bloggang.com mainmenu search

รู้จักกับ "ทัดมาดอว์" กองทัพแห่งสาธารณรัฐสหภาพเมียนม่าร์ (พม่า)

ก่อนเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

(ตอนที่ 1)

โดยพันเอกศนิโรจน์ ธรรมยศ

(สงวนลิขสิทธิ์ในการทำซ้ำเพื่อการพาณิชย์ ให้ใช้เผยแพร่เพื่อการศึกษา ค้นคว้าเท่านั้น)


สาธารณรัฐสหภาพเมียนม่าร์หรือ "พม่า" (เดิมในภาษาอังกฤษเรียกชาวพม่าว่า Bamar หรือ บาหม่ามีความสำคัญต่อยุทธศาสตร์โลกมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในสมัยเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทยนั้น พม่านับเป็นมหาอำนาจแห่ง"อุษาคเนย์" (ไมเคิลไรท์ นักประวัติศาสตร์และไทยคดีศึกษาชาวอังกฤษเป็นผู้กำหนดคำว่า "อุษาคเนย์ขึ้นมาแทนคำว่า "เอเชียอาคเนย์หรือ "เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีคำว่า "เอเชียที่เป็นคำในภาษาอังกฤษ เพื่อให้เป็นคำในภาษาไทยแท้ๆ โดยอุษาคเนย์มีอาณาเขตตั้งแต่พม่าไปจนจรดฟิลิปปินส์และจากเวียดนามไปจรดอินโดนีเซีย

อาณาจักรพม่าแผ่ขยายอาณาเขตไปทั่วทิศานุทิศโดยเฉพาะในรัชสมัยของพระเจ้าบุเรงนอง (Bayinnaung) หรือที่ออกเสียงพระนามตามสำเนียงพม่าว่า “บาเยนอง” มีความหมายว่า “พระเชษฐาธิราช” มีพระนามเต็มว่า “บาเยนองจอเดงนรธา” (ไทยออกเสียงเป็น “บุเรงนองกะยอดินนรธา“แปลว่า “พระเชษฐาธิราชผู้ทรงกฤษดาภิหาร” พระองค์ได้แผ่ขยายอาณาจักรไปอย่างกว้างขวางจนได้รับสมญานามว่า "ผู้ชนะสิบทิศซึ่งการแผ่ขยายอาณาเขตของพม่าได้ส่งผลให้เกิดการรบพุ่งกับกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่ "สงครามเมืองเชียงกรานเรื่อยถึงสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นของไทย

เมื่อเข้าสู่ยุคล่าอาณานิคมอังกฤษซึ่งเป็นมหาอำนาจทางทะเลในยุคนั้นได้เข้าครอบครองพม่าในฐานะประเทศอาณานิคมและเล็งเห็นว่าพม่านั้นเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญทางการค้าเช่นเดียวกับอินเดียจึงได้ตั้งเมืองย่างกุ้ง (Yongon หรือ Rangoon) เป็นเมืองหลวง เพราะมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ติดชายทะเลสะดวกต่อการขนส่งสินค้าต่างๆ กลับสู่ประเทศอังกฤษ ครั้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองพม่าก็กลายเป็นสมรภูมิสำคัญที่ใช้เป็นการรบขั้นแตกหักระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรที่เคลื่อนทัพมาจากอินเดียและจักรวรรดิ์ญี่ปุ่นที่รุกผ่านประเทศไทย

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองนี้เอง ที่กองทัพพม่าหรือ "ทัดมาดอหรือ “ตั้ดมาดอ” (Tatmadaw) ได้ถือกำเนิดขึ้นบนผืนแผ่นดินไทยดังที่ พลเอกนิพัทธ์ ทองเล็ก รองปลัดกระทรวงกลาโหมซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกองทัพพม่าคนหนึ่งของประเทศไทยได้กล่าวว่า กองทัพพม่ามีวิวัฒนาการมาจากนายพล "อองซาน" (Aung San) บิดาของนาง อองซานซูจี (Aung San Suu Kyi) ที่ร่วมกับสมัครพรรคพวกรวม 30 คนในนาม "กลุ่มสามสิบสหาย" (30 comrades) ก่อตั้งกองทัพพม่าขึ้นบนผืนแผ่นดินไทยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกับกองทัพญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ที่กำลังรุกข้ามพรมแดนจากประเทศไทยเข้าไปในพม่าทำการต่อสู้กับเจ้าอาณานิคมอังกฤษที่กดขี่ข่มเหงชาวพม่ามาตลอดระยะเวลาแห่งการปกครอง

ในช่วงแรกนี้กองทัพพม่ามีชื่อว่า "กองทัพเอกราชชาวพม่าหรือ บีไอเอ (BIA: the Burmese Independence Army) ชาวพม่าต่างให้การต้อนรับทหารพม่า "บีไอเอและทหารญี่ปุ่นในฐานะผู้ปลดปล่อยจากอาณานิคมอังกฤษด้วยการตะโกนว่า "โดบาม่าร์"(Dobamar) ซึ่งมีความหมายว่า "พวกเราชาวพม่าคล้ายๆกับเมื่อครั้งที่กองทัพไทยร่วมกับกองทัพญี่ปุ่นในสมัยนั้นและคนไทยมักตะโกนต้อนรับว่า "บันไซ ไชโย"

ต่อมาเมื่อกองทัพพม่า "บีไอเอได้เข้าครอบครองดินแดนพม่าร่วมกับกองทัพญี่ปุ่นแล้วได้มีการขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วและเปลี่ยนชื่อเป็น "กองทัพแห่งชาติพม่ารือ บีเอ็นเอ (BNA: Burma National Army) และกองทัพญี่ปุ่นได้แต่งตั้งให้นายพลออง ซาน เป็นผู้บัญชาการกองทัพพม่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการกองทัพแห่งชาติพม่าตามลำดับ 

โรงเรียนทหารของกองทัพพม่าได้ถูกจัดตั้งขึ้นโดยมีทหารญี่ปุ่นเป็นครูฝึกสอน ทำให้รูปแบบการรบหลักนิยมและแนวคิดของกองทัพพม่าเป็นไปในแนวทางเดียวกับกองทัพพระมหาจักรพรรดิ์แห่งญี่ปุ่น จนถึงขนาดในพิธีสำเร็จการศึกษาของนายทหารพม่านั้นนายทหารญี่ปุ่นจะเป็นผู้มอบดาบซามูไรซึ่งถือเป็น "จิตวิญญานของนักรบญี่ปุ่น"(Japanese Fighting Spirit) ให้กับนายทหารพม่าเลยทีเดียวความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างกองทัพแห่งชาติพม่าและกองทัพญี่ปุ่นทำให้พม่าประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกาตลอดจนร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กันในทุกสมรภูมิ

แต่เมื่อเวลาผ่านไปนายพลออง ซานก็เริ่มตระหนักถึงความจริงว่า ญี่ปุ่นนั้นกรีฑาทัพเข้ามาในพม่าก็เพื่อตักตวงผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์และมากมายมหาศาล รวมทั้งยังกดขี่ข่มเหงชาวพม่ายิ่งกว่าพวกอังกฤษเสียอีก 

ในที่สุดนายพล อองซานก็ตัดสินใจหันหลังให้กับญี่ปุ่นอย่างลับๆ และร่วมมือกับอังกฤษในช่วงปลายของสงครามโลกครั้งที่สองเป็นการกระทำที่ญี่ปุ่นเองก็คาดไม่ถึงว่านายพลออง ซานที่กองทัพญี่ปุ่นปั้นมากับมือ จะกล้าหักหลังกองทัพญี่ปุ่นกองทัพแห่งชาติพม่า โดยการสนับสนุนของอังกฤษเปิดฉากรุกเข้าใส่กองทัพญี่ปุ่นที่ชานกรุงย่างกุ้ง โดยที่ญี่ปุ่นไม่รู้ตัวมาก่อน จนในที่สุดก็สามารถยึดกรุงย่างกุ้งคืนจากญี่ปุ่นได้วีรกรรมความกล้าหาญและความเสียสละในครั้งนี้ทำให้นายพล อองซานได้รับการยกย่องว่าเป็นวีรบุรุษของชาวพม่า

ภายหลังความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สองแล้ว นายพล ออง ซานก็เจรจากับอังกฤษเพื่อขอแยกตัวเป็นเอกราช ส่วนชนกลุ่มน้อยมากมายหลายชาติพันธ์ุที่เคยรวมอยู่กับพม่าในยุคอาณานิคมก็ปฏิเสธที่จะรวมเป็นแผ่นดินเดียวกับพม่า โดยเฉพาะชนเผ่ากระเหรี่ยง (Karen) ที่มีประวัติในการสู้รบกับพม่ามายาวนาน 

ส่งผลให้เกิดการเจรจากับพม่าที่ปางหลวงจนเป็นที่มาของ "ข้อตกลงปางหลวงหรือ “ข้อตกลงป๋างโหล๋ง” (PangluangAgreement) ซึ่งลงนามกันเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค..1947 (..2490) หลังสงครามโลกครั้งที่สองเสร็จสิ้นได้ประมาณสองปี

โดยในข้อตกลงนี้ชนกลุ่มน้อยต่างยื่นข้อเสนอในการเป็นเอกราชหรือขอเป็นปกครองตนเองในดินแดนพม่า เช่น รัฐชิน (Chin) และ รัฐคะฉิ่น (Kachin) ตกลงเข้ารวมอยู่กับสหภาพพม่า แต่ขอเป็นเขตปกครองตนเอง สำหรับรัฐฉาน (Shan) ขอรวมกับพม่าเป็นเวลาเพียง10ปี เมื่อจัดการกิจการภายในเรียบร้อยแล้ว ก็จะขอแยกตัวเป็นอิสระ 

ส่วนกะเหรี่ยงและมอญจะขอเจรจากับอังกฤษโดยตรงไม่ผ่านพม่า โดยเฉพาะกะเหรี่ยงซึ่งถือเป็นคู่ปฏิปักษ์ถาวรของพม่านั้นประกาศเจตนารมย์ชัดเจนว่าต้องการเป็นอาณานิคมของอังกฤษต่อไป นอกจากนี้ยังมีอีกหลายชาติพันธ์ุที่ไม่ยอมเข้าร่วมในข้อตกลงนี้ เช่น ว้า ยะไข่ โกก้าง พะโอ ปะหล่อง เป็นต้น

นรุ่งอรุณของวันที่ 19 กรกฎาคม ค..1947 (..2490) ขณะที่การก้าวสู่ความเป็นประเทศเอกราชของพม่ากำลังก้าวหน้าไปอย่างเรียบร้อยและเป็นรูปเป็นร่างตามแผนที่ได้วางเอาไว้ ขณะที่ นายพล อองซานกำลังร่วมประชุมที่กรุงย่างกุ้งเพื่อเตรียมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศที่จะประกาศใช้เมื่อได้รับเอกราชจากอังกฤษ กลุ่มมือปืน คนก็บุกเข้าสังหารนายพลออง ซานถึงในห้องประชุม เขาถูกกระหน่ำยิงด้วยปืนกลมือทอมสัน กระสุนขนาด มิลลิเมตรเป็นจำนวนถึง13นัด เจาะทะลุร่างของเขาจนเสียชีวิตคาที่ในวัยเพียง 32 ปีเท่านั้น นอกจากนายพลออง ซานแล้ว ยังมีผู้ร่วมประชุมอีก คนเสียชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนี้ เมื่อสิ้นนายพล ออง ซาน อังกฤษก็แต่งตั้ง นายพลอูนุ (ทะขิ่นนุซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มสามสิบสหายร่วมกับนายพลออง ซาน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนนายพลออง ซาน และพม่าก็ได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อวันที่ มกราคม ค..1948 (..2491)

(โปรดติตตามตอนต่อไป)

Create Date :03 เมษายน 2556 Last Update :3 เมษายน 2556 17:20:29 น. Counter : 2685 Pageviews. Comments :0