เว็บพรรณพฤกษ์ไพรดอกไม้สายเหนือของ 026

      นอกจากนี้ยังมี ผักกุ่มเครือ เป็นพืชในสกุล Neothorelia Capparaceae สกุลผักกุ่มเครือเป็นไม้เถามีเนื้อไม้ มีเขตการกระจายพันธุ์เฉพาะในลาวและไทย

      ประโยชน์ทางอาหารของผักกุ่ม
      ใบอ่อนและดอกอ่อนของกุ่มบกและกุ่มน้ำเก็บมากินได้ ชาวบ้านทุกภาคของไทยรับประทานผักกุ่มโดยวิธีเดียวกัน คือการนำใบอ่อนและดอกอ่อนมาดองก่อนแล้วจึงนำไปรับประทาน หรือนำไปปรุงเป็นอ่อมผักกุ่ม ทำคล้ายกับแกงขี้เหล็กโดยการนำออกมาต้มคั้นน้ำทิ้งสัก 1-2 ครั้ง เพื่อลดรสขมและปรุงรสด้วยข่าอ่อน ตะไคร้ น้ำปลาร้า น้ำปลา เกลือ ข้าวสารเล็กน้อย ใบแมงลัก ผักชีฝรั่ง ถ้าใส่น้ำคั้นใบย่านางลงไปด้วยจะทำให้ผักกุ่มจืดเร็ว

      ชาวอีสานนำผักกุ่มน้ำไปดองหรือหมักกับน้ำเกลือและน้ำซาวข้าวนาน 2-3 วัน รับประทาน เอิ้นว่า "ส้มผักกุ่ม" เป็นผักจิ้มน้ำพริกหรือป่นปลา หรืออาจปรุงเป็นอาหารโดยนำไปผัดหรือแกงก็ได้

      สำหรับชาวใต้นำผักกุ่มดองไปรับประทานกับขนมจีนน้ำยา

      และชาวเหนือ(เชียงใหม่)นำยอดผักกุ่มมาเผาและแกล้มกับลาบปลา ในช่วงหน้าหนาวเรามักพบผักกุ่มดองวางขายในตลาดสด ดังเนื้อร้องในเพลง: ของกิ๋นบ้านเฮา ของจรัล มโนเพ็ชร ศิลปินเชียงใหม่ เอ่ยถึง ผักกุ่ม ว่า "...... แกงแคชิ้นงัว ไส้อั่วชิ้นหมู แกงหน่อไม้ซาง คั่วบะถั่วพู น้ำพริกแมงดา กับน้ำพริกอ่อง คั่วผักกุ่มดอง หนังพองน้ำปู...."




    • "ไค้" เป็น พืชพรรณที่พบในป่าบุ่ง ป่าทาม (ความรู้พื้นบ้านอีสานเรื่อง ไค้และป่าทาม หากค้นหาอ่านในลิงค์เว็บไซต์ ESANvoice.net - เสียงฅนอีสาน ไม่ได้ ขอให้ลองเข้าไปดูที่ ไค้นุ่น (บก), และ ไค้น้ำ,

      พูดแบบคัดย่อได้ว่า.ไค้..ไม้พรรณชนิดนี้เป็นพืชอาหารตามฤดูกาลในเขตป่าน้ำท่วม ที่เรียกกันว่า ป่าบุ่ง - ป่าทาม (Seasonal Flooded Forest) นอกจากเป็นพืชอาหารของเมืองลาว ดังที่เอ่ยชื่อ "ดอกไค้" ในเพลงลาวนี้แล้ว ในประเทศไทย ป่าบุ่ง - ป่าทาม มีเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ป่าชนิดนี้มีความเกี่ยวพันกับวิถีชีวิตของคนอีสานมาช้านานในลักษณะของ "ป่าชุมชน" โครงสร้างของป่ามีต้นไม้ขนาดใหญ่และไม้พุ่มหนามขนาดเล็กที่ทนการแช่ขังของน้ำได้ดี ป่าบุ่ง-ป่าทาม เป็นที่ลุ่ม สามารถรองรับน้ำป้องกันอุทกภัย และเป็นแหล่งอนุบาลตัวอ่อนสัตว์ต่าง ๆ มากมาย)


    *3 บุญเข้าจี่


    ที่มา: ผญาฮีต ๑๒ กับคนอีสาน //www.wichaichan.th.gs/


    *4 ตรุษ, คำ/ควม/ความเว้าลาวอีสาน กุด ก็ว่า

    * กล้ำกลืน (ยกไปไว้หลัง *10)

    *6 เยี่ยมเยือน เป็นคำไทย, เยี่ยมยาม จึงจะเป็นคำลาว เพราะคำว่า เยี่ยม และคำว่า เยือน ในภาษาลาวโบราณนั้นไม่มี

    [updated: 2008-01-03 คำว่า "เยี่ยมยาม" ที่ใช้ในภาษาลาวปัจจุบัน ดูได้ที่ เว็บไซต์ "ประชาชน" เสียงของสูนกางพักปะซาซนปะติวัดลาว ข่าววันที่ 3 เดือนมังกร (มกราคม) 2008 ข่าวนี้ (ข้อความพาสาลาว ต้องมี Lao fonts จึงจะอ่านได้) ----> ที่ //www.pasaxon.org.la/content/3-1-08/news1.htm พาดหัวข่าว ความว่า....
    "ປະທານສູນກາງແນວລາວສ້າງຊາດເຄື່ອນໄຫວຢ້ຽມຢາມແຂວງຫົວພັນ"
    "ประธานศูนย์กลางแนวลาวสร้างชาติเคลื่อนไหว เยี่ยมยาม แขวงหัวพัน"]

    แต่มีข้อสังเกตว่า เยี่ยมและเยือน น่าจะมาจากคำว่า เยือง หรือ เยียง ซึ่งแปลว่า ส่อง, มอง เช่นเว้าว่า แยงไฟ เยียงไฟ, หากมองดูตัวเอง เว้าว่า เยียงคีง แยงคิง ก็ว่า, และในวรรณกรรมสังข์ศิลป์ชัยว่า “ดาราพร้อมประกายวงเยืองโลก” เป็นต้น. ความจริงแล้วคำว่า แยง นั้นหมายถึง พุ่งตรงไป (อย่างคำไทยว่า แยงรู เดินทะแยง กระมัง) เมื่อ แยง ถูกใช้กับการมอง หมายถึงมองตรงไป เช่นเว้าว่า แยงเงา คือ มอง ดู เบิ่งเงา, แยงแว่น แปลว่า ส่องกระจก เดี๋ยวนี้เห็นใช้ว่า เบิ่ง แยง มอง ดู กันทั่วไปแล้ว. ส่วนคำว่า ยาม ในภาษาลาวนั้น หมายถึง เยี่ยม ไปมาหาสู่ หรือแม้แต่การไปเบิ่ง ไปดู ไปกู้ ไปเก็บ ไปติดตามผลงาน ก็เว้าว่า ไปยาม อย่างเช่นชาวประมงไปดูเครื่องมือดักสัตว์ที่วางล่อจับเหยื่อไว้เรียกว่า ไปยามลอบ ยามไซ, หากคนแรงงานอพยพกล่าวว่า ไปเยี่ยมแม่ จะเว้าว่า ไปยามแม่ หรือเรามักได้ยินคนอีสานพูดว่า ไปเยี่ยมยามถามข่าวกันแน้เด้อ เป็นต้น.

    *7 เซา หยุด, และคำลาวก็ว่าอย่าง คำลื้อ หรือ คำเมืองเหนือ ล้านนา ว่า ยั้ง, อนึ่งมีเมืองเก่าโบราณก่อนยุคหรือร่วมยุคกับเมืองสุโขทัย เมืองศรีสัชนาลัย เมืองเชลียง ชื่อว่า เมืองทุ่งยั้ง, ทุ่งยั้ง แปลว่า ทุ่งหยูดพักหรือสถานที่ลงตั้งอยู่ ปัจจุบันอยู่ในเขต ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ และ มีชื่อ บ้านยั้งเมิน หมู่ที่ 3 ตำบลยั้งเมิน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่, ยั้งเมิน แปลว่า หยุดอยู่เมิน/นาน อีกด้วย. ___ส่วนที่ยังพบมีการใช้ในคำไทยกลาง ได้แก่คำว่า ยั้งมือ ยั้งคิด หยุดยั้ง เป็นต้น.

    *8 ท่งนา, คำลาวเอิ้นทุ่งว่า ท่ง, คำลื้อ โท่ง ก็ว่า หรือ คำเมืองเหนือล้านนาว่า โต้ง

    *9 หลิ้น, เล่น

    *10 ครอบงำ กำหนด, บันดาล, ทำให้เกิดขึ้นด้วยอำนาจ. ในที่นี้ใช้ขยายความเชื่อเรื่องอำนาจของพระพราหมณ์ผู้ลิขิตความเป็นไปของโลกและมนุษย์,


    *5 กล้ำกลืน เป็นคำไทย, คำเว้าลาว น่าจะว่า กลั้นกลืน

    คำว่า กลืน นั้นก็คือ การกระทำให้ของอะไรผ่านล่วงลำคอลงไป

    ส่วนคำว่า ก้ำ ทั้งคำไทย คำลาวและคำล้านนา ต่างแปลว่า เบื้อง, ข้าง, ทิศ, ฝ่าย เหมือน ๆ กันเช่นว่า ก้ำเหนือ กำใต้ อย่างคำไทยว่า ก้ำกึ่ง แปลว่าเกือบเท่า ๆ กัน พอ ๆ กัน คือไม่เอียงไปข้างใดมากกว่า ส่วนในวรรณกรรมภาษาลาวเรื่อง ย่าสอนหลาน ว่า “คันเจ้าได้ขี่ช้าง อย่าได้ลืมหมู่งัวควาย มันหากคูณคนทางต่างกันคนก้ำ ช้างหากดียามสงครามได้ขี่ ดีเมื่อเข้าเขตห้องนครกว้างอาจอง”

    หรือใน "การบาศรีสูตรขวัญ" เมื่อมีการสวดขวัญ คนอีสานว่า "สูตรขวัญ" มีคำเยอขวัญว่า “ผูกก้ำซ้ายให้ขวัญมา ผูกก้ำขวาให้ขวัญอยู่ ว่ามาเยอขวัญเอยขวัญเจ้า” เป็นต้น (เห็นเดี๋ยวนี้ใช้ว่า บายศรีสู่ขวัญ กันจนตัวเราเองก็ยังเชื่อจำมาอย่างนั้น แม้ลางเทื่อข้อยจะคึดอยากหัว ลงต่ำไป บาย (แปลว่า จับ ต้อง) สีที่อยู่บน ห.หีบ ก็มีเดละพี่น้อง **อ้างอิงเกี่ยวกับคำว่า "บา" "บาศรี" และ "บาย" ผู้สนใจค้นคว้าได้จากหนังสือสารานุกรม ภาษาอีสาน-ไทย-อังกฤษ โดย ปรีชา พิณทอง, โรงพิมพ์ศิริธรรม, อุบลราชธานี, พ.ศ. 2532 สำหรับคำว่า บาย อธิบายความหมายไว้ในหน้า ๔๖๘ ดังนี้ บาย ๑ น. ข้าว / บาย ๒ ก. จับ, หยิบ, ฉวยเอา***)

    เข้าเรื่องดีกว่า....
    คำไทยว่า กล้ำ นั้นหมายว่า ควบ, ทำให้เข้ากัน, กลืนกิน เมื่อพูดว่า กล้ำกลืน หมายว่า ฝืนใจ, อดกลั้นไม่แสดงให้เห็น และส่วนคำว่า “กลั้น” ทั้งคำไทยและคำลาว แปลว่า อด, ทน ถ้าสะกดใจ ว่า กลั้นใจ เป็นต้น, ภาษาเมืองเหนือล้านนาเมื่อเกิดการอดอยาก ขาดแคลนอาหาร อู้ว่า กลั้นข้าวกลั้นน้ำ เป็นต้น ดังนั้นจึงเห็นว่าแม้จะมีความหมายใกล้เคียงมาก แต่หากเป็นคำกลอน/เพลงลาวน่าจะเว้าว่า กั้นกืน (กลั้นกลืน) มากกว่า กล้ำกลืน

    จังใด ๆ ข้อยก็…คิดฮอดเมืองลาว – I miss Laos. มาถึงตอนที่ ๔ แล้ว
    ก็เลยถือโอกาสนี้ “บาศรีสูตรขวัญ” พี่น้องหมู่เฮากันส่งท้ายเสียเลย

    ส่วนเรื่องว่า ทำไมจึง “บาสี หรือ บาศรีสูตรขวัญ” ไม่ใช่พูดเขียนว่า “บายศรีสู่ขวัญ” เหมือนดังที่ใช้กัน(ผิดจากบรรพชนคนลาวเก่าเดิมมา) ให้เห็นอยู่ทั่วไปในอีสานบ้านเฮาหรือที่อื่น ๆ ในเมืองไทยเวลานี้ อย่างที่เขาเขียนหัวเรื่องไว้ใน VDO ที่นำมาแปะไว้ให้ชมกันต่อไปนี้นั้น

    ….หากท่านใดอยากรู้ ก็ต้องติดตามมา คิดฮอดเมืองลาว ตอนที่ 5 ผ่านกลุ่มบล็อก Lao study – ลาวศึกษา นี้ ก็แล้วกัน เด้อพี่น้องเด้อ
    ….อะ อะ …. จะมี “สูตรขวัญ” (สวดขวัญ เรียกขวัญ) แบบเมืองลาวแท้ ๆ มาให้ดูชมด้วยนะเอ้า

    ตอนนี้ ขอเชิญท่านผู้มีเกียรติดูชม "ฟ้อนบายศรี" แบบประยุกต์ของลาวอีสานบ้านเฮา แบบว่าร่วมสมัย ไปพลางก่อน ละกัน


    Ponglang Ubon Isaan รำบายศรีสู่ขวัญ วงโปงลางอุบลราชธานี

    About This VDO: โดย อาจารย์ทินกร อัตไพบูลย์
    From: JQUE06 Added: January 23, 2007
    ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=j0l9deFiH_4



    รำบายศรี (ฟ้อนบายศรี วงโปงลางมรดกอีสาน)

    About This VDO: "รำบายศรี เป็นการรำที่ใช้ในพิธีบายศรีสู่ขวัญ เมื่อมีแขกมาเยือน ส่วนใหญ่จะประกอบเพื่อเป็นสิริมงคล ในพิธีจะมีพานบายศรีและพราหมณ์ผู้ทำพิธี เนื้อร้องก็จะอธิบายถึงความสวยงาม ของบายศรี และเป็นการเรียกขวัญ พอรำเสร็จก็จะมีการผูกข้อมือแขกด้วยฝ้ายขาว ซึ่งผ่านพิธีกรรมแล้วถือว่าฝ้ายที่ใช้ผูกนั้นจะทำให้อยู่เย็นเป็นสุข" (อ้างจากเว็บไซต์ เอกสารประกอบการสอนวิชาดนตรีอีสาน 1 เรียบเรียงโดยอ.สุรพล เนสุสินธ์ สาขาดนตรี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น )
    From: maxbravo Added: May 06, 2006
    ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=v05ER1TAyZc


    เพลง: ฟ้อนบายศรี
    คำร้องทำนอง: อาจารย์ดำเกิง ไกรสรกุล
    ท่าฟ้อน/ท่ารำ: อาจารย์พนอ กำเนิดกาญจน์
    (วิทยาลัยครูอุดรธานี / มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี)

    มา...เถิดเย้อ มาเยอขวัญเอย มาเย้อ..ขวัญเอย
    หมู่...ชาวเมืองมา เบื้องขวานั่งซ่ายล่าย เบื้องซ้ายนั่งเป็นแถว
    ยอ..พาขวัญ ไม้จันทร์เพริศแพร้ว
    ขวัญ.มาแล้ว มาสู่ คีงกลม

    เกศ..เจ้าหอมลอยลม ทัดเอื้องชวนดม เก็บเอาไว้บูชา
    ยาม..ฝนพรำเจ้าอย่าแข็ง แดดร้องแรงเจ้าอย่าคลา
    (คำร้องเดิมว่า "ยามเมื่อฝนเจ้าอย่าคลาย ยามแดดสายเจ้าอย่าคลา")
    อยู่.ที่ไหนจ่ง(เดิมว่า"จุ่ง")มา รัดด้ายไสยา(ดู->ด้ายสายสิญจน์) มาคล้องผ้าแพรกระเจา

    อย่า...เพลินเผลอ มาเยอขวัญเอย มาเย้อขวัญเอย
    อยู่..แดนดินใด หรือฟ้าฟาก(เดิมว่า "ฟากฟ้า")ไกล ขอให้มาเฮือนเฮา
    เผือ..อย่าคิดอาลัยซู้เก่า ขออย่าเว้า ขวัญเจ้าจะตรม

    หมอก..น้ำค้างพร่างพรม ขวัญอย่า.เพลินชม ป่าเขาลำเนาไพร
    เชิญ..ไล้ทาประทินกลิ่นหอม ชมพวงพยอมให้ชื่นใจ
    (เดิมว่า "เชิญมาทัดพวงพยอม ทาน้ำหอมให้ชื่นใจ")
    เหล่า..ข้าน้อยแต่งไว้ ร้อยพวง..มาลัย มาคล้องให้สวยรวย.








    posted by a_somjai on Sunday , December 9, 2007 @ 4:59 AM
    <<กลับหน้าหลัก Lao Study - ลาวศึกษา >>




     

    Create Date : 09 ธันวาคม 2550    
    Last Update : 4 ตุลาคม 2551 21:42:01 น.
    Counter : 4297 Pageviews.  

    1  2  3  

    a_somjai
    Location :
    เชียงใหม่ Thailand

    [Profile ทั้งหมด]

    ฝากข้อความหลังไมค์
    Rss Feed
    Smember
    ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




    Friends' blogs
    [Add a_somjai's blog to your web]
    Links
     

     Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.