bloggang.com mainmenu search
28 กุมภาพันธ์ 2558 : THAILAND INTERNATIONAL Dog Show & Pet Variety “ยกก๊วนป่วนเมืองเหนือ”
จัดงานระหว่างวันที่ 26 กุมพาพันธ์ - 1 มีนาคม 2558 ตั้งแต่เวลา 11.00-20.00 น. ณ เชียงใหม่ฮอลล์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า เชียงใหม่แอร์พอร์ต
ไปเดินแอ่วงานนี้มาเหมือนกันครับ วันแรกก็ได้ไปอยู่แต่ไม่่มีกล้องติดตัวมา พอวันที่สองของงานเลยติดกล้องตัวเล็กไป (กล้องตัวใหญ่ยังส่งซ่อมเข้าศูนย์บริการ Canon ยังไม่ได้กลับมาเลย)
มาชื่นชอบสนใจที่จะถ่ายภาพสัตว์เลื้อยคลานนานาชนิดที่แปลกตา แบบที่ไม่ค่อยจะได้พบเห็นกันได้บ่อยนัก กับงูสวยงาม และเจ้าตัวอื่นๆ กันอีกด้วย ภาพคงอาจจะไม่ได้ดูออกแนวน่ารักกันสักเท่าใด หากใครไม่ชื่นชอบที่จะชม ก็ผ่านๆ ตากันไปได้เลยครับ กับตัวเองก็ใช่คิดว่าจะชื่นชอบ กลัวอยู่เหมือนกัน 555


พอหยิบกล้องตัวเล็กๆ มาใช้งาน ก็ไม่คิดอะไรมาก เลือกใส่เลนส์ 22 mm. ไว้ตัวเดียวจบงาน ไม่ต้องคิดซูมอะไรกันมากนัก ถ่ายภาพด้วย mode auto กันอย่างเดียว ไม่ต้องคิดตั้งใจปรับค่าการถ่ายภาพอะไรมากไปกว่านี้










ตู้นี้มีงูตัวใหญ่ๆ น้ำหนักแต่ละตัวก็หนักเอาเรื่องล่ะครับ














เจ้างูตัวนี้อยู่ดีๆ ก็มาอ้าปากหาวกันหวอดใหญ่ ทำเอาตกใจไปเหมือนกัน
ถ้าไม่มีกล้องพลาสติกกั้นกันเอาไว้ เจอ shot นี้อาจมีวิ่ง หรือ ทิ้งกล้องกันแน่ๆ








เจ้าเบี๊ยด ดราก้อน สองตัวนี้กำลังมีกิจกรรมอะไรกันอยู่หรือเปล่าไม่รู้



เบี๊ยด ดราก้อน - มังกรเครา
ชื่อสามัญ : Bearded Dragon
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pogona vitticeps
ถิ่นกำเนิด : พื้นที่แห้งแล้งในทวีปออสเตรเลีย
อุปนิสัยและลักษณะในธรรมชาติ : เป็นกิ้งก่าที่อาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วไปในพื้นที่แห้งแล้ง และทะเลทรายในทวีปออสเตรเลีย กินแมลงและใบอ่อนของพื้ชเป็นอาหาร สีน้ำตาลอ่อนถึงสีน้ำตาลเข้ม ตามลำตัวมีหนามเพื่อป้องกันตัวจากศัตรูในธรรมชาติ
จากกิ้งก่าที่ดูคล้ายมังกร จึงมีการพัฒนาสีสัน สายพันธุ์ ตลอดจนอุปนิสัยให้เป็นกิ้งก่าที่เชื่อง นิ่งๆ เลี้ยงได้ง่ายๆ ในระดับที่เหมาะกับผู้เลี้ยงมือใหม่ที่ต้องการจะเลี้ยงกิ้งก่าเป็นตัวแรก เพราะมีความคุ้นเคยกับมนุษย์ได้ดีในระดับที่สามารถนำมาแต่งตัวเพิ่มความสวยงามได้ง่ายกว่าสุนัข และ แมว





กิ้งก่าจระเข้
ชื่อสามัญ : Crocodile red eyes skinks
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tribolonotus gracilis
ถิ่นกำเนิด : ป่าดิบชื้นตามหมู่เกาะในประเทศอินโดนีเซีย
อุปนิสัยและลักษณะในธรรมชาติ : เป็นกิ้งก่าขนาดเล็ก ที่หลังมีเกล็ดเป็นหนามดูคล้ายจระเข้ รอบวงตาจะมีสีส้มจนถึงสีแดง จึงเป็นที่มาของ Red eyes crocodile skinks นิสัยไม่ก้าวร้าว ออกหากินตอนกลางคืน อาหารหลักคือหนอนและแมลง ออกลูกเป็นไข่
เมื่อเวลาตกใจจะอยู่น่ิงๆ เพื่อให้ดูกลมกลืนกับสภาพธรรมชาติที่อาศัยอยู่





ตุีกแกลายเสือดาว
ชื่อสามัญ : Leopard Gecko
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eublepharis macularius
ถิ่นกำเนิด : ตามสภาพภูมิประเทศที่เป็นทะเลทรายในประเทศปากีสถาน
อุปนิสัยและลักษณะในธรรมชาติ : เป็นสัตว์กินแมลง ออกหากินเวลากลางคืน เท้าไม่เหนียวเหมือนตุ๊กแกบ้านที่คนไทยคุ้นเคยกันดี ในวัยเด็กจะเคลื่อนที่ได้ว่องไว และจะเคลื่อนที่ช้าลงเมื่ออายุมากขึ้น เชื่องจนสามารถเกาะอยู่บนมือผู้เลี้ยงได้นานๆ







เตกูแดง
ชื่อสามัญ : Red Tegu
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tupinambis rubescens
ถิ่นกำเนิด : ประเทศอาร์เจนติน่า ประเทศโบลิเวีย และประเทศปารากวัย
อุปนิสัยและลักษณะในธรรมชาติ : เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีขนาดใหญ่ ใน genus Tupinambis
ในวัยเด็กจะมีแดงอมน้ำตาลเข้ม สีสันจะพัฒนาแดงชัดขึ้นตามขนาดที่เติบโตขึ้น ในเพศผู้จะมีขนาดใหญ่และสีแดงสดเพศเมีย และมีแก้มยุ้ย ทำให้หน้าตาดูน่ารักไปอีกแบบ
เตกูเป็นสัตว์ที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์ และทำหน้าที่เป็นตัวกำจัดซากในสภาพธรรมชาติได้อีกด้วย เตกูแดงสามาารถเลี้ยงให้เชื่องและคุ้นเคยกับเจ้าของได้ในระดับใส่สายจูงเดินในสวนหย่อมหลังบ้านเช่นเดียวกับสุนัข



เตกูขาวดำ
ชื่อสามัญ : Black and White Tegu
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tupinambis merianae
ถิ่นกำเนิด : ทวีปอเมริกากลาง และทวีปอเมริกาใต้
กินอาหารได้หลายชนิดทั้งพืชและสัตว์ รวมไปถึงมีพฤติกรรมการกินซากเช่นเดียวกับสัตว์ในกลุ่มตะกวด ลำตัวมีสำดำ และมีแต้มสีขาวกระจัดกระจายไปทั่วลำตัว ปัจจุบันเตกูขาวดำ สามารถเพาะพันธุ์ได้ทั้งฟาร์มในต่างประเทศและในประเทศไทย จากการเลี้ยงดูในสถานที่เลี้ยง พบว่าเตกูเป็นสัตว์ที่มีระดับสติปัญญาสูงกว่าสัตว์เลื้อยคลานทั่วไป สามารถเรียนรู้และจดจำของได้เช่นเดียวกันกับสุนัขและแมว





อีกัวน่า
ชื่อสามัญ : Iguana
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Iguana Iguana
ถิ่นกำเนิด : ทวีปอเมริกากลาง และ ทวีปอเมริกาใต้
อุปนิสัย และลักษณะในธรรมชาติ : เป็นกิ้งก่ากินพืชขนาดใหญ่ สีเขียวอมเทา
ปีนต้นไม้และว่ายน้ำได้คล่องแคล่ว
Iguana ถูกพัฒนาสีสันให้แปลกตาจากเดิมในสภาพธรรมชาติที่มีเพียงสีเขียว/เทา และน้ำตาลแดง ไปสู่สีสันต่างๆ ที่สวยงามและแปลกตา
ทุกวันนี้อีกัวน่าสามารถเพาะพันธุุ์ได้ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี ทำให้อีกัวน่าหลากสีสัน สัญชาติไทยกลายเป็นสินค้าออกทางการเกษตรเชิงคุณภาพไปยังทั่วภาคพื้นเอเชีย























นกเค้าอินทรียูเรเชียน

เบี๊ยด ดราก้อน - มังกรเครา
ชื่อสามัญ : Eurasian eagle owl
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bubo Bubo spp.
ถิ่นกำเนิด : ทั่วทวีปยุโรป และทางตอนเหนือของทวีปเอเชีย
อุปนิสัยและลักษณะในธรรมชาติ : นกเค้านำเข้าขนาดใหญ่ ที่มีถิ่นอาศัยกระจายตัวทั้งทวีปเอเชียและทวีปยุโรป ด้วยความหลากลหายในสภาพถิ่นอาศัย และความกว้างใหญ่ของพื้นที่กระจายตัว ทำให้นกชนิดนี้แยกย่อยได้ถึง 17 sub-species สำหรับนกที่นำเข้าในไทยจะเป็น European และ Siberian eagle owl
นกเค้าชนิดนี้คือเจ้าของสถิติ eagle owl ที่ใหญ่ทีุ่สุดในโลก และด้วยความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้หลากหลาย อีกทั้งยังสามารถเพราะพันธฺุ์ได้อย่างต่อเนื่องในฟาร์มต่างประเทศ จึงเป็นที่แอบหวังกันว่านกเค้าอินทรียูเรเชียนนำเข้าอย่างถูกต้องตามกฏหมายจะกลายเป็นอีกหนึ่งในเกษตรกรรมเชิงคุณภาพ พร้อมๆ ไปกับการทำหน้าที่เป็นสัตว์เลี้ยงทางเลือกทดแทนค่านิยมการเลี้ยงนกเค้าจากสภาพธรรมชาติ












จบไว้กับภาพนกเค้าอินทรียูเรเชียน-นกนำเข้าจากประเทศในเขตทวีปยุโรป ตัวนี้หนัก 4500 กรัม จัดว่าเป็นนกเค้าอินทรียูเรเชียนตัวที่หนักที่สุดในประเทศไทย เป็นรองจากตัวที่หนักที่สุดในโลกอยู่ 100 กรัม (ตัวที่หนักที่สุดในโลก หนัก 4600 กรัม)

น่าจะมีโอกาสไปเดินเล่นกันอีกสักวัน ถ้าได้ภาพถ่ายสวยๆ จะนำมาเพิ่มให้ชมกันครับ และอีกอย่างงานนี้เป็นงานของน้องหมา น้องแมว แต่ดูๆ แล้วยังไม่ได้ภาพของน้องหมาน้องแมวมาสักตัว คงต้องลองๆ ไปเดินเล่นถ่ายภาพกันอีกสักครั้ง

ขอบคุณผู้จัดงานและเจ้าของสัตว์เลี้ยงที่นำสัตว์เลี้ยงมาให้ชมกันภายในงาน และได้ถ่ายภาพกันด้วยครับ

ขอบคุณเพื่อนๆ ที่แวะมาชมภาพถ่ายที่ blog กันด้วยครับ



28 กุมภาพันธ์ 2558
เย็นนี้ไปเดิ่นเล่นกันอีกครั้ง แล้วก็ตั้งใจ เปลี่ยนเลนส์ แต่ยังเปลี่ยนกล้องไม่ได้ (เหลือเจ้าตัวเล็กอยุ่ตัวเดียว)
ด้วยภาพของวันก่อนเห็นภาพเจ้ากิ้งก่า คาเมเลี่ยน แล้วได้ภาพไม่ค่อยชัดเอาซะเลย
ประกอบกับตู้กระจกที่เค้าเลี้ยงเจ้าคาเมเลี่ยน ดูไม่ใส เอาซะเลย เป็นฝ้า เป็นรอยเต็มไปหมดเลย กว่าที่โฟกัสของกล้องจะหลุดผ่านพ้นแผ่นกระจกฝ้าๆ ไปได้ ก็โฟกัสไม่โดนเจ้ากิ้งก่า คาเมเลี่ยนกันเลย
วันแก้มือ ก็ได้ภาพแบบพลาดไปเสี้ยววินาที

shot นี้ พลาดไปเสี้ยววินาที ที่เจ้ากิ้งก่า คาเมเลี่ยน กำลังเล็งอาหารของมัน (แมลง)
กดชัดเตอร์ไปก่อนที่มันจะตวัดลิ้นดึงเจ้าแมลงตัวจิ๋วเล็กๆ (น่าจะจุดเล็กๆ ที่เป็นแมลงกำลังบินอยู่)
ภาพนี้แก้ชดเชยปรับรอยฝ้าของกระจกไปกันเยอะเลย กว่าจะทำให้ดูภาพออกแนวใสๆ ได้ (เหนื่อย นะเนี่ย)

Create Date :28 กุมภาพันธ์ 2558 Last Update :28 กุมภาพันธ์ 2558 22:32:39 น. Counter : 12139 Pageviews. Comments :5