Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ไหว้พระ ๙ วัด และ แผนที่ ท่องเที่ยว จังหวัดกำแพงเพชร

สถานที่ท่องเที่ยว : วัด, กำแพงเพชร Thailand
พิกัด GPS : 16° 29' 3.35" N 99° 31' 25.49" E




เวลาไปเที่ยว ผมชอบที่จะหาข้อมูล เตรียมไว้ก่อน ...

นอกจาก สถานที่เที่ยว การเดินทาง แล้ว เรื่องกิน ก็ถือว่า เป็นเรื่องใหญ่มากกกกก
ได้ไปกินของอร่อย ๆ ก็ถือว่า เป็น ความสุข อย่างยิ่ง

แต่พอมาหาข้อมูล ว่า ถ้ามาเที่ยว จังหวัด กำแพงเพชร ... จะไปกินอะไรที่ไหน ร้านไหนอร่อย อยู่ตรงไหน ฯลฯ กลับหาไม่ได้
จึงคิดว่า ก็ไม่มีใครทำ เราทำเองก็ได้ ..

เผื่อว่า ใครจะมาเที่ยว มากิน ที่ กำแพงเพชร จะได้มีข้อมูล ประกอบการตัดสินใจ ...

ส่วนจะอร่อย เหมือนที่คุย หรือเปล่านั้น ก็ต้องมาพิสูจน์กันเองเอง


แผนที่ท่องเที่ยว ...






























ไหว้พระ ๙ วัด ๙ มงคล เมืองกำแพงเพชร





  “กำแพงเพชร”     เมืองมรดกโลกริมแม่น้ำปิง  ที่มีความสำคัญมากที่สุด เมืองหนึ่งในสมัยสุโขทัย ชื่อ “เมืองกำแพงเพชร” มีปรากฏในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๓๘ ระบุนามเดิมว่า “เมืองกำแพงเพชร ศรีวิมลาสน์” มีความหมายว่า เมืองที่มีแนวกำแพง และป้อมปราการที่แข็งแรงงดงาม  ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เรียกเมืองกำแพงเพชร นี้ว่า “เมืองชากังราว” หรือ “ชากังราวกำแพงเพชร”
    การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุโขทัย ขอนำทุกคนไป "ไหว้พระ ๙ วัด ๙ มงคล เมืองกำแพงเพชร"  สั่งสมบุญ สร้างกุศล เสริมสิริมงคลให้กับชีวิต เรียนรู้ ประวัติศาสตร์ ตำนานท้องถิ่น ตามรอยไปสู่ “เมืองแห่งศาสนาและศิลปกรรม” อีกทั้งยังเป็นเมืองที่ได้รับการยกย่องให้เป็น  กลุ่มเมืองมรดกโลก ทางวัฒนธรรม “สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร” สัมผัสความอบอุ่น และ มิตรไมตรี เสริมสิริมงคล จากเมืองชากังราว เก็บบุญ เก็บความประทับใจ กลับไปด้วยใจที่เป็นสุข”

๑.รอยพระพุทธบาทจำลอง วัดเสด็จ
๒. หลวงพ่อโม้ หรือ หลวงพ่อโมฬี วัดเทพโมฬี
๓. หลวงพ่อเพชร วัดบาง
๔. หลวงพ่อโต วัดคูยาง
๕. หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์
๖. พระบรมสารีริกธาตุ วัดพระบรมธาตุนครชุม
๗. วัดพระแก้ว อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
๘. ศาลหลักเมือง กำแพงเพชร
๙. วัดพระสี่อิริยาบถ อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

ที่มา https://onuma-kak.blogspot.com/2017/12/blog-post.html

:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

ไหว้พระ ๙ วัด ๙ มงคล เมืองกำแพงเพชร
TAT Sukhothai fanpage?26 ธันวาคม 2017

   “กำแพงเพชร”  เมืองมรดกโลกริมแม่น้ำปิง ที่มีความสำคัญมากที่สุด เมืองหนึ่งในสมัยสุโขทัย ชื่อ “เมืองกำแพงเพชร” มีปรากฏในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๓๘ ระบุนามเดิมว่า “เมืองกำแพงเพชร ศรีวิมลาสน์” มีความหมายว่า เมืองที่มีแนวกำแพง และป้อมปราการที่แข็งแรงงดงาม ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เรียกเมืองกำแพงเพชร นี้ว่า “เมืองชากังราว” หรือ “ชากังราวกำแพงเพชร”
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุโขทัย ขอนำทุกคนไป "ไหว้พระ ๙ วัด ๙ มงคล เมืองกำแพงเพชร" สั่งสมบุญ สร้างกุศล เสริมสิริมงคลให้กับชีวิต เรียนรู้ ประวัติศาสตร์ ตำนานท้องถิ่น ตามรอยไปสู่ “เมืองแห่งศาสนาและศิลปกรรม” อีกทั้งยังเป็นเมืองที่ได้รับการยกย่องให้เป็น กลุ่มเมืองมรดกโลก ทางวัฒนธรรม “สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร” สัมผัสความอบอุ่น และ มิตรไมตรี เสริมสิริมงคล จากเมืองชากังราว เก็บบุญ เก็บความประทับใจ กลับไปด้วยใจที่เป็นสุข” 
 https://onuma-kak.blogspot.com/2017...

๑.รอยพระพุทธบาทจำลอง วัดเสด็จ
วัดเสด็จ เป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองแต่โบราณ ทั้งยังเคยเป็นที่เก็บศิลาจารึกนครชุมหลักที่ ๓ ตลอดจนตำนานพระเครื่อง ซึ่งตามประวัติกล่าวว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆัง และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ต่างก็ได้เคยเสด็จมาที่วัดนี้ ในปี พ.ศ.๒๔๔๙ เพื่อสำรวจปูชนียสถานและโบราณสถาน ทำให้วัดนี้เป็นที่รู้จัก ทั่วไปในเรื่องราวเกี่ยวกับพระเครื่องและตำนานต่างๆ  
จากตำนานการทำบุญไหว้พระธาตุ และการไหว้พระพุทธบาท มีประเพณีสืบมาจนถึงปัจจุบันที่ชาวบ้านเรียกว่า “ทำบุญเพ็ญเดือน ๓” นั่นคือมีการทำบุญ ไหว้พระบรมสารีริกธาตุ ที่วัดพระบรมธาตุนครชุม และไหว้พระพุทธบาทจำลอง ที่วัดเสด็จ พร้อมกัน

๒. หลวงพ่อโม้ หรือ หลวงพ่อโมฬี วัดเทพโมฬี
หลวงพ่อโม้ หรือหลวงพ่อเทพโมฬี วัดเทพโมฬี พระพุทธรูปปูนปั้นโบราณ ปางมารวิชัย ประดิษฐาน ณ วัดเทพโมฬี ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย มีอายุประมาณ ๕๐๐-๗๐๐ ปี ได้รับ การบูรณปฏิสังขรณ์ โดย หลวงปู่โง่น โสรโย พระเกจิชื่อดังแห่งวัดพระพุทธบาท เขารวก จังหวัดพิจิตร
เหตุที่เรียกว่า “หลวงพ่อโม้” เพราะมีเรื่องกล่าวขานถึงความศักดิ์สิทธิ์ ที่ว่าหากได้มาบนเรื่องดีๆ จะสำเร็จทุกราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนขอให้ฝนไม่ตกในช่วงจัดงานต่างๆของจังหวัด เสมือนหนึ่ง “โม้” นี่เอง จึงเรียกติดปาก กันมาจนทุกวันนี้ ชาวเมืองกำแพงเพชรนิยมมากราบไหว้ขอพร และมักจะถวายด้วยขนมจีน-น้ำยา, แป้งข้าวหมาก

๓. หลวงพ่อเพชร วัดบาง
หลวงพ่อเพชร วัดบาง เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ ปางมารวิชัย ศิลปะเชียงแสนแบบสิงห์ ๑ รุ่นแรก มีอายุกว่า ๘๐๐ ปี พุทธลักษณะงดงาม มีขนาดใหญ่กว่าหลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง จังหวัดพิจิตร เป็นพระพุทธรูปคู่บ้าน คู่เมืองชากังราวมาแต่อดีต เล่ากันว่าแต่เดิม หลวงพ่อเพชร ประดิษฐานอยู่ที่ วัดตอม่อ แต่เกรงว่าจะไม่มีผู้ดูแลรักษาจึงทำการย้ายหลวงพ่อมาไว้ที่วัดบาง ใช้เวลาในการเคลื่อนย้ายนานมากกว่าจะนำหลวงพ่อมาที่วัดบางได้ แต่เดิม ไม่อนุญาตให้เข้าไปกราบสักการะ แต่ด้วยศรัทธาของประชาชนที่มีมากขึ้น ปัจจุบัน จึงได้เปิดให้ประชาชนเข้าสักการะในวิหารได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐-๒๐.๐๐ น.

๔. หลวงพ่อโต วัดคูยาง
วัดคูยาง วัดเก่าแก่วัดหนึ่งไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด แต่มีผู้สันนิษฐานว่าสร้างมาไม่น้อยกว่า ๔๐๐ ปี และได้มีการบูรณะวัดขึ้นใหม่ในบริเวณที่ตั้งเดิม เป็นวัดหนึ่งในเส้นทางเสด็จประพาสต้น ของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๙   “หลวงพ่อโต”  ประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดคูยาง เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ที่มีพุทธลักษณะงดงาม เป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองกำแพงเพชร นอกจากนี้ยังมี “หอไตรกลางน้ำ” ที่สมบูรณ์เป็นสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น หรือตอนกลาง ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากรูปแบบหอไตรสมัยอยุธยา คาดว่าสร้างในปี พ.ศ.๒๔๐๐-๒๔๒๐ ลักษณะเป็นเรือนหอโดดๆ ทรงไทย สร้างขึ้นกลางน้ำ ใต้ถุนสูง เพื่อป้องกัน ปลวก แมลง เข้าไปกัดทำลายพระไตรปิฎก ตำรา คัมภีร์ ทางพระพุทธศาสนา

๕. หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์
หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ แห่งปากคลองสวนหมาก พระพุทธรูป ศิลปะเชียงแสนองค์ใหญ่ บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ของเมืองกำแพงเพชร และอาณาจักรล้านนาในอดีต จากตำนานการค้นพบองค์หลวงพ่อในดินลักษณะคล้ายจอมปลวกมองดูคล้ายอุโมงค์ เพื่อหลบซ่อนข้าศึกพม่าในอดีตจึงเป็นที่มา ของชื่อ “หลวงพ่ออุโมงค์”
ประชาชนที่เลื่อมใสศรัทธา มักมาขอพรให้ประสบความสำเร็จในชีวิต หน้าที่การงาน ซึ่งก็จะได้รับในสิ่งที่ขอจนเป็นที่เลื่องลือ โดยนำแป้งข้าวหมาก ขนมบัวลอย และบายศรี มาสักการะบูชา ในวันเพ็ญเดือนสี่จะมีงานประเพณี ปิดทองหลวงพ่ออุโมงค์ เป็นประจำทุกปี

๖. พระบรมสารีริกธาตุ วัดพระบรมธาตุนครชุม
วัดพระบรมธาตุนครชุม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย โดยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) เสด็จมาสถาปนา และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จากประเทศศรีลังกา ไว้ในองค์พระเจดีย์ พร้อมทั้งทรงปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ อันเป็นปฐมเหตุ แห่งตำนาน “ประเพณีนบพระ เล่นเพลง” หนึ่งเดียวของจังหวัดกำแพงเพชร
เชื่อกันว่าใครที่ได้นมัสการพระบรมธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ จะเป็น ผู้มีบุญ ดังเช่นความในศิลาจารึกนครชุม หลักที่ ๓ ว่า “...ผู้ใดไหว้นบ กระทำบูชาพระศรีรัตนมหาธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ไซร์ มีผลอานิสงส์ พร่ำเสมอ ดังได้นบพระผู้เป็นเจ้า...”
บทสวดบูชา
“ อะหัง วันทามิ ธาตุโย อะหัง วันทามิ สัพพะโส อะหัง สุขิโต โหมิ ”

๗. วัดพระแก้ว อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
วัดพระแก้ว อยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร โบราณสถานที่เคยเป็นที่ประดิษฐาน “พระแก้วมรกต” มาก่อน ในสมัยพระยาวิเชียรปราการ ภายในวิหารวัดพระแก้ว เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่สามองค์ คือ พระพุทธรูปปางไสยาสน์ ๑ องค์ และพระพุทธรูปนั่งปางมารวิชัย ๒ องค์ ลักษณะพระพักตร์ของพระพุทธรูป ทั้ง ๓ องค์ แตกต่างจากพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย ซึ่งคาดว่าน่าจะได้รับอิทธิพลจากศิลปะอู่ทองหรืออยุธยาตอนต้น
ประชาชนชาวกำแพงเพชร นิยมมากราบไหว้ ขอพรเพื่อเสริมสิริมงคลให้แก่ชีวิต

๘. ศาลหลักเมือง กำแพงเพชร
ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) ในอดีตมีรูปเศียรเทพารักษ์ อยู่บนยอดศิลาแลง ภายหลังหลังคาศาลได้พังลงมาทับเสาหลักเมืองและเศียรเทพารักษ์ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๘๘ หลวงปริวรรตวรวิจิตร (จันทรเจริญชัย) ผู้ว่าฯ จังหวัดกำแพงเพชร ได้ทำขึ้นใหม่ด้วยดินจากยอดเขาสูงสุดของเขาหลวง, ดินใจกลางโบสถ์, ใจกลางเจดีย์เก่า ทั้งในจังหวัดกำแพงเพชร สุโขทัย ศรีสัชนาลัย พิษณุโลก และตาก ในปี พ.ศ.๒๕๒๔ ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ศาลหลักเมืองใหม่อีกครั้ง โดยสร้างเป็นอาคารจัตุรมุขดังที่เห็นในปัจจุบัน
ชาวกำแพงเพชรศรัทธามาก และมีความเชื่อว่าหากจะเดินทางไปไหนจะมาสักการะด้วยการบีบแตรขอให้เดินทางปลอดภัย และอธิษฐานให้ตนประสบความสำเร็จในเรื่องต่างๆ

๙. วัดพระสี่อิริยาบถ อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
วัดพระสี่อิริยาบถ หรือ วัดพระยืน ตั้งอยู่ในกลุ่มโบราณสถาน เขตอรัญญิก อุทยานประวัติศาสตร์เมืองโบราณกำแพงเพชร สิ่งสำคัญของวัด คือ มณฑปจัตุรมุขขนาดใหญ่แต่ละทิศเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปในอิริยาบถแตกต่างกันออกไป คือ เดิน นั่ง ยืน นอน ปัจจุบันเหลือเพียงพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ ที่งดงามมากองค์หนึ่งและ เป็นเสมือนเอกลักษณ์ของโบราณสถานแห่งนี้
ภายในบริเวณวัด เต็มไปด้วยความร่มรื่นของไม้ใหญ่ มีสภาพเป็นป่าธรรมชาติที่รักษาไว้อย่างดี เพื่อคงไว้ซึ่งบรรยากาศของโบราณสถานใน เขตอรัญวาสี เช่นในอดีต
เชื่อกันว่า หากใครได้มาเวียนเทียนรอบมณฑปอันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ ถือได้ว่าเป็นสิริมงคลแห่งชีวิต และได้กุศลยิ่งนัก 

การเดินทางไม่ใช่แค่สนุก แต่เป็นการเปิดโลกใหม่มุมมองใหม่ๆ สร้างพลังใจ พลังชีวิต ...
 อย่าหยุดอยู่เพียงแค่ความคิดแล้วปล่อยให้กลายเป็นเพียงฝัน
 แต่...จงติดตามความฝันด้วยการออกก้าวเดินไปสู่สถานที่ใหม่ๆ ที่มีอีกมากมายในประเทศไทยของเรา

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุโขทัย (พื้นที่รับผิดชอบ สุโขทัย-กำแพงเพชร-อุตรดิตถ์)
โทรศัพท์ : 055-616228-9
Facebook: tatsukhothaifanpage
https://www.facebook.com/notes/tat-sukhothai-fanpage/ไหว้พระ-๙-วัด-๙-มงคล-เมืองกำแพงเพชร/1756957804378945/




ข้อมูลทั่วไป และ สถานที่ ท่องเที่ยว

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
https://thai.tourismthailand.org/destination-guide/kamphaengphet-62-1-1.html

เวบทัวร์ไทย
https://www.tourthai.com/province/kamphaeng_phet/

เวบหมูหิน
https://www.moohin.com/025/

เวบสำนักงานวัฒนธรรม จังหวัด กำแพงเพชร
https://www.kpp-culture.com/

อุทยานประวัติศาสตร์ กำแพงเพชร
https://www.sadoodta.com/content/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%A3-%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%A3


เที่ยวสนุก กินอร่อย เดินทางปลอดภัย นะครับ ..


Create Date : 13 กุมภาพันธ์ 2552
Last Update : 26 ธันวาคม 2560 16:56:43 น. 3 comments
Counter : 5268 Pageviews.  

 
สวัสดีค่ะหมอหมู แวะมาทักทาย เพราะเห็นบล็อคในหมวดอาหาร ที่ไม่ใช่หมวดสุขภาพ

เป็นเภสัชกรที่รักการกินและการทำขนม จนอ้วนเหมือนหมู^^"


โดย: ความรักทำให้โลกอ่อนหวาน วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:22:34:41 น.  

 

ขอบคุณที่แวะมาแจมครับ ...

แวะไปดูบล๊อกแล้ว ...น่ากินทั้งน้านเลย ..

วันหลัง ต้องให้แม่บ้านเข้าไปดูสูตรมั่งนะครับ ..


โดย: หมอหมู วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:16:37:51 น.  

 
สวัสดีค่ะคุณหมอหมู
เห็นBlog คุณหมอแล้วดีใจแทนคนกำแพงเพชรเลยค่ะ
ขอบคุณนะคะที่เสนอสิ่งดีๆของคนกำแพง
เป็นคนในพื้นที่ค่ะ แต่ไม่รู้อะไรเลย-.-

เห็นBlog แล้วอยากให้คุณหมอแนะนำร้านจัดโต๊ะจีน
ดีสักร้านค่ะ แบบว่าถูกประหยัด อร่อยน่ะคะ-*-
แล้วแถมร้านดอกไม้ สักร้านก็ดีค่ะ^-^
ขอบพระคุณนะคะ


โดย: เจ้าม่อนจอมซน วันที่: 1 เมษายน 2553 เวลา:15:59:41 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]