21.8 พระสูตรหลักถัดไป คือลฑุกิโกปมสูตร [พระสูตรที่ 16]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
21.7 พระสูตรหลักถัดไป คือลฑุกิโกปมสูตร [พระสูตรที่ 16]

ความคิดเห็นที่ 8-76
GravityOfLove, 27 สิงหาคม เวลา 20:46 น.

             ตอบคำถามในอัคคิวัจฉโคตตสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=4316&Z=4440

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ทิฏฐิ ๑๐ คือ ความเห็นว่าโลกเที่ยง เป็นต้น เป็นความเห็นที่รกชัฏ
เป็นความเห็นอย่างกันดาร เป็นความเห็นที่เป็นเสี้ยนหนาม ... ไม่เป็นไปเพื่อ
นิพพาน
             ๒. พระผู้มีพระภาคไม่ทรงมีทิฏฐิ เพราะทรงเห็นความเกิดดับแห่งขันธ์ ๕
             ๓.  จะไม่ใช้คำว่า จะเกิด/จะไม่เกิด/เกิดก็มี ไม่เกิดก็มี/เกิดก็ไม่ใช่ ไม่เกิดก็ไม่ใช่
กับภิกษุผู้มีจิตพ้นวิเศษแล้ว (ละความยึดถือในขันธ์ ๕ แล้ว)
             เปรียบเหมือนไฟที่หมดเชื้อแล้ว ย่อมไม่พูดว่า ไฟจะไปทิศใด
             ๔. พระพุทธพจน์ของพระพุทธองค์มีแต่คำอันเป็นสาระล้วนๆ
             เปรียบเหมือนต้นไม่ใหญ่มีแก่นที่ปราศจากกิ่ง ใบ เปลือก สะเก็ด และกระพี้
             ๕. ปัจจยาการหรือปฏิจจสมุปบาทเป็นธรรมที่ลุ่มลึก
             ยากที่จะเห็น ยากที่จะรู้ สงบระงับ ประณีต ไม่ใช่ธรรมที่จะหยั่งถึงได้ด้วย
ความตรึก ละเอียด บัณฑิตจึงจะรู้ได้
             เป็นธรรมอันผู้มีความเห็นเป็นอย่างอื่น มีความพอใจเป็นอย่างอื่น
มีความชอบใจเป็นอย่างอื่น มีความเพียรในทางอื่น อยู่ในสำนักของอาจารย์อื่น
รู้ได้โดยยาก
             ๖. วัจฉโคตตปริพาชกได้ไตรสรณะในพระสูตรนี้
--------------------
             2. กล่าวได้หรือไม่ว่า มูลรากของทิฏฐิเหล่านั้น
ก็คือสักกายทิฏฐิ 20 ประการ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง.
             กล่าวได้ค่ะ

ความคิดเห็นที่ 8-77
ฐานาฐานะ, 27 สิงหาคม เวลา 22:14 น.

GravityOfLove, 1 ชั่วโมงที่แล้ว
             ตอบคำถามในอัคคิวัจฉโคตตสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=4316&Z=4440
...
8:46 PM 8/27/2013

             ตอบคำถามได้ดีครับ.
             คำถามเบาๆ ว่า
             ปริพาชกวัจฉโคตร ในพระสูตรนี้
และปริพาชกวัจฉโคตร ในพระสูตรที่แล้ว
             เป็นบุคคลเดียวกันหรือไม่?

ความคิดเห็นที่ 8-78
GravityOfLove, 27 สิงหาคม เวลา 22:28 น.

             ตอนอ่านก็เข้าใจว่า เป็นบุคคลเดียวกันมาตลอดเลยค่ะ
คงไม่มีพลิกล๊อกนะคะ โดยมีลำดับเรื่องดังนี้
             ในจูฬวัจฉโคตตสูตร ปริพาชกวัจฉโคตรเมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนา มีใจยินดี ชื่นชม พระภาษิต
             ในพระสูตรถัดมาคือ อัคคิวัจฉโคตตสูตร ปริพาชกวัจฉโคตรถึงไตรสรณะ
คำว่า อัคคิ คิดว่ามาจากคำว่า อัคคี ที่แปลว่า ไฟ จากที่ทรงอุปมาเรื่องไฟดับ
             ในพระสูตรถัดไปอีกคือ มหาวัจฉโคตตสูตร ปริพาชกวัจฉโคตรขอบวชแล้วบรรลุเป็นพระอรหันต์

ความคิดเห็นที่ 8-79
ฐานาฐานะ, 27 สิงหาคม เวลา 22:43 น.

             ตอนแรก ผมก็คิดว่า เป็นบุคคลเดียวกัน
             พอมาสังเกตุเห็นว่า พระสูตรทั้งสองเกิดขึ้นในสถานที่ต่างกัน
คือพระสูตรแรกเกิดที่เมืองเวสาลี พระสูตรนี้เกิดขึ้นที่พระนครสาวัตถี
พระสูตรถัดไปเกิดที่พระนครราชคฤห์.
             จึงยังไม่สามารถกำหนดได้ว่า เป็นบุคคลเดียวกันหรือไม่?
             กล่าวคือ เป็นบุคคลเดียวกัน เพราะธรรมดา นักบวชก็จาริกไปในที่ต่างๆ
หรือเป็นคนละบุคคล เพราะชื่อของเรา เรียกตามโคตร ดังนั้นจึงมีได้หลายคน.
             แต่มาสรุปว่า เป็นบุคคลเดียวกัน เพราะเนื้อความในอรรถกถาว่า
             แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ยังทรงทำการสงเคราะห์ได้ทรงให้โอกาส
แก่วัจฉปริพาชกนั้นผู้มาแล้วๆ เพราะเหตุไร.
             เพราะวัจฉปริพาชกนี้เป็นสัสสตทิฏฐิ (มีความเห็นว่าเที่ยง).
             อนึ่ง ผู้เป็นสัสสตทิฏฐิทั้งหลายย่อมไม่สละลัทธิทันทีทันใด ย่อมบริสุทธิ์ได้
โดยเวลานาน ดุจผ้าขี้ริ้วเปื้อนน้ำมันเหลว.
             พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นว่า ปริพาชกนี้ไปๆ มาๆ อยู่ จักสละลัทธิแล้วบวช
ในสำนักของเรา จักทำให้แจ้งอภิญญา ๖ แล้วจักเป็นอริยสาวกผู้ได้อภิญญา.
             เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทำการสงเคราะห์ ทรงให้โอกาสแก่
วัจฉปริพาชกผู้มาแล้วมาอีกนั้น นี้เป็นการไปครั้งสุดท้ายของวัจฉปริพาชกนั้น.
             เพราะในสูตรนี้ วัจฉปริพาชกนั้นตัดสินใจว่าจะเป็นจะตายอย่างไรก็ตาม
เราจักไปเฝ้าพระสมณโคดม แล้วจักบวชดุจบุคคลหยั่งไม้เท้าตกลงไปในน้ำฉะนั้น.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=253

ความคิดเห็นที่ 8-80
GravityOfLove, 27 สิงหาคม เวลา 22:56 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 8-81
ฐานาฐานะ, 27 สิงหาคม เวลา 22:58 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า อัคคิวัจฉโคตตสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=4316&Z=4440

              พระสูตรหลักถัดไป คือมหาวัจฉโคตตสูตร [พระสูตรที่ 23].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
              มหาวัจฉโคตตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=4441&Z=4660
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=253

              ทีฆนขสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=4661&Z=4768
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=269

              มาคัณฑิยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=4769&Z=5061
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=276

ความคิดเห็นที่ 8-82
GravityOfLove, 28 สิงหาคม เวลา 14:07 น.

             คำถามมหาวัจฉโคตตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=4441&Z=4660

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. ส่วนอุบาสิกาแม้คนหนึ่ง ผู้เป็นสาวิกาของท่านพระโคดมฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว
บริโภคกาม ทำตามคำสอน ผู้ทำเฉพาะโอวาท มีวิจิกิจฉาอันข้ามได้แล้ว
ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เชื่อต่อผู้อื่นในคำสอนของศาสดา
             ทรงหมายถึงเป็นพระโสดาบันหรือพระสกทาคามีคะ หรือทั้งสองคะ
             ๒. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเทศนาอย่างย่อด้วยมูลของกุศลอกุศล
อย่างพิสดารด้วยกรรมบถ.
             อนึ่ง ในที่นี้เทศนาด้วยอำนาจมูลทรงย่อไว้ เทศนาด้วยอำนาจกรรมบถทรงย่อไว้
ก็เหมือนกับทรงแสดงโดยพิสดาร.
             สรุปว่า พระองค์ทรงแสดงกรรมบถโดยย่อหรือโดยพิศดารคะ
             ๓. บทว่า สติ สติ อายตเน คือ เมื่อเหตุมีอยู่. เหตุในที่นี้คืออะไร.
             พึงทราบว่า ฌานที่เป็นบาทแห่งอภิญญาก็ดี พระอรหัตในที่สุดก็ดี
วิปัสสนาเพื่อพระอรหัตก็ดี ชื่อว่าเป็นเหตุ
             ๔. อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ความนั้น. เมื่อไม่รู้ก็ไม่รับคำของพระเถระนั้น
จึงพากันไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า.
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 8-83
ฐานาฐานะ, 28 สิงหาคม เวลา 20:23 น.

GravityOfLove, 4 ชั่วโมงที่แล้ว
             คำถามมหาวัจฉโคตตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=4441&Z=4660

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. ส่วนอุบาสิกาแม้คนหนึ่ง ผู้เป็นสาวิกาของท่านพระโคดมฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว
บริโภคกาม ทำตามคำสอน ผู้ทำเฉพาะโอวาท มีวิจิกิจฉาอันข้ามได้แล้ว
ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เชื่อต่อผู้อื่นในคำสอนของศาสดา
             ทรงหมายถึงเป็นพระโสดาบันหรือพระสกทาคามีคะ หรือทั้งสองคะ
อธิบายว่า น่าจะเป็นอย่างนั้น.
             แต่คำว่า ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ... มีวิจิกิจฉาอันข้ามได้แล้ว
แยกเป็นคำว่า มีวิจิกิจฉาอันข้ามได้แล้ว กล่าวคือบรรลุมรรคผลเบื้องต้นแล้ว
คำว่า บริโภคกาม ยังละกามไม่ได้
คำว่า นุ่งผ้าขาว น่าจะหมายถึง สมาทานศีล 8 หรืออุโบสถศีลโดยปกติหรือโดยบางคราว.

             ๒. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเทศนาอย่างย่อด้วยมูลของกุศลอกุศล
อย่างพิสดารด้วยกรรมบถ.
             อนึ่ง ในที่นี้เทศนาด้วยอำนาจมูลทรงย่อไว้ เทศนาด้วยอำนาจกรรมบถทรงย่อไว้
ก็เหมือนกับทรงแสดงโดยพิสดาร.
             สรุปว่า พระองค์ทรงแสดงกรรมบถโดยย่อหรือโดยพิศดารคะ
อธิบายว่า น่าจะเป็นการแสดงกรรมบถโดยย่อครับ
             เพราะว่า ทรงแสดงเพียงหัวข้อเท่านั้นเอง คือ
ปาณาติบาตแลเป็นอกุศล เจตนาเครื่องงดเว้นจากปาณาติบาตเป็นกุศล เป็นต้น.

             ๓. บทว่า สติ สติ อายตเน คือ เมื่อเหตุมีอยู่. เหตุในที่นี้คืออะไร.
             พึงทราบว่า ฌานที่เป็นบาทแห่งอภิญญาก็ดี พระอรหัตในที่สุดก็ดี
วิปัสสนาเพื่อพระอรหัตก็ดี ชื่อว่าเป็นเหตุ
อธิบายว่า สันนิษฐานว่า เมื่อท่านฝึกฝนในสมถะและวิปัสสนาแล้ว
หากเหตุคือการฝึกฝนนั้น มีเพียงพอแก่ผลแล้ว จะบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ
เป็นต้นได้.

             ๔. อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ความนั้น. เมื่อไม่รู้ก็ไม่รับคำของพระเถระนั้น
จึงพากันไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า.
             ขอบพระคุณค่ะ
2:07 PM 8/28/2013
อธิบายว่า สันนิษฐานว่า น่าจะหมายถึงว่า
             เมื่อไม่รู้ก็ไม่รับถ้อยคำของพระเถระนั้น โดยการอนุโมทนาเป็นต้นว่า
เป็นการดีแล้วหนอที่ท่านบรรลุอรหัตเป็นต้น.
             แต่ก็รับคำของพระเถระนั้น โดยการนำเนื้อความมากราบทูลพระผู้มีพระภาค.

ความคิดเห็นที่ 8-84
GravityOfLove, 28 สิงหาคม เวลา 21:34 น.

อธิบายว่า น่าจะเป็นอย่างนั้น.
คืออย่างไหนคะ คือทั้งพระโสดาบันและพระสกทาคามีใช่ไหมคะ

ความคิดเห็นที่ 8-85
ฐานาฐานะ, 28 สิงหาคม เวลา 21:50 น.

GravityOfLove, 14 นาทีที่แล้ว
อธิบายว่า น่าจะเป็นอย่างนั้น.
คืออย่างไหนคะ คือทั้งพระโสดาบันและพระสกทาคามีใช่ไหมคะ
9:34 PM 8/28/2013
             คือทั้งพระโสดาบันและพระสกทาคามีครับ.

ความคิดเห็นที่ 8-86
GravityOfLove, 28 สิงหาคม เวลา 21:56 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 8-87
GravityOfLove, 28 สิงหาคม เวลา 22:22 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ปริพพาชกวรรค
             ๓. มหาวัจฉโคตตสูตร เรื่องปริพาชกวัจฉโคตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=4441&Z=4660&bgc=mistyrose&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปะ
เขตพระนครราชคฤห์
             ครั้งนั้น ปริพาชกวัจฉโคตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้กราบทูล
ขอให้ทรงแสดงธรรมทั้งที่เป็นกุศล ทั้งที่เป็นอกุศล โดยย่อ
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             พระองค์พึงแสดงธรรมทั้งที่เป็นกุศล ทั้งที่เป็นอกุศล โดยย่อก็ได้
โดยพิสดารก็ได้
             แต่ว่าจะทรงแสดงโดยย่อ แล้วทรงให้ตั้งใจฟังให้ดี
             วัจฉโคตรปริพาชกทูลรับพระดำรัส
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ธรรมที่เป็นอกุศลและกุศล
             ธรรม ๓ ข้อที่เป็นอกุศลคือ โลภะ โทสะ โมหะ
             ธรรม ๓ ข้อที่เป็นกุศลคือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อกุศลมูล_3
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กุศลมูล_3

             ปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์) เป็นอกุศล เจตนาเครื่องงดเว้นจากปาณาติบาตเป็นกุศล
             อทินนาทาน (ลักทรัพย์) เป็นอกุศล เจตนาเครื่องงดเว้นจากอทินนาทานเป็นกุศล
             กาเมสุมิจฉาจาร (ประพฤติผิดในกาม) เป็นอกุศล เจตนาเครื่องงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารเป็นกุศล
             มุสาวาท (พูดเท็จ) เป็นอกุศล เจตนาเครื่องงดเว้นจากมุสาวาทเป็นกุศล
             ปิสุณาวาจา (พูดส่อเสียด) เป็นอกุศล เจตนาเครื่องงดเว้นจากปิสุณาวาจาเป็นกุศล
             ผรุสวาจา (พูดหยาบ) เป็นอกุศล เจตนาเครื่องงดเว้นจากผรุสวาจาเป็นกุศล
             สัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ) เป็นอกุศล เจตนาเครื่องงดเว้นจากสัมผัปปลาปะเป็นกุศล
             อภิชฌา (โลภอยากได้ของคนอื่น) เป็นอกุศล อนภิชฌาเป็นกุศล
             พยาบาท (คิดร้าย) เป็นอกุศล อัพยาบาทเป็นกุศล
             มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิดจากคลองธรรม) เป็นอกุศล สัมมาทิฏฐิเป็นกุศล
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อกุศลกรรมบถ_10
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กุศลกรรมบถ_10

             เพราะำิภิกษุละตัณหาได้แล้ว มีมูลรากอันขาดแล้ว
ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา
             จึงเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์
(พระเสขะ ๗ จำพวก และกัลยาณปุถุชนชื่อว่ากำลังประพฤติพรหมจรรย์)
             มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว (กิจแห่งการปฏิบัติเพื่อทำลายอาสวกิเลส
จบสิ้นสมบูรณ์แล้ว กิจในอริยสัจ ๔ เสร็จแล้ว ไม่มีกิจที่จะต้องทำเพื่อตนเอง
แต่ยังมีหน้าที่เพื่อผู้อื่นอยู่)
             มีภาระอันปลงเสียแล้ว (ปลงกิเลสภาระ (ภาระคือกิเลส)
ขันธภาระ (ภาระคือร่างกาย) และอภิสังขารภาระ (ภาระคืออภิสังขาร) ลงแล้ว)
             มีประโยชน์ของตนถึงแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นแล้ว (สังโยชน์ ๑๐)
             พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้โดยชอบ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=มรรค_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อริยบุคคล_8
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กิจในอริยสัจจ์_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อริยสัจ_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สังโยชน์_10

             วัจฉโคตรปริพาชกทูลถามว่า             
             ๑. ท่านพระโคดมจงยกไว้ (ยกเว้นท่านพระโคดม)
             ภิกษุแม้รูปหนึ่ง ผู้เป็นสาวกของท่านพระโคดม ทำให้แจ้งซึ่ง
เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ด้วยตนเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ มีหรือไม่ (เป็นพระอรหันต์)       
             ๒. ภิกษุณีแม้รูปหนึ่ง (เป็นพระอรหันต์) ...
             ๓. อุบาสกแม้คนหนึ่ง ผู้เป็นสาวกฝ่ายคฤหัสถ์ นุ่งผ้าขาว
เป็นสพรหมจารี เป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
มีหรือไม่ (เป็นพระอนาคามี)
             ๔. อุบาสกแม้คนหนึ่ง ผู้เป็นสาวกฝ่ายคฤหัสถ์ นุ่งผ้าขาว
บริโภคกาม ทำตามคำสอน ผู้ทำเฉพาะโอวาท มีวิจิกิจฉาอันข้ามได้แล้ว
ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เชื่อต่อผู้อื่น
ในคำสอนของศาสดา มีหรือไม่ (เป็นพระสกทาคามี พระโสดาบัน)
             ๕. อุบาสิกาแม้คนหนึ่ง ผู้เป็นสาวิกา ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว
เป็นสพรหมจาริณี เป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
จักปรินิพพานในภพนั้น อันมีไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
มีหรือไม่ (เป็นพระอนาคามี)
             ๖. อุบาสิกาแม้คนหนึ่ง ผู้เป็นสาวิกา ฝ่ายคฤหัสถ์ นุ่งผ้าขาว
บริโภคกาม ทำตามคำสอน ผู้ทำเฉพาะโอวาท มีวิจิกิจฉาอันข้ามได้แล้ว
ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เชื่อต่อผู้อื่น
ในคำสอนของศาสดา มีหรือไม่  (เป็นพระสกทาคามี พระโสดาบัน)
             ในแต่ละข้อ ตรัสตอบว่า มีอยู่จำนวนมากทีเดียว
(วัจฉโคตรปริพาชกทูลถามเพราะเข้าใจว่า ในศาสนานี้มีพระศาสดาเท่านั้นเป็นอรหันต์)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิมุตติ_2
             คำว่า โอปปาติกะ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=โอปปาติกะ&detail=on

ความเป็นผู้บำเพ็ญธรรมให้บริบูรณ์
             วัจฉโคตรปริพาชกทูลว่า
             ถ้าท่านพระโคดมเท่านั้นบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์
แต่พวกภิกษุไม่ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์
             เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้จะไม่บริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น
             แต่เพราะท่านพระโคดมได้เป็นผู้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์
และพวกภิกษุก็บำเพ็ญให้บริบูรณ์
             เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้จะบริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น
             ถ้าท่านพระโคดมได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์แล้วก็ดี
พวกภิกษุได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์แล้วก็ดี แต่พวกภิกษุณี ...
อุบาสิกาผู้บริโภคกาม จักไม่ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์แล้ว
             เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้จักไม่บริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น
             แต่เพราะท่านพระโคดมได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์
และพวกภิกษุก็บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ทั้งพวกภิกษุณี ...
อุบาสิกาผู้บริโภคกามก็บำเพ็ญให้บริบูรณ์
             เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้ จึงบริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น

ปริพาชกวัจฉโคตรขอบรรพชา
             เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคา มีแต่จะไหลไปสู่สมุทร คงจรดสมุทรอยู่ ฉันใด
             บริษัทของท่านพระโคดมซึ่งมีคฤหัสถ์และบรรพชิต ก็ฉันนั้น
มีแต่จะน้อมไป โอนไป เบนไป สู่พระนิพพานคงจรด (บรรลุ) พระนิพพานอยู่
             ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ ฯลฯ
             แล้วทูลขอถึงไตรสรณะและทูลขอบรรพชาอุปสมบท
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             ผู้ใดเคยเป็นอัญญเดียรถีย์หวังจะบรรพชาอุปสมบทในธรรมวินัยนี้
ผู้นั้นจะต้องอยู่ปริวาสให้ครบสี่เดือน โดยล่วงสี่เดือนไป พวกภิกษุเต็มใจแล้ว
จึงจะให้บรรพชาอุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุได้
             แต่พระองค์ทรงรู้ความต่างกันแห่งบุคคลในข้อนี้
(จึงทรงอนุญาตไม่ต้องอยู่ปริวาสก็ได้)
             วัจฉโคตรปริพาชกทูลรับพระดำรัสและยินดีจะอยู่ปริวาส ๔ ปี
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ติตถิยปริวาส

สมถวิปัสสนา
             ท่านวัจฉโคตรอุปสมบทแล้วไม่นาน คือ อุปสมบทได้ครึ่งเดือน
ก็เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลว่า
             ผล ๓ เบื้องต่ำที่กำหนดไว้เท่าใด ที่บุคคลพึงบรรลุด้วยญาณของพระเสขะ
ด้วยวิชชาของพระเสขะ (หมายถึง โสดาปัตติผล สกทาคามิผล และ
อนาคามิผล) ผลนั้นทั้งหมดข้าพระองค์บรรลุแล้ว
             ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมที่ยิ่งขึ้นไปแก่ข้าพระองค์เถิด
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             ถ้าเช่นนั้น เธอจงเจริญธรรมทั้งสอง คือสมถะและวิปัสสนาให้ยิ่งขึ้นไปเถิด
เมื่อเจริญให้ยิ่งขึ้นไปแล้ว จะเป็นไปเพื่อแทงตลอดธาตุหลายประการ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ภาวนา_2

อภิญญา ๖
             ถ้าเพียงหวังว่า
             ๑. อิทธิวิธา หรือ อิทธิวิธิ
             เราพึงบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ ฯลฯ
ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ดังนี้
             เมื่อเหตุมีอยู่ เธอก็จักบรรลุความเป็นผู้อาจ เป็นผู้สามารถในอิทธิวิธีนั้นๆ
(หากเหตุคือการฝึกฝนนั้น มีเพียงพอแก่ผลแล้ว จะบรรลุอิทธิวิธาหลายประการได้)
             ๒. ทิพพโสต
             เราพึงฟังเสียงทั้งสองคือเสียงทิพย์และเสียงของมนุษย์ ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ ...
             ๓. เจโตปริยญาณ
             เราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วย คือ จิตมีราคะ พึงรู้ว่าจิตมีราคะ ...
             ๔. ปุพเพนิวาสานุสสติ
             เราพึงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือพึงระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง ...
             ๕. ทิพพจักขุ
             เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ ...
             ๖. อาสวักขยญาณ
             เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่
             เมื่อเหตุมีอยู่ เธอจักบรรลุความเป็นผู้อาจเป็นผู้สามารถในอาสวักขยญาณนั้นๆ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อภิญญา_6

ท่านวัจฉโคตรสำเร็จเป็นพระอรหันต์
             ท่านวัจฉโคตรชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วหลีกไป
             ครั้นหลีกออกไปแล้ว ไม่นานเท่าไร ก็บรรลุเป็นพระอรหันต์
             สมัยนั้น ภิกษุจำนวนมากพากันไปเพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ท่านพระวัจฉโคตรเห็นดังนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น แล้วกล่าวว่า
             ขอท่านทั้งหลายจงถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า
ตามคำของเราว่า
             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วัจฉโคตรภิกษุกราบถวายบังคมพระบาทของ
พระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า และได้กราบทูลอย่างนี้ว่า
             ข้าพระองค์ได้บำเรอ (ปรนนิบัติ) พระผู้มีพระภาคแล้ว
ข้าพระองค์ได้บำเรอพระสุคตแล้ว
             (ท่านหมายความว่า ท่านได้เป็นพระอรหันต์แล้ว
เพราะพระอรหันต์ชื่อว่าได้ปรนนิบัติพระผู้มีพระภาคแล้ว)
             ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระวัจฉโคตรแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
แล้วทูลเล่าให้ฟัง
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             พระองค์ทรงกำหนดรู้ใจวัจฉโคตรภิกษุด้วยใจก่อนแล้วว่า วัจฉโคตรภิกษุเป็น
เตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา ๓) มีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก
             แม้เทวดาทั้งหลายก็บอกเนื้อความนี้แก่พระองค์
             คำว่า เตวิชชะ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิชชา_3
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=เตวิชชะ&detail=on

             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
             ภิกษุเหล่านั้นยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

ย้ายไปที่



Create Date : 12 ธันวาคม 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 11:10:35 น.
Counter : 480 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
15
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
12 ธันวาคม 2556
All Blog