22.9 พระสูตรหลักถัดไป คือสันทกสูตร [พระสูตรที่ 26]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
22.8 พระสูตรหลักถัดไป คือสันทกสูตร [พระสูตรที่ 26]

ความคิดเห็นที่ 3-82
GravityOfLove, 19 กันยายน เวลา 11:37 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-83
ฐานาฐานะ, 19 กันยายน เวลา 11:46 น.

             คำถามในรัฐปาลสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=6825&Z=7248

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             2. ท่านพระรัฐปาลเถระ เป็นเอตทัคคะด้านใด หรือไม่?
             3. ในพระสูตรนี้ มีบุคคลอื่นๆ เกี่ยวข้องมากมาย คือ
มารดาบิดา อดีตภรรยา ทาสี เพื่อนสหายของรัฐปาลกุลบุตร
พระเจ้าโกรัพยะ และพนักงานรักษาพระราชอุทยาน
             ขอให้แสดงความเห็นว่า บุคคลเหล่านั้นได้บุญได้บาปอย่างไรบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 3-84
GravityOfLove, 19 กันยายน เวลา 12:12 น.

             ตอบคำถามในรัฐปาลสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=6825&Z=7248

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ความเสื่อม ๔, ธัมมุทเทส ๔
             ๒. ที่ชื่อว่ารัฐปาละ เพราะเป็นผู้สามารถดำรงรักษารัฐที่แบ่งแยกได้
             ชื่อของท่านพระรัฐปาละนั้น เกิดขึ้นเมื่อครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ
--------------------------------------
             2. ท่านพระรัฐปาลเถระ เป็นเอตทัคคะด้านใด หรือไม่?
             เป็นเอตทัคคะในทางบวชด้วยศรัทธา
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=รัฐบาล
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อสีติมหาสาวก
--------------------------------------
             3. ในพระสูตรนี้ มีบุคคลอื่นๆ เกี่ยวข้องมากมาย คือ
มารดาบิดา อดีตภรรยา ทาสี เพื่อนสหายของรัฐปาลกุลบุตร
พระเจ้าโกรัพยะ และพนักงานรักษาพระราชอุทยาน
             ขอให้แสดงความเห็นว่า บุคคลเหล่านั้นได้บุญได้บาปอย่างไรบ้าง?
             ๑. มารดาบิดา
             ได้บาป - พยายามจะให้พระลูกชายสึกให้ได้ ด้วยการนำกามคุณมาล่อ
และในอรรถกถากล่าวว่า ล๊อกประตูและหาคนแข็งแรงมาปิดทางไม่ให้ออกไปได้
             ได้บุญ - ถวายภัตตาหารพระลูกชายด้วยอาหารอันประณีตด้วยมือของตน
             ๒. อดีตภรรยา
             ได้บาป - พยายามให้ท่านพระรัฐปาลสึก
             ได้บุญ - รอท่านพระรัฐปาลมาตลอด (๑๒ ปี) แสดงถึงความภักดีต่ออดีตสามี
             ๓. ทาสี
             ได้บุญ - ถวายทานท่านพระรัฐปาล และจำท่านได้แล้วไปบอกมารดาบิดาท่าน
             ๔. เพื่อนสหายของรัฐปาลกุลบุตร
             ได้บุญ - ช่วยมารดาบิดาเพื่อนเกลี้ยกล่อมลูกชาย และเมื่อเห็นว่าไม่สำเร็จ
ก็ไม่ได้ดึงดันแต่อย่างไร ได้ให้ความเห็นมารดาบิดาเพื่อนว่า ถ้าไม่ได้บวช เขาจะตายแน่
แต่ถ้าได้บวช ก็ยังมีโอกาสได้เห็นหน้าเขา
             ทำให้รัฐปาลกุลบุตรได้โอกาสบวช
             ๕. พระเจ้าโกรัพยะ
             ได้บุญ - จัดสถานที่สำหรับสมณะที่เดินทาง,
             ถวายภัตตาหารท่านพระรัฐปาละ และพยายามอุปฐากอย่างดี,
             ตรัสถามปัญหาที่ตนสงสัย เมื่อคลายสงสัยแล้ว ทำให้ตนได้ปัญญายิ่งขึ้น
             ๖. พนักงานรักษาอุทยาน
             ได้บุญ - ทำตามหน้าที่ของตนที่ไ้ด้รับมอบหมายมา หน้าที่นั้นก็เป็นหน้าที่
ที่เป็นกุศลธรรม (ดูแลรักษาอุทยานที่จัดไว้สำหรับสมณะเดินทาง),
             ทราบว่าพระเจ้าโกรัพยะมีความเลื่อมใสในท่านพระรัฐปาล เมื่อเห็นท่าน
พระรัฐปาลมาพักในอุทยาน ก็ไปกราบทูลให้ทรงทราบ ทำให้พระองค์ได้ทรงสนทนาธรรม
กับท่านพระรัฐปาล

ความคิดเห็นที่ 3-85
ฐานาฐานะ, 19 กันยายน เวลา 13:09 น.

GravityOfLove, 32 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามในรัฐปาลสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=6825&Z=7248
...
12:12 PM 9/19/2013

             ตอบคำถามได้ดีครับ
             ดูเหมือนว่า พอมีคำถามหลายข้อ ทำให้คำตอบในข้อ 1 สั้นลง.
             การดูเหมือนว่านี้ จริงหรือไม่หนอ?

             ในข้อ 2 นั้น เมื่อกล่าวหรือจะแสดงถึงเอตทัคคะ ควรทำลิงค์ไปยัง
พระไตรปิฎกเล่มที่ 20 ข้อ 146-152 อันเป็นเอตทัคคบาลี
             เช่นในกรณีนี้ ควรทำลิงค์ไปที่
//84000.org/tipitaka/read/?20/146-152
             หรือ
//84000.org/tipitaka/read/?20/148

             ในข้อ 3 นั้นที่ว่า พระเจ้าโกรัพยะถวายภัตตาหารท่านพระรัฐปาละ
             ผมไม่เห็นเนื้อความใดๆ ที่แสดงว่า ได้ถวายภัตตาหารท่านพระรัฐปาละ
             อรรถกถาแสดงนัยว่า พระราชาพระราชทานแก่เหล่าบรรพชิตที่มาถึงในกาลมิใช่เวลา
เป็นอันพระราชาให้เสนาสนะที่ร่มรื่นแก่บรรพชิตทั้งหลาย.
             ในบรรดาคนทั้งหลายเหล่านี้ พระราชาน่าจะได้บุญมากที่สุด
             เพราะได้สอบถามปัญหา ได้ฟังคำตอบของปัญหา และอนุโมทนาในคำตอบเหล่านั้น
อันทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจในพระธรรมวินัยยิ่งขึ้น เป็นปัจจัยแก่การบรรลุธรรมในอนาคต.

             อรรถกถา [บางส่วน]
             บทว่า มิคาจิเร ได้แก่ พระอุทยานมีชื่ออย่างนี้.
             ก็พระราชอุทยานนั้น พระราชาพระราชทานแก่เหล่าบรรพชิตที่มาถึงในกาลมิใช่เวลา
เป็นอันทรงอนุญาตอย่างนี้ว่า จงใช้สอยอุทยานนี้ตามความสบายเถิด. เพราะฉะนั้น
พระเถระไม่เกิดแม้ความคิดว่า เราจะบอกบิดามารดาว่าเรามาแล้ว
มารดาบิดานั้นจักส่งน้ำล้างเท้า น้ำมันทาเท้าเป็นต้นแก่เรา
แล้วเข้าไปยังพระราชอุทยานนั้นแล.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=423

ความคิดเห็นที่ 3-86
GravityOfLove, 19 กันยายน เวลา 13:14 น.

การดูเหมือนว่านี้ จริงหรือไม่หนอ?
ไม่จริงค่ะ เพราะทำคำตอบข้อ ๑ เสร็จแ้ล้วตั้งแต่เมื่อวาน

ผมไม่เห็นเนื้อความใดๆ ที่แสดงว่า ได้ถวายภัตตาหารท่านพระรัฐปาละ
น่าจะจำสับสนกับพระสูตรอื่นค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-87
ฐานาฐานะ, 19 กันยายน เวลา 13:18 น.

GravityOfLove, 21 วินาทีที่แล้ว
การดูเหมือนว่านี้ จริงหรือไม่หนอ?
ไม่จริงค่ะ เพราะทำคำตอบข้อ ๑ เสร็จแล้วตั้งแต่เมื่อวาน
             รับทราบครับว่า
             1. ไม่จริง.
             2. ทำคำตอบก่อนตั้งคำถาม.

ผมไม่เห็นเนื้อความใดๆ ที่แสดงว่า ได้ถวายภัตตาหารท่านพระรัฐปาละ
น่าจะจำสับสนกับพระสูตรอื่นค่ะ
ขอบพระคุณค่ะ
1:14 PM 9/19/2013
             พระสูตรอื่นนั้น คือพระสูตรอะไรหนอ?

ความคิดเห็นที่ 3-88
GravityOfLove, 19 กันยายน เวลา 13:21 น.

พระสูตรอื่นนั้น คือพระสูตรอะไรหนอ?
นึกไม่ออกค่ะ มีหลายพระสูตรมาก
อ่านวันละพระสูตรนี่คะ

ความคิดเห็นที่ 3-89
ฐานาฐานะ, 19 กันยายน เวลา 13:24 น.

             รับทราบครับ.

ความคิดเห็นที่ 3-90
ฐานาฐานะ, 19 กันยายน เวลา 13:28 น.

             คำถามเบาๆ ว่า
             ลักษณะของการขออนุญาตมารดาบิดา เพื่อบรรพชาอุปสมบท
ของท่านรัฐปาลกุลบุตร. คุณ GravityOfLove ได้เคยเห็นจากบุคคลอื่น
หรือกุลบุตรอื่นๆ หรือไม่ และบุคคลนั้น คือใคร?

ความคิดเห็นที่ 3-91
GravityOfLove, 19 กันยายน เวลา 13:42 น.

             ตอบว่า มารดาของท่านพระกุมารกัสสปค่ะ
             ได้ยินมาว่า ธิดาของท่านเศรษฐีนั้นเป็นหญิงมีความประสงค์จะบวช
แต่ในเวลาที่ยังเป็นกุมารีอยู่ทีเดียว ขออนุญาตมารดาบิดา ไม่ได้รับอนุญาตให้บรรพชา
แม้ไปสู่ตระกูลผัว ก็ไม่รู้ว่าตนตั้งครรภ์
             ทำสามีให้โปรดปราน จนสามีอนุญาต จึงบวช (ในสำนัก) นางภิกษุณีทั้งหลาย
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=298&p=1

ความคิดเห็นที่ 3-92
ฐานาฐานะ, 19 กันยายน เวลา 14:21 น.

             ลักษณะการขอบวชของธิดาท่านเศรษฐี มีส่วนคล้ายกัน
ตรงที่ว่า เมื่อขออนุญาตแล้ว ไม่ได้รับอนุญาต.
             มารดาของท่านพระกุมารกัสสป เป็นคนฉลาด กล่าวคือ
รู้ว่า ใครเป็นศาสดา ใครเป็นสาวก หรือใครเพียงคนเข้ามาบวช.
             ครั้งหนึ่ง เมื่อมารดาของท่านพระกุมารกัสสป ตั้งครรภ์แล้ว
แต่ไม่รู้ว่า ตนเองตั้งครรภ์ ได้บรรพชาอุปสมบทเป็นนางภิกษุณีแล้ว
             ภายหลังจึงรู้ว่า ตั้งครรภ์ (ก่อนบวช)
             คราวนั้น พระเทวทัตตวินิจฉัยให้นางภิกษุณีสึกเสีย.
             นางภิกษุณีแก่ภิกษุณีทั้งหลายว่า
             อรรถกถา [บางส่วน]
แม่เจ้าทั้งหลาย พระเทวทัตเถระไม่ใช่พระพุทธเจ้า การบรรพชาของเรา
ในสำนักของพระเทวทัตนั้น ก็หามิได้ ก็บรรพชาของเราในสำนักของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นบุคคลเลิศในโลก.

             อนึ่ง บรรพชานั้น เราได้โดยยาก ท่านทั้งหลายอย่าทำให้การบรรพชานั้น
อันตรธานหายไปเสียเลย มาเถิดท่านทั้งหลาย จงพาเราไปยังพระเชตวัน
ในสำนักของพระศาสดา ภิกษุณีทั้งหลายจึงพาภิกษุณีสาวนั้นไปจากกรุงราชคฤห์
สิ้นหนทาง ๔๕ โยชน์ ถึงพระเชตวันมหาวิหาร โดยลำดับ ถวายบังคมพระศาสดา
แล้วกราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=12

             เฉลยว่า
             ลักษณะการขอบวชของท่านสุทินน์กลันทบุตร คล้าย/เหมือน
กับการขอบวชของท่านรัฐปาลกุลบุตร.
             เรื่องพระสุทินน์
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=1&A=316&Z=670

ความคิดเห็นที่ 3-93
ฐานาฐานะ, 19 กันยายน เวลา 14:24 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า รัฐปาลสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=6825&Z=7248

              พระสูตรหลักถัดไป คือมฆเทวสูตร [พระสูตรที่ 33].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
              มฆเทวสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=7249&Z=7473
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=452

              มธุรสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=7474&Z=7662
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=464

              โพธิราชกุมารสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=7663&Z=8236
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=486

ความคิดเห็นที่ 3-94
GravityOfLove, 19 กันยายน เวลา 14:24 น.

แกรวิตี้ก็ค้นเจอเรื่องพระสุทินน์อยู่นะคะ
แต่เข้าใจว่า ยังไม่เคยเรียน (หรือเปล่าคะ) อมยิ้ม19
ก็เลยไม่ตอบ

ความคิดเห็นที่ 3-95
ฐานาฐานะ, 19 กันยายน เวลา 14:27 น.

              รับทราบครับ.
              น่าจะยังไม่เคยเรียนครับ
              ตั้งใจถามเพื่อให้รู้รอบ.

ความคิดเห็นที่ 3-96
GravityOfLove, 19 กันยายน เวลา 14:29 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-97
GravityOfLove, 19 กันยายน เวลา 23:24 น.

             คำถามมฆเทวสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=7249&Z=7473

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. อันตรากถานี้เกิดขึ้นแล้วแก่เทวดาชั้นดาวดึงส์
             ๒. เทวดาชั้นดาวดึงส์ปรารถนาจะพบเห็นพระองค์ ขอเชิญพระองค์จง
อภิรมย์อยู่ในเทวดาทั้งหลายด้วยเทวานุภาพเถิด.
             ๓. ในข้อนั้น ภิกษุผู้มีศีลเมื่อไม่กระทำความเพียรด้วยคิดว่า
เราไม่อาจได้พระอรหัต ชื่อว่าย่อมตัด. กัลยาณวัตรย่อมชื่อว่าอันผู้ทุศีลตัดแล้ว.
พระเสกขบุคคลทั้ง ๗ ย่อมให้เป็นไป. ย่อมชื่อว่าอันพระขีณาสพให้เป็นไปแล้ว.
             ขอบพระคุณค่ะ

ย้ายไปที่



Create Date : 14 ธันวาคม 2556
Last Update : 3 มิถุนายน 2557 13:20:57 น.
Counter : 436 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
15
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog