ปฎิรูป-ถอยอย่างไรไม่ให้ล้ม*** WHITESPACE.CO.LTD

whitespace
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




เมื่อไม่มีสิ่งใดจริง จึงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
.....อ่านเรื่องพุทธบารมี
.....ลีลาสมเด็จพุฒาจารย์โต
.....ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา-หลวงปู่มั่น

Google..
.....................พ่อของแผ่นดิน...
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2550
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
27 พฤศจิกายน 2550
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add whitespace's blog to your web]
Links
 

 
กรรมในการล่วงเกินพระอริยะเถระ

*






กรรมในการล่วงเกินพระอริยะเถระ
อวกาศสีขาว



ผู้ เ ข้ า ถึ ง ค ว า ม เ ป็ น อ ริ ย ะ แ ล้ ว ใ น ขั้ น ต้ น ..เป็นผู้ทำลายมิจฉาทิฏฐิส่วนหนึ่ง ส่วนใหญ่ย่อมเป็นผู้รักษาตัวให้ห่างปุถุชนระดับหนึ่ง นั่นเพราะเหตุใด เพราะอริยะขั้นต้นก็ยังอยู่ห่างความดับสนิทแห่งเชื้อกิเลสอยู่มาก การอยู่ใกล้ปุถุชนจะทำให้จิตเศร้าหมอง และเป็นเหตุแห่งราคะโทสะโมโหะได้ง่าย

การมาบอกธรรมก็ดี กล่าวธรรมก็ดี หากถูกล่วงเกินถูกปรามาส ก็มักจะพยายามอธิบายถึงความจริงนั้น ถ้าเจอกัลยาณปุถุชนผู้ใกล้ความเป็นโสดาบันอยู่ก็ดี นับเป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลกันขึ้นมา ทำให้เข้าใจธรรมได้ไม่ติดขัด เพราะกัลยาณปุถุชนนั้นย่อมเป็นผู้เจริญอริยมรรคอยู่เนืองๆ มีการเจริญสติอยู่เนืองๆ จึงใกล้ความเป็นอริยะขั้นต้นอยู่เสมอ

แต่หากเจอปุถุชนผู้อหังกาในตัวตน ย่อมมี อคติเขาอคติเรา อคติในข้อธรรม ไม่ทำจิตแยบคาย มีจิตฟุ้งซ่าน นี่เพราะเหตุมาจากอัตตาเป็นใหญ่ กลัวเขาจะชนะอัตตาตัวเอง ก็กล่าวหาว่าเขา พูดธรรมเพราะจำมาบ้าง พูดธรรมผิดบ้าง พอเขาอธิบายกลับมาได้ก็โกรธ แทนจะรู้ธรรมก็มีแต่ความขุ่นเคือง คิดเลยเถิดไปตามนิสัยตัวเอง กล่าวหาว่าเขาจับผิด ถากถางเหน็บแนม และพยายามเสียดสีสั่งสอนเขากลับ

นี่เป็นเพราะปุถุชนผู้ใดก็ดีมักจะนึกคิดเอาว่า ผู้อื่นคิดผู้อื่นเป็นอย่างที่ตัวเองคิดตัวเองเป็น ความที่มองไม่เห็นตัวเองนี่แหละเรียกว่าไม่ภาวนา เลยกลับมองว่าตัวเองนั้นช่างแสนดีก็มี ตัวเองมีเมตตาก็มี ตามไม่ทันตัวตนในจิตที่หลอกแสร้งเอา เพราะหากมีการหมั่นเจริญสติภาวนาแล้ว จะเห็นตัวเอง กลับมาอยู่ที่ตัวเอง ทันจิตตัวเอง ตัวเองเป็นอย่างไรก็เห็นทัน ทำให้สามารถเห็นผู้อื่นด้วย ว่าเขามีเจตนาอย่างไร

การตามทันจิตนั้นเป็นเรื่องใหญ่ หรือที่เรียกว่าเฝ้ามองดูตัวเองตลอด(สิตปัฏฐานสี่) ที่สำคัญมาก เพราะถ้าทำได้ก็ก้าวข้ามสู่ความเป็นอริยะทันที คือมีสติจับทันความคิด จับทันจิตที่ปรุงแต่ง ถ้าจับปุ๊บทันปั๊บ นี่มันดับเลย เห็นธรรมชาติความจริงของจิตเลยว่าเป็นอย่างไร ถ้าไม่ทันนี่ ก็มีแต่ความพอใจความไม่พอใจ มีแต่เห็นอารมณ์กิเลสเท่านั้น พอใจในการโต้ธรรมกลับเพื่อให้เขาพ่ายแพ้ พอในในคำพูดตนเมื่อได้ทีมีชัย ทั้งที่ความจริงอาจไม่ได้เป็นอย่างนั้นก็ได้ ไม่พอใจเมื่อคิดว่าตัวเองแพ้เหตุผลเขา และพยายามหาเหตุโต้กลับอีก เลยขาดความแยบคายในการเสวนาธรรม ไม่สามารถรับรู้ว่าอีกฝ่ายอาจเพียงแค่กำลังอธิบายความจริงให้เห็น

การเสวนาแบบโต้วาทีเพื่อเอาชนะคะคาน เป็นการโต้วาทีแบบปุถุชน ไม่เป็นที่ยินดีในหมู่อริยะชน สำหรับอริยะชนนั้นต้องเจริญภาวนาหรือสติปัฏฐานสี่ในการฟังคิดพูดตลอด จึงไม่ยินดีเลยที่จะโต้กับพวกปุถุชน เพราะทำให้ขาดสติได้ง่าย รังแต่จะทำให้ตัวเองเศร้าหมอง และไม่ก้าวหน้าในธรรม อริยะขั้นต้นที่กำลังยังน้อย จึงยินดีในการเสนากับอริยะด้วยกัน หรือข้อธรรมที่ตัวเองสนใจมากกว่า เพื่อความก้าวหน้าของตัวเองและคู่เสวนา นอกจากมีความปรารถนาดีกับบุคคลบางท่านที่เห็นว่ามีประโยชน์ เพราะบางท่านหากสนทนาวิสาสะจะต้องตั้งสติให้ดี เพราะเขาเป็นผู้ไม่ฉลาดในธรรม ด้วยความคิดว่าตนฉลาดนั่นเอง การมาตั้งกระทู้ธรรมของเขา มีแต่ชวนวิวาทเป็นส่วนมาก อริยะบุคคลบางท่านจะเลี่ยงไปเสียจากคนเหล่านี้

การฟังธรรมด้วยจิตแยบคาย ไม่ชอบไม่พอใจ ก็แสดงอย่างสุภาพ อาจได้รับคำตอบที่ทำให้ความสงสัยหมดไป นับเป็นผู้ฉลาดในธรรม

แต่บางคนอวดอัตตา ตามกล่าวหาครูบาอาจารย์ที่ตนไม่ถูกจริต แสดงความไม่พอใจอย่างไม่ฉลาด คือไม่สืบค้นคำสอนของท่านอย่างจริงจังตามนิสัยของปราชญ์ ที่ต้องสืบค้นเอาความจริงก่อนปฏิบัติก่อนเห็นผลก่อน ซ้ำยังกล่าวหาและพยายามสร้างสถานการณ์ให้สังคมโดยรวมเข้าใจท่านตามที่ตัวเองเข้าใจ บิดเบือนข้อธรรมของท่าน การหาพรรคพวกนี่แสดงอยู่แล้วถึงความไม่มั่นใจตัวเอง การลอบโจมตีแทงข้างหลัง ไม่สู้หน้า กล่าวอ้างว่าท่านปรามาสบรมครูผู้เป็นศาสดา โดยเฉไฉในหลักฐานที่นำมาแสดง นี่ย่อมแสดงความขลาด ไม่ใช่วิสัยของผู้จะบรรลุธรรมได้เลย คือมองเห็นภพภูมิแดนเกิดของคนเหล่านี้ได้เลย แม้นไม่ต้องใช้อภิญญาใดๆ

ส่วนการปรามาสของอริยะต่ออริยะขั้นสูงกว่านี่ก็มีอยู่ แต่จะอยู่ในศีลในธรรม ในเหตุในผล คือมีสติเป็นที่ตั้ง ไม่ใช่อย่างปุถุชน เมื่อใคร่ครวญเหตุผลแล้วย่อมขอขมาต่อท่าน จึงไม่ร้ายแรงอย่างปุถุชน แต่จะชงักในธรรม ไม่ก้าวหน้าต่อ จนกว่าจะเรียกสติปัญญากลับคืนมาได้ เพราะอริยะขั้นต้นนั้น ถ้าเป็นอริยะจริง จะเป็นผู้ไม่ล่วงศีลแล้ว

ห่วงแต่ก็ปุถุชนทั้งหลายเท่านั้น ยิ่งเป็นพวกคิดว่าตนเป็นอริยะโดยมิได้เป็น ก็จะยิ่งสร้างวิบากแก่ตนไปยืดยาว ไม่มีใครช่วยตัวเขาได้นอกจากตัวเขาเอง


กรรมในการปรามาสหรือล่วงเกินพระอริยะขั้นสูง

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

พยสนสูตร
[๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายกล่าวโทษพระอริยะ ภิกษุนั้นจะไม่พึงถึงความฉิบหาย ๑๐ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส
ความฉิบหาย ๑๐ อย่างเป็นไฉน คือ
ภิกษุนั้นไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ ๑
เสื่อมจากธรรมที่บรรลุแล้ว ๑
สัทธรรมของภิกษุนั้นย่อมไม่ผ่องแผ้ว ๑
เป็นผู้เข้าใจว่าตนได้บรรลุในสัทธรรมทั้งหลาย ๑
เป็นผู้ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ ๑
ต้องอาบัติเศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง ๑
ย่อมถูกโรคอย่างหนัก ๑
ถึงความเป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่าน ๑
เป็นผู้หลงใหลกระทำกาละ ๑

เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย กล่าวโทษพระอริยะ ภิกษุนั้นจะไม่พึงถึงความฉิบหาย ๑๐ อย่างนี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ฯ
จบสูตรที่ ๘



อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ เถรวรรคที่ ๔
๘. พยสนสูตร
อรรถกถาพยสนสูตรที่ ๘
พยสนสูตรที่ ๘ ....พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ในคำว่า อกฺโกสกปิรภาสโก อริยุปวาที สพฺรหฺมจารีนํ นี้ พึงประกอบ สพฺรหฺมจารี กับ อกฺโกสนบท และ ปริภาสกบท. บทว่า เป็นผู้ด่าสพรหมจารี เป็นผู้บริภาษสพรหมจารี. ผู้ว่าร้ายด้วยอันติมวัตถุว่า เราจักฆ่าคุณของพระอริยะทั้งหลาย ย่อมชื่อว่า อริยุปวาที. บทว่า สทฺธมฺมสฺส น โวทายนฺตี ความว่า สัทธรรมคือศาสนาที่นับได้ว่า ไตรสิกขาของภิกษุนั้นย่อมไม่ถึงความผ่องแผ้ว. โรคเท่านั้น พึงทราบว่าอาตังกะ เพราะกระทำให้ชีวิตลำบาก ในคำว่า โรคาตงฺกํ นี้.
จบอรรถกถาพยสนสูตรที่ ๘




บุคคลที่ไม่สามารถบรรลุธรรม

" ข้าแต่พระนาคเสน พวกที่ปฏิบัติชอบได้ธรรมาภิสมัยเหมือนกันทั้งนั้นหรือ ? "

" ขอถวายพระพร บางพวกก็ได้ บางพวกก็ไม่ได้ "

" ใครได้ ใครไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า ? "

" ขอถวายพระพร พวกที่ไม่ได้นั้น มีอยู่หลายจำพวก คือ

เดรัจฉาน ๑
เปรต ๑
มิจฉาทิฏฐิ ๑
ผู้ลวงโลก ๑
ผู้ฆ่ามารดา ๑
ผู้ฆ่าบิดา ๑
ผู้ฆ่าพระอรหันต์ ๑
ผู้ทำสังฆเภท ๑ ( ทำสงฆ์ให้แตกกัน )
ผู้ทำโลหิตุบาท ๑ ( ทำให้พระพุทธเจ้าให้ห้อพระโลหิต )
ผู้เป็นไถยสังวาส ๑ ( ปลอมบวช )
ผู้ไปเข้ารีตเดียรถีย์ ๑
ผู้ประทุษร้ายนางภิกษุณี ๑
ผู้มีอาบัติสังฆาทิเสสติดตัว ๑
บัณเฑาะก์ ๑ (กระเทย)
อุภโตพยัญชนก ๑ ( คนสอง เพศ )
เด็กอายุต่ำกว่า ๗ ขวบ ๑

พวกเหล่านี้ถึงปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอย่างไรก็ตาม ก็ไม่ได้ธรรมาภิสมัย "
พระเจ้ามิลินท์ตรัสแย้งว่า

" ข้าแต่พระนาคเสน บุคคล ๑๕ จำพวกเบื้องต้น เป็นพวกทำผิด จะได้ธรรมาภิสมัยหรือไม่ก็ช่างเถอะ แต่จำพวกที่ ๑๖ คือเด็กอายุต่ำกว่า ๗ ขวบนี้แหละเป็นปัญหา

เพราะเด็กอายุต่ำกว่า ๗ ขวบ ยังไม่มีราคะ โทสะ โมหะ มานะ มิจฉาทิฏฐิ อรติกามวิตกอย่างใดอย่างหนึ่ง ธรรมดาผู้ที่ห่างไกลจากกิเลส สมควรจะรู้แจ้งแทงตลอดซึ่งอริยสัจ ๔ ไม่ใช่หรือ ? "

พระนาคเสนเสนอ อธิบายว่า

" ขอถวายพระพร ข้อนี้ขอจงทรงฟัง เหตุผล คือถ้าเด็กอายุต่ำกว่า ๗ ขวบ รู้จักเกิดราคะโทสะ โมหะ รู้จักมัวเมาในสิ่งที่ควรมัวเมา รู้จักยินดี ไม่ยินดี รู้จักนึกถึงกุศลอกุศล ก็จักมีธรรมาภิสมัย แต่เด็กอายุต่ำกว่า ๗ ขวบนั้น จิตมีกำลังน้อย ส่วนพระนิพพานเป็นของใหญ่ ของหนักจึงไม่อาจรู้แจ้งแทงตลอดนิพพานได้

เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังน้อย ไม่อาจยกภูเขาสิเนรุราชได้ฉันนั้น หรือเปรียบเหมือนหยาดน้ำอันเล็กน้อย ไม่อาจซึมไปทั่วแผ่นดินใหญ่ได้ หรือเปรียบเหมือนเปลวไฟเล็กน้อย ไม่อาจทำให้สว่างทั่วโลกได้ หรือเปรียบเหมือนตัวหนอนไม่อาจกลืนช้างได้ฉะนั้น " " ข้าแต่พระนาคเสน ตามที่พระผู้เป็นเจ้า แก้มานี้ โยมเข้าใจดีแล้ว "







Create Date : 27 พฤศจิกายน 2550
Last Update : 7 มีนาคม 2551 21:18:12 น. 0 comments
Counter : 1303 Pageviews.
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.