bloggang.com mainmenu search




ด้วงกว่างเฮอร์คิวลิส




ด้วงกว่างเฮอร์คิวลิส เป็นด้วงกว่างที่มีความยาวและความใหญ่ที่สุด ในโลก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dynastes hercules อยู่ในวงศ์ Scarabaeidae พบกระจายพันธุ์ในป่าดิบชื้น ตั้งแต่ภูมิภาคอเมริกากลางและทวีปอเมริกาใต้

นับเป็นด้วงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุล Dynastes ที่มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 6 ชนิด

เป็นด้วงที่มีความแตกต่าง ระหว่างตัวผู้กับตัวเมียมาก ตัวผู้มีเขายาว และมีความยาวตั้งแต่ปลายเขาจรดลำตัว 45-178 มิลลิเมตร ขณะที่ตัวเมียไม่มีเขา และมีความยาวเพียงครึ่งหนึ่งของตัวผู้ คือ 50-80 มิลลิเมตร

ด้วงกว่างเฮอร์คิวลิส มีชนิดย่อยทั้งหมด 13 ชนิด โดยชนิดที่มีความยาวที่สุด คือ D. h. hercules พบในเฟรนซ์ กัวดาลูเป้และโดมินิกา ที่ตัวผู้ยาวได้ถึง 178 มิลลิเมตร และมีบันทึกไว้ว่ายาวที่สุดคือ 220 มิลลิเมตร

ตัวหนอนกินซากผุของต้นไม้เป็นอาหาร และมีระยะการเป็นตัวหนอนยาวนานถึง 16 เดือน

ด้วงกว่างเฮอร์คิวลิสนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง ในต่างประเทศมาอย่างยาวนาน เช่นที่ ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ได้รับความนิยมโดยเฉพาะในหมู่เด็ก ๆ

สำหรับในประเทศไทย ผู้ที่จะเลี้ยงยังต้องนำสั่งเข้ามาจากต่างประเทศแต่ในกลางเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 สามารถเพาะขยายพันธุ์เป็นผลสำเร็จครั้งแรก ที่สวนแมลงแห่งหนึ่ง ที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่


ชนิดย่อย

D. h. baudrii (Pinchon, ค.ศ. 1976)
สถานที่พบ: มาร์ตินิเก้
ขนาดตัวผู้: 50~100 มิลลิเมตร - ตัวเมีย: 45~55 มิลลิเมตร

D. h. bleuzeni (Silvestre and Dechambre, ค.ศ. 1995)
สถานที่พบ: เวเนซูเอลา
ขนาดตัวผู้: 55~155 มิลลิเมตร - ตัวเมีย: 45~75 มิลลิเมตร

D. h. ecuatorianus (Ohaus, ค.ศ. 1913)
สถานที่พบ: โคลัมเบีย, เปรู, เอกวาดอร์, บราซิล
ขนาดตัวผู้: 55~165 มิลลิเมตร - ตัวเมีย: 50~80 มิลลิเมตร

D. h. hercules (Linnaeus, ค.ศ. 1753)
สถานที่พบ: เฟรนซ์ กัวดาลูเป้, โดมินิกา
ขนาดตัวผู้: 45~178 (สูงสุด : 220 มิลลิเมตร) - ตัวเมีย: 50~80 มิลลิเมตร

D. h. lichyi (Lachaume, ค.ศ. 1985)
สถานที่พบ: โคลัมเบีย, เวเนซูเอลา, เปรู, เอกวาดอร์, โบลิเวีย, บราซิล
ขนาดตัวผู้: 55~170 มิลลิเมตร - ตัวเมีย: 50~80 มิลลิเมตร

D. h. morishimai (Nagai, ค.ศ. 2002)
สถานที่พบ: โบลิเวีย
ขนาดตัวผู้: 55~140 มิลลิเมตร - ตัวเมีย: 50~75 มิลลิเมตร

D. h. occidentalis (Lachaume, ค.ศ. 1985)
สถานที่พบ: โคลัมเบีย, เอกวาดอร์, ปานามา
ขนาดตัวผู้: 55~145 มิลลิเมตร - ตัวเมีย: 50~80 มิลลิเมตร

D. h. paschoali (Grossi and Arnaud, ค.ศ. 1993)
สถานที่พบ: บราซิล
ขนาดตัวผู้: 55~140 มิลลิเมตร - ตัวเมีย: 50~70 มิลลิเมตร

D. h. reidi (Chalumeau, ค.ศ. 1977)
สถานที่พบ: เซนต์ลูเซีย
ขนาดตัวผู้: 50~110 มิลลิเมตร - ตัวเมีย: 50~65 มิลลิเมตร

D. h. septentrionalis (Lachaume, ค.ศ. 1985)
สถานที่พบ: เม็กซิโก, เบลิซ, เอล ซัลวาดอร์, ฮอนดูรัส, กัวเตมาลา, นิคารากัว, คอสตาริกา, ปานามา
ขนาดตัวผู้: 55~150 มิลลิเมตร- ตัวเมีย: 50~75 มิลลิเมตร

D. h. takakuwai (Nagai, ค.ศ. 2002)
สถานที่พบ: บราซิล
ขนาดตัวผู้: 55~140 มิลลิเมตร - ตัวเมีย: 50~75 มิลลิเมตร

D. h. trinidadensis (Chalumeau and Reid, ค.ศ. 1995)
สถานที่พบ: ตรินิแดดและโตเบโก
ขนาดตัวผู้: 55~140 มิลลิเมตร - ตัวเมีย: 50~75 มิลลิเมตร

D. h. tuxtlaensis (Moron, ค.ศ. 1993)
สถานที่พบ: เม็กซิโก
ขนาดตัวผู้: 55~110 มิลลิเมตร - ตัวเมีย: 50~65 มิลลิเมตร


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์อาทิตยวาร สิริมานปรีดิ์ปราโมทย์นะคะ
Create Date :13 มีนาคม 2554 Last Update :13 มีนาคม 2554 8:19:43 น. Counter : Pageviews. Comments :0