bloggang.com mainmenu search
ตัวสงกรานต์เป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ตัวเล็กๆ ลักษณะคลายหนอนมีขามากมาย ขนาดตัวยาวประมาณนิ้วมือ มีสีต่าง ๆ เช่น สีเขียว สีแดง เวลาเคลื่อนที่จะมีสีรุ้งเลื่อมพรายประหลาด

ปรากฏตัวปีละครั้งเฉพาะในวันสงกรานต์เท่านั้น เมื่อจับตัวก็จะขาดหายไป


ในอดีต ลักษณะของสัตว์ตามคำบรรยายเช่นนี้ กล่าวว่าเคยพบในประเทศจีน อาศัยอยู่ในทะเล เมื่อมาปรากฏให้เห็น จะมีสาวงามขี่หลังมาด้วย

ดังนั้นเมื่อใกล้วันสงกรานต์ จะมีการเตรียมจิตรกรไปคอยที่ริมทะเลหลาย ๆ คนในเวลาก่อนพระอาทิตย์ขึ้น เมื่อปรากฏตัวให้เห็นแล้ว จิตรกรเหล่านั้นก็จะวาดภาพที่เห็น

ชื่อที่เรียกจึงไม่แน่ใจว่าเป็นชื่อของตัวสงกรานต์ หรือชื่อเรียกสาวงามที่ นั่งอยู่บนหลัง

นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล เล่าว่า เคยจับตัวสงกรานต์ได้ที่บ้านเชิงสะพานอุรุพงษ์ ถนนเพชรบุรี ในวัน ที่ ๑๓ เมษายน ๒๔๘๘ เวลา ๐๘.๐๐ น. ตอนน้ำขึ้น

ลักษณะที่พบคือ เมื่ออยู่ในน้ำจะมีสีรุ้งต่าง ๆ ลำตัวยาวประมาณ ๔.๒ เซนติเมตร มีขาจำนวนมากอยู่ข้างท้องคล้ายตะขาบ ขณะที่ว่ายน้ำดูเหมือนตัวจะบิดเป็นเกลียว และทันทีที่จับต้อง ตัวจะขาดออกจากกันเป็นท่อน ๆ

และจากความเห็นของ F.H. Giles ซึ่งเคยเขียนบทความลง ในวารสารสยามสมาคม ในภาคธรรมชาติวิทยา เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๑ ปี ๒๔๗๔ กล่าวว่า

ตัวสงกรานต์เป็นไส้เดือนทะเล (sea worm) ชนิดหนึ่ง จะขึ้นมาในแม่น้ำตามกระแสน้ำที่หนุนเนื่องมาจากทะเล ระหว่างเดือนมีนาคม -เมษายน ราววันที่ ๑๓ เมษายน ของทุกปี

ซึ่งคล้ายคลึงกับความเห็นของหลวงจุลชีพ พิชชาธร อดีตเจ้ากรมประมง ได้วิเคราะห์ว่า ตัวสงกรานต์เป็นไส้เดือนทะเลชนิดหนึ่งในพวก Polychaeta ในครอบ ครัว Phyllodocidae เข้าใจว่าอยู่ในตระกูล Phyllodace

ซึ่งแม้ว่าจะอยู่ในทะเล แต่ก็เป็นสัตว์พวกเดียวกับไส้เดือนดิน ปลิงควาย ปลิงเข็ม รวมเรียกเป็นไฟลัมหนึ่ง (Phylum Annelida) เพราะมีลักษณะสำคัญที่เหมือนกัน คือ มีรูปร่างอย่างหนอน ตัวมีปล้องเป็นข้อ ๆ มีเส้นเลือด มีอวัยวะขับของเสีย มีประสาท มีขาเรียงเป็นแถว ๆ

บางชนิดมีจุดดำ มีตัว ผู้ตัวเมีย บางชนิดสืบพันธุ์โดยวิธีแบ่งตัวออกเป็นท่อน ๆ ท่อนหนึ่งคือ หนึ่งตัว ด้วยลักษณะดังนี้ไส้เดือนกับพวก จึงมีความสำคัญในฐานะเป็นห่วงโซ่เปลาะหนึ่ง ที่เชื่อมโยงให้ลำดับสัตว์ชั้นต่ำและสัตว์ชั้นสูงต่อเนื่องกันได้ตามนัยแห่งวิวัฒนาการ

เมื่ออยู่ในน้ำ มันจะมีอวัยวะเป็นเส้นขนรวมกันเป็นกลุ่ม ๆ หรือแถบ ๆ เพื่อช่วยในการว่ายน้ำ ตามปกติหากินอยู่ตามพื้นน้ำ ในทราย ซอกหิน ในโคลน ตามชายฝั่ง หรือไม่ก็ซากใบไม้ใบหญ้า

การสืบพันธุ์ใช้วิธีแบ่งตัว จากเหตุผลที่กล่าวมาแล้วพอจะยืนยันได้ว่า ตัวสงกรานต์เป็นไส้เดือนทะเลชนิดหนึ่ง มีตัวเป็นข้อ ๆ มีขนเป็นหย่อม ๆ ทับซ้อนกัน มีสีสันงดงาม ตรงกับลักษณะของไส้เดือนพวก Polychaeta

ในกรณีสีสันที่งดงามมากมายของตัวสงกรานต์นั้น นักสัตววิทยายืนยันว่า ไส้เดือนทะเลเป็นหนึ่งในสัตว์ที่มีแสงเรืองในยามค่ำคืน โดยเฉพาะไส้เดือนทะเลในตระกูล Syllidae จะมีความสามารถในการผลิตแสงได้มาก

ลักษณะพิเศษนี้เพื่อเร่งเร้าสืบพันธุ์ และลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของตัวสงกรานต์คือ ปรากฏให้เห็นเฉพาะในวันสงกรานต์เท่านั้น ลักษณะนี้ได้มีการสอบถามชาวบ้าน ตามลำคลอง ก็ได้รับคำตอบว่า มีก่อนหน้าวันสงกรานต์ ๔-๕ วัน บ้างก็ว่ามีก่อนหน้าตั้งเดือน

สิ่งหนึ่งที่เป็นข้อสงสัยเกี่ยวกับตัวสงกรานต์ก็คือ เป็นสัตว์ทะเลแต่ทำไมเข้ามาในน้ำจืด คูคลองลึก ๆ ได้นั้น นักสัตววิทยากล่าวว่า ถึงแม้มันจะเป็นสัตว์น้ำเค็ม แต่ก็ใช่ว่าจะอยู่ในน้ำจืดไม่ได้

มีสัตว์หลายชนิดที่อพยพย้ายถิ่นระหว่าง สองน้ำ ทั้งนี้เพื่อการสืบพันธุ์ หาอาหาร หนีศัตรู ตัวสงกรานต์ก็เช่นเดียวกัน เข้ามาในน้ำจืดเพื่อผลในการแพร่พันธุ์

สิ่งสุดท้ายที่ยังเป็นข้อสงสัยกันอยู่ว่า ตัวสงกรานต์สามารถหายตัวได้ นั้น ควรมีการศึกษาอย่างจริงจัง เพื่อหาคำตอบและเผยแพร่ความรู้ในวงกว้างต่อไป


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์จันทรวาร มานโชติช่วงดุจดั่งดวงวิเชียรฉายค่ะ



เพื่อนๆ ขา หาภาพตัวสงกรานต์มาให้ชมไม่ได้ค่ะ
พี่แอม กรุณานำภาพตัวกำแพงแสนมาให้ชม ที่บล็อกคอมเมนท์ที่ 19 ค่ะ

และในกรุ๊พบล็อกที่ 36 .. ภพเมลืองอดิศูรนราศัย ที่บล็อกวันที่ 10/02/2010

"มังกรแก้วสีชมพูจากชุมพร ปะทะกะกิ้งกือมังกรสีชมพู...เด็กๆ ดูสิ่งหลังอยู่แล้ว สีเตะตามาก.."

มันคล้ายๆ กันกับของพี่แอมค่ะ ขอเชิญไปเปิดดูนะคะ
ขอบคุณค่ะ
Create Date :17 พฤษภาคม 2553 Last Update :17 พฤษภาคม 2553 17:03:31 น. Counter : Pageviews. Comments :29