ปฎิรูป-ถอยอย่างไรไม่ให้ล้ม*** WHITESPACE.CO.LTD

whitespace
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




เมื่อไม่มีสิ่งใดจริง จึงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
.....อ่านเรื่องพุทธบารมี
.....ลีลาสมเด็จพุฒาจารย์โต
.....ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา-หลวงปู่มั่น

Google..
.....................พ่อของแผ่นดิน...
Group Blog
 
<<
เมษายน 2550
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
12 เมษายน 2550
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add whitespace's blog to your web]
Links
 

 
นิมิตที่ต้องการให้เกิดในสมาธิ และนิมิตที่เกิดเองขณะมีสมาธิ



นิมิตที่ต้องการให้เกิดในสมาธิ และนิมิตที่เกิดเองขณะมีสมาธิ
อวกาศสีขาว / 20 เม.ย. 50


นิมิตที่ต้องการให้เกิดในสมาธิ
นิมิตที่ต้องการให้เกิดนั้น นิยมใช้กสิณช่วยให้เกิดนิมิตค่ะ กสิณ 10 หรือวัตถุเครื่องหมายเพื่อใช้จับเป็นอารมณ์นั้น เป็นกรรมฐานที่ใช้วัตถุในการเพ่งให้เกิดนิมิต ก็เพื่อความเป็นสมาธิ เป็นนิมิตที่ถูกสร้างหรือถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้จิตรวมได้เร็วขึ้น เข้าสู่สมาธิได้ง่ายขึ้น

การใช้กสิณ หรือการกำหนดสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เกิดขึ้นในใจ ให้เห็นเครื่องหมายนั้นด้วยใจ
* ถ้าเห็นเครื่องหมายหรือภาพนิมิตได้ชัดเจนเพียงชั่วขณะ เรียกว่าเกิด “อุคหนิมิต” คือสามารถทำให้กสิณนั้นเป็นอุคหนิมิตติดตา แสดงว่าเข้าสู่สมาธิในขั้นอุปจารสมาธิ
* ถ้าหากเห็นเครื่องหมายได้ชัดเจน ย่อขยายให้เล็กหรือโตใหญ่ได้ด้วยใจ เรียกว่า “ปฏิภาคนิมิต” คือสามารถทำให้กสิณนั้นเป็นปฏิภาคนิมิตติดลึกเข้าไปในสัญญาความจำ แสดงว่าเข้าสู่สมาธิในขั้นอัปนาสมาธิหรือฌาน บริสุทธิ์ไร้สี-ไร้มลทิน ได้แล้ว

นิมิตแบบนี้มีประโยชน์ต่อการเป็นหนทางพาจิตให้แน่วแน่เป็นหนึ่ง มีพลังสมาธิ ก่อนจะนำสมาธิไปใช้งานได้ตามต้องการ ถ้าจะถอนจากอัปนาสมาธิ ออกมาใช้พิจารณาธรรม ก็มีกำลังแน่วแน่ ไม่คลอนแคลนได้ง่าย

นิมิตที่เกิดขึ้นเองในขณะทำสมาธิ
ขณะที่เจริญสมาธิ จากขณิกะสมาธิไปถึงอุปจารสมาธินั้น ในขั้นที่สมาธิเริ่มมีการรวมตัวมากขึ้นในขั้นอุปจาระหรืออัปนา อาจเกิดนิมิตขึ้นในสมาธินั้น นิมิตนี้บางครั้งก็เคยเป็นภาพความจำในสัญญาเดิมๆ บางครั้งก็เกิดขึ้นเพราะปรุงแต่งจิต เห็นอะไรขึ้นมาก็ไม่ตามรู้เฉยๆ จับมาเป็นอารมณ์ความคิดไปเรื่อย แต่บางครั้งก็เป็นนิมิตของของการเข้าไปรู้ไปเห็นธรรมเองของจิตที่สงบในฌาน ทำให้เกิดความรู้ขึ้นเองโดยไม่คาดคิด

นิมิตแบบนี้ มาปรากฏทั้งในแบบรูปและนาม

1.นิมิตรูป จะเห็นเป็นภาพคล้ายฝัน บางทีแจ่มชัดราวดูหนังดูวีดีโอ เป็นภาพเทวดานางฟ้า นรกสวรรค์ ซากศพ บางทีมาเป็นภาพเร็วๆ ไม่ติดต่อ บางทีติดต่อเป็นเรื่องราว บางทีอาจจริงบางทีก็ไม่จริง หรืออาจได้ยินเสียงคนพูดบ้าง ได้กลิ่นหอมบ้างเหม็นบ้าง หากมีสติตามรู้ จะเกิดเป็นวิปัสสนาญาณ พิจารณาตามสิ่งที่เกิดและดับไป รู้ถึงเหตุถึงผลและการเกิดของนิมิต หากสติอ่อนเป็น “วิปัสสนูปกิเลส” หลงใหลไปตามอารมณ์นั้นๆ เกิดความชื่นชมต่อสิ่งที่ได้พบได้เห็น ทึกทักว่าเป็นจริงเป็นจัง ไม่เห็นความดับไปของสิ่งเหล่านี้ ไม่เกิดปัญญาเท่าทัน ก็ไม่สามารถปล่อยวาง นำมาปรุงแต่งทั้งสิ่งที่เห็น กับสิ่งที่คิด แบบไม่เท่าทัน ทำให้จริงไม่จริง ยากที่จะรู้ได้

2.นิมิตนาม จิตที่นิ่งและสงบประณีตนั้น จะมีพลังต่อการรู้การเห็น บางทีคิดนึกถึงอะไรขึ้นมา ก็รู้ถึงเหตุและผลได้ทันที สิ่งที่เคยสงสัยก็เกิดอาการเข้าใจได้ บางครั้งไม่ต้องนึก ความรู้ก็ผุดขึ้นมาเองในดวงจิต ลักษณะอย่างนี้ก็นับเป็น “อุคหนิมิต” มีความจริงบ้างไม่จริงบ้างปนกัน จะยึดถือเป็นจริงเลยทีเดียวไม่ได้ หากหลงยึดถือเชื่อมั่น ไม่ปล่อยวาง อันนี้ก็ทำให้เกิด “วิปัสสนูปกิเลส” ได้ทางหนึ่ง

การเกิดนิมิตทั้งรูปและนามนี้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ตามดูเฉยๆ มันจะดับไปเองหากมีสติตามรู้ หรือเจริญ “อุคหนิมิต” ต่อไปถึง “ปฏิภาคนิมิต” หากมีนิมิตที่บริสุทธิ์แล้ว ก็ฝึกย่อขยายนิมิต หรือนึกให้ใกล้ไกล ให้เกิดดับ เน่าสลาย แยกธาตุ แล้วแต่ชนิดของนิมิตที่เกิดขึ้น แล้วปล่อยวางไปเสีย อย่าให้นิมิตมาปรุงแต่งจิตของเรา แต่ให้จิตของเรากำหนดนิมิตได้ตามต้องการ มิฉะนั้นแล้วก็ไม่ควรเข้าไปหลงนิมิต จะเสียเวลา ...ไม่ว่าจะเป็นภาพ เสียง กลิ่น หรือความคิดความรู้ที่เกิดขึ้น ให้มีสติรู้ตาม พิจารณานิมิตที่เกิดว่ามีความจริงเพียงใด แม้นจะเป็นจริง ก็ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น เพราะสิ่งทั้งปวง-ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ถ้ายึดความเห็นจะเป็น “ทิฏฐุปาทาน” และ “ทิฏฐิมานะ” กลายเป็นสำคัญตนว่าเลิศ เป็นเช่นนั้นเช่นนี้ไปต่างๆ นานา หากไม่รู้เท่าทัน ย่อมจะเกิดวิปลาส เสียสติได้


วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ ประการ ที่เกิดขึ้นได้สำหรับนักปฏิบัติ
ก็อปเขามา ของใครอุตสาหะเรียบเรียงไว้ไม่ทราบค่ะ (ขอบคุณในธรรมทาน)

ธรรมารมณ์ที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญสมาธิจิตสงบขั้นสูง หรือได้วิปัสสนาอ่อนๆ ทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้วซึ่งเป็นขวากหนาม เป็นเหตุไม่ให้ก้าวหน้าต่อไปในทางวิปัสสนาญาณ หรือการบรรลุมรรคผล (นำมาแสดงไว้ให้รู้เท่าทัน แต่สำหรับผู้ที่ได้คุณ ๑๐ อย่างนี้ก็นับว่าวิเศษแล้ว)

๑.โอภาส แสงสว่างซึ่งเกิดขึ้นแล้ว ย่อมมองเห็นได้ในที่ใกล้และไกล

๒.ญาณ ย่อมเกิดความรู้ขึ้น สิ่งที่ไม่เคยรู้ก็ได้รู้อย่างแปลกประหลาดอัศจรรย์ เช่นระลึกชาติได้ บางทีก็รู้ “จิตปฏิสนธิ” ของคนในโลกซึ่งเป็นเหตุให้เพลินไปตามความรู้ความเห็นนั้นๆ เพลินหนักเข้าความรู้จริงไม่เข้ามาแทรก ก็ยังสำคัญว่าจริง

๓.ปิติ ความอิ่มกายอิ่มใจ อิ่มเสียจนหลงงมงาย อิ่มกายจนหายหิวข้าว หิวน้ำ หายร้อน หายเย็น อิ่มเสียจนเพลิน บางทีก็สำคัญว่าเป็นผู้สำเร็จ ซึ่งก็เป็นการกลืนกินอารมณ์นั่นเอง

๔.ปัสสัทธิ กาย-จิตสงบเย็น จนไม่อยากเห็นสิ่งใดๆในโลก เห็นว่าโลกนั้นไม่สงบเป็นสิ่งที่ตัวไม่ต้องการ ความจริงถ้าจิตสงบจริงสิ่งทั้งหลายในโลกย่อมสงบหมด ผู้ที่เข้าไปติดความสงบแล้ว แม้กายก็ไม่อยากทำงาน ใจก็ไม่อยากคิดนึก เพราะติดความสงบนั้นเป็นอารมณ์ นี่คือขวากหนามของการบรรลุมรรคผลนิพพานที่สูงขึ้นไป

๕.สุข เมื่อสงบแล้วก็เกิดสุขกาย สุขจิตซึ่งเป็นของดี แต่ที่ท่านว่าเป็นขวากหนามเพราะเมื่อสุขมากๆ แล้วเกลียดทุกข์คือเข้าใจว่า สุขนั้นดีทุกข์นั้นไม่ดี ที่จริงสุขก็คือทุกข์ เมื่อสุขเกิดทุกข์ก็เป็นเงา และ เมื่อทุกข์เกิดสุขก็เป็นเงา แต่ถ้าไม่เข้าใจเช่นนั้นจึงกลายเป็นกิเลสอย่างหนึ่งคือกลืนอารมณ์ตัวเอง ความสบาย ความสงัด ความวิเวก ความเย็น อันลึกซึ้งจับใจเกิดขึ้นแล้วก็เพลินไปในอารมณ์นั้นๆ คือติดอยู่ในนามธรรมอันพอใจนั่นเอง จนสำคัญว่าบรรลุผลนิพพานแล้ว

๖.อธิโมกข์ ความเข้าไปน้อมเชื่อถือในความรู้ ความเห็นและสิ่งที่รู้เห็นว่าเป็นจริง

๗.ปัคคาหะ อาจเกิดมีความเพียรทางจิตแรงกล้าเกินไปไม่พอดี เป็นเหตุให้ฟุ้งซ่านคือยังยึดถืออารมณ์อยู่นั่นเอง ความมุ่งหน้าแรงเกินพอดีจึงเป็นขวากหนามประการหนึ่ง ของการบรรลุพระนิพพาน

๘.อุปัฏฐานะ คือการมีสติเข้าไปตั้งอย่างแรงกล้า อยู่ในอารมณ์อันใดอันหนึ่งที่ตนรู้เห็น ไม่ยอมปล่อยวางอารมณ์นั้นๆ

๙.อุเบกขา ความมีจิตเป็นกลางวางเฉยไม่อยากพบ ไม่อยากเห็น ไม่อยากนึก ไม่อยากคิดพิจารณา คือสำคัญตนว่าวางเฉยได้หมดแล้ว ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดของจิตขณะนั้นต่างหาก

๑๐.นิกันติ ความพอใจติดใจในอารมณ์นั้นๆ คือติดอารมณ์ที่ตนพบตนเห็นนั่นเอง สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ เมื่อรู้ไม่เท่าเอาไม่ทันย่อมเป็นเครื่องเศร้าหมองของใจอันหนึ่ง ของผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อให้บรรลุพระนิพพาน


หากหลงติดอยู่กับนิมิต ธรรมย่อมไม่ก้าวหน้าต่อไป



Create Date : 12 เมษายน 2550
Last Update : 21 เมษายน 2550 8:53:01 น. 0 comments
Counter : 712 Pageviews.
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.