เข็นเด็กขึ้นภูเขา : การเลี้ยงดูเด็กคนหนึ่ง คงไม่ใช่เรื่องของ One size fits all คงต้องประยุกต์......

การเลี้ยงดูเด็กคนหนึ่ง
คงไม่ใช่เรื่องของ
One size fits all
คงต้องประยุกต์ให้เหมาะกับลักษณะลูกเราด้วย

เข็นเด็กขึ้นภูเขา
#หมอมินบานเย็น
 
 


ละครเรื่องมาตาลดา คนดูกันชอบกันมาก
บทความที่คุณหมอบานเย็น
เขียนถึงละครเรื่องนี้
เกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็ก
ขอนำมาให้เพื่อนๆอ่านกันค่ะ





#ครอบครัวดีมีความสุขหรือไม่_อย่าดูแค่ที่เปลือกนอก
ถ้าใครได้ดูละครมาตาลดา จะได้เห็นลักษณะของครอบครัวที่แตกต่างกันของ ‘เป็นหนึ่ง’ และ ‘มาตาลดา’
.
ครอบครัวของเป็นหนึ่งนั้น ดูเหมือนครอบครัวตัวอย่างที่ใครๆ ใฝ่ฝัน พ่อเป็นไลฟ์โค้ชชื่อดังเขียนหนังสือติดอันดับเบสท์เซลล์เลอร์ แม่เป็นอดีตดาราที่มีชื่อเสียง ลูกชายที่เติบโตมาประสบความสำเร็จเป็นศัลยแพทย์ฝีมือเยี่ยม
ส่วนครอบครัวของมาตาลดานั้น พ่อเลิกรากับแม่ตั้งแต่มาตาลดายังเล็ก มาตาลดาเติบโตมากับพ่อและผู้ปกครองที่เป็น LGBTQ
.
ถ้าพิจารณากันแบบผิวเผินภายนอก ไม่ได้มองถึงแก่นแท้ บางคนก็คงรู้สึกว่า ครอบครัวของมาตาลดาน่าจะเป็นครอบครัวที่ไม่ปกติ มีปัญหา และครอบครัวของเป็นหนึ่งนั่นแหละคือครอบครัวที่สมบูรณ์
แต่ในความเป็นจริงคนดูก็คงจะทราบว่า ครอบครัวที่มีความสุข บรรยากาศของคนที่อยู่ร่วมกันในครอบครัวมีความสบายใจ คือ ครอบครัวของมาตาลดา ส่วนครอบครัวของเป็นหนึ่งนั้นกลับตรงกันข้ามอย่างยิ่ง
.
ครอบครัวของเป็นหนึ่งที่ดูดีนั้น เป็นแต่เพียงเปลือกนอกที่เห็น จริงๆ เป็นหนึ่งเติบโตมาด้วยความทุกข์ มีความเก็บกด กดดันจากการเลี้ยงลูกของพ่อ พ่อต้องการให้ลูกเรียนเก่ง ประสบความสำเร็จโดยไม่รับฟัง ไม่สนใจความรู้สึกลูกชาย เช่น ลูกไม่สบายก็ไม่เคยถามว่าเป็นยังไงบ้าง แต่ต้องไปโรงเรียนนะ ไม่งั้นจะเรียนไม่ทันเพื่อน บอกลูกแต่ว่า แกต้องสอบได้ที่ 1 ต้องเป็นหมอให้ได้
ส่วนแม่ของเขาก็ไม่สามารถออกความเห็นใดๆ ไม่กล้าที่จะช่วยลูก พ่อให้ลูกทำอะไร แม่ก็ได้แต่สงสารอยู่เงียบๆ และบอกให้ลูกเชื่อฟังพ่อนะ ทุกอย่างจะดีเอง
ทำให้เป็นหนึ่งกลายเป็นคนที่เก็บกด ไม่มีความสุข มีปมในวัยเด็กที่เขาย้อนกลับไปคิดถึงบ่อยๆ มีอาการอึดอัดทุกครั้งที่พูดคุยกับพ่อแม่
.
ครอบครัวของมาตาลดาแม้จะดูไม่ได้เหมือนครอบครัวทั่วไป แต่ในแก่นแท้นั้น พ่อเกรซของมาตาลดาเป็นพ่อที่ให้ความรักและใกล้ชิดอบอุ่น รับฟังลูกในทุกเรื่อง ใส่ใจความรู้สึกของลูก ในขณะเดียวกันก็ให้ระเบียบวินัยอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตามก็ยอมรับในธรรมชาติของลูก ไม่คาดหวังจนเกินไป
มาตาลดาจึงเติบโตมาอย่างเป็นคนที่มีสุขภาพจิตดี เวลาพบปัญหาก็มีสติ มองในแง่ดี ค่อยๆ คิดแก้ไขจัดการให้ผ่านพ้นไป
.
การเลี้ยงดูเด็กนั้นเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญยิ่ง และมีผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กเมื่อเติบโตขึ้นไป
จึงมีการแบ่งรูปแบบของการเลี้ยงดู (Parenting Styles) ที่แตกต่างกัน ออกเป็น 4 แบบ ซึ่งดูตามลักษณะการเลี้ยงดูว่า มีการควบคุม จัดการพฤติกรรมให้เป็นไปตามความคาดหวังของพ่อแม่ แค่ไหนอย่างไร และ การเลี้ยงดูที่มีความรักและเอาใจใส่ รับฟังเหตุผล เห็นอกเห็นใจ เหมาะสมหรือไม่
เราลองมาดูนะคะว่ามีแบบไหนกันบ้าง และครอบครัวของมาตาลดากับเป็นหนึ่งเข้าได้กับแบบไหน
.
4 รูปแบบของการเลี้ยงดู
1) Authoritarian คือ มีลักษณะควบคุมอย่างมาก มีความเข้มงวด เน้นกฎระเบียบมากมาย โดยที่ไม่อธิบายเหตุผล ไม่ค่อยรับฟังความรู้สึก ไม่แสดงความเห็นอกเห็นใจ ไม่รับฟัง ถ้าทำผิดก็ทำโทษรุนแรง เด็กอาจมีแนวโน้มเติบโตมาเป็นคนที่เก็บกดความรู้สึก เครียดง่าย มีปัญหาสุขภาพจิต หรือปัญหาทางร่างกายที่ส่งผลจากจิตใจ
2) Permissive หมายถึงพ่อแม่ที่ตามใจลูกอย่างมาก ให้ความรัก รับฟัง แต่ขาดการปลูกฝังเรื่องกฎระเบียบ ไม่ควบคุมดูแลอะไรเลย ตรงนี้จะเรียกว่า การเลี้ยงดูแบบ Permissive ซึ่งเด็กอาจมีแนวโน้มเติบโตไปเป็นเอาแต่ใจ เห็นแก่ตัวเอง ไม่สนใจคนรอบข้าง
3) Authoritative คือ การเลี้ยงดูที่มีทั้งลักษณะสมดุล ทั้งการจัดการให้เด็กควบคุมตัวเอง มีระเบียบวินัย พร้อมกับการที่รับฟังและเอาใจใส่ความต้องการของเด็ก ให้ความรักและใกล้ชิด มีความเอาใจใส่ทางอารมณ์ความรู้สึก ถ้าเด็กทำผิด สิ่งที่ทำคือการอบรม ทำโทษโดยไม่ได้ใช้ความรุนแรง และยังให้โอกาสเด็กในการปรับปรุงตัว
4) Uninvolved คือการเลี้ยงดูที่ปล่อยปละละเลย ทอดทิ้ง ไม่มีทั้งการให้ความรักเอาใจใส่ และไม่ได้ปลูกฝังระเบียบใดๆ เลย ซึ่งทำให้เด็กเติบโตมามีปัญหาสุขภาพกายและจิตใจได้เช่นกัน
.
เฉลย: การเลี้ยงดูแบบ Authoritative จะเข้าได้การกับการเลี้ยงดูเด็กของครอบครัวมาตาลดา ส่วนครอบครัวเป็นหนึ่งเข้าได้กับแบบ Authoritarian
.
การเลี้ยงดูที่เหมาะสม ควรเน้นให้เป็นลักษณะสมดุลแบบ Authoritative
ทั้งการปลูกฝังให้ควบคุมตัวเองได้ มีกฎระเบียบ (Limitation)
ให้ความเห็นอกเห็นใจ ความรัก เอาใจใส่ทางความรู้สึก รับฟังด้วยเหตุผล (Love)
ยอมรับในตัวตนของเด็ก และค่อยๆปรับให้เหมาะสมด้วยความเข้าใจ (Let them grow)
จำง่ายๆ คือ ให้มีทั้ง 3L (Love, Limitation, Let them grow)
.
แต่การเลี้ยงดูเด็กคนหนึ่ง คงไม่ใช่เรื่องของ One size fits all คงต้องประยุกต์ให้เหมาะกับลักษณะลูกเราด้วย
การเลี้ยงดูเด็ก อาจไม่ใช่ปัจจัยเดียวในการหล่อหลอมบุคลิกภาพของเด็กเมื่อเติบโต ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พันธุกรรม พื้นอารมณ์ การพัฒนาของสมอง และ สิ่งแวดล้อมที่เด็กเติบโตมาด้วย เช่น เพื่อน ครู ฯลฯ
หวังว่าบทความจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย
สุดท้ายแล้ว ครอบครัวที่ดีจะดูแค่ที่เปลือกนอกผิวเผินที่มองเห็นไม่ได้ แต่ต้องดูถึงแก่นแท้ภายใจ ทัศนคติ ความสัมพันธ์ มุมมองการเลี้ยงดูเด็กที่เหมาะสม สำคัญที่สุดคือ มีความมีความเมตตา และเห็นอกเห็นใจกันและกัน
.
หมายเหตุ: ในการเขียนบทความนี้ หมอไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆ จากบริษัทหรือผู้เกี่ยวข้องกับละคร เพียงแต่ได้รับชมและประทับใจ จึงขอเขียนแบ่งปันข้อคิดที่ได้สู่ผู้อ่านค่ะ
#หมอมินบานเย็น
#มาตาลดา


https://www.facebook.com/kendekthai/posts/pfbid0gYAB9P4fbKasHzju5aAQUEBvVLDYpxuon93yB5f2hTh4GWZ5sTSMxTAdQjjsC6Jcl?__cft__[0]=AZVsiuP8wRDiT0K07Yi_iqdGk7pz-rJsxM6YYapcDeb90QM4TH44tSO_bSoRodzasT7Jj9mefgBIh3C4OXSJxpWbH-pln0-sWVj1jEt-FNZmr7w3ixzm4PGeWMmjWEs3XpljH3byka93Weq9AmIiWAL1ULbgMsRZ1M-M3SEqyKjLkvcH53b5zHAHJ8VFlsFApyeE1hO4GvoASH-230LkiF_b&__tn__=-UK-R


 
Education Blog
 
newyorknurse



Create Date : 11 กรกฎาคม 2566
Last Update : 16 กรกฎาคม 2566 1:41:35 น.
Counter : 717 Pageviews.

3 comments
What Is Lyrics? สมาชิกหมายเลข 8092455
(19 เม.ย. 2567 00:41:38 น.)
สรุปวิชาสังคมไทยสังคมโลกในศตวรรษที่ 21 เรื่องปราชญ์ท้องถิ่น นายแว่นขยันเที่ยว
(10 เม.ย. 2567 03:05:45 น.)
โรงงานผลิตอาหารเสริมผู้ชาย ตัวเลือกสำหรับคนที่ต้องการเป็นเจ้าของแบรนด์ที่ได้คุณภาพ สมาชิกหมายเลข 7213059
(3 เม.ย. 2567 00:10:02 น.)
วิธีถามราคาสินค้าเป็นภาษาอังกฤษ khatha0808
(2 เม.ย. 2567 00:05:26 น.)

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณปัญญา Dh, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณเริงฤดีนะ, คุณหอมกร, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณปรศุราม, คุณทนายอ้วน, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณสองแผ่นดิน

  
One size does not fit for all
ที่บ้านอ้อดุบ้าง ปล่อยบ้าง
แต่ไม่รับฟังพอโดตมาหน่อยค่อยรับฟัง

ต้องปรับๆสมดุลย์กันไปในแต่ละครอบครัว

แต่ มาตาลดา นี่ ฮิตทั่วบ้านทั่วเมือ
เป็นละคร Feelgood
ละครน้ำดีของช่อง 3 เลยค่ะ


โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 16 กรกฎาคม 2566 เวลา:10:45:34 น.
  
ละครก็คือละครค่ะพี่น้อย
อย่าไปคิดอะไรมากนะคะ

โดย: หอมกร วันที่: 16 กรกฎาคม 2566 เวลา:13:47:02 น.
  

สวัสดีค่ะน้องหอมกร

พี่ชอบที่คุณหมอเอานิยายมาสอนการเลี้ยงดูลูกนะคะ
เพราะจริงๆ เดี๋ยวนี้คนไทยรักลูกมากกก เลี้ยงลูกแบบคุณหนู
เวลาไปไหน คนก็รังเกียจ ช่วยตัวเองไม่ได้ รอให้คนทำ
พี่รู้จักลูกคนมีเงิน เขาจ้างคนขับรถประจำที่นี่เลยนะคะ
ลูกมาเรียนอยู่หอของมหาวิทยาลัย แต่ทุกเย็นวันศุกร์คนไทยคนนี้
ต้องขับรถรับจากหอมหาวิทยาลัย ไปส่งที่คอนโดดาวน์ทาวน์
ทึีจริงนั่งรถเมล์ก็ต่อเดียว นั่งรถใต้ดินก็สบาย ไม่ถึง 15 นาทีก็ถึง
และเช้าวันจันทร์ ก็รับจากคอนโดไปอยู่หอของมหาวิทยาลัย
เสาร์อาทิตย์ จะไปไหนคนขับรถต้องมารอรับพาไปส่ง
ไม่คิดว่ามีตทมีเงินเยอะมากจริงๆ จ้างคนขับรถประจำตัวให้ลูก
จะไปไหน ก็มีรถพาไปรับส่ง
แต่ขณะเดียวกันมีบ้านหนี่ง เด็กรุ่นลูกพี่มีลูกสองคนคนโตอายุ 12 คนทีสอง 10 ไปโรงเรียนตามระบบ มีรถโรงเรียนรับส่ง อยู่บ้านเวลากินข้าวเสร็จ ต้องเก็บจานกวาดให้เกลี้ยง เอาเลียงใส่เครื่องล้างจาน
พ่อ หรือแม่กดเครื่องล้างจาน ตอนนี้คนโตเริ่มทำเป็นแล้ว พอล้างจานเสร็จ ลูกสองคนช่วยกันเรียงจานเข้าที คนเล็กเก็บช้อนเข้าที่เรียงที่เก็บช้อนซ่อมเข้าที ส่วนมากจะล้างจานทุกสามสี่วัน

วันเสาร์อาทิตย์ช่วยกันทำความสะอาดบ้าน ดูแลความสะอาดห้องน้ำ
เอาผ้าลงมามีคนละตะกร้า ซักเครื่องเข้าเครื่องอบแห้ง พอผ้าแห้งสองคนแยกผ้าของตัวเองไปเก็บที่ห้อง ตัวไหนต้องแขวนก็แขวน ตัวไหนที่จะใส่ลิ้นชักก็พับใส่ลิ้นชักไป ไหม่ๆก็พับผ้าไม่ค่อยเรียบร้อย เดี่ยวนี้พับผ้าเรียบร้อยแล้ว
เลยเอาที่คุณหมอสอนมาให้อ่านกันค่ะ คุณหมอเป็นจิตเวช สอนการดุแลทั้งการเจริญเติบโตทั้้งจิตใจและร่างกาย
โดย: newyorknurse วันที่: 16 กรกฎาคม 2566 เวลา:17:26:48 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Newyorknurse.BlogGang.com

newyorknurse
Location :
ราชบุรี .. New York ...   United States

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]

บทความทั้งหมด