bloggang.com mainmenu search
21 สิงหาคม 2553 : การแสดงฟ้อนรำภาคอีสาน จากโครงการ “๗๘ พรรษา เฉลิมขวัญ พระแม่ฟ้า เทิดไท้องค์ราชินี” โดยกิจกรรมนี้ไ้ด้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 — 15 สิงหาคม 2553 ณ ลานอควาเรี่ยมชั้น G ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต

ภาพถ่ายชุดนี้ถ่ายภาพจากงานที่จัดเป็นวันที่่ 2
blog ก่อนหน้านี้ที่มีแฟชั่นโชว์ และมีการแสดงฟ้อนรำของทางภาคใต้เป็นวันที่ 3 ของงาน


งานวันที่ 2 นี้เป็นวันที่ติดกล้องคอมแพคไปถ่ายภาพตลอดช่วงเช้า พอใกล้ๆ เที่ยงก็เลยแวะมาภายในห้างสรรพสินค้า แล้วพอพบว่ามีกิจกรรมที่น่าถ่ายภาพหลายๆ กิจกรรม

ได้แต่แอบมองกล้องคอมแพคที่ถืออยู่ และแอบคิดว่า เจ้าคอมแพคจะเก็บภาพมาให้ชมกันได้สวยเหมือนกล้องใหญ่ที่แบกไปมาในการถ่ายภาพได้หรือเปล่า

ยินลังเลอยู่พักหนึ่ง แต่พอสิ้นเสียงพิธีกรประกาศว่าจะมีการแสดงรำฟ้อนให้ชมกัน และวันนี้เป็นการแสดงของทางภาคอีสาน

พอได้ยินแค่นี้ ไม่คิดอะไรแล้ว รีบหยิบกล้องมาปรับรอไว้เลย และเลือกตัดสินใจอยู่นานทีเดียว
ว่าจะปรับตั้งค่าการถ่ายภาพในที่แสงน้อยๆ ด้วยกล้องคอมแพคที่ถืออยู่นี้อย่างไรดี

จริงอยู่กล้องคอมแพคตัวนี้ ปรับ mode การถ่ายภาพได้เหมือนกล้องตัวใหญ่
แต่เจ้า noise มันไม่ได้เหมือนกล้องตัวใหญ่
ปรับ iso ไปไม่ได้มากเหมือนกล้องตัวใหญ่ noise ก็จะกระจายแล้ว

งานนี้เลยเลือกปรับ ISO ไว้แค่ 100-200
แล้วก็ลด speed shutter จากที่ทุกทีปรับใช้อยู่ 1/200 มาเหลือที่ 1-100
ส่วนค่า F งานนี้ปล่อยตามยถากรรม เพราะเลือกปรับมาที่ F 2.8 ไม่ได้เหมือนกล้องใหญ่
F ที่ใช้ในการถ่ายภาพครั้งนี้ประมาณ 5.6

มาลองชมกันดูครับ กับกล้องคอมแพค ในการถ่ายภาพการแสดงฟ้อนรำ
ภาพคงอาจจะขาดความคมชัดไป และคงไ่ม่เหมือนทุกครั้งที่เคยชมกันครับ

ฟ้อนภูไท

จำการแสดงชุดนี้ได้ติดตา ครั้งที่วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์นำมาแสดงชุดใหญ่ให้ชมในการแสดงศิลปวัฒนธรรม 4 ภาค
ฟ้อนภูไทมีการสวมเล็บ คล้ายฟ้อนเล็บทางภาคเหนือ ปลายเล็บที่ยาวๆ นี้จะมีพู่ไหมพรมสีแดง เวลาฟ้อนรำดูแล้วมีความสวยงาม และชวนให้ติดตามทั้งนักแสดง และตามชมเล็บยาวๆ นี้อยู่ด้วยเสมอๆ



ลีลาการเซิ้ง และท่วงทำนองของฟ้อนภูไท จะแตกต่างจากทางเหนือ
การฟ้อนภูไทมีท่วงทำนองที่เร็วกว่า และท่าเซิ้งท่ารำที่เร็วกว่าการฟ้อนเล็บทางภาคเหนือ ที่ดูแล้วเนิบนาบกว่า ทำนองเพลงช้ากว่า













การถ่ายภาพชุดนี้ พยายามเลือกถ่ายภาพในจังหวะหยุดการเซิ้ง การฟ้อนรำ ในแต่ละท่าเป็นหลัก
เพราะรู้ดีว่ายังไงก็คงจะหยุดการเคลื่อนไหวของการแสดงไม่ได้
แต่พอถ่ายภาพไป ชมการแสดงไปก็สนุกตามจังหวะการแสดงไปด้วย
คราวนี้ก็ไม่สนใจแล้ว ว่าต้องรอให้หยุดจังหวะการเซิ้ง มีภาพนี้ที่ติดเบลอมา























ชุดการแสดงฟ้อนรำ ภาคอีสาน ชุด "เชิ้งกะลา"

เซิ้งกะลา มีชื่อการแสดงทางภาคอีสานที่เรียกกันในชื่อการแสดง เซิ้งกะโป๋ เป็นการละเล่นที่เน้นความสนุกสนานเป็นหลักโดยใช้กะโป๋ หรือ กะลามะพร้าว เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการแสดง
มีการเคาะกะลาเข้ากับจังหวะในการแสดงของแต่ละนักแสดง
และยังมีการเคาะจังหวะให้เข้ากันในแต่ละคู่การแสดง
หรือบางครั้งที่มีการแสดงใชันักแสดงเยอะๆ ก็จะเคาะจังหวะไปพร้อมๆ กันทุกๆ คน และเคาะกะลาต่อๆ กันไปกับทุกๆ นักแสดง
ลีลาการเซิ้งก็จะสนุกสนานกันตอนเคาะจังหวะด้วยกะลานี่ล่ะครับ



เซิ้งกะลา เป็นการแสดงที่ได้ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของอีสาน มาร่วมเป็นอุปกรณ์การแสดงที่สนุกสนาน และเป็นการแสดงของท้องถิ่นที่เล่นที่แสดงกันมาอย่างต่อเนื่อง












ชุดนี้ถ่ายภาพเบลอเยอะกว่าชุดแรกไปเยอะเอาเรื่องทีเดียว




















การใช้กล้องคอมแพคถ่ายภาพการแสดงแบบนี้ ก็พอจะมาเล่าให้ฟังว่า
ถ่ายภาพและให้ได้จังหวะการถ่ายภาพท่ารำท่าเซิ้งได้ยากๆ อยู่สักหน่อย ทั้งนี้ก็เพราะว่า กล้องประมวลผลช้ากว่า และกว่าจะ save ภาพในแต่ละ shot ที่กดถ่ายภาพมา จังหวะต่อๆ ไปก็ต้องรอกันพอสมควรทีเดียว







จบไว้กับภาพนี้ล่ะครับ
ด้วยความตั้งใจที่อยากจะนำเสนอชุดการแสดงฟ้อนรำมาให้ชมกันด้วย ถึงจะถ่ายภาพจากกล้องคอมแพค และภาพอาจไม่คมชัดมาก ก็ยังอยากนำเสนอให้ชมกันครับ


และขอบคุณนักแสดงฟ้อนรำทุกๆ คน ด้วยครับ

ขอบคุณผู้จัดงาน องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ และศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต ที่ร่วมกันจัดงานเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 78 พรรษา วันแม่แห่งชาติ ปี 2553 นี้ด้วยครับ
Create Date :21 สิงหาคม 2553 Last Update :21 สิงหาคม 2553 8:29:04 น. Counter : Pageviews. Comments :19