กุมภาพันธ์ 2558

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
21
22
23
25
26
27
28
 
All Blog
​ฝึกจิตควรแก่งาน หลักภาวนาไร้กรอบ
ไม่นานมานี้เราเคยเล่าถึงหลักการผสมผสานระหว่างการภาวนากับการดำรงชีวิตประจำวัน โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อการฝึกสมาธิให้กับคนทุกเพศ ทุกวัย ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ได้กับในสถานการณ์ต่างๆ เราเรียกแนวทางนี้ว่าการ "ภาวนาคือชีวิต วิถีชีวิตที่เกื้อกูลต่อชุมชนและสังคม" ซึ่งมีสถาบันบ่มเพาะจิตสู่การแปรเปลี่ยนสังคม และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นแม่งานและดำเนินโครงการมาอย่างต่อเนื่อง

ในโอกาสนี้ เราจึงอยากจะบอกเล่าอีกประสบการณ์ ซึ่งเป็นการต่อยอดจากแนวคิดข้างต้น และเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจเรื่องหนึ่งอันสะท้อนว่าหลักการภาวนาสามารถประยุกต์ได้กับหลากหลายกิจกรรม นั่นคือกิจกรรมการปฏิบัติธรรมเพื่อจิตอันควรแก่งาน ที่เป็นการรวมตัวของเครือข่ายคนทำงานชุมชนในจ.มหาสารคามและจ.ยโสธร เช่น ชมรมจักรยานคุณธรรมผู้ริเริ่มโครงการปั่นเพื่อรักเชื่อมสัมพันธ์ฉันกับโลก กลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลโนนคูน ผู้ทำโครงการพลังแห่งการรู้จักตัวตน สู่สังคมแห่งความกรุณาและมีความสุข และโครงการจิตอันควรแก่งาน ซึ่งเป็นโครงการย่อยจากโครงการภาวนาคือชีวิต เป็นต้น ทั้งนี้ ต้องอย่าลืมว่าการภาวนาไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในวัดเท่านั้น แต่การภาวนาที่เราหมายถึงนี้ คือการเน้นการเจริญสติตามแนวทาง หลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ นั่นคือการใส่ใจการเคลื่อนไหวกาย และรับรู้อารมณ์และความคิดที่เกิดขึ้น


ส่วนการภาวนานอกรูปแบบที่ตามานั่นคือการรับรู้อารมณ์ความรู้สึก ความคิดผ่านงานศิลปะ การเคลื่อนไหว และการทำการงานในชีวิตประจำวัน เพราะเชื่อว่าสติที่เติบโตขึ้น จะเป็นพลังภายใน ไม่ทำให้บุคคลไหลไปตามกระแสบริโภคนิยม รับมือกับปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ทั้งในระดับบุคคล องค์กร และสังคมได้มากขึ้น ป้าหน่อย-ปัทมา ราตรี ผู้ประสานงานเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดยโสธร เล่าว่า ได้ประยุกต์หลักการภาวนาควบคู่กับการปฏิบัติธรรม โดยกิจกรรมทั้ง 3 วัน 2 คืนจะประกอบไปด้วย การบรรยายธรรมเทศนา การฝึกเจริญสติ การพูดคุยสนทนาธรรมระหว่างกัน โดยมีคณะภิกษุของพระอาจารย์ราเชนท์ สุทธจิตโต ซึ่งร่วมร่าง หลักสูตร "ภาวนา สู่จิตอันควรแก่งาน" เข้าร่วมเป็นวิทยากรด้วย ป้าหน่อย บอกอีกว่า การภาวนามีวิธีการฝึกที่แตกต่างกันออกไป เช่น การภาวนาผ่านการขี่จักยาน การภาวนาโดยการเคลื่อนไหวแต่การเข้าคอร์สครั้งนี่้ เป็นการปฏิบัตอย่างเข้มข้น มีวิปัสนาจารย์ คอยดูแล...ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจต่อการภาวนาที่ถูกต้อง ตรงตามสิ่งที่พระพุทธเจ้าว่าไว้ รวมทั้งทำให้ผู้เข้าคอร์สได้ลงมือปฏิบัติการภาวนา...ซึ่งจะทำให้เข้าใจ และผ่านสภาวะอารมณ์พื้นฐาน...ซึ่งเป็นรายละเอียดในกระบวนการภาวนา "ได้เข้าใจ ความรู้สึกตัว เข้าใจ สติ แล้วนำไปปรับใช้ในชีวิตปกติ...หรือปรับกับการภาวนาในรูปแบบอื่นๆได้ และไมจำเป็นว่าการภาวนาต้องยึดติดอยู่ในกรอบแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น"


วิเชียร นนท์สามารถ นักศึกษาฝึกงานกับกลุ่มเกษตรอิทรย์หนองตอกแป้น ซึ่งเป็นทีมในโครงการจิตอันควรแก่งานของเรา กล่าวว่า การปฏิบัติธรรมภาวนาแบบเจริญสตินั้นทำให้เรารู้จักตัวเองมาขึ้นเกิดจากเรา ได้มีเวลาได้อยู่กับตัวเอง และได้รับรู้เรื่องที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมาขึ้น ทำให้มีสติรับรู้ได้ถึงเรื่องต่างๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน นี่จึงเป็นหลักฐานหนึ่งของการภาวนาที่ช่วยพัฒนาจิตให้มีความเท่าทันอารมณ์ของตัวเอง สู่ความสามารถในการรับมือสิ่งที่จะเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นความฟุ้งซ่าน ความสับสน ควบคู่ไปกับการบ่มเพาะจิตที่เปิดกว้าง ตระหนักถึงความเชื่อมโยงระหว่างมนุษย์ด้วยกัน มนุษย์กับธรรม ชาติ เพเพราะในอีกมุมหนึ่งเรายังเชื่อกันว่าการภาวนาคือการสั่งสมปัญญาที่นำไปสู่การสร้างสุขของชุมชนท้องถิ่นอย่างแท้จริงในทุกมิติ การสร้างปัญญาผ่านงานภาวนา ไปสู่การสร้างสุขในชุมชนจึงมีการกระจายไปในหลากหลายรูปแบบกิจกรรม เปรียบเสมือนการถอดหลักการไปสู่การปฏิบัติจริง

เป็นการทำงานภาวนาที่ไร้กรอบ และใครๆก็เข้าถึงได้


ติดตามความสุข สุข ได้ที่ https://www.facebook.com/krajaisukteam




Create Date : 24 กุมภาพันธ์ 2558
Last Update : 24 กุมภาพันธ์ 2558 12:10:20 น.
Counter : 1033 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

กระจายสุข
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]