Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง
<<
ตุลาคม 2560
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
5 ตุลาคม 2560

นายกสมาคมรพ.เอกชน แจง รพ.เอกชน ทยอยออกจากประกันสังคม-บัตรทอง เหตุเงินน้อย ต่ำกว่าต้นทุน ...



"ที่จริงงานของประชาชน ของภาครัฐนั้นรพ.เอกชนยินดีให้ความร่วมมืออยู่แล้ว แต่ไม่ใช่ให้ควักเงินในกระเป๋าไปบริจาค อย่างน้อยก็ให้ได้เท่าต้นทุน "
ซึ่งต้นทุนหลักๆ กว่าร้อยละ 60 คือค่าแรงของแพทย์ พยาบาล เป็นต้น แล้วยังมีค่ายา ค่าเครื่องมือแพทย์ด้วย  ยกตัวอย่างโครงการเจ็บป่วยฉุกเฉินรักษาทุกที่ดีทุกสิทธิ (Universal Coverage for Emergency Patients : UCEP) จ่ายร้อยละ 23-35 ของค่ารักษาที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งต่ำกว่าต้นทุนชัดเจน "

นายกสมาคมรพ.เอกชน แจง รพ.เอกชน ทยอยออกจากประกันสังคม-บัตรทอง เหตุเงินน้อย ต่ำกว่าต้นทุน
https://www.dailynews.co.th/politics/599519
พุธที่ 20 กันยายน 2560 เวลา 15.50 น.

จากกรณีที่ที่ผ่านมามีรพ.เอกชนหลายแห่งทยอยออกจากระบบประกันสังคม ซึ่งนพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานกองทุนประกันสังคม (สปส.) ได้มีการชี้แจงว่าในแต่ละปีมีรพ.ทยอยเข้า-ออก จากการเป็นสถานบริการสำหรับผู้ประกันตนมาตลอด เป็นเรื่องปกติ และจำนวนรพ.ก็ปกติ ไม่กระทบกับผู้ประกันตน ส่วนกรณีการรักษาผู้ป่วยระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในการดูแลของรพ.รัฐ ทั่วประเทศอยู่แล้ว แต่จะมีผู้ป่วยบางส่วนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่อยู่ในการดูแลของรพ.เอกชน และเมื่อประมาณเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา รพ.มเหสักข์ ก็ได้ออกจากระบบการเป็นสถานพยาบาลดูแลผู้ป่วยบัตรทอง ขณะที่ รพ.แพทย์ปัญญา ,รพ.บางนา 1 ,รพ.กล้วยน้ำไท และรพ.วิภารามปากเกร็ด ไม่ขอเป็นหน่วยบริการรับส่งต่อผู้ป่วยบัตรทอง ซึ่งผู้บริหาร สปสช.ก็ได้ออกมาชี้แจงว่ารพ.มเหสักข์มีการปรับปรุงรพ.ใหม่ ส่วนรพ.อื่นยอมรับว่าสาเหตุหนึ่งมาจากปัญหาเงินน้อย

ล่าสุดเมื่อวันที่ 20 ก.ย. นพ.พงษ์พัฒน์ ปธานวนิช นายกสมาคม รพ.เอกชน กล่าวถึงความร่วมมือของรพ.เอกชนในการดูแลผู้ป่วยในระบบประกันสังคม และระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ว่า ที่ผ่านมาทางรพ.เอกชนให้ความร่วมมือในการดูแลผู้ป่วยของ 2 ระบบนี้มาตลอด แต่ระบบที่ไม่ดูแลเขาอย่างเสมอภาค  ให้เงินน้อยต่ำกว่าต้นทุนก็อยู่ได้ไม่นาน บังคับให้มีมาตรฐานสูงกว่ารพ.รัฐก็อยู่ได้ไม่นาน เมื่อไหร่ที่ทำให้ผิดธรรมชาติก็อยู่ไม่ได้ อย่างผู้ป่วยไปรพ.ภาครัฐนอกเวลานั้นสามารถเก็บเงินเพิ่มได้ แต่ไม่ให้เอกชนเก็บแบบนี้ก็เป็นไปได้อย่างไร ที่ผ่านมา ให้ต่ำกว่าต้นทุน ซึ่งบางอย่างรพ.ก็ยังทนอยู่เพราะเป็นอาชีพของเขา อาจจะไปแก้ปัญหาโดยการลดต้นทุนบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องตรงไปตรงมา แต่เมื่อไหร่ที่กระทบต้นทุนมากๆ ก็อยู่ไม่ได้ เพราะไม่สามารถเอารายได้จากคนไข้เงินสดมาจ่ายให้กับคนไข้กองทุนได้

นพ.พงษ์พัฒน์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ที่ผ่านมามีการสะท้อนปัญหาให้กับผู้บริหารกองทุนบ่อยเหมือนกัน อย่างไรก็ตาม วันนี้ (20 ก.ย.) จะมีการหารือกันของคณะกรรมาธิการสาธารณสุข (กมธ.) ซึ่งจะมีวาระเรื่องนี้เหมือนกัน ที่จริงงานของประชาชน ของภาครัฐนั้นรพ.เอกชนยินดีให้ความร่วมมืออยู่แล้ว แต่ไม่ใช่ให้ควักเงินในกระเป๋าไปบริจาค อย่างน้อยก็ให้ได้เท่าต้นทุน ซึ่งต้นทุนหลักๆ กว่าร้อยละ 60 คือค่าแรงของแพทย์ พยาบาล เป็นต้น แล้วยังมีค่ายา ค่าเครื่องมือแพทย์ด้วยยกตัวอย่างโครงการเจ็บป่วยฉุกเฉินรักษาทุกที่ดีทุกสิทธิ (Universal Coverage for Emergency Patients : UCEP) จ่ายร้อยละ 23-35 ของค่ารักษาที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งต่ำกว่าต้นทุนชัดเจน

เมื่อถามว่าขณะนี้ มีสัญญาณว่ารพ.เอกชนจะออกจากประกันสังคมมากน้อยแค่ไหน นพ.พงษ์พัฒน์ กล่าวว่า หากไม่มีการแก้อะไรก็น่าห่วง อย่างตอนนี้ประกันสังคมมีการแก้ไขปัญหาด้วยการเพิ่มเงิน แต่ก็ไปหักค่าการรักษาคุณภาพรพ.ออก 40-80 บาท ต่อ 1 ประชากรผู้ประกันตน แสดงว่าต่อไปการรักษาของรพ.เอกชนไม่ต้องมีคุณภาพก็ได้ ความหมายคืออย่างนั้นหรือไม่ ถ้ารพ.ไหนมีผู้ประกันตน 1 แสนคน ก็ถูกหักออกไป 4-8 ล้านบาท ส่วนรพ.ต้นทุนหายไป ต้องทำอย่างไร ก็ต้องลดคุณภาพหรือไม่ ตรงไปตรงมา คือตอนนี้รพ.ก็ต้องปรับตัว.

................................

รพ.เอกชน โวย"ขาดทุน" จากนโยบายรัฐ "รักษาฉุกเฉิน" : นันท์ชนก วงษ์สมุทร์ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=28-06-2017&group=15&gblog=79

โรงพยาบาลเอกชน"แพง" .. ข้อมูลที่ยังไม่รู้ หรือว่า แกล้งไม่รู้ ? ( ฟังความอีกข้าง ^_^ ) https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=08-06-2015&group=7&gblog=190

infographic 9ข้อควรรู้เรื่องเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติมีสิทธิทุกที่ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=06-06-2017&group=7&gblog=216

เจ็บป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียวนโยบายดี แต่การปฏิบัติล้มเหลว ? ... https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=14-10-2014&group=7&gblog=185

เจ็บป่วยฉุกเฉินเมื่อนโยบายยังไม่ชัด ต้องคิดก่อนเข้า : นพ.ธีระ วรธนารัตน์ https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=21-02-2017&group=7&gblog=212







Create Date : 05 ตุลาคม 2560
Last Update : 5 ตุลาคม 2560 14:09:11 น. 1 comments
Counter : 917 Pageviews.  

 
สวัสดีจ้ะ เราแวะมาทักทายนะ sinota ซิโนต้า Ulthera สลายไขมัน SculpSure เซลลูไลท์ ฝ้า กระ Derma Light เลเซอร์กำจัดขน กำจัดขนถาวร รูขุมขนกว้าง ทองคำ ไฮยาลูโรนิค Hyaluronic คีเลชั่น Chelation Hifu Pore Hair Removal Laser freckle dark spot cellulite SculpSure Ultherapy กำจัดไขมัน ร้อยไหม adenaa ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ สักคิ้วถาวร สักคิ้ว 6 มิติ ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: สมาชิกหมายเลข 4286561 วันที่: 22 ธันวาคม 2560 เวลา:16:29:40 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]