bloggang.com mainmenu search
มรดกทางวัฒนธรรมที่ปรากฏทั้งทางด้านศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ รวมถึงสิ่งประดิษฐ์อันเกิดจากการคิดค้นสิ่งแวดล้อมซึ่งเหล่านี้ล้วนแต่มีคุณ ค่าความสำคัญซึ่งการรวบรวมจัดเก็บรักษาไว้นั้นมีความหมายยิ่งต่อการศึกษา

     ต่อเนื่องจากเทศกาลไหว้พระจันทร์ ในเดือนกันยายนยังมีวันสำคัญอีกวันหนึ่งที่เพิ่งผ่านไปนั่นคือ วันพิพิธภัณฑ์ไทย ซึ่งตรงกับวันที่ 19 กันยายน ของทุกปี ในวันนี้นอกจากจะเป็นวันที่กล่าวขานชวนให้ระลึกถึงกันในประเทศไทย นานาประเทศต่างให้ความสำคัญถึงคุณค่าของพิพิธภัณฑ์ คลังความรู้ที่รวบรวมสรรพวิชาให้ทั้งความรู้ความเพลิดเพลินนี้ด้วยเช่นกัน

     ก่อนการก่อเกิดพิพิธภัณฑ์หลากหลายรูปแบบขึ้นในประเทศไทยตามประวัติความเป็นมากล่าวถึงพิพิธภัณฑ์ การเก็บรวบรวม สะสมสิ่งต่าง ๆ ทั้งที่เป็นวัตถุ สิ่งของมีค่าหายากตลอดจนสิ่งของแปลกใหม่เพื่อ เป็นหลักฐานทางมรดกวัฒนธรรมของชาติอันเป็นการแสดงถึงความมั่นคงเป็น เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ในต่างประเทศทางด้านซีกโลกตะวันตกมีการตื่นตัวมาก ส่วนประเทศไทยตามประวัติการรวบรวมวัตถุสิ่งต่าง ๆ จัดแสดงภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีขึ้นโดยสร้าง พระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ เพื่อใช้เป็นสถานที่จัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุซึ่งการเรียกขาน พิพิธภัณฑสถาน ในครั้งนั้นทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า มิวเซียม ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า พิพิธภัณฑ์

สืบเนื่องต่อมาในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการจัดตั้งมิวเซียมขึ้นที่ หอคองคอเดีย หรือ ศาลาสหทัยสมาคม ภายในพระบรมมหาราชวังเพื่อจัดแสดงสิ่งของต่าง ๆ พร้อมกันนั้นได้เปิดให้ประชาชนเข้าชมครั้งแรกในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2417 จากนั้นมาในสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานหมู่พระที่นั่งในพระราชวังบวรสถานมงคล จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร ดูแลทางด้านโบราณคดี วรรณคดีเป็นที่ รวบรวมรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติ

     หลังจากนั้นมาพิพิธภัณฑสถานพระนครก็ได้เปลี่ยนชื่อและหน่วยงานที่สังกัด อีกหลายครั้ง ฯลฯ และจากพิพิธภัณฑสถานส่วนพระองค์เปลี่ยนมาสู่พิพิธภัณฑสถานประชาชน และพัฒนาต่อไปจากพิพิธภัณฑสถานที่เก็บรักษาสรรพสิ่งทั่วไปมาเป็น พิพิธภัณฑสถานหลากหลายรูปแบบ ตามลักษณะศิลปวิทยาการทั้งทางด้านศิลปะวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชาติพันธุ์ สังคมวิทยา ฯลฯ สมชาย ณ นครพนม ผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะด้านวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากรให้ความรู้เล่าถึงวันพิพิธภัณฑ์ไทยว่า นับแต่ปี พ.ศ. 2538 รัฐบาลประกาศให้มีวันนี้ขึ้น เนื่องด้วยรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณวันที่ได้รับพระราชทานพิพิธภัณฑสถานสำหรับประชาชนครั้งแรก อีกทั้งเพื่อให้ได้เห็นถึงคุณค่าความสำคัญของพิพิธภัณฑ์นำมาซึ่งการสืบรักษา หวงแหนมรดกศิลปวัฒนธรรมอันเป็นสิ่งแสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย

พิพิธภัณฑ์ไม่ใช่เพียงแค่แหล่งเก็บรวบรวมสงวนรักษา ศึกษาวิจัยและจัดแสดงเฉพาะวัตถุแต่สถานที่นี้ยังเป็นแหล่งความรู้ รวบรวมสิ่งต่าง ๆ ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญ และจากพิพิธภัณฑ์ที่มีหลากหลายรูปแบบเวลานี้อีกทั้งยังเป็นแหล่งศึกษานอกรูปแบบที่มีความหมายสำคัญ

     พิพิธภัณฑสถานจึงเป็นคลังความรู้ที่พร้อมมอบความรู้และจากความเป็นมาเป็นที่ ทราบกันถึงพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งทรง เป็นผู้ดำริสร้าง จากนั้นมาในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดฯ ให้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์นำวัตถุจัดแสดง มีผู้บรรยายนำชมครบรูปแบบ การจัดแสดงที่เกิดขึ้นภายในพิพิธ ภัณฑ์เหล่านี้คือแหล่งเรียนรู้ซึ่งสามารถเรียนได้ไม่รู้จบ สามารถต่อเติมเพิ่มพูนความรู้ได้ตามอัธยาศัย ตามความชื่นชอบ

"ที่ผ่านมาคนทั่วไปอาจมีความเข้าใจพิพิธภัณฑ์เป็นสถานที่ที่เก็บแต่ของเก่า แต่หลังจากมีการกล่าวถึงวันนี้ซึ่งมีการบรรยาย การนำชมให้ความรู้ในเรื่องพิพิธภัณฑ์มาโดยตลอดก็เป็นที่รู้จักสนใจเพิ่มขึ้น จริง ๆ แล้วในการจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์นั้นเป็นสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่รอบตัวทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมประเพณี หรือแม้แต่เรื่องทางวิทยาศาสตร์ นวัตกรรมสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นก็กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ได้

     หลายปีที่ผ่านมามีพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นมากทั้งภาครัฐ เอกชน ฯลฯ อีกทั้งความเข้าใจในพิพิธภัณฑ์ก็มีเพิ่มขึ้นซึ่งสถานที่นี้เป็นมากกว่าที่ ที่เก็บรักษา แต่เป็นเรื่องของการให้ความรู้ การบริหารจัดการอีกทั้งยังมีศาสตร์น่าศึกษา ฯลฯ ในความหมายของพิพิธภัณฑ์จึงเป็นที่รู้จักเข้าใจมากขึ้น สถานที่นี้จึงเป็นแหล่งรวมความรู้ซึ่งเรียนรู้ได้ไม่รู้จบ"

จากพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงหลากหลายรูปแบบนอกจากความดูแลของกรมศิลปากรซึ่งมี ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค อย่าง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหอ ศิลป์ ฯลฯ ขณะที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในส่วนภูมิภาค ได้แก่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรี อยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่ง ชาติสมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี ฯลฯ

     ความรู้มีชีวิตที่เกิดขึ้นภายในพิพิธภัณฑ์การจัดแบ่งยังแบ่งได้ตามลักษณะ การบริหาร ได้แก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิพิธภัณฑ์จังหวัด พิพิธภัณฑ์มหา วิทยาลัยภาครัฐ เอกชน ฯลฯ ส่วนอีกลักษณะ แบ่งตาม หัว ข้อทางวิชาการ อย่างเช่น พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ พิพิธภัณฑสถานทางมานุษยวิทยา ชาติพันธุ์วิทยา พิพิธภัณฑ์ทางธรรมชาติวิทยา



     นอกจากนี้ยังมี พิพิธภัณฑ์ทั่วไปเฉพาะทาง อย่างเช่น พิพิธภัณฑ์แผ่นเสียง พิพิธภัณฑ์ตะเกียง พิพิธภัณฑ์มด อีกทั้งยังมีพิพิธภัณฑ์ส่วนตัว ฯลฯ ซึ่งต่างมีจุดหมายเพื่อการศึกษาเป็นแหล่งค้นคว้า รวมทั้งให้ความเพลิดเพลินกับคนทุกเพศวัย แต่ทั้งนี้ในรูปแบบของความเป็นพิพิธภัณฑ์อยากให้เห็นว่าพิพิธภัณฑ์ไม่ใช่ เพียงแค่สถานที่ที่เก็บสะสมสิ่งของ แต่อยากให้มีการพัฒนาด้านองค์ความรู้ มีการบันทึกหลักฐานบอกเล่ายุคสมัยเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้

     พิพิธภัณฑ์หลายสถานที่ปัจจุบันพัฒนารูปแบบสามารถจัดแสดงเชื่อมโยงเข้าถึง กลุ่มผู้ชม มีการสร้างกิจกรรมการนำชมสร้าง การเรียนรู้ที่ชวนเพลิดเพลิน อย่างมีเครื่องแต่งกาย อุปกรณ์ กิจกรรม ฯลฯ เข้ากับสิ่งที่จะศึกษาซึ่งเหล่านี้สร้างการเรียนรู้ที่ชวนจดจำ

     จากการก่อเกิดขึ้นของพิพิธภัณฑสถานนอกจากมีความหมายในการเก็บรวบรวมแสดงสิ่งต่าง ๆ ที่มีความสำคัญทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคต สถานที่นี้ยังมีจุดหมายสำคัญเพื่อประ โยชน์ทางการศึกษาเป็นคลังความรู้ก่อเกิดการสืบสานรักษามรดกวัฒนธรรมความเป็น ไทยได้ดำรง คงอยู่สืบไป เป็นอีกความเคลื่อนไหวของวันสำคัญทรงคุณค่าอีกวันหนึ่ง ที่เกิดขึ้นทุกปีในเดือนกันยายน.

ทีมวาไรตี้

สุวิมล เชื้อชาญวงศ์ : รายงาน

ขอขอบคุณ
ที่มา :
DailayNews 21 กันยายน 2551

H O M E
Create Date :23 กันยายน 2551 Last Update :23 กันยายน 2551 2:04:10 น. Counter : Pageviews. Comments :0