bloggang.com mainmenu search
24 มิถุนายน 2553 : งานประเพณีฟ้อนบวงสรวง บรรพกษัตริย์อารักษ์หลวงนครเชียงใหม่ [ฟ้อนผี]



ภาพถ่ายชุดนี้เป็นของวันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน 2553
แต่ก่อนหน้านี้ได้นำภาพถ่ายของวันที่ 12 มิ.ย. ให้ชมไปกันก่อนแล้ว
ชุดแรกเป็นช่วงพิธีบวงสรวง และมีการแสดงฟ้อนอยู่ 4-5 ชุด
ส่วนภาพถ่ายชุดนี้ เป็นส่วนของพิธีการ ในส่วนของการฟ้อนผี
ซึ่งจะขอคัดลอกข้อความบางส่วนจากป้ายนิทรรศการ มาให้อ่านกันประกอบภาพถ่ายด้วย









ประเพณีการฟ้อนผีล้านนา
ประเพณีการฟ้อนผีมด ผีเม็ง และผีเจ้านาย เป็นประเพณีการเซ่นสังเวยบรรพบุรุษของชาวล้านนาซึ่งนับถือและปฏิบัติกันมาแต่โบราณ มีข้อสันนิษฐานว่า ประเพณีสืบทอดมาจากวัฒนธรรมมอญ สังเกตได้จากรูปแบบของเครื่องแต่งกาย เวลาที่เข้าทรงคล้ายกับของชาวมอญโบราณ ตลอดจนเครื่องดนตรีแบบมอญ เช่น ตะโพนมอญ และ ฆ้องวง

ปรกติการฟ้อนผีมด ผีเม็ง และผีเจ้านาย จะจัดในช่วงฤดูแล้งก่อนช่วงเข้าพรรษาเป็นประจำทุกปี หรือ 2-3 ปี แล้วแต่จะกำหนดขึ้นโดยกลุ่มตระกูลที่นับถือผีเดียวกัน หรือหากมีการเจ็บไข้ได้ป่วยในวงศ์ตระกูล บางทีก็มีการฟ้อนแก้บนหลังจากการรักษา และเมื่อมีอาการดีขึ้นจากการเจ็บไข้ได้ป่วย




การฟ้อนผี
เป็นการเชิญวิญญาณของบรรพชน ให้มารับรู้ และร่วมกิจกรรมกับลูกหลาน โดยมีขั้นตอนของพิธีการต่างๆ ระบุไว้ตามประเพณียาวตลอดวัน
การฟ้อนนอกจากจะเป็นการรำลึกถึงพระคุณของบรรพชนแล้ว ยังเป็นการสร้างความสามัคคีกลมเกลียวกันขึ้น ในกลุ่มคนที่นับถือผีในสายเดียวกัน ซึ่งเป็นการตอกย้ำถึงข้อปฏิบัติและจารีตประเพณีที่วางไว้โดยเคร่งครัด

ผีมด เป็นผีบรรพชนสายตระกูลของชาวบ้าน และสามัญชนทั่วไป มีการสร้างผามเปียง หรือปะรำกันแดดที่แบนราบสำหร้บฟ้อน แต่เดิมมีเพียงตั้งฟ้อน หรือมีจำนวนตามจารีตของแต่ละตระกูล ปัจจุบันนิยมตั้งขันไหว้บรรพบุรุษจำนวน 12 ขัน พร้อมทั้งขันเจนบ้านเจนเมืองอีก 1 ขัน
เครื่องเซ่นและขั้นตอนการฟ้อน บ่งบอกถึงวิถีชีวิตและการทำมาหากินของชาวบ้านในอดีตได้เป็นอย่างดี เช่น การไปปลูกฝ้าย ยิงเสือ ทอดแห และคล้องช้างคล้องม้า เป็นต้น
การแต่งกายของผีมดที่มาลงทรง จะนุ่งผ้าโสร่งลายตารางเคียนหัวหรือโพกศีรษะด้วยผ้าสีพื้น ซึ่งนิยมใช้ผ้าสีแดง มีผ้าคล้องคอ และผ้าคาดเอวด้วย ใช้ดอกไม้สดทัดหู หรือเหน็บผ้าโพกศีรษะ





ผีเม็ง
เป็นผีบรรพชนของนักรบหรือชนชั้นปกครอง มีการสร้าง "ผามจ๋อง" มีหลังคาทรงคล้ายปราสาท มุงด้วยตับหญ้าคา มีการปักร่มหรือสัปทนที่ประตูทางเข้า มีการปักต้นหว้า หรือ "เก๊าห้า" ไว้หน้าผามหรือปะรำ

ขันไหว้บรรพบุรุษมีจำนวน 9 ขัน เครื่องเซ่นและขั้นตอนการฟ้อนค่อนข้างพิถีพิถันและซับซ้อน บ่งบอกิจกรรมและพิธีกรรมของสังคมนักรบสังคมนักปกครอง เช่น การฟ้อนดาบ การออกศึกสงคราม และการละเล่นของเจ้านาย

นอกจากนี้การฟ้อนผีเม็ง จะต้องมีผ้าแขวนจากขื่อของปะรำ สำหรับเวลาผีลงฟ้อน และลาออกจากการฟ้อน ผีเม็งไม่มีการข่าวผี การแต่งกายของผีเม็งที่มาลงทรง จะุนุ่งผ้าลายตารางผืนยาวพันรอบตัว รวบชายด้านหนึ่งขึ้นคล้องคอ เรียกการนุ่งแบบนี้ว่า "ป้าดเกิ่งตุ๊มเกิ่ง" มีผ้าโพกศีรษะ เหน็บด้วย "ใบเกี๋ยงผ้าเม็ง" หรือใบของต้นกระดูกไก่ดำ





ผีเจ้านาย
เป็นผีบรรพบุรุษชนชั้นปกครอง ซึ่งไม่อยู่ในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง แต่เคยมีตำแหน่งในฐานะกษัตริย์ เจ้าผู้ครองนคร วีระบุรุษ หรือ พ่อบ้าน กำนัน
ผีเจ้านายได้แ่ก่ ผีอารักษ์ ผีเสื้อบ้าน ผีเสื้อเมือง เจนบ้าน เจนเมือง

การเลี้ยงผีเจ้านาย มักจัดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมก่อนวันเข้าพรรษา และช่วงหลังพรรษา ฤดูการเก็บเกี่ยว พิธีเลี้ยงผีเจ้านาย มักมีขันไหว้จำนวน 12 ขัน และจำเป็นต้องมีขันไหว้เจนบ้านเจนเมืองอีก 1 ขัน
การสร้างปะรำสำหรับฟ้อนผีเจ้านายเป็น "ผามเปียง" เหมือนกับการฟ้อนผีมด

พิธีกรรมในการฟ้อนผีเจ้านายที่แตกต่างจากการฟ้อนผีมด และผีเม็ง คือ ไม่มีการละเล่นใดๆ อย่างชัดเจน จะมีเพียงแต่พิธีส่องข้าวและฟ้อนดาบ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของนักรบ และชนชั้นปกครอง








เครื่องแต่งกายสำหรับการฟ้อนผีมด ผีเม็ง แต่โบราณใช้ผ้าไหมต๋าตารางสีสดใส ใช้ทั้งนุ่งและห่มคล้อง รวมถึงผ้าโพกด้วย ดอกไม้ที่นิยมใช้ทัดหูและเซ่นไหว้ คือ ดอกเอื้องผึ้ง ซึ้งจะบานในหน้าแล้งตามฤดูกาล

การแต่งกายของผีเจ้านายคล้ายคลึงกับของผีมด ผีเม็ง แบ่งออกเป็น 3ลักษณะ ได้แก่ 1 สวมเสื้อมีแขน ผ่าอก ติดกระดุม มีผ้าคล้องคอ หรือผ้าพาดบ่า ผ้าโพกศีรษะ ผ้านุ่ง(โสร่ง) ลายต๋าและผ้าคาดเอว
2.สวมเสื้อมีแขน ผ่าอกติดกระดุม มีผ้าคล้องคอ หรือ ผ้าพาดบ่า ผ้าโพกศีรษะ ผ้านุ่งโจงกระเบน สีพื้น
3.สวมเสื้อมีแขน ผ่าอกติดกระดุม มีผ้าคล้องคอ หรือ ผ้าพาดบ่า ผ้าโพาศีรษะ ผ้านุ่งโจงกระเบนสีพื้น

สีของเสื้อเครื่องแต่งกายสำหรับการฟ้อนผีเจ้านาย จะขึ้นอยู่กับความชอบของผีเจ้านายที่มาลงทรงเอง แต่ส่วนใหญ่แล้วนิยมสีสดใส เช่น สีแดง สีขาว สีน้ำเงิน สีเขียว สีเหลือง เป็นต้น ในบางครั้งสีของเสื้อผ้า ก็บอกได้ถึงยศ และตำแหน่งของผีเจ้านายที่มาลงทรง อาทิเช่น สีแดง หมายถึง นักรบและชนชั้นปกครอง สีขาว หมายถึง ผู้ถือศีลและผู้อาวุโส สีเหลือง สีน้ำเงิน สีเขียว หมายถึงผู้เยาว์




ดนตรีประกอบการฟ้อนผีมด ผีเม็ง และผีเจ้านาย เป็นดนตรีปี่พาทย์พื้นเมือง เล่นเพลงที่มีทำนองเร้าใจ เช่น เพลงมอญ เพลงผีมดกินน้ำมะพร้าว มีการใช้ฆ้องวง ระนาด ตะโพนมอญ (กลองถึ่งทึง) ฉาบ ฉิ่ง ไม้เหิบ และ ปี่แน เป็นเครื่องดนตรีสำคัญ นักดนตรีจะเล่นเพลงสอดคล้องกับขั้นตอนของพิธีกรรม และอารมณ์ของผีที่ลงฟ้อน เช่น การเชิญเข้าทรง หรือ ออกทรง บางครั้งผีที่ลงทรงอาจจ๊อยซอในช่วงดนตรีหยุดพัก
ปัจจุบันมีเครื่องดนตรีสมัยใหม่ มาใช้ปนกับเครื่องดนตรีพื้นเมืองในการฟ้อนผี ตลอดจนนำเอาทำนองเพลงลูกทุ่ง เพลงรำวง หรือ เพลงสำเนียงต่างประเทศมาใช้ ประกอบการฟ้อนตามสมัยนิยม





พีธีฟ้อนมีระยะเวลา 3 วัน ประกอบด้วย “วันดา” หรือ “วันข่าว” สำหรับการเตรียมงาน และการซักซ้อมพิธีกรรม “วันฟ้อน” สำหรับพิธีการฟ้อนจริงโดยใช้เวลาตลอดวัน และสุดท้ายคือ “วันล้างผาม” ซึ่งเป็นการเลี้ยงส่งและปิดงาน
ผู้ร่วมงานพิธีฟ้อนผีมด ผีเม็ง ส่วนใหญ่เป็นญาติทางสายแม่ มีบ้างที่ที่มาจากตระกูลสายพ่อ หรือ ตระกูลอื่นๆ แต่ก็เป็นส่วนน้อย
ในวันดา ญาติพี่น้องจะมาช่วยกันเตรียมงานบ้านเจ้าภาพ หรือ เก๊าผี มีการสร้างผาม หรือ ปะรำฟ้อน จัดเตรียมข้าวปลาอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องเช่นไหว้ต่างๆ มากมาย
สตรีอาวุโส หรือ เก๊าผี มีหน้าที่เชิญผีบรรพบุรุษ ให้เตรียมตัวลงมาเข้าทรง และรับเครื่องเซ่นสังเวย ในภาคบ่ายมีการฟ้อนโดยญาติสนิทเรียกว่าข่าวผี
ในวันฟ้อนจริง ผู้หญิงอาวุโสจะเป็นผู้เริ่มเชิญผีบรรพบุรุษมาลงทรง ตามด้วยผู้หญิงที่นับถือผีสายเดียวกัน แต่เดิมผู้ชายจะไม่ลงทรง แต่ทำหน้าที่ฝ่ายบริการ เช่น เตรียมอาหาร เหล้า ดนตรี ตลอดจนสนองต่อความประสงค์ของผีที่ลงทรง มีการให้ผีบรรพบุรุษปัดเป่าลูกหลานให้พ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ ทำนายทายทัก และสอบถามสารทุกข์สุกดิบ ตลอดจนชี้แนะการแก้ปัญหาต่างๆ ในวงศ์ตระกูล


























































































ปิดท้ายไว้กับภาพนี้

ขอขอบคุณทุกๆ ท่านที่เป็นแบบถ่ายภาพใน Set นี้

ขอขอบคุณผู้จัด ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และทุกๆ หน่วยงานที่ร่วมกันจัดงานนี้ด้วยครับ


ขอบคุณทุกๆ ท่านที่แวะมาชมภาพถ่าย set นี้ด้วยครับ


*** คุยกันท้าย Blog
ภาพถ่าย Set นี้ใช้เลนส์ 2 ตัว ด้วยกันคือ
Sigma 70-200 mm. - Canon 15-85 mm.



*****
Blog ของเดือนนี้ที่ผ่านมา
1 มิย. สี่คนสุดท้าย ช่างปั้นน้ำต้น (คนโทโบราณล้านนา)
2 มิย. ISUZU X-Series Girl on Street [29 May 2010 : Chiang Mai]
3 มิย. ชวนชิม ข้าวยำสมุนไพร เบญจวรรณ ที่ 1 จากปัตตานี [งานของดีชายแดนใต้ : เชียงใหม่]
4 มิย. ชาชักไฟ [ชาชักเยอร์ - งานของดีชายแดนใต้ : เชียงใหม่]
5 มิย. ก๋วยเตี๋ยวหลอดทรงเครื่อง-เปาะเปี๊ยะสดปูทะเล [แยกฟ้าธานี-เชียงใหม่]
6 มิย. พริตตี้สาวสวย ISUZU D-Max X-Series [เชียงใหม่]
7 มิย. วันสิ่งแวดล้อมโลก [เชียงใหม่] - 5 มิถุนายน 2553
8 มิย. Fashion Show ชุด Wrangler In Instinct, We Trust [เชียงใหม่ 5 มิ.ย. 53]
9 มิย. 3 สาว ISUZU X-Series Girl on Street [29 May 2010 : Chiang Mai]
10 มิย. เจอะเจอเธอทุกวัน [group blog ตกแต่งภาพด้วยโปรแกรม]
11 มิย. หุ่นช่างฟ้อน "โจ-หน่า" กับ รางวัล ''Award for the most tender and poetic interpretation'' 2010
12 มิย. สีสันของ "ลูกชุบ"
13 มิย. บัวสามสี (สามสไตล์)
14 มิย. Fashion Show "วิวาห์ (ไม่)ว้าวุ่น" [Wedding Fair 2010, 28 May : Amari Rincome Hotel]
15 มิย. รถดับเพลิงคันแรกของเทศบาลนครเชียงใหม่ 2469
16 มิย. ISUZU X-Series Girl on Street [แคท No.7]
17 มิย. ชวนไปชิม "ปาท่องโก๋(ไดโนเสาร์)-น้ำเต้าหู้ โกเหน่ง"
18 มิย. แฟชั่นโชว์ "GQ ON TIME COLLECTION" [โรบินสัน - เชียงใหม่]
19 มิย. งานประเพณีฟ้อนบวงสรวงบรรพกษัตริย์อารักษ์หลวงนครเชียงใหม่
20 มิย. ลองถ่ายภาพกับไฟสตูดิโอ [ครั้งแรก]
21 มิย. เมื่อนางแบบสาวสวยอยากเป็นช่างภาพ
22 มิย. ชวนไปชิม "ซาลาเปาหน้าหล่อ - ซาลาเปาทอด [หาดใหญ่]"
23 มิย. ชวนไปชิม : ก๋วยจั๊บช้างม่อยตัดใหม่ ร้านเก่าั้แก่ัดั้งเดิม [เชียงใหม่]
Create Date :24 มิถุนายน 2553 Last Update :24 มิถุนายน 2553 6:47:14 น. Counter : Pageviews. Comments :11