"แล้วแต่ระดับจิต" - พระอจ.สุชาติ : คนที่พึ่งเริ่มนั่งสมาธินี่ ควรกำหนดจิตไว้ที่ไหนคะ
 

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
”แล้วแต่ความถนัดและระดับจิต“
 


ถาม : คนที่พึ่งเริ่มนั่งสมาธินี่ ควรกำหนดจิตไว้ที่ไหนคะ ที่ปลายจมูกหรือที่ท้อง
พระอาจารย์ : ที่ถนัดกับเรา การนั่งทำสมาธิมีถึง ๔๐ วิธีด้วยกัน มีกรรมฐาน ๔๐ ชนิด แต่ส่วนใหญ่จะใช้พุทโธ หรือใช้ลมหายใจเข้าออก หรือในเบื้องต้นก็ใช้การสวดมนต์ไปก่อน ข้อสำคัญให้อยู่กับกรรมฐานนั้น ถ้าจะสวดมนต์ก็อยู่กับการสวด อย่าไปคิดเรื่องอื่น ถ้าชอบพุทโธก็อยู่กับพุทโธ ไม่ต้องดูลมหายใจ ถ้าต้องการดูลมอย่างเดียว ก็ไม่ต้องบริกรรมพุทโธ ให้รู้ลมว่าเข้าออกตรงไหน ถ้าชัดที่ปลายจมูกก็ดูตรงที่ปลายจมูก ถ้าชัดที่หน้าท้องที่กลางอกก็ให้รู้อยู่ตรงหน้าท้องที่กลางอก ที่เรียกว่าหยุบหนอพองหนอ จะพูดตามก็ได้ ไม่พูดก็ได้ ให้รู้ว่าเข้ารู้ว่าออก ให้รู้อยู่ตรงนั้น ข้อสำคัญให้มีจุดใดจุดหนึ่งเป็นที่เกาะของจิต ไม่ให้ลอยไปคิดถึงเรื่องอื่น ถ้าดูลมแล้วยังคิดอยู่ ก็ต้องใช้บริกรรมพุทโธควบคู่ไปด้วย ลมเข้าก็ว่าพุท ลมออกก็ว่าโธ หรือลมเข้าก็พุทโธ ลมออกก็พุทโธ ถ้ายังคิดอยู่ก็บริกรรมพุทโธอย่างเดียวไปเลย แล้วแต่ความถนัดและระดับจิตของแต่ละคน
การปฏิบัติของแต่ละคนจึงมีคุณสมบัติจำเพาะ เวลาคนอื่นใช้วิธีนี้แล้วมาเล่าว่าดี แต่เราไปใช้ดูกลับไม่ดี ก็ต้องใช้วิธีอื่น อาจจะเป็นเพราะสติเราไม่ดีก็ได้ สติไม่มีกำลังมากพอ ไม่สามารถบังคับใจให้อยู่กับกรรมฐานได้ ให้อยู่กับพุทโธก็อยู่ได้แวบเดียว แล้วก็ไปคิดเรื่องอื่น ถ้าอย่างนี้ปัญหาก็ไม่ได้อยู่ที่พุทโธ แต่อยู่ที่สติ ก็ต้องพยายามฝึกสติอยู่เรื่อยๆ อย่าฝึกสติเฉพาะเวลานั่งเท่านั้น ควรจะเจริญสติอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนถึงเวลาหลับเลย
“ให้มีความรู้สึกอยู่ใกล้ตัวเสมอ ให้จิตอยู่ใกล้ตัว ให้อยู่ในปัจจุบันเสมอ อย่าปล่อยให้ลอยไปในอดีตในอนาคต ไปที่อื่น ให้อยู่ตรงนี้ ”
ถ้าทำได้เวลาให้อยู่กับพุทโธก็จะอยู่กับพุทโธ เพราะเหมือนมีเชือกคือสติคอยดึงจิตไว้ ไม่ให้ลอยไป การเจริญสติจึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่สอนให้ตามรู้ก็หมายความว่า ให้มีสติรู้อยู่กับความคิด ให้รู้ว่ากำลังคิดอะไรอยู่ เวลามีอารมณ์เกิดขึ้น ก็ให้รู้ พอรู้แล้วมันจะไม่ต่อเนื่อง พอคิดถึงเรื่องคนนั้น พอรู้ปั๊บก็จะหยุดคิดทันที อารมณ์ต่างๆก็ดับตามไป พอเผลอปั๊บ ก็คิดอีก ต้องดึงไว้อยู่เรื่อยๆ อุบายวิธีที่จะทำให้มีสติของแต่ละคนนี้ ก็ต้องไปคิดค้นกันเอาเอง
หลักใหญ่ๆอยู่ตรงที่ไม่ให้ไปคิดเรื่องอื่น ให้อยู่ในปัจจุบัน ให้อยู่ใกล้ตัวตลอดเวลา วิธีหนึ่งที่จะช่วยได้ก็คือ ต้องอยู่คนเดียว ถ้าอยู่กันหลายคนแล้ว ต่างคนก็ต่างดึงกันไป คนนั้นก็ชวนคุย คนนี้ก็ชวนคุย เราก็ชวนคุย ใจก็เลยลอยไปลอยมา ถ้าอยู่คนเดียว ก็จะไม่มีอะไรมาดึงไป แต่ยังมีอารมณ์ภายในมาดึงไปอยู่ แต่มีน้อยลง ท่านจึงสอนให้ปลีกวิเวก ไม่คลุกคลีกัน ให้อยู่คนเดียว ถึงแม้เวลาทำกิจกรรมร่วมกัน ก็ไม่ให้สนทนากัน พระปฏิบัติเวลาทำกิจวัตรร่วมกัน จะไม่คุยกัน ใครมีหน้าที่อะไรก็ทำไป ไม่คุยกัน มีสติอยู่กับงานที่ทำ
พระปฏิบัติจึงดูเหมือนทะเลาะกัน ไม่คุยกัน ในพระไตรปิฎกมีเรื่องที่ชาวบ้านเห็นพระไม่คุยกันเลย เวลาทำกิจวัตร ต่างคนต่างทำ จนชาวบ้านสงสัยว่า พระโกรธกันหรือเปล่า ท่านไม่ได้โกรธกันหรอก ท่านพยายามควบคุมใจ ดึงใจให้อยู่ใกล้ตัว ไม่ให้ไปคิดเรื่องต่างๆ.
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
จุลธรรมนำใจ ๑๒ กัณฑ์ที่ ๓๗๘
วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๑










 
Education Blog/Dhamma Blog
 
newyorknurse

 



Create Date : 27 กันยายน 2566
Last Update : 4 ตุลาคม 2566 7:20:26 น.
Counter : 482 Pageviews.

1 comments
: รูปแบบของการตระหนักในการรับรู้ : กะว่าก๋า
(15 เม.ย. 2567 05:37:45 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 35 : กะว่าก๋า
(13 เม.ย. 2567 05:51:40 น.)
อยาก อยากได้ กฎที่ถูกที่ดี ปัญญา Dh
(14 เม.ย. 2567 05:37:27 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 33 : กะว่าก๋า
(11 เม.ย. 2567 05:15:42 น.)

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณThe Kop Civil, คุณคนผ่านทางมาเจอ, คุณ**mp5**, คุณปัญญา Dh, คุณโฮมสเตย์ริมน้ำ, คุณปรศุราม, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณสองแผ่นดิน

  
สวัสดีคะคุณพี่น้อย..

เป็นกิจกรรมที่ดีมากๆนะคะ

โดย: คนผ่านทางมาเจอ วันที่: 4 ตุลาคม 2566 เวลา:13:55:49 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Newyorknurse.BlogGang.com

newyorknurse
Location :
ราชบุรี .. New York ...   United States

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]

บทความทั้งหมด