:::รำฟ้อนเทียน::: ฟ้อนเทียน เป็นการฟ้อนของชาวไทยภาคเหนือ ผู้ฟ้อนถือเทียนจุดไฟมือละเล่มทั้งสองมือตามปกติใช้ฟ้อนในที่กลางแจ้ง ในเวลากลางคืน ความสวยงามอยู่ที่ใช้ผู้ฟ้อนเป็นจำนวนมาก และแสดงเทียนที่เป็นประกายขณะที่เคลื่อนไหวไปตามลีลาของเสียงเพลง การฟ้อนนี้แต่เดิมมาคงใช้เป็นการฟ้อนสักการะบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และพิธีสำคัญในคุ้มเจ้าหลวง พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ทรงให้ครูฟ้อนในคุ้มปรับปรุงรูปแบบขึ้น และให้ฟ้อนถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว คราวเสด็จประพาสมณฑลพายัพ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ ต่อมา นางลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร ได้ฝึกหัดจดจำนำมาถ่ายทอดให้กับศิลปินและนักเรียนของกรมศิลปากรสืบมา ดนตรีประกอบการแสดงฟ้อนเทียนนี้ ใช้วงดนตรีพื้นเมืองหรือวงปี่พาทย์ บาทร้องเป็นบทพระนิพนธ์ของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ต่อมาภายหลัง นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญด้านดุริยางค์ไทย กรมศิลปากร และศิลปินแห่งชาติ ได้ประพันธ์ขึ้นใหม่ ประกอบด้วย บทเกริ่นทำนองโยนก ซอยิ้น และจ้อยเชียงแสน การแต่งกาย แต่งกายตามแบบกุลสตรีชาวเหนือ นุ่งซิ่นป้ายลายขวาง สวมเสื้อแขนกระบอก ห่มสไบ มุ่นผมประดับดอกไม้ ถ้าเป็นแบบแผนของคุ้มเจ้าหลวง ผู้แสดงต้องสวมกำไลเท้า ลักษณะท่ารำ เป็นการร่ายรำตามทำนองเพลง มีจุดประสงค์เพื่อเป็นการฟ้อนบวงสรวงหรือฟ้อนต้อนรับตามประเพณีของชาวเหนือ ความยาวของชุดการแสดงโดยประมาณ ใช้เวลาประมาณ ๑๐๑๒ นาที (มีบทร้อง) ใช้เวลาประมาณ ๕-๘ นาที (ไม่มีบทร้อง) ละคร ละครชาตรี การแต่งกายละครชาตรี ละครโนรา ละครนอก ละครใน ละครพันทาง การแสดงพื้นเมืองของไทย ภาคเหนือ ภาคกลาง เพลงพวงมาล้ย การรำแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ การรำแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน การรำพื้นเมืองภาคใต้ ความหมายของคำว่า ประเภทของระบำ ประเภทของการรำ ประเภทของการฟ้อน การแสดงเบ็ดเตล็ด กำเนิดของโขน การแสดงกระบี่กระบอง การแสดงหนังใหญ่ ประเภทของโขน โขนหน้าจอ ตัวละครในการแสดงโขน ตัวนาง ตัวยักษ์ ตัวลิง เรื่องที่ใช้ในการแสดงโขน บทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงศรีอยุธยา บทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงธนบุรี บทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ดนตรีที่ใช้บรรเลงในการแสดงโขน โขนโรงใน รำวงมาตรฐาน คำร้อง/ทำนอง รำวงมาตรฐาน เครื่องดนตรี /การแต่งกาย รำวงมาตรฐาน |
บทความทั้งหมด
|