|
:::รำฉุยฉายเบญกาย:::
" ฉุยฉาย" ในทางนาฏศิลป์ หมายถึง การร่ายรำเมื่อตัวละครเกิดความภาคภูมิใจ ที่สามารถแปลงกาย หรือแต่งตัวได้อย่างสวยสดงดงาม พระยาอนุ มานราชธนได้กล่าวไว้ในหนังสืออธิบายนาฏศิลป์ไทยว่า "การรำฉุยฉายเป็นการแสดงภาษานาฏศิลป์ที่มีคุณค่าทางนาฏศิลป์อย่างเลิศ นิยมกันว่าตัวละครสามารถแสดงอารมณ์ความภาคภูมิใจออกมาทางท่ารำได้ดีกว่าที่ จะพูดออกมาทางปาก"
รำฉุยฉายเบญกายแปลง เป็นลีลาการร่ายรำของตัวนางเบญกาย บุตรีของพิเภกพญายักษ์ ซึ่งเป็นน้องของทศกัณฐ์ ครั้งหนึ่งทศกัณฐ์วางอุบายที่จะล่อลวงพระรามว่านางสีดาตายเสียแล้ว จึงใช้ให้เบญกายแปลงเป็นสีดา ด้วยเหตุนี้จึงให้กำเนิดชุดนาฏศิลป์ที่งดงาม คือ ฉุยฉายเบญกายแปลงบทร้องประกอบการรำ ปรากฏอยู่ในบทคอนเสิร์ต พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ เป็นครั้งแรกในชุดตับนางลอยกระบวนการลีลาท่ารำสันนิษฐานว่า หม่อมครูท่านต่างๆ ของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ เป็นผู้คิดประดิษฐ์ขึ้น และถ่ายทอดสืบต่อมา ดนตรีประกอบการแสดง ใช้วงปี่พาทย์บรรเลง
ฉุยฉายเอย จ ะเข้าไปเฝ้าเจ้าก็กรีดกราย เยื้องย่างเจ้าช่างแปลงกาย ให้ละเมียดละม้ายสีดานงลักษณ์ ถึงพระรามเห็นทรามวัย จะฉงนพระทัยให้อะเหลื่ออะหลักอรชรเอย อรชรอ้อนแอ้นเอวขาแขนแมน แม้นเหมือนกินรีระทวยนวยนาฏ วิลาสจรลีขึ้นประสาทมณี เฝ้าพระปิตุลาเอย

ละคร ละครชาตรี การแต่งกายละครชาตรี ละครโนรา ละครนอก ละครใน ละครพันทาง การแสดงพื้นเมืองของไทย ภาคเหนือ ภาคกลาง เพลงพวงมาล้ย การรำแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ การรำแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน การรำพื้นเมืองภาคใต้ ความหมายของคำว่า ประเภทของระบำ ประเภทของการรำ ประเภทของการฟ้อน การแสดงเบ็ดเตล็ด กำเนิดของโขน การแสดงกระบี่กระบอง การแสดงหนังใหญ่ ประเภทของโขน โขนหน้าจอ ตัวละครในการแสดงโขน ตัวนาง ตัวยักษ์ ตัวลิง เรื่องที่ใช้ในการแสดงโขน บทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงศรีอยุธยา บทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงธนบุรี บทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ดนตรีที่ใช้บรรเลงในการแสดงโขน โขนโรงใน รำวงมาตรฐาน คำร้อง/ทำนอง รำวงมาตรฐาน เครื่องดนตรี /การแต่งกาย รำวงมาตรฐาน
|
Peakroong.BlogGang.com
Peakroong
 ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [ ?]
|
|