:::ฟ้อนเงี้ยว:::



ฟ้อนเงี้ยว


ประวัติความเป็นมา

ฟ้อนเงี้ยว เป็นการแสดงพื้นเมืองของชาวเขาเผ่าหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “เงี้ยว” มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือของประเทศไทย นางลมุล ยมคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฎศิลป์ วิทยาลัยนาฎศิลป์กรมศิลปากรได้มีโอกาสไปสอนละครที่คุ้มเจ้าหลวง เจ้าแก้วนวรัฐ ผู้ครองนครเชียงใหม่ และได้เห็นการฟ้อนเงี้ยวเรียกตามภาษาพื้นเมืองว่า เงี้ยวปนเมือง ของคุ้มเจ้าหลวง ซึ่งมีนางหลง บุญจูหลงเป็นผู้ฝึกสอน ในความควบคุมของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ในรัชการที่ 5 ต่อมานางลมุล ยมคุปต์ ได้รับราชการเป็นครูสอนนาฎศิลป์ ที่วิทยาลัยนาฎศิลป์ (ในขณะนั้นเรียกว่า “โรงเรียนนาฎดุริยางค์ศาสตร์”) และได้นำลีลาท่ารำฟ้อนเงี้ยวมาปรับปรุงขึ้นใหม่ให้งดงามตามแบบฉบับนาฎศิลป์ไทย บรรจุไว้ในหลักสูตรวิชานาฎศิลป์ เมื่อ พ.ศ. 2478 บทร้องของฟ้อนเงี้ยวมีลักษณะเป็นบทอวยพร คือ อาราธนาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เทพยดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายมาปกป้องคุ้มครองอวยชัยให้พรเป็นสวัสดิมงคลต่อไป


ผู้แสดง

นิยมใช้ผู้หญิงทั้งชุดจำนวน 8 คนหรือมากกว่าหรือน้อยกว่านั้น

ท่ารำของฟ้อนเงี้ยว

ท่ารำของฟ้อนเงี้ยวส่วนหนึ่งเป็นการฟ้อนที่เข้ากับบทร้อง หรือคำร้องที่เรียกว่า "รำตีบท" และยังมีการรำเข้ากับจังหวะ และระหว่างที่ดนตรีบรรเลง มีการแปรรูปขบวนด้วยลีลาที่สนุกสนาน

กระบวนการฟ้อนเงี้ยวแบบราชสำนักเชียงใหม่ได้รับการอนุรักษ์ไว้โดยวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ ส่วนที่เป็นการแสดงจากกรมศิลปากรเป็นฟ้อนที่ได้รับการปรับปรุง โดยคุณครูลมุล ยมะคุปต์ ซึ่งใช้เป็นหลักสูตร อบรมครู พ.ม. มานาม
เครื่องดนตรี ได้แก่ วงปี่พาทย์ ซึ่งเป็นวงปี่พาทย์เครื่องห้า เครื่องคู่ หรือเครื่องใหญ่ สุดแท้แต่โอกาสและความเหมาะสม

การแต่งกาย

ฟ้อนเงี้ยวแสดงในชุดหญิงล้วน หรือชุด ชาย-หญิง ส่วนใหญ่ลักษณะการแต่งกายมีทั้งแบบชาวเขา แบบฟ้อนเงี้ยวที่กรมศิลปากรประดิษฐ์ขึ้น และแบบพื้นเมืองที่น่าสังเกตก็คือ ผู้แสดงจะถือกิ่งไม้ไว้ในมือทั้งสอง เพื่อเป็นการปัดเป่าสิ่งที่ไม่ดีไปเสีย และยังมีการแต่งกายแบบไทใหญ่และแต่งกายแบบพม่า การแต่งการแบบไทใหญ่จะนุ่งกางเกงเป้ากว้าง ขายาวครึ่งแข้งสวมเสื้อคอกลมแขนกระบอกสีน้ำเงิน มีผ้าโพกศีรษะ และมีเครื่องประดับ เช่น กำไลข้อมือ ข้อเท้า และการแต่งกายแบบพม่า นิยมนุ่งโสร่งตาหมากรุกแบบลอยชาย หรือโจงกระเบน เสื้อคอกลมแขนกระบอกหรืออาจเป็นเสื้อปัด มีผ้าโพกศีรษะและเครื่องประดับตามความเหมาะสม

จุดมุ่งหมายของการแสดง

การฟ้อนเงี้ยวเป็นการฟ้อนที่มุ่งเน้นความสนุกสนานและที่สำคัญ คือมีเนื้อร้องที่น่าสนใจด้านภาษา ซึ่งจะมีการศึกษาในเชิงที่มาและความหมายกันต่อไป

โอกาสที่แสดง ใช้ในงานสนุกสนาน รื่นเริง



เนื้อเพลง

"เขี้ยวลายสารโถ่ (ถั่ว) ต้มเน้อ
พี่บ่หย่อน เมียงนาง น้องโลม
ยาลำต้มโตยสู พี่เมา แหล่"

ขออวยชัยพุทธไกช่วยก้ำ
ทรงคุณเลิศล้ำไปทุกทั่วตัวตน
จงได้รับสรรพมิ่งมงคล นาท่านนา
ขอเตวาช่วยรักษาเตอะ

ขอหื้ออยู่สุขา
โดยธรรมานุภาพเจ้า
เตพดาช่วยเฮา ถือเป็นมิ่งมงคล

สังฆานุภาพเจ้า
ช่วยแนะนำผลสรรพมิ่งทั่วไปเทอญ
มงคลเตพดาทุกแห่งหน
ขอบันดานช่วยค้ำจิม

ภาษาภาคกลาง

ขออวยชัยพุทธิไกรช่วยค้ำ
ทรงคุณเลิศล้ำไปทุกตัวตน
จงได้สรรพมิ่งมงคล นาท่านนา
ขอเทวาช่วยรักษาเถิด

ขอให้อยู่สุขา โดยธรรมานุภาพเจ้า
เทพดาช่วยเรา ถือเป็นมิ่งมลคล
สังฆานุภาพเจ้า
ช่วยแนะนำผลสรรพมิ่งทั่วไปเทอญ
มงคลเทพดาทุกแห่งหน ขอบันดลช่วยค้ำจุน





Create Date : 06 กุมภาพันธ์ 2554
Last Update : 17 มีนาคม 2554 23:04:48 น.
Counter : 28661 Pageviews.

0 comments
Aankhon Mein Teri Ajab Si (आँखों में तेरी अजबसी) from Om Shanti Om (ओम शांति ओम) ปรศุราม
(29 มี.ค. 2567 09:47:16 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 14 : กะว่าก๋า
(26 มี.ค. 2567 04:51:34 น.)
sajṇī (सजणी) from Laapataa Ladies (लापता लेडीज) ปรศุราม
(24 มี.ค. 2567 10:20:27 น.)
La dernière valse from Une Revue by Reynaldo Hahn ปรศุราม
(21 มี.ค. 2567 10:13:15 น.)

Peakroong.BlogGang.com

Peakroong
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]

บทความทั้งหมด