ปฎิรูป-ถอยอย่างไรไม่ให้ล้ม*** WHITESPACE.CO.LTD

whitespace
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




เมื่อไม่มีสิ่งใดจริง จึงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
.....อ่านเรื่องพุทธบารมี
.....ลีลาสมเด็จพุฒาจารย์โต
.....ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา-หลวงปู่มั่น

Google..
.....................พ่อของแผ่นดิน...
Group Blog
 
<<
เมษายน 2550
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
14 เมษายน 2550
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add whitespace's blog to your web]
Links
 

 
* * * การทรงฌาน


การทรงฌาน
อวกาศสีขาว / 10 เม.ย. 50


ก า ร เ ข้ า ฌ า น ถึงความเป็นเอกัคตาของจิตนั้น บางครั้งหากมีกำลังสมาธิมากก็ทรงได้นาน หากมีกำลังน้อยก็ทรงไม่ได้นาน และหากไม่ชำนาญด้วยก็จะยิ่งทรงไม่ได้นานค่ะ ทรงอยู่สักครู่ก็จะหลุด

ไม่ทราบใครเคยนั่งสัปหงกแล้วเข้าฌาน จิตเป็นสมาธิอัตโนมัติบ้างหรือเปล่า หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ท่านเรียกว่าเข้าสมาธิแบบฟลุ๊คค่ะ

ผู้เขียนเคยนั่งสมาธิแล้วสัปหงก พอสัปหงกก็สว่างวาบเข้าสมาธิ ชั่วครู่ก็สัปหงกอีก แล้วก็สว่างเข้าสมาธิ แล้วก็สัปหงกอีก เป็นอยู่หลายเพลา จนรู้สึกทุเรศตัวเอง เลยออกจากการนั่งสมาธิค่ะ คนทำสมาธิคนอื่นพอเขาได้สมาธิแล้วคงเลิกง่วง แต่ทำไมผู้เขียนไม่เลิกง่วงสักทีก็ไม่ทราบ

..ยิ่งตอนนอนนี่เป็นบ่อย แต่ไม่ทุเรศค่ะ เพราะอยู่ในสภาพการนอนอยู่แล้ว เดี๋ยวเข้าสมาธิ-เดี๋ยวหลับ เข้าๆ หลับๆ เลยไม่ได้ไปไหนกะเขาเลยสักที.. คนอื่นเขาถอดกายทิพย์ไปถึงไหนต่อไหนกันแล้ว ผู้เขียนยังเอาแต่นอน.. ไม่ค่อยกระตือรือร้นเท่าไหร่

การทำสมาธิให้ถึงฌานมีดังนี้
รูปฌาน 4 และอรูปฌาน 4
-ปฐมฌาน มีองค์ห้า คือ วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข จึงจะไปถึงเอกัคตาได้
-ทุติยฌาน เหลือ ปิติ สุข เอกัคตา
-ตติยฌาน เหลือ สุข เอกัคตา
-ฌานสี่ เมื่อสงบจิตก็เข้าสู่เอกัคตาได้ด้วยความชำนาญ
-อากาสานัญจายตนะ (ช่องว่างไม่สิ้นสุด)
-วิญญาณัญจายตนะ (วิญญาณไม่สิ้นสุด)
-อากิญจัญญายตนะ (ไม่มีอะไรเป็นอารมณ์แม้แต่วิญญาณ)
-เนวสัญญานาสัญญายตนะ (เลิกกำหนดแม้แต่ภาวะไม่มีอะไร มีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่)

มาอ่านเจอวิธีการทรงฌานของหลวงพ่อพระราชพรหมยาน เลยคัดออกมาให้อ่านกัน


คัดลอกเพียงส่วนหนึ่งมาจาก.. เรื่องทุกขสัจ - โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน
ถอดเทปโดยคุณณัชชา

..... และการเจริญพระกรรมฐานก็ต้องรู้อารมณ์ของกรรมฐาน การเจริญกรรมฐานเบื้องต้นเขาเรียกว่า “ขณิกสมาธิ” คือสมาธิเล็กน้อย ก็มีญาติโยมหลายคนไปบ่นว่าจิตไม่สามารถจะทรงตัวได้ ภาวนาไปๆ ประเดี๋ยวมันท่องไปที่อื่น อันนี้มันเป็นของธรรมดานะ

อันนี้มันเป็นเรื่องธรรมดาของจิต เพราะจิตเราคบกับนิวรณ์คือความฟุ้งซ่านมาหลายอสงไขยกัป แต่เราจะมาบังคับมันให้มาอยู่ชั่วขณะเดียวตามใจเราชอบน่ะมันไม่ได้ ในเมื่อภาวนามันไม่อยู่ มันคิดเรื่องอื่นก็ให้มันคิดไป พอรู้สึกตัวมาก็เริ่มตัวลมหายใจเข้าออกใหม่ ภาวนากันใหม่

ทีนี้การบังคับจิตมีสองแบบที่พระพุทธเจ้าทรงสอน เราบังคับจิตให้ทรงตัว ถ้าบังเอิญมันทรงตัวไม่ได้ จิตเรามันมีสภาพอยู่ 2 อย่าง คือ 1. บางวันต้องการหยุด ต้องการทรงตัวนิ่ง 2. บางวันมันต้องการคิด ถ้าวันไหนมันต้องการคิด อันนี้เราบังคับไม่ได้แล้ว ถ้าขืนบังคับก็กลุ้ม...

พระพุทธเจ้าบอกว่าให้ทำจิตเหมือนการฝึกม้าตัวพยศ ถ้าเราบังคับมันไม่อยู่ก็ปล่อยมันคิดไป มันอยากจะคิดอะไรก็คิดไป เราเอาสติเข้าคุมไว้ แต่ใช้เวลาอย่างนานไม่เกิน 15 นาที มันจะหยุด ถ้าหยุดแล้ว ก็กลับมาจับลมหายใจเข้าออกพร้อมกับภาวนา ทีนี้อารมณ์จะดิ่งเป็นฌานทันที

ถ้ารู้จักจุดจะไม่กลุ้มนะ เพราะอะไรรู้ไหม เพราะคนพูดเคยมาแล้ว ไอ้ที่พูดน่ะ พระพุทธเจ้าท่านสอนก็ผ่านมาแล้วทุกอย่าง ...

ก็เป็นอันว่าการบังคับจิต จงอย่าคิดว่าจิตของเราจะไม่ฟุ้งซ่าน ท่านที่จิตจะไม่ฟุ้งซ่านๆ มีท่านเดียว คืออรหันต์ อรหัตผลนะ อรหัตมรรคก็ยังมีอยู่ เลยอนาคามีขึ้นไป ยังมีอรหัตมรรค แต่ก็ยังฟุ้งซ่านอยู่ แต่อาการฟุ้งซ่านของอรหัตมรรคไม่เหมือนกับเรา

ของเราจะน้อมไปในด้านอกุศล แต่ของท่านเป็นกุศลอย่างเดียว คือตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปนี่ จิตฟุ้งซ่านยังมี พระโสดา สกทาคา อนาคา อรหัตมรรค ยังมีอาการฟุ้งซ่าน แต่จะฟุ้งไปในด้านกุศล ไม่น้อมไปทางด้านอกุศล

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ก็ถือว่ายังมีการฟุ้งยังมีการคิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าใช้เวลา 30 นาที จิตของเราหยุดจริงๆ 5 นาที รวมกันแล้วนะ ไปมั่งอยู่มั่ง รวมๆ 5 นาที ก็ถือว่าเก่งมาก

นี่อันดับแรกนะ.. แต่ว่า ถ้าจิตถึงฌาน พอจิตเข้าถึงฌาน ก็จงอย่านึกว่าจะทรงฌานได้นาน

การทรงฌานนี่ ถ้าไม่ฝึกการทรงฌานก็จะอยู่ไม่ได้นาน เข้าถึงฌานประเดี๋ยวเดียว สัก 2-3 นาที มันก็ตก ทีนี้ ท่านที่ทรงฌานได้เป็นชั่วโมง ท่านทำอย่างไร ก็ต้องฝึกเวลากัน ตั้งเวลาไว้โดยเฉพาะ ตั้งไว้ทีละน้อย

อย่างเราจะให้เวลาตั้งนาฬิกา อันดับแรกไม่เกิน 2 นาที เพียงแต่คุมลมหายใจเข้าออก พร้อมคำภาวนาให้ทรงตัวอยู่ในเกณฑ์นั้น ถ้าบังเอิญมันไม่ถึง 2 นาที มันไปก่อน เร่อมต้นมันใหม่ แต่ใช้วิธีง่ายๆ เอาแบบง่ายๆ ที่สุดนะ ฉันว่าง่ายนะ แต่ความจริงต้องฝึกมาตั้งแต่ตอนต้นเหมือนกัน

คำว่าง่ายก็คือ นับ 1-10 หายใจเข้าหายใจออกนับหนึ่ง หายใจเข้าหายใจออกนับสอง ภาวนาไปด้วยก็ได้ อย่างเช่น พุทโธนับเป็นหนึ่ง พุทโธนับเป็นสอง พุทโธนับเป็นสาม จนถึงสิบ เราคิดว่าตั้งแต่ 1-10 เราจะไม่ยอมให้จิตคิดอย่างอื่น จะให้ทรงอยู่ตามนั้น ถ้าบังเอิญยังนับไม่ถึงสิบ อย่าอื่นเข้ามาแทรก ก็เริ่มต้นใหม่ ให้มันเข็ด

อย่างนี้ไม่นาน เพียงแค่ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน สักสี่ห้าร้อย มันยังไม่ไปถึงไหนเลย นี่เป็นการฝึกทรงฌานนะ

การทรงฌานให้นาน เขาต้องฝึกกันแบบนี้ แต่ในสมัยโบราณก็ดี เขาใช้วิธีเอาสตางค์ติดเทียน ติดน้อยๆ ภาวนาไปๆ ตั้งบนขัน ถ้าสตางค์หล่นเป๊ง จิตไม่ฟุ้งไปเรื่องอื่น ก็ถือว่าใช้ได้ ถ้าบังเอิญจิตฟุ้งไปก่อน ท่านก็จะลืมตามาขยับสตางค์ใหม่ เพราะไฟมันใกล้เทียน แล้วตั้งต้นกันใหม่

แต่เราใช้วิธีนับ 1-10 ดีกว่า ถ้านับ 1-10 จิตมันเครียดเต็มที เราก็เลิก ถ้าพอ 1-10 บังเอิญจิตสบาย เราก็ต่อไปอีกสิบ แต่ถ้าสิบหลังนี่ บังเอิญมันเคลื่อนที่ มันหวั่นไหวมาก มันทรงตัวไม่อยู่ ก็เลิก เราถือว่า 1-10 เราได้แล้ว

ถ้าอย่างนี้ บรรดาพุทธบริษัทไม่เกิน 3 เดือน ท่านสามารถจะทรงฌานได้เป็นชั่วโมง ไม่ยากเลยวิธีทรงฌาน

ถ้าหากว่าเราได้ฌาน 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 (คือรูปฌานสี่ อรูปฌานสี่) แต่ความจริงแล้วอรูปฌานก็คือฌานสี่นั่นเอง แต่ใช้อรูป

รูปฌานสี่ ก็หมายความว่าเราภาวนาตามธรรมดาที่เราฝึกกันเวลานี้เป็นรูปฌาน ถ้าฝึกรูปฌานได้ถึงฌานสี่แล้ว ต่อไป ถ้าเราจะฝึกเอาอรูปฌาน ก็ใช้กสิณกองใดกองหนึ่งตั้งขึ้น จับภาพกสิณให้เป็นฌานสี่ เมื่อฌานสี่ทรงตัวแล้วก็เพิกกสิณ คำว่า “เพิก” หมายความว่าอธิษฐานให้กสิณหายไป จับอากาศแทน ที่เรียกอากาสานัญจายตนะ อย่าพูดเลยเรื่องนี้ พูดแล้วไม่รู้เรื่อง เป็นฌาน 8 คืออรูปฌานอีกสี่

อรูปฌานสี่ คือ 1. อากาสานัญจายตนะ 2. วิญญาณัญจายตนะ 3. อากิญจัญญายตนะ 4. เนวสัญญานาสัญญายตนะ

ถ้าเราได้อรูปฌานอีก 4 ก็เป็น 8 เขาเรียกว่า สมาบัติ 8 พวกสมาบัติแปดเนี่ย ที่บรรลุอรหันต์เป็นปฏิสัมภิทาญาณ หากไม่ถึงสมาบัติแปด เป็นปฏิสัมภิทาญาณไม่ได้ (เขาจำกัด) ...





Create Date : 14 เมษายน 2550
Last Update : 21 เมษายน 2550 8:47:53 น. 0 comments
Counter : 2585 Pageviews.
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.