:::ประวัติฟ้อนล่องน่าน:::




ฟ้อนล่องน่าน

ฟ้อนล่องน่านเริ่มเข้ามาแพร่หลายในเมืองน่านมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งฟ้อนเล็บของทางเชียงใหม่ และการรำตามแบบนาฏศิลป์ไทย ฟ้อนล่องน่านเริ่มมีความอ่อนช้อยมากขึ้น มีการก้าวเท้า , เดินแปรแถวไปทางซ้าย – ขวา , ฟ้อนหมุนตัวเป็นรูปครึ่งวงกลมตามอย่างฟ้อนเล็บ ท่าฟ้อนของแต่ละชุมชนก็อาจแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยอย่างไรก็ตามดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงยังคงเป็นวงกลองล่องน่านและคงแบบฉบับการแต่งกายในชุดฟ้อนล่องน่านมาโดยตลอด ถึงแม้ว่าจะได้รับอิทธิพลท่าฟ้อนมาจากภายนอก ช่างฟ้อนเมืองน่านก็สามารถผสมผสานได้อย่างลงตัวและเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง

การแต่งกายของช่างฟ้อนเมืองน่าน จะสวมเสื้อแขนสามส่วน หรือเสื้อแขนกระบอก นิยมตัดเย็บด้วยผ้าสีพื้น เช่น สีเหลือง สีแดง สีน้ำเงิน สีชมพู นุ่งซิ่นม่าน ห่มสไบเฉียง เกล้าผมมวยไว้ที่ท้ายทอย ประดับช่อดอกเอื้องผึ้ง หรือดอกไม้สดตามฤดูกาล

การฟ้อนล่องน่าน ใช้เป็นสิ่งสักการบูชาองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และฟ้อนในงานบุญต่าง ๆ เช่นงานปอยหลวง การแห่ครัวทาน การแสดงวัฒนธรรม งานเทศกาลพื้นบ้าน และงานพิธีต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองเป็นต้น

ฟ้อนล่องน่าน เป็นคำที่ใช้เรียกชื่อฟ้อนพื้นเมืองในจังหวัดน่าน ซึ่งถ้าพิจารณาตามรูปแบบแล้ว สามารถแบ่งฟ้อนล่องน่าน ออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. การฟ้อนที่ล่องไปตามแม่น้ำน่าน
การฟ้อนประเภทนี้ถือเอาที่ผู้ฟ้อน ฟ้อน ขณะล่องเรือตามลำน้ำน่าน หรือ ล่องน่าน เป็นสำคัญ แต่เดิมผู้ฟ้อนจะเป็นเฉพาะผู้ชายเท่านั้นเพราะสมัยก่อนไม่อนุญาตให้ผู้หญิงขึ้นบนเรือเป็นอันขาด และมักจะฟ้อนประกอบกับวงกลองล่องน่าน ( วงกลองมงสืดสึ้ง ) ซึ่งมีจังหวะช้า เยือกเย็น ทำให้ผู้ฟ้อนสามารถอวดลีลาการฟ้อนได้อย่างเต็มที่ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ ฟ้อนลายงาม ” (บางครั้งฟ้อนเข้ากับเครื่องดนตรีไม่กี่ชิ้น เช่น ฉิ่ง ฉาบ กลองใบเล็ก ๆ หรือเข้ากับการขับร้อง ก็เรียกว่าฟ้อนล่องน่านได้เช่นกัน)
ต่อมาผู้หญิงได้รับอนุญาตให้ฟ้อนบนเรือแข่งได้ และเรียกว่า “ฟ้อนล่องน่าน” ตามอาการที่ฟ้อนล่องตามลำน้ำน่านเช่นกัน

2. การฟ้อนที่ประกอบกับวงกลองล่องน่าน
การฟ้อนประเภทนี้ถือเอาวงกลองเป็นสำคัญ การฟ้อนใดที่ฟ้อนเข้ากับจังหวะของกลองล่องน่าน ก็จะเรียกว่าฟ้อนล่องน่านทั้งหมด ผู้ฟ้อนจะเป็นชายหรือหญิงก็ได้ แต่โดยทั่วไปคนมักจะนึกถึงการฟ้อนของสตรีมากกว่า
เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงการฟ้อนล่องน่าน คือ วงกลองล่องน่าน (วงกลองมงสืดสึ้ง) ซึ่งประกอบด้วย กลอง ฆ้อง ฉาบ ปาน และ ปี่แน

การฟ้อนล่องน่านถ้าฟ้อนในขบวนแห่ที่ต้องมีการเคลื่อนที่จะมีการก้าวเท้าเพื่อเคลื่อนขบวนฟ้อน จะมีลักษณะเดินสลับซ้ายขวา ( เดินเคลื่อนไปทางซ้าย 4 จังหวะ หรือขวา 4 จังหวะ ) ค่อย ๆ เคลื่อนขบวนฟ้อนไปข้างหน้า ซึ่งมีลักษณะการก้าวเท้าดังนี้

ท่าเตรียมตัว
ลักษณะ ยืนตัวตรง เท้าชิด

จังหวะที่ 1
ลักษณะ ก้าวเท้าแยกออกทางด้านข้าง ลำตัวเอียงด้านตรงกันข้ามกับเท้า

จังหวะที่ 2
ก้าวเท้าไขว้ ข้ามเท้าเดิม ลำตัวเอียงด้านตรงกันข้ามกับเท้า

จังหวะที่ 3
ลักษณะ ก้าวเท้าแยกออกทางด้านข้าง ลำตัวเอียงด้านตรงกันข้ามกับเท้า

จังหวะที่ 4
ลักษณะยืนชิดเท้า ลำตัวตรง

  • :::รำแม่บท:::

  • :::รำอวยพร:::

  • :::รำกริชสุหรานากง:::

  • :::ฟ้อนแพน:::

  • :::ฉุยฉายยอพระกลิ่น:::

  • :::รำฉุยฉายวันทอง:::

  • :::รำฉุยฉายเบญกาย:::

  • :::รำฉุยฉายฮเนา:::

  • :::ฉุยฉายมังตรา:::

  • :::รำฉุยฉายพราหมณ์:::

  • :::ฟ้อนลาวดวงเดือน:::

  • :::ฟ้อนม่านมงคล:::

  • :::ระบำชุมนุมเผ่าไทย:::

  • :::รำเชิญพระขวัญ:::

  • :::ระบำทวาราวดี:::

  • :::ระบำกฤษดาภินิหาร:::

  • :::ระบำดาวดึงส์:::

  • :::ระบำตารีกีปัส:::

  • :::รำฟ้อนเทียน:::

  • :::ระบำรองเง็ง:::

  • :::รำชวา:::

  • :::รำตังหวาย:::

  • :::ระบำเก็บใบชา:::

  • :::ฟ้อนเล็บ:::

  • :::ระบำดอกบัว:::

  • :::ระบำเทพบันเทิง:::

  • :::รำศรีวิขัย:::

  • :::ฟ้อนภูไท:::

  • :::ฟ้อนสาวไหม:::

  • :::ฟ้อนเงี้ยว:::

  • :::รำลาวกระทบไม้:::

  • :::ระบำสุโขทัย:::






  • Create Date : 27 พฤศจิกายน 2554
    Last Update : 27 พฤศจิกายน 2554 8:17:20 น.
    Counter : 3003 Pageviews.

    0 comments
    : หยดน้ำในมหาสมุทร 31 : กะว่าก๋า
    (9 เม.ย. 2567 05:58:44 น.)
    วัดพุทไธศวรรย์ พระนครศรีอยุธยา สายหมอกและก้อนเมฆ
    (3 เม.ย. 2567 16:30:22 น.)
    sajṇī (सजणी) from Laapataa Ladies (लापता लेडीज) ปรศุราม
    (24 มี.ค. 2567 10:20:27 น.)
    ภ า พ จิ ต ร ก ร ร ม ฝ า ฝ นั ง สมาชิกหมายเลข 7582876
    (23 มี.ค. 2567 11:46:41 น.)

    Peakroong.BlogGang.com

    Peakroong
    Location :
      

    [ดู Profile ทั้งหมด]
     ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]

    บทความทั้งหมด