:::ระบำรองเง็ง:::


รองเง็งเป็นศิลปะเต้นรำพื้นเมืองของไทยมุสลิมในแถบสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจนเมืองต่างๆของมาเลเซียตอนเหนือ ล้วนเป็นที่นิยมทั่วไปและแพร่ไปถึงอินโดนีเซีย (ประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์. 2548, 248) ซึ่งเป็นการเต้นรำที่มีความสวยงามทั้งลีลาการเคลื่อนไหวของเท้า มือ ลำตัว และการแต่งกายคู่ชายหญิง

กล่าวกันว่า การเต้นรองเง็งสมัยโบราณเป็นที่นิยมในบ้านขุนนางหรือหรือเจ้าเมืองในแถบสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น ที่บ้านพระยาพิพิธเสนามาตย์ เจ้าเมืองยะหริ่ง สมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง (พ.ศ. 2439-2448) มีการฝึกรองเง็งโดยหญิงสาวซึ่งเป็นข้าทาสบริวารฝึกรองเง็ง เพื่อไว้ต้อนรับแขกเหรื่อในงานรื่นเริงหรืองานพิธีต่างๆเป็นประจำ

รองเง็งเป็นศิลปะเต้นรำพื้นเมืองของไทยมุสลิมในแถบสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจนเมืองต่างๆของมาเลเซียตอนเหนือ ล้วนเป็นที่นิยมทั่วไปและแพร่ไปถึงอินโดนีเซีย (ประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์. 2548, 248) ซึ่งเป็นการเต้นรำที่มีความสวยงามทั้งลีลาการเคลื่อนไหวของเท้า มือ ลำตัว และการแต่งกายคู่ชายหญิง

เนื่องจากวัฒนธรรมชาวมุสลิมไม่นิยมให้สตรีเข้าสังคมกับบุรุษเพศโดยประเจิดประเจ้อ ฉะนั้นนอกจากผู้หญิงบริวารของเจ้าเมืองแล้ว ผู้หญิงอื่นๆที่เป็นผู้ดีจึงไม่มีโอกาสฝึกรองเง็ง เพียงแต่นั่งดูเขาเต้นกัน รองเง็งระยะแรกๆจึงเป็นที่นิยมกันเพียงวงแคบ

แต่งกาย
ผู้เต้นรองเง็งส่วนใหญ่แต่งกายแบบพื้นเมือง โดย
ผู้ชาย สวมหมวกหนีบไม่มีปีก หรือที่เรียกหมวกแขกสีดำ หรือที่ศีรษะอาจจะสวม “ชะตางัน” หรือโพกผ้าแบบเจ้าบ่าวมุสลิมก็ได้ นุ่งกางเกงขากว้างคล้ายกางเกงขาก๊วยของคนจีน ใส่เสื้อคอกลมแขนยาวผ่าครึ่งอกสีเดียวกับกางเกง ใช้โสร่งแคบๆยาวเหนือเข่าสวมทับกางเกง เรียก “ผ้าสิลินัง” หรือ “ผ้าซาเลนดัง” มักทำด้วยผ้าซอแก๊ะ ถ้าเป็นเจ้านายหรือผู้ดีมีเงินมักเป็นผ้าไหมยกดอกดิ้นทองดิ้นเงิน ฐานะรองลงมาใช้ผ้าไหมเนื้อดีตาโตๆ ถัดมาเป็นผ้าธรรมดา
ผู้หญิง ใส่เสื้อเข้ารูปแขนกระบอก เรียกเสื้อ “บันดง” ลักษณะเสื้อแบบเข้ารูปปิดสะโพก ผ่าอกตลอด ติดกระดุมทองเป็นระยะ สีเสื้อสดสวยและเป็นสีเดียวกับ “ผ้าปาเต๊ะยาวอ” หรือ “ผ้าซอแก๊ะ” ซึ่งนุ่งกรอมเท้า นอกจากนั้นยังมีผ้าคลุมไหล่บางๆสีตัดกับเสื้อที่สวม


เกี่ยวกับเพลงและการอธิบายการเต้นที่จะแนะนำต่อไปนี้ ได้รับคำความอนุเคราะห์จาก คุณตีเมาะ โชติอุทัย ครูฝึกรองเง็งมีชื่อของจังหวัดยะลา และบางเนื้อเพลงได้รับความช่วยเหลือจาก คุณนิเดร์ แวดัง และครูไพฑูร มาศมินทร์ไชยนรา
1. เพลงลาฆูดูวอ เพลงนี้เป็นเพลงท่าเต้น ถ้าจะแปลก็หมายถึง “เพลงที่สอง” ไม่มีความหมายนัก
1.1 ตัวอย่างเนื้อเพลง
ฮาตูซัยตัน มูกอบีรู
ตูรนกือตำเนาะฮ์ ซื่อกัยมืองารู
ซายะปากัยจือปากอบีรู
ซูติงดีซานอซินิงบรือบาฮู
ภูติพรายหน้าตาฉาบสีขาบขัน
สู่ดินดลหวังหมายทำลายสิ้น
ดอกจำปาสีน้ำเงินเป็นปีกบิน
อยู่ถิ่นนั้นหอมกลิ่นมาถิ่นนี้

1.2 จังหวะการเต้น เมื่อดนตรีขึ้นเพลง ฝ่ายชายจะโค้งฝ่ายหญิง แล้วสองฝ่ายจะเดินเข้ามากลางวง ยืนหันหน้าเข้าหากัน และเริ่มด้วยการเล่นเท้าอยู่กับที่ จากนั้นแสดงลวดลายด้วยการเต้าเข้าหากัน เต้นถอยหลังและเต้นตามกัน ฝ่ายชายตาม ฝ่ายหญิงรุกชิดๆกัน หญิงจะเป็นฝ่ายถอยและหมุนจนเกือบจบเพลง เพลงจะเปลี่ยนเป็นจังหวะเร็ว ทุกคู่เปลี่ยนท่าเต้น ถึงตอนนี้ใครที่ไม่ชอบจังหวะเร็วจะเลิกก่อนก็ได้ ใครที่ถนัดเต้นก็เต้นต่อไปจนจบเพลง ความสวยและความน่าดูของเพลงนี้อยู่ตรงตอนจะจบจังหวะเร็วนี้
ดนตรีที่ใช้บรรเลงมี รำมะนา ฆ้อง และไวโอลิน ปัจจุบันยังเพิ่มกีตาร์ โดยให้เหตุผลว่า เพื่อต้องการให้จังหวะชัดเจนและไพเราะขึ้นกว่าเดิม ดนตรีรองเง็งถ้าประกอบเป็นวงใหญ่จะมีความไพเราะและชวนฟังมาก

ดนตรีประกอบ
รำมะนา ฆ้องไวโอลินกีตาร์ สำหรับวิธีบรรเลงนั้นเป็นเพลงจังหวะรองเง็ง ซึงมีผู้รู้จักและนิยมเต้นส่วนใหญ่ มีจำนวน 7 เพลง คือ เพลงลาฆูดูวอ เพลงลานัง เพลงปูโจ๊ะบีซัง เพลงซินตาซายัง เพลงอาเนาะดีดิ เพลงมะอีนังชวา และเพลงมะอีนังลามา เพลงที่ยืนโรงและรู้จักกันดีมีสองเพลง คือ เพลงลาฆูดูวอและเพลงมะอีนังลามา เป็นเพลงที่เต้นกันมาตั้งแต่โบราณ ส่วนเพลงเพลงมะอีนังชวา ปูโจ้ะบีซัง ลานัง และจินตาซายัง เหมาะแสดงหมู่ ส่วนเพลงลาฆูดูวอและมะอีนังลามา เหมาะสำหรับผู้ชำนาญและแสดงลวดลาย

การเต้นรองเง็งส่วนใหญ่มีชายและหญิงฝ่ายละ 5 คน โดยเข้าแถวแยกเป็นชายแถวหนึ่งและหญิงแถวหนึ่ง ยืนห่างกันพอสมควร ดังที่กล่าวมาแล้วว่าการเต้นแบบนี้ต้องใช้ลีลามือ เท้า และส่วนลำตัว เคลื่อนไหวไปข้างหน้าข้างหลังให้เข้ากับดนตรี อีกประการหนึ่งมีผู้ให้ความเห็นว่า ความสวยงามและความน่าดูของศิลปะรองเง็งอยู่ที่การใช้เท้าเต้นให้เข้ากับจังหวะ ส่วนการร่ายรำเป็นเพียงองค์ประกอบ






Create Date : 19 กุมภาพันธ์ 2554
Last Update : 17 มีนาคม 2554 23:08:10 น.
Counter : 9558 Pageviews.

0 comments
บันเทิงเริงจีน 449:เทพีมหาสงกรานต์ 67/หมีเซียะ&เซียะหลี/21ปีเลสลี่/Kowloon Walled City/บุปผารักอลวน ข้าน้อยคาราวะ
(12 เม.ย. 2567 20:34:55 น.)
วัดตะโหมด Wat Tamod, Phatthalung. nanakawaii
(11 เม.ย. 2567 09:28:07 น.)
Udankhatole(उड़न खटोला) from Jubilee (TV Series) ปรศุราม
(2 เม.ย. 2567 10:34:32 น.)
Dies Bildnis ist bezaubernd schön from Die Zauberflöte by Wolfgang Amadeus Mozart ปรศุราม
(26 มี.ค. 2567 10:24:16 น.)

Peakroong.BlogGang.com

Peakroong
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]

บทความทั้งหมด