:::ระบำเทวีศรีสัชนาลัย::: ระบำศรีสัชนาลัย ระบำศรีสัชนาลัยเป็นระบำที่วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัยคิดประดิษฐ์ขึ้น โดยอาศัยจากหลักฐานทางโบราณคดี จากอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อันได้แก่ ภาพจิตรกรรมฝาผนัง เจดีย์ราย วัดเจดีย์เจ็ดแถว ภาพแกะสลักบานประตูไม้ประดับวัดมหาธาตุ เมืองเชลียง ลวดลายปูนปั้นพระโพธิสัตว์ เป็นรูปนางอัปสรแสดงท่าร่ายรำประดับยอดซุ้ม ประตูวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดพระปรางค์) ตุ๊กตาสังคโลกแบบต่าง ๆ ลักษณะท่าร่ายรำของระบำชุดนี้จะโน้มเอียงไปทางศิลปะการร่ายรำแบบเขมรหรือขอม เพราะตามหลักฐานทางโบราณคดีนั้นพบว่า ศิลปะสมัยศรีสัชนาลัยเป็นศิลปะที่นิยมศิลปะแบบเขมร ระบำเทวีศรีสัชนาลัย เป็นระบำที่ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ โดยนำหลักฐานทั้งทางด้านท่ารำ เครื่องแต่งกาย มาจากรูปปั้น รูปแกะสลักเทวดา นางฟ้า และลวดลายต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนโบราณสถาน โบราณวัตถุ ที่ ขุดค้นพบ ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัยเครื่องแต่งกายของระบำชุดนี้ได้รับแบบอย่างจากรูปปั้นขอม ผู้หญิงสมัยสุโขทัยซึ่งตั้งอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง จังหวัดสุโขทัย โดยยอดชฎาทำเป็นรูปทรงเจดีย์วัดช้างล้อม อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัยท่วงทำนองแต่งโดย อาจารย์บัณฑิต ศรีบัว อาจารย์ประจำหมวดวิชาเครื่องสายไทย ภาควิชาดุริยางค์ไทยวิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย ดนตรีที่ใช้ประกอบด้วย กระจับปี่ ซอสามสาย ปี่ใน ตะโพน ฆ้องวงใหญ่ ฉิ่ง ฉาบเล็ก และกรับ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นเครื่องดนตรีสมัยสุโขทัย เครื่องแต่งกายของระบำศรีสัชนาลัย ผู้แสดงจะสวมเสื้อแขนสั้นแนบเนื้อสีชมพู นุ่งผ้านุ่งสีม่วงตัดเย็บให้แหวกได้ตรงกลางโดยสอดซับพลีทสีชมพูอ่อนไว้ด้านใน ตัวผ้านุ่งด้านหน้าจับจีบพับเป็นหลาย ๆ ชั้น โดยใช้สีด้านในผ้านุ่งเป็นสีทอง รัดเอวเพื่อเน้นทรวดทรง ใส่ห้อยหน้าปักลวดลายแบบสุโขทัย สวมกรองคอ พาหุรัด ทองพระกรและต่างหูเป็นเกลียวยาว ศีรษะสวมชฎาหรือเทริด ยอดชฎาทำเป็นรูปเจดีย์ทรงระฆังคว่ำตามแบบเจดีย์วัดช้างล้อมกลางเมืองศรีสัชนาลัย ![]() |
บทความทั้งหมด
|