bloggang.com mainmenu search
ชวนกันไปใส่ขันดอก ประเพณีบูชาเสาอินทขิล [เชียงใหม่]

ประเพณีบูชาเสาอินทขิล
กำหนดการจัดงานปี 2554 : วันที่ 29 พฤษภาคม - 4 มิถุนายน 2554
สถานที่จัดงาน : ณ วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่

ประเพณีขึ้นขันดอกอินทขิล หรือเข้าอินทขิล
ประเพณีและเทศกาลมีความเกี่ยวข้องกันในแง่ที่ว่า เทศกาลคือเวลาที่ปฏิบัติกิจกรรมตามประเพณีที่กำหนดไว้เพื่อทำบุญและเรื่อนเริง ซึ่งนอกเหนือจากความหมายในเชิงวัฒนธรรมแล้ว ปัจจุบันยังเพิ่มความหมายในเชิงธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อสร้างชื่อเสียงของท้องถิ่นและของประเทศให้เป็นที่รู้จักออกไปในวงกว้างอีกด้วย

เสาหลักเมืองหรือเสาอินทขิล ปัจจุบันตั้งอยู่ที่กลางวิหารจัตุรมุขแบบล้านนาประยุกต์ในวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เสาหลักเมืองนั้นสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นศูนย์กลางยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คนในบ้านเมือง ให้เกิดพลังสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันภายใต้ศีลธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา ประเพณีบูชาเสาอินทขิลเป็นการสร้างความพึงพอใจให้แก่ อารักขเทวดาประจำเมือง
เพื่อให้บ้านเมืองเกิดความร่มเย็นฝนตกต้องตามฤดูกาล


พิธีกรรมและกิจกรรมตลอด 7 วัน
1. วันแรกเรียกว่าวัน “เข้าอินทขิล” จะอัญเชิญพระพุทธรูปคันธารราษฏร์ “ฝนแสนห่า” รอบเมืองเชียงใหม่ แล้วกลับมาที่วัดให้ประชาชนสรงด้วยน้ำส้มป่อยโรยกลีบกุหลาบ
2. พิธีการสักการะพระประทานในวิหาร มีการใส่บาตรดอกไม้ธูปเทียนลงไปในขัน 28 ใบ (พระพุทธเจ้า 28 พระองค์)
3. นิมนต์พระสงฆ์จากวัดต่าง ๆ มาเจริญพระพระพุทธมนต์ตลอด 7 วัน
4. สักการะเสาอินทขิลด้วยดอกไม้ธูปเทียน สมโภชด้วยการละเล่นต่าง ๆ ตลอด 7 วัน
5. วันสุดท้ายเรียกว่า “วันออกอินทขิล” จะมีการนิมนต์พระสงฆ์ 108 รูป เพื่อเจริญพระพุทธมนต์ ถวายภัตราหารและเครื่องไทยะทานเป็นอันเสร็จพิธี

ประเพณีขึ้นขันดอกอินทขิล เป็นการบูชาใหญ่ของวัดเจดีย์หลวงจัดในช่วงเดือน พ.ค. – มิ.ย. เป็นงานที่สวยสดงดงาม เนื่องจากพิธีส่วนใหญ่จะมีการใส่บาตรดอกไม้ เป็นงานพิธีที่มุ่งการสร้างกำลังใจให้ชาวเมืองอยู่เย็นเป็นสุขและฝนตกต้องตามฤดูกาล ที่กำลังจะเริ่มต้นฤดูกาลเพาะปลูก

กิจกรรม
บูชาเสาอินทขิล การออกร้านจำหน่ายสินค้า และอาหารพื้นเมือง

ข้อมูลเพิ่มเติม
วัดเจดีย์หลวง วรวิหาร โทร. +66 5381 4119

















มาถ่ายภาพในวันเปิดงาน (29 พ.ค. 2554)
หน้าประตูทางเข้าวัดกับวันที่ท้องฟ้าไม่สวยเอาซะเลย
ที่จริงหลังจากนี้ฝนก็ตกลงมาอย่างหนัก
(หนีทันออกจากวัด แต่ได้ไปหลบหนีฝนช่วงกลางทางเหมือนกัน เพราะกลับไปไม่ถึงบ้าน)



เมฆดำมามึดครึ้มเลย
แต่มาถ่ายภาพงานอินทขิลในวันเปิดงาน
ด้วยความตั้งใจจะมาถ่ายภาพการมาร่วมงานของนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ มช. ที่มาร่วมงานกันทุกๆ ปี โดยการนำทีมของอาจารย์จากคณะแพทยศาสตร์ มช.
ส่วนน้องๆ นักศึกษา ก็จะมาร่วมงานด้วยการแต่งกายชุดพื้นเมืองที่สวยงาม
มารอถ่ายภาพกันในวันเปิดงานนี่ล่ะครับ










































































ถ่ายภาพกันได้อยู่ประมาณนี้

แอบเห็นท้องฟ้ามืดมาเรื่อยๆ แล้ว
รีบหนีออกมาก่อน เลยไม่ได้ถ่ายภาพในส่วนอื่นๆ เพิ่มเติมอีก
(แต่ที่จริงก็ไปไหนไม่ได้ไกล เจอฝนตกมากระหน่ำ เปียกปอนกันไป)


ขอบคุณน้องๆ นักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่เป็นแบบถ่ายภาพไว้ด้วยครับ

ภาพชุดนี้ถ่ายเมื่อวันเปิดงาน 29 พ.ค. 2554 นี้
แวะมาชวนชาวเชียงใหม่ไปร่วมงาน ชวนกันไปใส่ขันดอก ประเพณีบูชาเสาอินทขิล นี้ด้วยครับ เพราะนอกจากการสักการะเสาหลักเมือง (เสาอินทขิล) ยังมี กุมภัณฑ์ ฤาษี และพระรัตนตรัย แล้วยังจัดให้มีการสรงน้ำ สักการบูชาพระพุทธรูปฝนแสนห่าและสรงน้ำพระเจดีย์หลวง






มีการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนาทุกวัน เพื่อเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์ความเชื่อ และวัฒนธรรมอันดีงามของชาวล้านนาให้คงอยู่สืบไป

มีโอกาสและฟ้าฝนเป็นใจ ก็จะไปถ่ายภาพมาให้ชมกันครับ




31 พ.ค. 2554
นำภาพถ่ายของค่ำคืนวันที่ 30 พ.ค. มาให้ชมกันนิดหน่อยก่อนครับ
ช่วงหลังๆ มานี้ ไม่ค่อยได้ up blog ตอนเช้า
เนื่องจากว่า wifi ข้างบ้านที่แอบใช้ของเค้า มักจะปิดตอนเช้าๆ
ส่วนกลางคืน ดึกๆ เหมือนจะอยู่กันยาว
เลยต้องแอบปรับเปลี่ยนเวลาตามข้างบ้านสักหน่อย 555

เอาเป็นว่าไปถ่ายรูปการแสดงศิลปวัฒนธรรมที่วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร กันมาแล้ว
จากงานประเพณีบูชาเสาอินทขิล ซึ่งช่วงกลางคืนจะมีการแสดงศิลปรำฟ้อนของน้องๆ เด็กนักเรียนจากชมรมวัดต่างๆ หรือโรงเรียนสอนการแสดงต่างๆ มาร่วมรำฟ้อนที่สวยงามให้ชมกัน
เอาเป็นว่าทำภาพเสร็จไม่กี่ภาพ และก็เสี่ยงที่ว่าเดี๋ยวข้างบ้านจะปิด wifi ไป
รีบมา up ให้ชมกันนิดหน่อยก่อนละกัน แล้วไปทำภาพกันต่อที่ทำงาน แล้วก็จะได้ให้ชมภาพชุดนี้ต่อกันไปด้วย

ติดเลนส์แค่ 17 มม. ไว้ เลยยังไม่คิดหามุมอื่นๆ ถ่าย ลองถ่ายภาพกับตอนที่ mem เหลืออยู่ 2 ภาพ มาให้ชมกันแค่นี้ก่อน ไว้ติดเลนส์กว้างๆ กว่านี้ไปแล้วค่อยเลือกหามุมกันใหม่


นำภาพการแสดงส่วนหนึ่งที่ถ่ายภาพมาให้ชมกันก่อนครับ

















น้องๆ แสดงกันอย่างตัวอ่อนได้ใจจริงๆ





























































การแสดงฟ้อนจ้อง
























ที่จริงการแสดงฟ้อนจ้องมีนักแสดงฟ้อนรำอยู่ 4 คน
แต่กว่าจะมาเจอมุมถูกใจของน้องคนนี้ ก็มาเจอกันเอาตอนจบซะแล้ว มองพลาดไปได้ไง 555




มีให้ชมกันแค่นี้ก่อน เลือกภาพทำจากท้ายสุดมา และก็ทำภาพได้แค่นี้ ไว้ชมกันต่อครับ
(แอบดีใจเล็กน้อยด้วยครับ ที่ยังพอจะ up ภาพทันก่อนที่ข้างบ้านจะปิด wifi 555)


Create Date :30 พฤษภาคม 2554 Last Update :31 พฤษภาคม 2554 20:32:20 น. Counter : Pageviews. Comments :37