My first trip to Lord Buddha's Place Day2; 29 Jan 2019 Rajgir ; Venuvan ![]() หลังจากลงจากเขาคิชฌกูฏ เราไปต่อ สวน เวฬุวัน Venu van สวนไผ่ ที่พระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แห่งมคธ ถวายพระพุทธเจ้า เดิมสถานที่แห่งนี้เป็น สวนไผ่ เป็นสวนสถานที่พักผ่อนของพระเจ้าพิมพิสาร เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดพระเจ้าพิมพิสาร พระองค์จึงได้ถวายเป็นพุทธบูชา ![]() สถานที่แห่งนี้มีความสำคัญคือ เป็นวัดแห่งแรกในพุทธศาสนา และเป็นสถานที่แสดงโอวาทปาติโมกข์ แก่พระภิกษุ 1250 รูป ในวันมาฆบูชา ![]() เดิมวัดเวฬุวันเป็นพระราชอุทยานสำหรับเสด็จประพาสของพระเจ้าพิมพิสาร เป็นสวนป่าไผ่ร่มรื่นมีรั้วรอบและกำแพงเข้าออก เวฬุวันมีอีกชื่อหนึ่งปรากฏในพระสูตรว่า "พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน"[4] หรือ "เวฬุวันกลันทกนิวาป" (สวนป่าไผ่สถานที่สำหรับให้เหยื่อแก่กระแต) [5] พระเจ้าพิมพิสารได้ถวายพระราชอุทยาน[6]แห่งนี้เป็นวัดในพระพุทธศาสนาหลังจากได้สดับพระธรรมเทศนาอนุปุพพิกถาและจตุราริยสัจจ์[7] ณ พระราชอุทยานลัฏฐิวัน (พระราชอุทยานสวนตาลหนุ่ม) โดยในครั้งนั้นพระองค์ได้บรรลุพระโสดาบัน เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา และหลังจากการถวายกลันทกนิวาปสถานไม่นาน อารามแห่งนี้ก็ได้ใช้เป็นสถานที่สำหรับพระสงฆ์ประชุมจาตุรงคสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา อันเป็นเหตุการณ์สำคัญในวันมาฆบูชา วัดเวฬุวันหลังการปรินิพพานหลังพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน วัดเวฬุวันได้รับการดูแลมาตลอด โดยเฉพาะมูลคันธกุฎีที่มีพระสงฆ์เฝ้าดูแลทำการปัดกวาดเช็ดถูปูลาดอาสนะและปฏิบัติต่อสถานที่ ๆ พระพุทธเจ้าเคยประทับอยู่ทุก ๆ แห่ง เหมือนสมัยที่พระพุทธองค์ทรงพระชนม์ชีพอยู่มิได้ขาด โดยมีการปฏิบัติเช่นนี้ติดต่อกันกว่าพันปี แต่จากเหตุการณ์ย้ายเมืองหลวงแห่งแคว้นมคธหลายครั้งในช่วง พ.ศ. 70 ที่เริ่มจากอำมาตย์และราษฎรพร้อมใจกันถอดกษัตริย์นาคทัสสก์แห่งราชวงศ์ของพระเจ้าพิมพิสารออกจากพระราชบัลลังก์ และยกสุสูนาคอำมาตย์ซึ่งมีเชื้อสายเจ้าลิจฉวีในกรุงเวสาลีแห่งแคว้นวัชชีเก่า ให้เป็นกษัตริย์ตั้งราชวงศ์ใหม่แล้ว พระเจ้าสุสูนาคจึงได้ทำการย้ายเมืองหลวงของแคว้นมคธไปยังเมืองเวสาลีอันเป็นเมืองเดิมของตน และกษัตริย์พระองค์ต่อมาคือพระเจ้ากาลาโศกราช ผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุสูนาค ได้ย้ายเมืองหลวงของแคว้นมคธอีก จากเมืองเวสาลีไปยังเมืองปาตลีบุตร ทำให้เมืองราชคฤห์ถูกลดความสำคัญลงและถูกทิ้งร้าง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้วัดเวฬุวันขาดผู้อุปถัมภ์และถูกทิ้งร้างอย่างสิ้นเชิงในช่วงพันปีถัดมา โดยปรากฏหลักฐานบันทึกของหลวงจีนฟาเหียน (Fa-hsien) ที่ได้เข้ามาสืบศาสนาในพุทธภูมิในช่วงปี พ.ศ. 942 - 947 ในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ ๒ (พระเจ้าวิกรมาทิตย์) แห่งราชวงศ์คุปตะ ซึ่งท่านได้บันทึกไว้ว่า เมืองราชคฤห์อยู่ในสภาพปรักหักพัง แต่ยังทันได้เห็นมูลคันธกุฎีวัดเวฬุวันปรากฏอยู่ และยังคงมีพระภิกษุหลายรูปช่วยกันดูแลรักษาปัดกวาดอยู่เป็นประจำ แต่ไม่ปรากฏว่ามีการบันทึกถึงสถานที่เกิดเหตุการณ์จาตุรงคสันนิบาตแต่ประการใด แต่หลังจากนั้นประมาณ 200 ปี วัดเวฬุวันก็ถูกทิ้งร้างไป ตามบันทึกของพระถังซำจั๋ง (Hiuen-Tsang) ซึ่งได้จาริกมาเมืองราชคฤห์ราวปี พ.ศ. 1300ซึ่งท่านบันทึกไว้แต่เพียงว่า ท่านได้เห็นแต่เพียงซากมูลคันธกุฎีซึ่งมีกำแพงและอิฐล้อมรอบอยู่เท่านั้น (ในสมัยนั้นเมืองราชคฤห์โรยราถึงที่สุดแล้ว พระถังซำจั๋งได้แต่เพียงจดตำแหน่งที่ตั้งทิศทางระยะทางของสถูปและโบราณสถานเก่าแก่อื่น ๆ ในเมืองราชคฤห์ไว้มาก ทำให้เป็นประโยชน์แก่นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีในการค้นหาโบราณสถานต่าง ๆ ในเมืองราชคฤห์ในปัจจุบัน) จุดแสวงบุญและสภาพของวัดเวฬุวันในปัจจุบันปัจจุบันหลังถูกทอดทิ้งเป็นเวลากว่าพันปี และได้รับการบูรณะโดยกองโบราณคดีอินเดียในช่วงที่อินเดียยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ วัดเวฬุวัน ยังคงมีเนินดินโบราณสถานที่ยังไม่ได้ขุดค้นอีกมาก สถานที่สำคัญ ๆ ที่พุทธศาสนิกชนในปัจจุบันนิยมไปนมัสการคือ "พระมูลคันธกุฎี" ที่ปัจจุบันยังไม่ได้ทำการขุดค้น เนื่องจากมีกุโบร์ของชาวมุสลิมสร้างทับไว้ข้างบนเนินดิน, "สระกลันทกนิวาป" ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลอินเดียได้ทำการบูรณะใหม่อย่างสวยงาม, และ "ลานจาตุรงคสันนิบาต" อันเป็นลานเล็ก ๆ มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางประทานพรอยู่กลางซุ้ม ลานนี้เป็นจุดสำคัญที่ชาวพุทธนิยมมาทำการเวียนเทียนสักการะ (ลานนี้เป็นลานที่กองโบราณคดีอินเดียสันนิษฐานว่าพระพุทธองค์ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ในจุดนี้) จุดที่เกิดเหตุการณ์สำคัญในวันมาฆบูชา (ลานจาตุรงคสันนิบาต)![]() ถึงแม้ว่าเหตุการณ์จาตุรงคสันนิบาตจะเป็นเหตุการณ์สำคัญยิ่งที่เกิดในบริเวณวัดเวฬุวันมหาวิหาร แต่ทว่าไม่ปรากฏรายละเอียดในบันทึกของสมณทูตชาวจีนและในพระไตรปิฎกแต่อย่างใดว่าเหตุการณ์ใหญ่นี้เกิดขึ้น ณ จุดใดของวัดเวฬุวัน รวมทั้งจากการขุดค้นทางโบราณคดีก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการทำเครื่องหมาย (เสาหิน) หรือสถูประบุสถานที่ประชุมจาตุรงคสันนิบาตไว้แต่อย่างใด (ตามปกติแล้วบริเวณที่เกิดเหตุการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนา มักจะพบสถูปโบราณหรือเสาหินพระเจ้าอโศกมหาราชสร้างหรือปักไว้เพื่อเป็นเครื่องหมายสำคัญสำหรับผู้แสวงบุญ) ทำให้ในปัจจุบันไม่สามารถทราบโดยแน่ชัดว่าเหตุการณ์จาตุรงคสันนิบาตเกิดขึ้นในจุดใดของวัด ในปัจจุบันกองโบราณคดีอินเดียได้แต่เพียงสันนิษฐานว่า "เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดในบริเวณลานด้านทิศตะวันตกของสระกลันทกนิวาป" (โดยสันนิษฐานเอาจากเอกสารหลักฐานว่าเหตุการณ์ดังกล่าวมีพระสงฆ์ประชุมกันมากถึงสองพันกว่ารูป และเกิดในช่วงที่พระพุทธองค์พึ่งได้ทรงรับถวายอารามแห่งนี้ การประชุมครั้งนั้นคงยังต้องนั่งประชุมกันตามลานในป่าไผ่ เนื่องจากเสนาสนะหรือโรงธรรมสภาขนาดใหญ่ยังคงไม่ได้สร้างขึ้น และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันลานด้านทิศตะวันตกของสระกลันทกนิวาป เป็นลานกว้างลานเดียวในบริเวณวัดที่ไม่มีโบราณสถานอื่นตั้งอยู่) โดยได้นำพระพุทธรูปยืนปางประทานพรไปประดิษฐานไว้บริเวณซุ้มเล็ก ๆ กลางลาน และเรียกว่า "ลานจาตุรงคสันนิบาต" ซึ่งในปัจจุบันก็ยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัดว่าลานจาตุรงคสันนิบาตที่แท้จริงอยู่ในจุดใด และยังคงมีชาวพุทธบางกลุ่มสร้างซุ้มพระพุทธรูปไว้ในบริเวณอื่นของวัดโดยเชื่อว่าจุดที่ตนสร้างนั้นเป็นลานจาตุรงคสันนิบาตที่แท้จริง แต่พุทธศาสนิกชนชาวไทยส่วนใหญ่ก็เชื่อตามข้อสันนิษฐานของกองโบราณคดีอินเดียดังกล่าว โดยนิยมนับถือกันว่าซุ้มพระพุทธรูปกลางลานนี้เป็นจุดสักการะของชาวไทยผู้มาแสวงบุญจุดสำคัญ 1 ใน 2 แห่งของเมืองราชคฤห์ (อีกจุดหนึ่งคือพระมูลคันธกุฎีบนยอดเขาคิชฌกูฏ) เก็บรายละเอียดดีครับ การที่เราได้ไปเห็นสถานที่จริง และได้เอามาประกอบกับข้อมูลที่เรามี มันก็ทำให้เราเข้าใจอะไรบ้างอย่างมากขึ้น หรืออาจทำให้เราสนใจในสิ่งนั้นๆ มากขึ้นได้เหมือนกัน
โดย: คุณต่อ (toor36
![]() ![]() วัดแห่งแรกในพุทธศาสนาและเป็นสถานที่แสดงโอวาทปาติโมกข์
แก่พระภิกษุ 1250 รูปในวันมาฆบูชา คุณเย็นได้ชมสถานที่จริงน่าปลื้มปิติมากค่ะ เพราะการบูรณะของกองโบราณคดีอินเดีย ทำให้วัดเวฬุวันคงสภาพในปัจจุบันไม่ถูกทอดทิ้งนะคะ ขอบคุณคุณเย็นที่พาชมค่ะ โดย: Sweet_pills
![]() ![]() สวัสดียามเช้าครับุคณเย็น ดูจากในรูปที่บล็อกคุณเย็น ที่นี่ดูสะอาดขึ้นมาก ตอนที่ผมไปเหมือนเป็นลานดิน ไม่มีทางเดินที่เป็นปูน บรรยากาศเงียบสงบดีครับ ![]() ![]() ![]() โดย: กะว่าก๋า
![]() ![]() วัดเวฬุวัน ... ชื่อนี้บ้านเราก็มีหลายวัดเหมือนกันนะคะ
ดูเงียบ สงบ ร่มเย็น สมกับเป็นศาสนสถานที่สำคัญ มีประวัติยาวนาน ได้ทบทวนพุทธประวัติที่ลางเลือนของเราไปด้วย แหะ ๆ โดย: ฟ้าใสวันใหม่
![]() ![]() ตอนที่ผมไป
เงียบสงบมาก หลวงพ่อท่านนั่งสมาธิกัน ผมไม่ได้เดินไปไหนไกลครับ กลัวเหมือนกันเพราะดูเปลี่ยวๆ 555 ถ้านับสถานที่ที่นั่งแล้วได้สมาธิเร็วและสงบ ผมชอบอยู่สองสามที่ครับ แต่ที่นี่ผมไม่ได้นั่งครับ โดย: กะว่าก๋า
![]() ![]() mcayenne94 Travel Blog ดู Blog
มีธงฉัพพรรณรังสีที่วัด และยังมีป่าไผ่ถึงปัจจุบันเลยค่ะ ![]() ![]() โดย: หอมกร
![]() ![]() สวัสดีมีสุขค่ะ
คนไทยได้ไปทะนุบำรุงสถานที่ด้วย คุณเย็นเป็นพุทธบริษัทที่มีโอกาสดีมากค่ะ ที่ได้ไปแสวงบุญถึงดินแดนของพุทธศาสดา โดย: ตะลีกีปัส
![]() ![]() ตามมาเที่ยวค่ะ
กาลเวลาเปลี่ยนไปตั้งสองพันห้าร้อยกว่าปี โดย: tuk-tuk@korat
![]() ![]() สงบร่มรื่นมากเลยนะคะ.. ขอบคุณมากค่ะ
แบ่งปันภาพให้ได้เห็นสถานที่ที่มีความสำคัญในพระพุทธศาสนา.. โดย: สันตะวาใบข้าว
![]() ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับคุณฌย็น
กิ่วแม่ปานเป็นเส้นทางธรรมชาติที่น่าเดินมากๆครับ แต่ตอนนี้ไม่สามารถไปได้ หมอกควันพิษเยอะเกินมาตราฐานไปไกลลิบเลยครับ 555 โดย: กะว่าก๋า
![]() ![]() ขอบคุณคุณเย็นสำหรับกำลังใจนะคะ
ราตรีสวัสดิ์ค่ะคุณเย็น ![]() โดย: Sweet_pills
![]() ![]() รอฝนเช่นกันครับ
แต่ที่ได้มาเป็นไฟป่า 555 ที่เชียงดาววันนี้ดูเหมือนจะหนักหนาสาหัสเลยครับ โดย: กะว่าก๋า
![]() ![]() ตรงนี้เองที่เป็นสวนไผ่ เวฬุวรารามแห่งแรกของพุทธศาสนา..
พื้นที่ และบริเวณมีต้นไม้ให้ร่ม คงเหมาะในการให้โอวาทแก่ ภิกษุ 1250 คน.. นั่งอ่านนั่งดูทำให้ผม นึกถึงภิกษูนั่งบนก้อนหิน พืนดินสูงต่ำ คงจะกระจายไป..ทั้งป่า คงต้องใช้ความสงบมาก จึงจะได้ยิน พระโอวาทของพระพุทธเจ้า.. .... ผมเคยไปสอบภาคสนาม เดินธุดงค์บนดอยพร้อมกับเพื่อน อีกเยอะ ลำบากมิใช่น้อยเพราะเจอทั้ง ร้อน ฝน หนาว.. ขณะเดินขึ้นดอยไปตามจุดต่าง ๆ ของดอยอินทนนท์นึกถึง สมัยพระพุทธเจ้าต้องลำบากมิใช่น้อย การนั่งสมาธิบนดอยไม่ง่ายเลย ที่นั่งเอียง แข็ง ร้อน กับ หนาวสลับกันแต่ละวันไม่เหมือนกัน คุณหมอคงทราบแล้วว่า ที่เหมาะในการเดินจงกรมนั่งสมาธิ ควรจะเงียบ ไม่ร้อนไม่หนาว ผมว่าเหมาะที่สุดคือ ไทย ครับ.. ต่างประเทศยังไม่เคยนั่งสมาธิ มัวแต่ไปช๊อบกับหาของกินครับ 555 โดย: ไวน์กับสายน้ำ
![]() ![]() ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับคุณเย็น
อย่างข่าวบันเทิง เป็นข่าวที่ไม่เกี่ยวกับตัวเรา แต่คนส่วนใหญ่ก็อยากรู้ที่สุดเลยนะครับ ผมเองก็ไปรับรู้ จนบางทีมาดามยังแซว ว่าผมรู้เรื่องดาราบันเทิงมากกว่าเธออีกครับ 555 โดย: กะว่าก๋า
![]() ![]() สวัสดีมีสุขค่ะ
เกิดและโตมากับคลองและบ้านริมคลองค่ะ แต่ไปทำงานและใช้ชีวิตที่อื่น พอแก่ๆก็หวนกลับมาที่เดิม คิดถึงคลองค่ะ โดย: ตะลีกีปัส
![]() ![]() มาเดินเล่นที่นี่บ่อยๆ
ชักอยากจะไปแถวนี้บ้างแล้ว ก่อนจะเดินเองไม่ไหว แต่ก็คงต้อง อาศัยปัจจัยอีกหลายอย่าง เมื่อเช้าเพิ่งบอกน้องต่อว่า ถ้าจะต้องไปซื้อปัตตาเลี่ยนมาไถขนไอ้นุ้ง น่าจะง่ายขึ้น ได้แนวร่วมอีกคน คงสำเร็จการครั้งนี้ละ โดย: ภาวิดา คนบ้านป่า
![]() ![]() ถึงจะไม่มีข้อสรุปแน่ชัด ไม่ได้ทำให้แรงศรัทธาของพุทธศาสนิกชนน้อยลงเลยนะคะ
สาธุ โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ
![]() ![]() ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับคุณเย็น
คำพูดเป็นสิ่งสำคัญจริงๆครับ บางคำพูดไปไม่คิดอะไร คนฟังคิดมากก็มี ผมเคยประสบกับตัวเองมาแล้วครับ ต้องตามขอโทษกันวุ่นวายเลย 555 โดย: กะว่าก๋า
![]() ![]() |
บทความทั้งหมด
|
ไปไหว้สักการะคราวนี้ด้วยค่ะ