:::ฉุยฉายมังตรา::: " ฉุยฉาย" ในทางนาฏศิลป์ หมายถึง การร่ายรำเมื่อตัวละครเกิดความภาคภูมิใจ ที่สามารถแปลงกาย หรือแต่งตัวได้อย่างสวยสดงดงาม พระยาอนุ มานราชธนได้กล่าวไว้ในหนังสืออธิบายนาฏศิลป์ไทยว่า "การรำฉุยฉายเป็นการแสดงภาษานาฏศิลป์ที่มีคุณค่าทางนาฏศิลป์อย่างเลิศ นิยมกันว่าตัวละครสามารถแสดงอารมณ์ความภาคภูมิใจออกมาทางท่ารำได้ดีกว่าที่ จะพูดออกมาทางปาก" การรำฉุยฉายมังตราชุดนี้อยู่ในการแสดงละครพันทางเรื่อง ผู้ชนะสิบทิศตอนความลับมังฉงาย-มังตราแตกทัพ ครูธงไชย โพธยารมย์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนาฏศิลป์ไทยกรมศิลปากรเป็นผู้คิดประดิษฐ์ท่ารำ (พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ มีพระนามเดิมว่า มังตรา เป็นราชโอรสในพระเจ้าสิริชัยสุระ หรือ เมงกะยินโย กษัตริย์แห่ง เมืองตองอูเกิดเมื่อ พ.ศ. 2059หรือ ค.ศ. 1516 ต่อมาเมื่อ พระเจ้าเมงกะยินโย (หรือพระเจ้าสิริชัยะสุระ) เสด็จสวรรคตลง มังตรา เยาวกษัตริย์จึงขึ้นครองราชย์เมื่อพ.ศ. 2074 ค.ศ.1531 ซึ่งขณะนั้นพระเจ้าตะเบงชะเวตี้มีพระชนม์มายุเพียง 15 พรรษาเท่านั้น เมื่อพ.ศ. ๒๐๙๑พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ได้ยกกองทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา (คราวสมเด็จพระสุริโยทัยขาดคอช้าง) แต่ตีกรุงศรีอยุธยาไม่ได้ ต้องล่าทัพกลับถอยไป เมื่อกลับไปถึงเมืองหงสาวดี พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ไปเกิดวิกลจริตด้วยติดสุราเมามายร้ายกาจ จนพวกมอญพากันเอาใจออกห่างเป็นขบถขึ้นที่เมืองเมาะตะมะ พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ให้บุเรงนองไปปราบปรามพอบุเรงนองออกจากเมืองหงสาวดีไปยังไม่ทันถึงเมืองเมาะตะมะ พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ก็ถูกจับปลงพระชนม์เมื่อพ.ศ. 2093 ค.ศ.2550 ในพงศาวดารพม่าว่าเมื่อพระเจ้าหงสาวดีตะเบ็งชะเวตี้ไม่สามารถเข้าตีกรุงศรีอยุธยาได้จึงล่าทัพไปจากเมืองไทยพอกิตติศัพท์เลื่องลือว่าแพ้ไทยไป พวกมอญเห็นได้ช่องก็ชวนกันคิดร้าย เพราะพระเจ้าหงสาวดีเป็นพม่าเมืองตองอู มิใช่มอญ เป็นแต่มีอานุภาพปราบเมืองมอญไว้ได้ในอำนาจ แล้วมาตั้งราชธานีอยู่ ณ เมืองหงสาวดี พวกมอญที่เป็นขุนนางคบคิดกันล่อลวงพระเจ้าหงสาวดีให้ออกไปตามช้างเผือกที่ในป่าซึ่งผู้ที่ล่อลวงพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ออกไปคือมหาดเล็ก สอหะธุ แล้วจับปลงพระชนม์เสียพอพระเจ้าหงสาวดีตะเบงชะเวตี้ถูกปลงพระชนม์เจ้าเมืองต่างๆก็พากันตั้งตัวเป็นอิสระ มิได้รวมกันเป็นประเทศใหญ่เหมือนอย่างแต่ก่อนสรุปแล้วพระเจ้าตะเบงชะเวตี้มีพระชนม์มายุเพียง 36 ปีเท่านั้นและครองราชย์นาน 19 ปี) ละคร ละครชาตรี การแต่งกายละครชาตรี ละครโนรา ละครนอก ละครใน ละครพันทาง การแสดงพื้นเมืองของไทย ภาคเหนือ ภาคกลาง เพลงพวงมาล้ย การรำแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ การรำแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน การรำพื้นเมืองภาคใต้ ความหมายของคำว่า ประเภทของระบำ ประเภทของการรำ ประเภทของการฟ้อน การแสดงเบ็ดเตล็ด กำเนิดของโขน การแสดงกระบี่กระบอง การแสดงหนังใหญ่ ประเภทของโขน โขนหน้าจอ ตัวละครในการแสดงโขน ตัวนาง ตัวยักษ์ ตัวลิง เรื่องที่ใช้ในการแสดงโขน บทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงศรีอยุธยา บทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงธนบุรี บทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ดนตรีที่ใช้บรรเลงในการแสดงโขน โขนโรงใน รำวงมาตรฐาน คำร้อง/ทำนอง รำวงมาตรฐาน เครื่องดนตรี /การแต่งกาย รำวงมาตรฐาน |
บทความทั้งหมด
|