bloggang.com mainmenu search
นโยบาย "ความฝันของชนชาติจีน" (Chinese Dream) ของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง

โดย พันเอกศนิโรจน์ ธรรมยศ
Master of International Relations (with merit)
Victoria University of Wellington, New Zealand

(สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ห้ามทำซ้ำเพื่อการพาณิชย์ อนุญาตให้เผยแพร่เพื่อความรู้)



ในเดือนมีนาคม พ..2556 ซึ่งเป็นสัปดาห์แรกของการก้าวขึ้นสู่อำนาจของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง (Xi Jinping) เขาได้ประกาศ "หลักนิยมใหม่หรือนโยบายใหม่ที่จะใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศจีน ที่เรียกว่า "ความฝันของชนชาติจีน" (Chinese Dream) โดยประธานาธิบดีสี จิ้นผิงได้กล่าวถึงนโยบายดังกล่าว ในสุนทรพจน์ครั้งแรกของเขา มีใจความตอนหนึ่งว่า 

"..จีนจะต้องใช้ความพยายามอย่างสุดความสามารถในการมุ่งไปสู่อนาคตข้างหน้าดังที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ ภายใต้ความยิ่งใหญ่ของระบอบสังคมนิยมและลักษณะเฉพาะตัวของชนชาติจีนรวมทั้งต่อสู้อย่างมุ่งมั่นเพื่อให้บรรลุประสงค์ตาม "ความฝันของชนชาติจีน"ในการฟื้นคืนชีพอย่างยิ่งใหญ่(greatrejuvenation) ของชาติจีน..”

นโยบาย "ความฝันของชนชาติจีนดังกล่าวที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง กล่าวถึงนั้น ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์มากมายว่า หมายถึงอะไร และประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

นอกจากนี้นักวิเคราะห์โลกตะวันตกต่างคาดการณ์กันแตกต่างออกไป บ้างก็ว่ามีที่มาจากหนังสือเรื่อง "ความฝันของจีน (ChinaDream) : แนวคิดและยุทธศาสตร์ของมหาอำนาจในโลกหลังยุคอเมริกาที่เขียนขึ้น เมื่อปี พ..2553 โดยพันเอก "หลิวหมิงฟู" (Liu  Mingfu) ซึ่งได้ให้คำจำกัดความของนโยบายดังกล่าวในหนังสือของเขาว่า "สู่ความเป็นชาติที่แข็งแกร่งขึ้นกว่าเดิม ด้วยแสนยานุภาพทางทหารที่เข็มแข็ง" (a stronger nation with a strong military)

เป็นที่น่าสังเกตุว่า นโยบายนี้มีความคล้ายคลึงกับนโยบายดั้งเดิมของจีนเมื่อประมาณ 200 ปีก่อนคริสตกาล ในรัชสมัยของจักรพรรดิจิ๋นซี หรือ "ฉินฉื่อหวังตี้ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฉินอันเกรียงไกร และเป็นจักรพรรดิพระองค์แรกของประเทศจีน  ผู้ทรงรวบรวมแว่นแคว้นต่างๆ จนเป็นปึกแผ่น และพัฒนาอาณาจักรของพระองค์ให้ยิ่งใหญ่เกรียงไกรในทุกด้าน รวมทั้งยังทรงมีบัญชาให้ก่อสร้างกำแพงเมืองจีน "กำแพงฉางเฉิงยาวนับหมื่นลี้ จนกลายเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกมาจนทุกวันนี้นั่นเอง

จึงไม่เป็นที่ประหลาดใจที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง กล่าวถึง "การฟื้นคืนชีพของประเทศจีนในนโยบายของเขา เพราะนี่จะเป็นการนำความยิ่งใหญ่ของจีนในอดีต ทั้งด้านการเมือง  การทหาร เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม หวนกลับคืนมาสู่โลกยุคปัจจุบันอีกครั้งหนึ่ง

นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ตะวันตกบางคนก็คาดการณ์ว่า ต้นกำเนิดนโยบาย "ความฝันของชนชาติจีนของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง น่าจะมาจากแนวคิดในหนังสือเรื่อง "ความฝันของชนชาติจีนเขียนโดย เฮเลน หว่อง (Helen Wong) เมื่อปี พ..2553 และในปีต่อมาหนังสือเล่มนี้ ก็ได้รับรางวัล "อีริค ฮอฟเฟอร์" (Eric Hoffer) จนได้รับการแปลเป็นภาษาจีน เฮเลน หว่องเขียนหนังสือเล่มนี้ โดยไม่ได้ให้คำจำกัดความของความฝันของชนชาติจีน แต่ใช้วิธีการสัมภาษณ์ชาวจีนชนชั้นกลางหลากหลายสาขาอาชีพ จำนวนกว่าหนึ่งร้อยคน เพื่อแสดงให้เห็นถึงความปรารถนาของชนชั้นกลางในประเทศจีน ภายหลังหนังสือเล่มนี้ ถูกมอบให้กับนายโทมัส ฟรีดแมน (ThomasFriedman) นักวิเคราะห์ชาวสหรัฐฯที่เขียนบทความเรื่อง "จีนต้องการความฝันของตนเองลงพิมพ์ในนิตยสาร "นิวยอร์คไทม์ฉบับเดือนตุลาคม พ..2555 ซึ่งได้รับการแปลโดยสำนักข่าวชินหัวของจีน โดยมีใจความตอนหนึ่งว่า ".. ความฝันของชนชาติจีนคือความมั่งคั่งและความมั่นคงของประเทศจีน ..”

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าต้นกำเนิดหรือที่มาของนโยบายเรื่อง "ความฝันของชนชาติจีนจะมาจากที่ใดก็ตาม แต่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ก็ได้แสดงให้โลกได้เห็นถึงเป้าหมายของเขาในการนำพาประเทศจีนก้าวไปความยิ่งใหญ่ ประการ ประกอบด้วย ประการแรกคือ การก้าวไปสู่ความเป็นสังคมที่มั่งคั่ง โดยประชากรทั้งในชุมชนเมืองและในชนบทมีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีภายในปี พ..2564 หรือ ค..2021 ซึ่งเป็นห้วงเวลาแห่งการครบรอบ 100 ปีของพรรคคอมมิวนิสต์จีน และประการที่สองคือ การก้าวไปสู่ความเป็นประเทศพัฒนาแล้วในปี พ..2592 หรือ ค..2049 ซึ่งเป็นวาระครบรอบ 100 ปี ของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน

นอกจากนี้นักวิเคราะห์โลกตะวันตกยังมองว่า จีนได้วางเป้าหมายชัดเจนว่าในปี  พ..2563 กองกำลังทางเรือของจีนที่กำลังพัฒนาแสนยานุภาพอย่างมากในขณะนี้ จะสามารถจัดตั้ง "แนวห่วงโซ่ของเกาะชั้นที่หนึ่ง" (first island chain) เป็นแนวยาวตั้งแต่ทางตอนเหนือของไต้หวันมาจนถึงประเทศฟิลิปปินส์และเกาะบอร์เนียวเพื่อเป็นก้าวแรกของการเป็นมหาอำนาจในมหาสมุทรแปซิฟิคในอนาคตอันใกล้นี้

นายโรเบิร์ต ลอเรนซ์ คุนฮ์ (Robert Lawrence Kuhn) นายธนาคารและนักลงทุนตะวันตกได้เขียนถึงนโยบาย "ความฝันของชนชาติจีนที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศว่ามีเป้าหมาย 4 ประการ ประกอบด้วยประเทศจีนที่เข้มแข็ง (Strong China) โดยมุ่งสร้างความเข็มแข็งในทุกมิติคือเศรษฐกิจ การเมือง การฑูต การวิทยาศาสตร์และการทหาร, ประเทศจีนที่ศิวิไลซ์ (Civilized China) มุ่งเสริมสร้างความเท่าเทียมกันในสังคมวัฒนธรรมที่เรืองรองและศีลธรรมอันสูงส่ง, ประเทศจีนที่เป็นปึกแผ่น (Harmonious China) มุ่งพัฒนาความสัมพันธ์หรือ "มิตรภาพ" (amity) ระหว่างชนชั้นต่างๆ ของสังคม และประเทศจีนที่สวยงาม (Beautiful China) มุ่งพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตรกับสิ่งมีชีวิตและตั้งเป้าหมายการเป็นประเทศที่มีมลพิษต่ำ

การก้าวไปสู่ "ความฝันของชนชาติจีนที่สีจิ้นผิง วางแผนเอาไว้มีกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน 2 ประการประกอบด้วย ประการแรกคือ ความมั่งคั่งด้านเศรษฐกิจ และประการที่สองคือความแข็งแกร่งด้านการทหาร ซึ่งในห้วงเวลาที่ผ่านมาโลกสามารถสังเกตุเห็นการพัฒนาเศรษฐกิจและแสนยานุภาพทางกองทัพของจีนแบบก้าวกระโดดได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะด้านการทหารนั้น ในปี พ..2555 งบประมาณทางทหารของจีนได้เพิ่มสูงถึง 160,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเกือบ ล้านล้านบาท แม้จะน้อยกว่างบประมาณทางทหารของสหรัฐฯ ถึงสี่เท่าครึ่ง แต่หากจีนยังคงเพิ่มงบประมาณด้านการทหารในลักษณะก้าวกระโดดเช่นนี้ ภายในปี พ..2578 จีนจะมีงบประมาณด้านการทหารที่สูงกว่าสหรัฐฯ อย่างแน่นอน

ในด้านเศรษฐกิจปัจจุบัน จีนก้าวขึ้นมาอยู่ในอันดับที่สองของโลก รองจากสหรัฐฯ ด้วยเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ (Foreign Reserve) ที่มีมูลค่าถึง 3.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงปลายปี พ..2556 ที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในโลก

นอกจากนี้จีนยังประสบความสำเร็จด้วยการก้าวขึ้นสู่ความเป็นฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมอันดับหนึ่งของโลกอีกด้วย ความสำเร็จนี้จีนต้องแลกมาด้วยปัจจัยหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมหาศาล เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ดังเช่นในปี พ..2552 จีนใช้พลังงานจากถ่านหินเกือบครึ่งหนึ่งของถ่านหินทั้งโลก และในช่วงปี พ..2554- 2557 จีนกลายเป็นประเทศที่นำเข้าน้ำมันมากกว่าวันละ 11 ล้านบาร์เรล สูงเป็นอันดับหนึ่งของโลก เป็นต้น

การบริโภคพลังงานดังกล่าว ก่อให้เกิดการปลดปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงจนนครใหญ่ๆ ของจีน เช่น ปักกิ่ง เหอเป่ยและเทียนจิน ถูกปกคลุมไปด้วยฝุ่นละอองและหมอกควันหนาทึบ สูงกว่าระดับปกติประมาณ 2 - 4 เท่าและส่งผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจอย่างรุนแรง

การบริโภคพลังงานอย่างมหาศาลนี้เอง ทำให้จีนต้องการแหล่งพลังงานใหม่ๆ มาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ จึงไม่เป็นที่ประหลาดใจว่า เหตุใดจีนจึงพยายามแผ่ขยายอิทธิพลเข้ามาในทะเลจีนใต้ โดยเฉพาะหมู่เกาะพาราเซลและหมู่เกาะสแปรตลี ซึ่งจีนได้เคยทำการสำรวจทางธรณีวิทยาในช่วงที่ผ่านมา และพบว่าพื้นที่แห่งนี้อุดมสมบรูณ์ไปด้วยก๊าซธรรมชาติที่มีจำนวนถึง 25 ล้านคิวบิกเมตร อีกทั้งยังเต็มไปด้วยน้ำมันดิบอีกเป็นจำนวนมาก

การเคลื่อนตัวเข้ามาแสวงหาพลังงานในทะเลจีนใต้ของจีน ไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดความขัดแย้งกับบางประเทศในสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ "อาเซียนเท่านั้นหากแต่ยังส่งผลให้มหาอำนาจอื่นๆ ทั้งรัสเซีย สหรัฐฯ และญี่ปุ่นถูกดึงเข้ามาเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งโดยเวียดนามและฟิลิปปินส์ ในลักษณะของการสร้างพันธมิตรเพื่อถ่วงดุลอำนาจกับจีนสถานการณ์เช่นนี้ ไม่ส่งผลดีต่อนโยบาย "ความฝันของชนชาติจีนที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง วางแผนเอาไว้ เพราะจีนยังไม่พร้อมที่จะมีความขัดแย้งทางทหารกับมหาอำนาจอื่นๆ เนื่องจากสงครามไม่ว่าระยะสั้นหรือระยะยาวย่อมส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะจีนซึ่งเคยมีประสบการณ์จากเหตุการณ์ "สงครามสั่งสอนที่เคยรุกเข้าไปทางตอนเหนือของประเทศเวียดนามในเดือนกุมภาพันธ์ พ..2522 

ผลของสงครามครั้งนั้นทำให้จีนต้องสูญเสียงบประมาณไปมากกว่า 3,400 ล้านหยวนและส่งผลให้แผนพัฒนาเศรษฐกิจของผู้นำจีน เติ้ง เสี่ยวผิว ในปี พ..2522 – 2523 ประสบปัญหาอย่างหนักและต้องล่าช้าออกไปอย่างมาก

บทเรียนในครั้งนั้น ทำให้จีนรู้ว่า "สงครามคืออุปสรรคสำคัญในการพัฒนาประเทศประธานาธิบดี สี จิ้นผิง จึงเดิน "หมากซ้อนหมากด้วยการพัฒนาความสัมพันธ์ทางทหารกับสหรัฐฯ และรัสเซีย เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยในเดือนพฤษภาคม พ..2557 ที่ผ่านมา กองทัพเรือจีนได้ทำการฝึกซ้อมทางทะเลกับกองทัพเรือรัสเซีย บริเวณทะเลเหลืองของเมืองชานตง ในทะเลจีนตะวันออก เป็นเวลา สัปดาห์ ภายใต้ชื่อรหัส “Joint Sea 2014” นับเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ของทั้งจีนและรัสเซีย ตลอดจนบ่งบอกถึงความเชื่อมั่นระหว่างทั้งสองประเทศว่า ได้ก้าวไปสู่ระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในด้านการประสานงานและความร่วมมือทางทหาร แม้ทั้งจีนและรัสเซียจะปฏิเสธว่า ทั้งสองประเทศไม่ได้เป็นพันธมิตรทางทหารระหว่างกันก็ตาม 

รวมทั้งในห้วงเวลาเดียวกัน จีนยังได้พัฒนาความสัมพันธ์ด้านพลังงานกับรัสเซียครั้งสำคัญ นั่นคือการลงนามข้อตกลงสั่งซื้อก๊าซธรรมชาติจำนวน 400,000 ล้านดอลล่าห์ (13.2 ล้านล้านบาท) จากรัสเซีย การสั่งซื้อครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงนัยสำคัญทางการเมืองและทางยุทธศาสตร์ด้านพลังงานของทั้งสองประเทศ ที่ได้กลายเป็นคู่ค้าทางพลังงานที่สำคัญระหว่างกัน เนื่องจากในสัญญาฉบับนี้ รัสเซียจะต้องส่งก๊าซธรรมชาติให้จีน ปีละ 38,000 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นเวลานานถึง 30 ปี และที่สำคัญคือการซื้อขายครั้งนี้ ทั้งจีนและรัสเซียได้ยกเลิกการใช้เงินสกุลดอลล่าห์สหรัฐฯ และหันมาใช้เงินสกุลหยวนของจีน เงินสกุลยูโร และเงินรูเบิลของรัสเซียแทน

ในขณะเดียวกัน จีนก็พยายามลดการเผชิญหน้ากับสหรัฐฯ ที่พยายามหาหนทางจำกัดหนทางหรือ "ปิดล้อมตนเองมาตลอดห้วงเวลาที่ผ่านมา บนพื้นฐานของนโยบาย "ปรับสมดุลย์" (Rebalancing) ของประธานาธิบดีบารัก โอบามา ทั้งนี้จีนพยายามรักษาความสัมพันธ์อันดีกับสหรัฐฯ มาโดยตลอด จนถึงกับขนานนามสหรัฐฯ ว่า "คู่แข่งที่เป็นมิตร"(Peer Competitor) โดยพยายามหาหนทางเข้าร่วมในการฝึกทางทหารกับสหรัฐฯ เพื่อลดความหวาดระแวงระหว่างกัน นับตั้งแต่การฝึกคอบร้าโกลด์ 14 เป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อต้นปี พ..2557 ตามด้วยการส่งกำลังทางเรือเข้าร่วมการฝึก "ริมแพค" (RIMPAC) ซึ่งเป็นการฝึกร่วมทางทะเลที่ใหญ่ที่สุดของโลกยุคปัจจุบันเป็นครั้งแรก ที่มลรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐฯ เมื่อเดือนมิถุนายน พ..2557 ที่ผ่านมา

จะเห็นได้ว่าการก้าวไปตามนโยบาย "ความฝันของชนชาติจีนตามที่ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงวางแผนไว้นั้น แม้เส้นทางจะมิได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ แต่จีนก็พยายามทุกวิถีทางที่จะผลักดันความฝันของตนเองให้เป็นความจริง แม้จะต้องลบความฝันของชาติอื่นๆ ลงก็ตาม การเดินหมากด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของจีนในครั้งนี้ จึงเต็มไปด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง โดยพยายามกระชับความสัมพันธ์กับมหาอำนาจรวมถึงสร้างความสัมพันธ์กับมิตรใหม่หรือชาติที่เป็นกลาง และเมื่อความขัดแย้งกลายเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ จีนก็เลือกที่จะมีปัญหากับชาติเล็กๆ มากกว่าที่จะมีปัญหากับชาติมหาอำนาจ นับเป็นพฤติกรรมที่มีทั้งแข็งกร้าวและอ่อนโยนประนีประนอมในเวลาเดียวกัน พฤติกรรมนี้จะมีให้เห็นเรื่อยไป จนกว่าจีนจะประสบความสำเร็จตามนโยบาย "ความฝันของชนชาติจีนดังกล่าวแล้ว หลังจากนั้นโลกก็จะต้องเตรียมพร้อมสำหรับ "หมากการเมืองกระดานต่อไปของจีน ที่จะมีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอย่างมาก

Create Date :30 กรกฎาคม 2557 Last Update :3 สิงหาคม 2557 9:16:08 น. Counter : 4781 Pageviews. Comments :0