bloggang.com mainmenu search

การเข้ามาของมหาอำนาจในประชาคมอาเซียน

โดย พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ

ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เส้นทางนักขาย เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2556

(สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ให้ใช้เพื่อการศึกษา ห้ามทำซ้ำเพื่อการพาณิชย์)


ในช่วงเวลาที่ผ่านมาจะสังเกตุได้ถึงการเข้ามาของประเทศมหาอำนาจต่างๆสู่กลุ่มประเทศอาเซียนซึ่งกำลังจะรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในเวลาอีกไม่นานที่จะถึงนี้เนื่องจากอาเซียนในปัจจุบันเกิดช่องว่างทางอำนาจขึ้นอย่างเห็นได้ชัดโดยสังเกตุได้จากการที่ไม่มีประเทศมหาอำนาจใดสามารถสั่งการอาเซียนได้เหมือนในอดีตที่ผ่านมา 

ทำให้มหาอำนาจพยายามใช้อำนาจในรูปแบบต่างๆเช่น ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจเทคโนโลยี ความรู้ซึ่งถือเป็นอำนาจเชิงอ่อนโยน(SoftPower) หลั่งไหลเข้าสู่ประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างไม่ขาดสายทั้งจาก จีน สหรัฐฯ รัสเซียอินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้อังกฤษและสหภาพยุโรปรวมถึงการขยายตัวคืบคลานเข้ามาทางด้านการทหารในรูปของการฝึกร่วมการเสนอขายอาวุธในราคาถูกการสนับสนุนยุทโธปกรณ์ต่างๆทั้งในรูปแบบการให้เปล่าและรูปแบบเงินกู้ระยะยาวจนทำให้เกิดการถ่วงดุลย์ทางอำนาจของมหาอำนาจในอาเซียนอย่างชัดเจน

พม่าเป็นประเทศหนึ่งที่ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าชาติมหาอำนาจเช่น สหรัฐฯ จีน รัสเซียอินเดีย อังกฤษ สหภาพยุโรปเกาหลีใต้ต่างก็มุ่งหน้าสู่พม่าเพื่อสถาปนาความสัมพันธ์ล่าสุดนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นก็ได้เดินทางไปเยือนพม่าและประกาศที่จะพัฒนาความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมอย่างเต็มที่ รวมถึงมหาอำนาจอย่างเช่นสหรัฐฯที่มีการเยือนของผู้นำระดับสูงตั้งแต่ประธานาธิบดีบารักโอบาม่าเมื่อวันที่ 19พฤศจิกายนค..2012(..2555)จนถึงนางฮิลลารี่คลินตัน เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศ

การเข้ามาของมหาอำนาจในช่วงแรกนั้นก็เพื่อมุ่งหวังเปลี่ยนธรรมชาติทางการเมืองของพม่าที่โลกตะวันตกมองว่าติดอยู่ใน "วังวน"ของการเป็นกลุ่มประเทศอักษะแห่งความชั่วร้ายเคียงข้างอิหร่านและเกาหลีเหนือและยิ่งการเข้ามาของมหาอำนาจมากขึ้นก็ยิ่งทำให้บทบาทด้านการเมืองระหว่างประเทศของพม่าเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆดังจะเห็นได้จากความพยายามที่สหรัฐฯต้องการดึงพม่าเข้าร่วมเป็นผู้สังเกตุการณ์ในการฝึกร่วมและผสมที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สหรัฐฯและไทยร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นทุกปีนั่นคือ การฝึกคอบร้าโกลด์ครั้งที่ผ่านมานอกจากนี้ในช่วงปลายปีพม่าก็จะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์และในปีค..2014(..2557)พม่าก็จะดำรงตำแหน่งเป็นประธานอาเซียนและเป็นเจ้าภาพในการประชุมสุดยอดอาเซียนอีกด้วย

การเข้ามาของมหาอำนาจทำให้เราได้เห็นสิ่งที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้นในพม่าเราได้เห็นการปรับตัวตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของพม่าชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆดังจะเห็นได้จากการประชุมเจรจาแชงกรีลา(Shangri-laDialogue) ณประเทศสิงคโปร์เมื่อ วันที่1-3มิถุนายนค..2012(..2555)เมื่อพลโทลา มิน (HlaMin)รัฐมนตรีกลาโหมของพม่าได้เปิดเผยต่อที่ประชุมถึงโครงการพัฒนานิวเคลียร์ของพม่าโดยเฉพาะการพัฒนานิวเคลียร์และการพัฒนาขีปนาวุธภาคพื้นสู่อากาศ(Surface-to-airMissile) ว่าได้ยุติลงไประยะหนึ่งแล้ว 

อีกทั้งเมื่อวันที่ 22พฤศจิกายนค..2012(..2555)ที่ผ่านมาประธานาธิบดีเต็ง เส่ง แห่งพม่าได้ลงนามข้อตกลงกับสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ(IAEA: International Atomic Energy Agency)ซึ่งจะส่งผลให้พม่าต้องเปิดเผยข้อมูลนิวเคลียร์ทั้งหมดต่อIAEAเพื่อแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลพม่าไม่มีโครงการที่จะผลิตอาวุธนิวเคลียร์ด้วยความช่วยเหลือจากเกาหลีเหนือตามที่สหรัฐฯและประเทศตะวันตกกล่าวอ้าง

นอกจากนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของพม่ายังได้กล่าวเพิ่มเติมถึงข้อมูลจากวิกิลีคส์(Wikileaks)ที่ระบุว่าในปีค..2010(..2553)พม่าและเกาหลีเหนือกำลังร่วมมือกันด้านการทหารอย่างใกล้ชิดโดยกล่าวยืนยันว่าพม่าได้ประกาศลดความสัมพันธ์กับเกาหลีเหนือลงแล้ว 

อันเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าพม่ากำลังเลือกเส้นทางเดินของตนเองที่มีความชัดเจนมากขึ้นนั่นคือการลบภาพของความเป็นสามอักษะแห่งความชั่วร้ายออกจากสายตาประชาคมโลก

อินโดนีเซียเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ต้องเผชิญกับการเข้ามาของมหาอำนาจหลายประเทศโดยเฉพาะสหรัฐฯที่ในระยะหลังจะเห็นได้ว่าให้ความสำคัญอินโดนีเซียอย่างมากเนื่องจากเป็นประเทศมุสลิมใหญ่ที่สุดในโลกที่สามารถพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนี้สหรัฐฯใช้เป็นหนึ่งในสามเงื่อนไขของการเป็นตำรวจโลกในสังคมนานาชาติโดยเฉพาะในตะวันออกกลางและอัฟกานิสถานสามเงื่อนไขนั้นประกอบด้วยประชาธิปไตย เสรีนิยมและสิทธิมนุษยชน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด็อกเตอร์ กิตติ ประเสริฐสุขจากคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ถึงกับกล่าวว่าความสำเร็จในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของอินโดนีเซียนี้ส่งผลให้อินโดนีเซียกลายเป็นประเทศ"ที่่รักของสหรัฐฯ"(American Darling)โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประนีประนอมในการแก้ไขปัญหาการแบ่งแยกดินแดนในอาเจะห์ที่ยุติลงอันเนื่องจากได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิเมื่อปีค..2004รวมถึงความพยายามในการแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชนกับชาวพื้นเมืองในปาปัวตะวันตกซึ่งเป็นดินแดนของอินโดนีเซียในขณะที่กระบวนการพัฒนาดังกล่าวในอิรักและอัฟกานิสถานที่สหรัฐฯพยายามสร้างขึ้นนั้นไม่คืบหน้าเท่าที่ควร

และเมื่อครั้งที่ประธานาธิบดีบารัก โอบาม่าเดินทางไปเยือนอินโดนีเซียเมื่อปีค..2010ได้ลงนามในข้อตกลงมอบเครื่องแบบขับไล่"มือสอง"แบบเอฟ16จากสหรัฐฯจำนวน24ลำให้อินโดนีเซียโดยไม่คิดมูลค่าแต่อินโดนีเซียต้องจ่ายค่ายกระดับสมรรถนะของเครื่องเหล่านี้จำนวน750ล้านเหรียญเอง

เวียดนามเป็นอีกประเทศหนึ่งที่กลายเป็นประเทศ"เนื้อหอม"ของมหาอำนาจทั้งฝรั่งเศสซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมเดิมและรัสเซียอดีตพันธมิตรเก่าแก่ที่ร่วมเคียงบ่าเคียงไหล่ต่อสู้กับมหาอำนาจตะวันตกในยุคสงครามเย็นมารัสเซียเสนอขายเรือดำนำ้เรือผิวน้ำและเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงให้กับเวียดนามอย่างไม่อั้นพร้อมกับการกลับเข้ามาร่วมพัฒนาฐานทัพเรือที่อ่าว"คัมรานห์"ซึ่งเคยเป็นฐานทัพเรือของสหรัฐฯในสมัยสงครามเวียดนามซึ่งเหตุผลของความร่วมมือระหว่างเวียดนามและรัสเซียที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือเพื่อคานอำนาจกับจีนที่นับวันจะแผ่ขยายอำนาจลงในทะเลจีนใต้โดยเฉพาะปัญหาหมู่เกาะสแปรตลี่ที่ยังคาราคาซังมาถึงทุกวันนี้

จากที่กล่าวมานั้นจะเห็นถึงตัวอย่างเพียงบางส่วนของการมุ่งหน้าเข้ามาของมหาอำนาจสู่ประชาคมอาเซียนในอนาคตประเทศสมาชิกอาเซียนคงต้องจับตามองและเตรียมตัวให้พร้อมกับผลกระทบทั้งแง่บวกและแง่ลบที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ไม่ว่าจะเป็นการสะสมอาวุธในภูมิภาคนี้ที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นตลอดจนการแบ่งขั้วระหว่างประเทศสมาชิกที่เริ่มเห็นชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆฯลฯ     

Create Date :09 มิถุนายน 2556 Last Update :9 มิถุนายน 2556 15:28:40 น. Counter : 4066 Pageviews. Comments :0