Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2559
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
15 กรกฏาคม 2559
 
All Blogs
 
KINNAUR : ชนเผ่าหมวกเขียว



ภาพของ 'ซาราฮัน' ก็ดูไม่ต่างจากในโปสการ์ดเท่าไหร่นัก มันที่ตั้งอยู่บนเขา 
สูงจากระดับน้ำทะเล 2,165 เมตร และมีวัดภีมะกาลี (Bhima Kali) ตั้งเด่นเป็นสง่า
โดยมีสีครามของท้องฟ้าและแนวเทือกเขาที่มีหิมะปกคลุมปูเป็นฉากหลัง

เมืองนี้เคยเป็นที่ตั้งเมืองหลวงอาณาจักรโบราณที่ชื่อว่า Bushahr อีกด้วย

พอได้อ่านความเป็นมาโดยคร่าวแล้ว ถึงฉันจะไม่ค่อยรู้เรื่องประวัติศาสตร์ของ
ภูมิภาคแถบนี้ดีนัก ว่าเคยยกทัพตีกับเมืองไหนหรือแผ่ขยายอาณาเขตไกลยังไง
แต่หากจะบอกว่าฟังชื่อ Bushahr แล้วรู้สึกคุ๊นนนนคุ้น นั่นก็คงไม่แปลกเท่าไหร่

ไม่ใช่เพราะฉันระลึกชาติได้... แต่เพราะในหมู่บ้าน Kamru ที่ 'ซังกลา' ในอดีต
ก็เคยใช้เป็นที่ตั้งของศูนย์กลางอาณาจักรที่ว่านี้มาก่อนไงล่ะ!





ภาพเงาของวัด Bhima Kali ที่ตั้งอยู่ใน ซาราฮัน



ซาราฮัน...
อยู่ไกลจากแยกเจอรี่เพียง 18 กิโลเมตร 
ประตูสู่คินนัวร์ได้เริ่มต้นขึ้นจากที่นี่ และฉันก็ได้มาสิ้นสุดการเดินทาง
สำหรับพื้นที่ของชนเผ่าหมวกเขียวลง ณ เมืองนี้เอง








......



และการเดินทางไปยังที่หมายสุดท้าย มันก็ยังคงอิลุกขลุกขลักเช่นเคย


ที่ 
กัลป้า ในยามเช้าตรู่... ไม่มีรถโดยสารวิ่งตามคาด! 
หลังจากรอรถนานเกินครึ่งชั่วโมงไปแล้ว ฉันเลยต้องตัดใจเดินลงมาจากที่นั่น
ด้วยเท้านั่นแหละเพราะจะไม่ว่าจะเสียเวลารอรถ หรือก้าวเดินออกมาเองก็คง
ได้ผลลัพท์ไม่ต่างกันนัก

หมู่บ้านกัลป้าตั้งอยู่บนเขา 
จากที่ถามมาหากหาทางลัดเจอ
มันก็ร่นเหลือ
แค่ 6-7 กม. แต่หากไปตามถนนก็จะไกลถึง 10 กม.
และเป็นที่แน่นอนว่าฉันคงหาทางเจออยู่หรอก ฮ่ะ ๆๆๆ




เส้นทางเดินลงเขาจาก กัลป้า ยามเช้าของวันนั้น  ตามรายทางอันยาวไกลของถนนแถวนี้
จะยังมีรถกระบะมาจอดรับขน
แอปเปิ้ลที่ยังคงทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่เหลือตามสวนต่าง ๆ  



พอออกเดินไปเรื่อย ๆ ประมาณสาม-สี่โค้ง
ก็มีรถยนต์คนหนึ่งมาจอดดักหน้าไว้ 

"ไปท่ารถรึปล่าว?"



ยังดีที่ตอนนั้นมีคนหยุดรถให้ติดรถลงไปยังสถานีขนส่ง Reckong Peo  นั่นก็ถือว่า
ช่วยให้ได้ร่นแรงไปได้เยอะเลย  อ้อ... อย่าห่วงไปเลยว่ามันเสี่ยงที่จะนั่งรถใคร
มาแบบสุ่มสี่สุ่มห้าหรือปล่าว  ทั้งนี้ไม่ใช่ว่าจะมีแค่ฉันที่อาศัยรถคันนี้มาเพียงลำพัง
หรอกนะ 
ยังมีเด็กนักเรียนตัวเล็กที่เบาะหลังอีกราย ซึ่งแม่ของน้องมายืนโบกเรียก
จากกลางทางเพื่อขอติดมาด้วยเช่นกัน  

ดู
ท่าวันนี้รถประจำทางเส้นทาง Peo - Kalpa จะมีปัญหาจริง ๆ สินะ
ส่วนพี่เจ้าของรถยนต์คันนี้เป็น 'ครู' ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในพีโอ


พอถึงที่หมายแล้ว ครูก็ให้ที่อยู่อีเมล์กับเบอร์โทรฯ ติดต่อไว้ เขาบอกว่าถ้าไป
ซาราฮัน แล้วคิดวกกลับมาอีก ก็จะให้ภรรยา
ทำอาหารเลี้ยงมื้อเย็น พร้อมกับจะ
แถมแอปเปิ้ลที่ปลูกไว้ในสวนกลับไปกินอีกด้วย 

ครูเป็นชาวกัลป้า แต่ก่อนหน้านี้ไปบรรจุที่เมืองอื่นอยู่นาน
และเพิ่งจะได้กลับมาสอนหนังสือที่บ้านเกิดตัวเองปีนี้ 

ฉันตอบครูไปว่า ...อาจจะได้กลับมา แต่คงอีกก็คงอีกสองปีข้างหน้าโน่น
ครูหัวเราะและบอกกลับ กว่าจะถึงตอนนั้นเขาคงย้ายไปสอนที่อื่นแล้ว  




แยก Jeori จะมีป้ายบอกทางขึ้นไปยังซาราฮัน (ซ้ายมือ) 



จาก Reckong Peo ไปถึงแยก Jeori
ให้นั่งรถที่จะวิ่งไปทางรามปูร์ หรือชิมลา ก็ได้
ส่วนเรื่องของระยะเวลาเดินทางก็ค่อนข้างหลายชั่วโมง
ยังดีที่เจ้าถิ่นเบาะข้างจะไปลงที่ 'รามปูร์'  
ดังนั้นฉันจึงมีคน
ช่วยบอกเตือนเรื่องจุดลงรถให้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะนั่งเลยไกล 
หากกระเป๋ารถจะลืมสะกิดเรียกเหมือนกับที่ผ่านมาอีก




รถโดยสารที่จะวิ่งขึ้นไปยัง ซาราฮัน อีก 18 กิโลเมตร จะมีทุกชั่วโมง
และหากพลาดรถไปแล้วก็ต้องรออีกนาน ไม่อย่างนั้นก็ต้องเหมาแท็กซี่ขึ้นไป

ฉันติดรถมากับคนพื้นที่สองคน พวกเขาทำงานด้านการท่องเที่ยว
แต่งตัวแบบคนธรรมดา ๆ ทั่วไป แต่
เป็นชาวคินนัวร์ที่มาจากเมือง Tapri
ทั้งนี้นายสองคนที่ว่ากำลังเดินทางไปขึ้นยังซาราฮันเพื่อติดต่องานพอดี







"เธอจองที่พักไว้ หรือปล่าว" แฮปปี้ (สาบานได้ว่านี่คือชื่อเล่น)
ผู้เป็นคนขับได้ถามฉัน ระหว่างที่กำลังแล่นพารถขึ้นภูเขา 
แฮปปี้ชอบคุยจ้อมาก 
ส่วนอีกคนไม่ค่อยช่างพูดเท่าไหร่ ... 

"น่าจะพักที่วัด แต่ไม่ได้โทรจองล่วงหน้าไว้" 

หมดฤดูท่องเที่ยวแล้ว คงไม่น่าเต็มและฉันก็ไม่ได้คิดว่า
ที่พักใน วัด Bhima Kali จะอุ่นหนาฝาคั่งสักเท่าไหร่

"อืม...หวังว่าจะโชคดีนะ" 







ถ้าไม่นับเรื่องของวัดที่เป็น Landmark หลักของซาราฮันแล้ว ฉันก็ไม่รู้อะไรอีก
นายแฮปปี้ จึงได้แนะนำเพิ่มเติมว่าที่นี่ยังมีเรื่องของ
การท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
มีพืชพันธุ์ไม้,ดอกไม้ ต่าง ๆ ที่น่าสนใจแล้ว ก็ยังเป็นแหล่ง
ดูนกอีกด้วย



หลังจากที่รถหยุดจอดปั๊บ
ฉันก็ยังไม่วายถามพวกเขาตามความเคยชิน 

"แล้วพวกเธอจะไปพักที่ไหนกัน?"

"เฮ้...พวกเราเป็นคนที่นี่!" ทั้งสองต่างตอบพร้อมกันแบบไม่ได้นัดหมาย

แหะ ๆ โทษที โม้เพลินไปหน่อย...
ก็พวกนายไม่ใส่หมวกเขียวแบบคนพื้นที่นี่นา!








ที่พักในวัดภีมะกาลี ยังคงมีอยู่แต่ก็เหลือห้องที่ราคาแพง เพราะถูกจองเกลี้ยง 
และเวลานี้ก็มีแต่คนพื้นที่ที่เข้าพักกันทั้งนั้น...ไม่รู้มาเพื่อฉลองเทศกาลอะไรกัน?
สุดท้ายแล้วฉันก็ได้เข้าพักที่เกสท์เฮาส์หนึ่ง ที่อยู่ไม่ไกลจากบริเวณนั้นแทน 
จากความช่วยเหลือของนายสองคนที่เดินไล่หาราคาที่พักไม่เกิน 400 รูปีให้







ในที่สุดเรื่องก็ถูกเฉลย หลังจากที่สงสัยไม่หายว่าทำไมเกสท์เฮาส์ของวัด
จึงเต็มเอียด เพราะช่วงนี้เป็นเทศกาลแต่งงาน (ตุลาคม - ธันวาคม)  
อีกทั้งใน
วัดนี้ ก็เป็นที่นิยมสำหรับการทำพิธีสมรสของคนพื้นที่  นี่อาจเป็นความ-
พลาดที่ฉันไม่ได้สำรวจประเพณีของคนแถวนี้มาให้ละเอียดพอที่จะรู้เรื่องวัน หรือ
ช่วงเวลาสำคัญไว้  แต่ก็ยังดี...ที่ได้โอกาสแวะมาเดิน
ส่องดูพิธีของชาวพื้นเมือง
ในรูปแบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อน

เย็นวันนี้...มีบ่าว-สาว 3 คู่ นั่งอยู่บนลานสำหรับประกอบพิธี โดยต่างกลุ่มต่างก็
แยกการดำเนินงานกันไป  ใน
แต่ละจุดทำพิธีจะมีการตกแต่งเหมือนกัน นั่นคือ
การนำต้นกล้วย,ต้นอ้อย 
มามัดขึงไว้ เพื่อทำเป็นซุ้มประตูเล็ก ๆ  ส่วนตรงกลางวง
นั่งก็มีฐานตั้งของแท่นไฟบูชา










หลังจากซุ่มดูอยู่ห่าง ๆ ก็พบว่าขั้นตอนบางส่วนของงานนั้นจะมีกลุ่มสาวสูงอายุ
ประมาณสามคนที่นั่งข้างวงคอยทำหน้าที่เห่ร้องเวลาทำพิธีฯ และ
พวกคนที่เล่น
มโหรีที่นั่งอยู่ตรงรั้วด้านนอก จะคอยรอจังหวะเวลาเพื่อบรรเลงกลอง ฉาบ แตร
กัน
ในห้วงสั้น ๆ คล้ายกับเพื่อส่งสัญญาณอะไรบางอย่าง

และขั้นตอนในงานสมรสนี้ ก็จะมีการเดินรอบกองไฟตามธรรมเนียมของฮินดู


แต่สิ่งที่น่าสนใจสำหรับฉันก็คือเรื่องของผ้าคลุมไหล่  พวกเขานำเอาผ้าทอ
พื้นเมืองที่เป็นลวดลายเฉพาะ
ของชาวคินนัวร์ มาใช้ประกอบในงานนี้ด้วย โดยจะมี
ผู้ชายสามคนทำหน้าที่ยืนขึงเป็นฉากกั้นไว้ และจากนั้นมันก็จะถูกนำมาห่มคลุม
เจ้าบ่าวและเจ้าสาวในลำดับพิธีที่พวกเขาจะยืนโรยเครื่องหอมลงกองไฟพร้อมกัน

นี่ถ้าไม่นับเรื่องการเดินรอบกองไฟแล้ว ...
ภาพงานแต่งแบบท้องถิ่นนี้ ก็ช่างต่างไปจากในละครมาก  





ทางเข้าพื้นที่ของตัววัด Bhima Kali ด้านใน  


บริเวณพื้นที่ของวัดชั้นใน ไม่สามารถถ่ายภาพหรือสวมรองเท้าเข้าไปได้
ของทุกอย่างต้องเก็บไว้ที่ล็อคเกอร์ด้านหน้า และจากนั้นก็ต้องรอให้เจ้าหน้าที่
ทำการอนุญาตเสียก่อน

ฉันมานั่งคอยพร้อมกับกลุ่มชาวคินนัวร์สามคนหลังเอาของไปฝากที่ตู้เก็บ เวลานี้
ก็มีผู้เข้าเยี่ยมชมสถานที่ด้านในเพียงแค่ห้าคน  และพวกเขาเหล่านั้นต่างใส่หมวก
เทปังสีเขียวบนศีรษะตามธรรมเนียมกันอยู่แล้ว ฉันเลยไม่ได้เอะใจอะไร ...
กระทั่งเมื่อเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลได้ส่งสัญญาณอนุญาตให้เราเดินเข้าไปข้างในได้

"มีหมวกใส่มั้ย?"  เจ้าหน้าที่ฯ ชี้มาที่หมวกของเขาเพื่อเตือนว่า
ฉันควรหามาใส่ก่อนเข้าเขตวัดชั้นใน ที่ดูท่าจะเข้มงวดกับจารีต

ตายละ!...ฉันลืมกฏของการเข้าสถานที่ทางศาสนาของคนถิ่นนี้ไปเลย
'ว่าต้องสวมหมวก' แต่ก็ยังได้รับการผ่อนปรนอยู่นะในเมื่อเสื้อกันหนาว
ของฉันมันมีฮู้ด พวกเขาจึงอะลุ่มอล่วยให้

"ถ้างั้นเอาฮู้ด มาคลุมหัวไว้ละกัน"



ระหว่างที่เดินเข้าไปยังพื้นที่ชั้นบนของวัดเก่าแก่ที่สร้างเป็นอาคารคู่
มันดูเอี่ยมอ่อง จนเกินกว่าจะเรียกว่าเป็นโบราณสถานไปมาก แต่ทั้งนี้ก็เพราะ
ใน ปี ค.ศ. 1905  ได้เกิด
เหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่จนได้สร้างความเสียหาย
กับตัววัดไปมาก 
ดังนั้นภาพตัวอาคารภายนอกที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ ก็ได้รับการบูรณะ-
ซ่อมแซมขึ้นใหม่จนไม่เหลือความเก่าครึเสียแล้วล่ะ 




ถาดใส่เครื่องบูชา และภาพวัด Bhima Kali และรูปปั้นเทวีที่นำมาอัดใส่กรอบวางจำหน่าย



ในสมัยก่อน หลังสิ้นสุดเทศกาลนวราตรี ที่จะมีการฉลองกันเก้าคืนไปแล้ว 
ถัดจากนั้นหนึ่งวัน ในวันที่ 10 หรือที่เรียกว่าวัน "ดุเซร่า" สถานที่แห่งนี้
ก็ได้เคยใช้ประกอบพิธีบูชายัญซึ่งใช้ 'มนุษย์' เป็นเครื่องสังเวยด้วย

แต่ในปัจจุบันแม้ว่าจะไม่มีการนำคนมาตัดคอบูชายัญแล้ว และเปลี่ยนมาใช้สัตว์
ประกอบพิธีแทนอย่าง แพะ ไก่ ควาย นก ก็ตาม...เวลาที่เดินอยู่ในวิหารด้านบน

ไล่ไปตามชั้นต่าง ๆ ถึงมันจะสวยงามวิจิตรด้วยงานสลักไม้,เงิน,ทอง เต็มไปหมด
ฉันก็ยังต้องแอบระแวงอยู่ดี ไม่รู้ว่าจุดไหนกันที่เคยถูกใช้ทำพิธีฯ อย่างว่ามั่ง....

เหอ เหอ (หลอน)  


....


เรื่องอาหารการกิน สำหรับซาราฮัน ฉันคิดว่าที่นี่ดูแปลกมาก ๆ จากที่เดิน
หาร้านอาหารที่จะทำเมนู non-veg ไม่ได้ (มีแค่มังสวิรัติเท่านั้น) ก็อาจไม่พิลึก
เพราะในเหตุผลดังกล่าวก็คงสอดคล้องกับสถานะของ "เมืองศักดิ์สิทธิ์"
ที่จะเป็นเขตอภัยทานงดเว้นการนำเอาเนื้อสัตว์
มาบริโภคกัน

ซึ่งเรื่องพรรค์นี้ฉันก็พอจะรู้กฏอยู่หรอกนะ เพราะเคยได้ไปเยือนเมือง
ที่ชื่อว่าเป็น'เขตอภัยทาน'มาก็มากกว่าหนึ่งหน โดยพวกเขาจะงดนำเนื้อสัตว์
เครื่องดื่มมึนเมา กระทั่งไข่ เข้ามาอย่างเคร่งครัด

แต่ขณะเดียวกันก็ไม่เข้าใจว่าทำไมใน ช่วงเทศกาลงานแต่งฯ 
บนซาราฮัน
แม้จะเป็นเขตนอกวัดก็เถอะ ต่างดูเต็มเตไปด้วยผู้คนที่มีทั้งปกติและเมาแอ๋
กันได้เนี่ย? พอตกเย็นเข้าพวกก็เริ่มเดินเป๋ เดินเซ กันให้เกลื่อนเชียว  
และฉันก็มั่นใจว่าไม่ได้แอบไปเมาจากที่อื่นอย่างแน่นอน  
เพราะที่เกาท์เฮาส์
ของฉันกลับมีการนำเอาเหล้ามาตั้งขายด้วยไงล่ะ...  ช่างดูย้อนแย้งซะไม่มี


สุดท้ายแล้ว แม้ฉันไม่ได้เจอกับปราดัม บนเมืองซาราฮันตามที่คาดไว้ก็ตาม 
แต่ในช่วงจังหวะที่เดินทางขึ้นมาบนนี้ ฉันได้เหลือบไปเห็นที่ทำการของเหล่า
I.T.B.P. โดยบังเอิญ  
และก็คิดว่าเวลานี้เฮียปราดัมคงเข้าพักอยู่ในหน่วยฯ นั่นแหละ





......






เรื่องของชนเผ่าหมวกเขียว (ฉบับไม่สมบูรณ์) 




มาพูดถึงหมวกแถบกำมะหยี่สีเขียวหรือ เทปัง (Thepang) กัน
ยอมรับว่าครั้งแรกสนใจเรื่องของคินนัวร์ก็เพราะเรื่องของหมวกนี่ล่ะ 
เพราะช่วงดิวาลี ปี 2014  ได้มีโอกาสนั่งรถผ่านพื้นที่นี้พอดีซึ่งวันนั้น
ก็ได้เห็นชนชาวคินนัวร์ ประโคมแต่งชุด สวมเครื่องประดับ กันเต็มที่
ดูเด่นสะดุดตาให้น่าสงสัยเสียขนาดนี้ ก็เลยอยากแวะมาที่พื้นที่บ้าง

แม้ว่าอันที่จริงแล้วการสวมหมวกของชาวคินนัวร์ ไม่ได้มีมากไปกว่าเพื่อ
ป้องกันความเย็นจากสภาพอากาศกัน โดยสวมใส่เหมือนกันทั้ง ชาย-หญิง
จนฉันมองว่าเหมือนกับเป็นเครื่องแบบที่แสดงเอกลักษณ์แบบกลาย ๆ

ยิ่งหากมีงานเฉลิมฉลองหรือช่วงเทศกาล พวกเขามักจะใช้ชิ้นส่วนจาก
แผ่นเปลือกที่ติดเมล็ดของพืชท้องถิ่นที่ชื่อว่า Arlu (ชื่อสามัญ คือ Oroxylum) 
ที่มีหน้าตาเหมือนแผ่นปีกบาง ๆ มาใช้ติดบนหมวกเพื่อประดับตกแต่งกัน 
บ้างก็มีใช้ดอกไม้แห้งอย่างอื่นเสริมไปด้วย ซึ่งดูแล้วก็รู้เลยว่าพวกเขา
จะต้องเตรียมไปงานฉลองที่ไหนแน่นอน...

ส่วนชื่อของแผ่นเปลือกที่ว่าในภาษาไทย ลองค้นแล้วก็พบว่า
มันคือ
"เพกา" ค่ะ แต่ไม่แน่ใจนะว่าเป็นสายพันธุ์เดียวกันหรือปล่าว











คำที่ใช้เรียกเฉพาะ 

Kinnaur หมายถึง ชื่อภูมิภาค

Kinnaura หมายถึง ชนเผ่าคินนัวร์

Kinnauri หมายถึง ชาวคินนัวร์ (ที่จริงก็อาจใช้เรียกว่า คินนัวรี)

Kinnaurese เป็นคำที่ชาวอังกฤษใช้เรียก  



อิทธิพลทางความเชื่อ
ก็มีทั้งศาสนาดั้งเดิมของชาวคินนัวร์ที่เรียกว่า Shu (;Shuism) 
แล้วก็ถูกนำมาผสมผสานกับฮินดูและพุทธ จนกลายเอกลักษณ์เฉพาะ



ที่วัดแห่งหนึ่งใน ซังกลา บริเวณถนนล่าง



กงล้ออธิษฐานที่ กัลป้า 



ภายในวัดที่กัลป้า ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลไปจากกงล้ออธิษฐานของชาวพุทธ
หรืออาจจะเป็นอาณาเขตเดียวกันด้วยซ้ำ ก็มีเทวรูปท้องถิ่นวางตั้งอยู่ด้านใน
และเมื่อถึงงานเฉลิมฉลองก็จะถูกอัญเชิญออกมาแห่ด้านนอก

ทั้งวัฒนธรรมและความเชื่อของชาวคินนัวร์คงเรียกได้ว่า
เป็นแบบลูกผสม ที่ผสมปนเปกลมกลืนกันไปหมด



....


แถมด้วยภาพงานสลักไม้ในเทวสถาน



จากศาสนสถาน ใน ซังกลา ที่หมู่บ้าน Kamru





มุมจากลานวัดภีมะกาลี , ซาราฮัน



.....



การเดินทาง

พื้นที่ระหว่างเส้นทางค่อนข้างอันตรายเพราะจะเป็นถนนที่วิ่งเลียบหน้าผา
ซึ่งจะเหมาะกับการใช้รถรับจ้างคันเล็กมากว่า แต่จากการเดินทางของเรา
ได้อาศัยแต่การคมนาคมขนส่งท้องถิ่น จึงอาจฟังดูลำบากไปบ้าง


สำหรับสถานีขนส่งหลัก ของเขตนี้ 
ก็คือ เรคก็อง พีโอ (Reckong Peo) 




ภาพแนวเขาจาก กัลป้า
หากมองหากันดี ๆ ก็จะเจอยอดเขาไกรลาสฯ ด้วยนะ



ยอดเขาที่สำคัญ คือคินนัวร์ ไกรลาส คลิกดูภาพประกอบ Kinnaur kailash
จะสามารถมองเห็นจากกัลป้าได้ ตั้งอยู่บนความสูงจากระดับน้ำทะเล 6,050 เมตร 
เป็นหนึ่งในสถานที่แสวงบุญที่ชาวฮินดูจะยาตราขึ้นไปสักการะเทพเจ้ากัน

บางทีก็คิดนะว่าบรรดากลุ่มแสวงบุญเหล่านี้คงนักเดินเขาตัวจริงเสียงจริง
มาแต่ไหนแต่ไร...เพียงแค่เป้าหมายของพวกเขาอาจต่างไปจากนักเดินเขา
ทั่วไปนิดหน่อย แต่ความอดทนทรหดต่อพื้นที่สูงคงมีไม่แพ้กันแน่นอน



รายชื่อของเมืองที่ได้ไปเยือน
Sangla - Chhitkul - Kalpa - Sarahan 


และท้ายที่สุด ...ก็อย่ากระโตกกระตากตกใจไปนะ
หากเมื่อได้พบเห็นนามสกุลของชาว Kinnauri เหล่านี้ 
จะใช้คำว่า
Negi  เหมือนกันเกือบทั้งย่าน!





Create Date : 15 กรกฎาคม 2559
Last Update : 27 ธันวาคม 2560 16:13:00 น. 31 comments
Counter : 1775 Pageviews.

 
กาบริเอล Travel Blog ดู Blog


โดย: ขุนเพชรขุนราม วันที่: 15 กรกฎาคม 2559 เวลา:9:10:19 น.  

 
ตามมาอ่านเรื่องเล่าของคุณฟ้า
ช่างกล้าแท้หนอ

คุณฟ้าจะหายไปไหนเหรอ
รออ่านอยู่นะ



โดย: loongchat (สมาชิกหมายเลข 3016924 ) วันที่: 15 กรกฎาคม 2559 เวลา:9:55:59 น.  

 
ตามมาเที่ยว
ดีจังได้เห็นพิธีแต่งงานแบบชาวพื้นเมืองด้วย
เดาว่าหยุดยาวหลายวัน
น้องฟ้าต้องไปเที่ยวไหนแน่ ๆ เลย
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ไวน์กับสายน้ำ Diarist ดู Blog
เศษเสี้ยว Photo Blog ดู Blog
กาบริเอล Travel Blog ดู Blog


โดย: เนินน้ำ วันที่: 15 กรกฎาคม 2559 เวลา:10:10:20 น.  

 
ยังคิดจะกลับไปอีกเหรอครับเนี่ย เจอเอาอาหารมาล่อก็แบบนี้ 555
คืนนี้ก็นอนในวัดอีกละ พวกแบกเป้เที่ยวในเพจของไทยเวลาพักในวัดเจอดีทุกที แต่อารามแถวนี้ไม่มีผีใช่ป่ะครับ? หรือพยายามจะหลอก แต่ฟังไม่เข้าใจ
ไปแล้วเห็นเทศกาลของเขานี่จังหวะดีจริงๆครับ ได้ชมงานแต่งด้วย ตอนไปมุมไบไกด์เาว่างานแต่งของชาวอินเดียถือเป็นเรื่องใหญ่มาก ระดับที่ต้องกู้หนี้ยืมสินมาก็ต้องจัดงานให้หรูเลิศอลังการ แดนไกลแถบนี้ก็คงคล้ายๆกันนะครับ
การบูชายัญไม่รู้ว่าเลิกไปกี่ปีแล้ว ถ้านานแล้วคงให้ความรู้สึกเหมือนเดินเที่ยวลานวัดสระเกศที่สมัยก่อนเอาไว้ทิ้งศพที่ตายด้วยโรคห่า
มีสรุปเกร็ดการเดินทางไปคินนัวร์ด้วย เวลาจะเดินทางไปที่พวกนี้ฟ้าหาข้อมูลจากที่ไหนอะครับ ในเว็บภาษาอังกฤษยังไม่ค่อยจะมีเลย

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
กาบริเอล Travel Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: ชีริว วันที่: 15 กรกฎาคม 2559 เวลา:19:38:17 น.  

 
ต้นกล้วยต้นอ้อย เป็นซุ้มในงานแต่ง นึกถึงงานแต่งของไทยครับ อาจมีจุดเชื่อมโยงกัน น่าสนใจ
การเดินทางของ จขบ. ถือเป็นการเดินทางที่ตื่นตาตื่นใจทุกชั่วยามเลยทีเดียว มีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นอยู่เสมอ อ่านแล้วนึกว่าตัวผู้อ่านกำลังอยู่ในสถานะเดียวกัน คอยแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าไปด้วยกัน มีอยู่นีดเดียวที่ผมไม่คุ้นเคยกับชื่อเมืองของถิ่นนั้น ประเทศนั้น ต้องไปค้นต่ออีกทีครับ
โหวต Travel Blog


โดย: Insignia_Museum วันที่: 16 กรกฎาคม 2559 เวลา:10:42:45 น.  

 
ตามมาเที่ยวด้วยคนค่ะ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
newyorknurse Klaibann Blog ดู Blog
ข้ามขอบฟ้า Music Blog ดู Blog
สายหมอกและก้อนเมฆ Travel Blog ดู Blog
เวียงแว่นฟ้า Book Blog ดู Blog
haiku Fanclub Blog ดู Blog
pantawan Health Blog ดู Blog
ปรัซซี่ Food Blog ดู Blog
กาบริเอล Travel Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: Raizin Heart วันที่: 16 กรกฎาคม 2559 เวลา:10:50:45 น.  

 
น่าเที่ยวมากค่ะ เป็นอีกประเทศหนึ่งที่อยากไปค่ะ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
Raizin Heart Movie Blog ดู Blog
เศษเสี้ยว Home & Garden Blog ดู Blog
กาบริเอล Travel Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: Sai Eeuu วันที่: 16 กรกฎาคม 2559 เวลา:15:32:02 น.  

 
ถือว่าโชคดีในการเดินทางมากๆ นะครับ ผมอ่านแล้วคิดได้เลยว่าสถานการณ์ในเดลี กับเมืองอื่นๆ น่าจะต่างกันค่อนข้างมาก นิวเดลี น่าจะ พอๆ กับ เดลี (ผมเดา)

เมืองอื่นๆ ผู้คนดูจะเป็นมิตรและหลอกลวงน้อยกว่า

ได้เจอพวกพิธีกรรม ประเพณีหรือกิจกรรมของต่างประเทศมันก็ชวนให้เราอยากดูนะครับ มันเป็นความอยากรู้อยากเห้นของเรา เพราะมันคือความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วย


เรื่องนามสกุล ผมเดาว่าคงคล้ายกรณีของจีนสมัยก่อนมั้งครับ สมัยก่อนก็เป็นแบบนี้เหมือนกัน แซ่เดียวกันหมดทั้งหมู่บ้าน

กาบริเอล Travel Blog
+


โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 17 กรกฎาคม 2559 เวลา:0:30:48 น.  

 
thx u crab


โดย: Kavanich96 วันที่: 17 กรกฎาคม 2559 เวลา:4:32:37 น.  

 
ตามมาเที่ยวค่ะ
อ่านเพลินชมภาพเพลินเลยค่ะ
โชดดีนะคะ เจอแต่คนที่เป็นมิตรแบบนี้

กาบริเอล Travel Blog ดู Blog



โดย: ข้ามขอบฟ้า วันที่: 18 กรกฎาคม 2559 เวลา:1:05:44 น.  

 
โอ้~ ชมพูทวีปช่างกว้างขวางนัก
ลิงค์ Bushahr ที่คุณฟ้าให้มา
แทบไม่สามารถช่วยให้ผมเข้าใจได้เลยว่า...
ที่นี่มันอยู่ตรงไหน (เพราะอินเดียกว้างมาก ^^")
แต่ไม่เป็นไร เพราะผมคงไม่มีโอกาสได้ไปอยู่แล้วล่ะ
อ่านเรื่องที่คุณฟ้าเล่าอย่างเดียวก็พอแล้วเนอะ ^^

ตอนแรกก็นึก ๆ อยู่ว่าหมวกเขียวนี่เป็นยังไง
อ๋อ เป็นของที่สวมต้องเป็นแบบเฉพาะของชาว คินนัวร์ สินะ
(แน่ล่ะ! เอาหมวก ร.ด. บ้านเรามาใส่คงไม่ได้หรอก -_-)
ชาวต่างด้าวต่างถิ่นอย่างเรา ๆ คงไม่มีอยู่แล้วเนอะ

ส่วนวัดกัลป้านี่เตะตาผมมากเลย
ดูเป็นการออกแบบลูกผสมวัฒนธรรมระหว่างศาสนาดี
ตัวที่เคาะประตูที่เป็นรูปมังกร (หรืออะไรก็ไม่รู้) เก๋มากกก ชอบ >_<


ป.ล. ทริปในเอนทรีย์นี้เจอแต่คนใจดีนะครับ
ผมเดาว่าคนที่มากับคุณ "แฮปปี้" สงสัยจะชื่อ "เบิร์ธเดย์" นะ 55


โดย: ทุเรียนกวน ป่วนรัก วันที่: 18 กรกฎาคม 2559 เวลา:21:10:30 น.  

 
กาบริเอล Travel Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

ยอดเยี่ยมจริง..ครับคุณฟ้า... ทั้งภาพ มุมกล้อง การบรรยาย
สมบูรณ์แบบ

ไปเที่ยว หรือยังติดภาระการงานครับ


โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 20 กรกฎาคม 2559 เวลา:10:36:12 น.  

 
ตามมาเที่ยวต่อครับ
ในวัดขณะทำพิธีแต่งงานผู้ชายใส่หมวกเขียวกันเกือบหมด

กาบริเอล Travel Blog ดู Blog


โดย: เศษเสี้ยว วันที่: 20 กรกฎาคม 2559 เวลา:22:52:07 น.  

 
ใส่หมวกนี่หมายถึงหมวกอะไรก็ได้เหรอ หมวกแก๊ปก็ได้ใช่มั้ยอ้ะ?

เออ ย้อนแย้งจริง กินมังแต่เมาปลิ้น 555

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ซองขาวเบอร์ 9 Literature Blog ดู Blog
Maeboon Travel Blog ดู Blog
เศษเสี้ยว Photo Blog ดู Blog
คนสวยที่ไม่เคยสวย Diarist ดู Blog
Raizin Heart Movie Blog ดู Blog
น้ำ-ฟ้า-ป่า-เขา Travel Blog ดู Blog
บาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน Food Blog ดู Blog
ทนายอ้วน Travel Blog ดู Blog
jewelmoda Travel Blog ดู Blog
กาบริเอล Travel Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 21 กรกฎาคม 2559 เวลา:17:57:59 น.  

 
555 บล็อก อ.เต๊ะ มักจะมีสิ่งไม่คาดฝันเสมอแหละ ต้องเฝ้าระว้งให้ดี
ไม่แน่ น้องฟ้าผ่อง อาจจะตกเป็นเหยื่อรายต่อไปก้ได้ ใครจะไปรู้ แฮ่ๆ555

วันนี้อัพบล็อกใหม่กว่าจะได้หมดแรง งดแต่งนิยายให้ฟ้าผ่อง วันนึงน้า 555
เอาแค่เขียนธรรมดานี่ก้น่าจะเลือดซิบๆแล้วละ เดี๋ยวมาดูกันเล้ยย อิอิ

เอาตั้งแต่ที่น้องฟ้าผ่องบอกว่า ภาพแรกที่ถ่ายวัด Bhimakali มานี่ สวยงามไม่ต่างกับในโปสการ์ดนี่

อ.เต๊ะเคยเห็นรูปในเวปแล้วนะ มุขนี้ ใช้กับ อ.เต๊ะ ไม่ได้หรอก ต้องมีการเข้าใจอะไรผิด แหงๆ อิอิ

เดาว่าน่าจะเป็นที่กล้อง คอมแพค วัดแสงผิดพลาด
เซนเซอร์ error อากาศคงเย็นจัดด้วย
ภาพถึงต่างกันซะขนาดนี้ ไม่ได้เป็นความผิดของน้องฟ้าผ่องเล้ยจริงๆ อ.เต๊ะ พยายามช่วยเต็มที่แล้วน้า อิอิ

น้องฟ้า บอก เหรออ ข้าว่าเอ็งช่วยซ้ำเติมข้ามากกว่านะนี่ ทางที่ดีเอ็งอยู่เงียบๆ ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ซะ
ข้าจะขอบคุณมากเย้ย 555

แล้วก็ น้องฟ้าไปถึง วัด Bhimakali แล้วนี่ แต่ดูท่าทางไม่ค่อยจะสนใจ
สถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่า ของโลกแห่งนี้เท่าไหร่
น่าจะเป็นเพราะ เรื่องปากท้องสำคัญกว่า

เพราะ ในงานแต่งงาน ของคนท้องถิ่นแถวนั้น น่าจะมี ของฟรี อร่อยๆให้ น้องฟ้าได้แฮบบ้างละน่า เย้ย555

ยิ่งไอ้หนุ่มนายแบบเจ้าบ่าว หมวกเขียว ที่กำลังเมาแอ๋ อยู่นั้น พวงมาลัยแบงค์ ที่แขวนคออยู่
น่าจะหลอกปลดเอามาได้ไม่ยาก เย้ย555 คงจะพอค่าเกสเฮ้าส์ หาเนื้อแพะอร่อยๆกิน
อยู่ต่อได้อีกหลายวัน เย้ย 555

จริงๆแล้ว วัด Bhimakali นี่ถืเป็นสุดยอดสถาปัตยกรรม ในแง่ของงานแกะสลักไม้เลยนะเนี่ย
ดุแล้ว น่าจะออกแนว Indo- Tibetan style โครงสร้างก้ไม่ธรรมดา
ชั้นล่าง ใช้การเรียงหินสลับไม้ เพื่อรับน้ำหนัก อาคารชั้นบน ที่แผ่กว้างออกไป

การก่อสร้างผนังหนาๆลักษณะนี้ จะช่วยให้อบอุ่น ตอนหน้าหนาว
เสียดาย เค้าไม่ให้น้องฟ้าเข้า ไม่งั้นแอบนอนที่นี่ได้ละก็ อุ่นสบายทั้งคืนเลยทีเดียว 555

ที่โดดเด่นมากก็งานแกะสลักไม้ ตามผนัง เชิงชาย และเสา ราวระเบียงต่างๆนี่
ฝีมือช่างระดับพระกาฬเลยทีเดียว
เสียดายน้องฟ้า น่าจะถ่ายมาให้ครบๆ

ซุ้มประตูที่ทำด้วยเงินแกะสลักก้ไม่เห็น
ทีคนเมาละก็ ชอบถ่ายซะจริ้งๆ 555

แล้วก้เรื่องนามสกุล ที่เหมือนกันนี่ งงมาก หมายถึงเป็นพี่น้องกันทั้งหมู่บ้านหรือไง
ตายๆ อกอีแป้นแล่นลึกเข้าตึกแขก+ทิเบต เลย แฮ่ๆ555

ขอบคุณสำหรับโหวตด้วยจ้า





บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้


กาบริเอล Travel Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: multiple วันที่: 22 กรกฎาคม 2559 เวลา:14:36:30 น.  

 
ว่ากันด้วยเรื่องหมวกประจำท้องถิ่น
ของมุสลิมภาคใต้เราก็มี"หมวกกะปิเยาะห์"
ที่เค้าไว้ใส่ไปสุเหล่าอะไรแบบนั้นเหมือนกันรึเปล่านะคะ

หมวกนี่สื่อถึงวัฒนธรรมท้องถิ่นได้ดีเลยเหมือนกันโน๊ะ

แวะมาโหวต Travel Blog ให้ค่ะ



โดย: ผีเสื้อยิปซี วันที่: 22 กรกฎาคม 2559 เวลา:15:54:03 น.  

 
สวัสดีค่า คุณฟ้า ^^
ไม่ได้มานานมาก ไปถึงไหนๆ แล้ว
จะจบทริปแล้วแน่ๆ เลย
ยอมแพ้ ไม่มีเวลามาบล็อก ขนาดเฟซยังมาๆ หายๆ ค่ะ

จริงๆแล้วอยากรู้มาก ไปอินเดียคนเดียวอันตรายมากมั้ยคะ
บางทีอ่านๆ ไปก็เริ่มคิดอยากเขียนนิยายอินเดียมั่ง
เสียแต่ไม่เคยไปจริงนี่แหละค่ะ มโนไม่ออก
อินเดียใหญ่มากแต่ละภูมิภาคคงต่างกันเยอะ
ขนาดบล็อกนี้ พิธีแต่งงานก็ยังแปลก

หมวกเขียวน่าสนใจมาก
จะว่าไปมีอะไรที่น่ารู้เยอะเลย แต่ไม่มีใครเล่าประเด็นแปลกๆ ที่ต้องคลุกคลีจริงๆ เท่าไหร่
ชอบๆ ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ ค่า
เอาไว้มาใหม่นะคะแต่ไม่รู้เมื่อไหร่อีก แงงงงง
มีความสุขมากๆ ในวันหยุดค่า


โดย: lovereason วันที่: 23 กรกฎาคม 2559 เวลา:0:45:28 น.  

 
มาส่งกำลังใจ พักไปให้สบายก่อนนะคะ

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
เรียวรุ้ง Funniest Blog ดู Blog
newyorknurse Klaibann Blog ดู Blog
ไวน์กับสายน้ำ Diarist ดู Blog
ดอยสะเก็ด Literature Blog ดู Blog
สาวไกด์ใจซื่อ Food Blog ดู Blog
เนินน้ำ Food Blog ดู Blog
กาบริเอล Travel Blog ดู Blog



โดย: ภาวิดา (คนบ้านป่า ) วันที่: 23 กรกฎาคม 2559 เวลา:20:16:23 น.  

 
อันซีนของพี่ตุ๊ตลอดค่ะ
+


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 24 กรกฎาคม 2559 เวลา:22:19:36 น.  

 
สวัสดีอีกรอบจ้าา

เนาะ พี่ก็ชอบความเป็นครูของทั้งคู่

ตอนพี่เป็นครู พี่ก็ว่าพี่เป็นครูที่เด็กชอบเรียนนะ แฮร่..

ขอบคุณที่ไปตอบคำถามด้วยจ้า


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 25 กรกฎาคม 2559 เวลา:14:16:43 น.  

 
สวัสดีครับ ^^! แวะมาทักทายครับผม :))


โดย: ต้อง (Tongstory95 ) วันที่: 25 กรกฎาคม 2559 เวลา:16:54:31 น.  

 
คิดว่าพาไปที่อื่นต่อแล้วนะเนี่ย หยุดหลายวันไปเที่ยวไหนมาคะน้องฟ้า
กุ้งเราจะใช้ผ่าหลังก็ได้ค่ะ ทำกินเองเนาะ อะไรก็ได้ตามสะดวกเลย
แต่ถ้าเป็นแนวเทมปุระจะไม่ค่อยเห็นผ่าหลังค่ะ


โดย: เนินน้ำ วันที่: 25 กรกฎาคม 2559 เวลา:17:02:38 น.  

 
สวยงามและน่าไปเที่ยวมาก ๆ เลยจ้า

โหวตเป็นกำลังใจให้นะจ๊ะ


โดย: แม่โอ๋เรนเจอร์ วันที่: 25 กรกฎาคม 2559 เวลา:17:37:35 น.  

 
ขอบคุณนะคะ ที่แวะไปเยี่ยม

ภาษาเยอรมันออกเสียงยาก และต้องออกเสียงให้ครบอักษรทุกตัวที่มีด้วย อย่างที่คุณว่าจริงๆ แรกๆ ก็เล่นเอาเหนื่อยเหมือนกัน ลิ้นก้แข็ง หลังๆ ก็แอบลักไก่บ้าง ออกเฉพาะตัวสุดท้าย อะไรทำนองนั้นค่ะ ฮ่า

ชนเผ่าหมวกเขียวเป็นอะไรที่น่าสนใจและน่าทึ่งนะคะ และไม่ค่อยมีใครเขียนเรื่องราวแบบนี้เท่าคุณ จขบ เลยค่ะ เยี่ยมามากเลย


โดย: Sai Eeuu วันที่: 25 กรกฎาคม 2559 เวลา:18:53:42 น.  

 
จากบล้อก ผมแปลเอามันส์ครับ ถ้าอปลตรงๆ เลยคือ น้อยเกินไป (นิดเดียวเอง)


โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 25 กรกฎาคม 2559 เวลา:23:29:02 น.  

 
มาอ่านคำตอบครับ รวมทั้งการตอบคำถามท่านอื่นด้วย ทำให้รู้รายละเอียดการเดินทางมากขึ้น ทำให้ไม่กลัวการเดินทางไกลไปต่างถิ่น รู้จักระวัง หรือการหลีกเลี่ยง ดีมากครับ


โดย: Insignia_Museum วันที่: 26 กรกฎาคม 2559 เวลา:21:56:41 น.  

 
โอ้ที่พักแจ่มมากครับ ติดโบราณสถาน แต่เอาน่ะ ยังดีกว่านอนวัด อิอิ
เดินทางไปที่ไหน คนพูดภาษาอังกฤษได้นี่ช่วยเราได้เยอะจริงๆ โชคดีเจอนักศึกษาที่ทำข้อมูลเรื่องวัฒนธรรมท้องถิ่นมาด้วยนะครับ แจ่มมาก คงให้ความรู้สึกเหมือนคนไทยขึ้นไปศึกษาความเป็นอยู่ของชนกลุ่มน้อยแถวชายแดน เรียกว่าไม่ได้เที่ยวต่างประเทศธรรมดา แต่เที่ยวนอกเขตความเจริญของต่างประเทศอีกที ลับแลกันแบบสุดๆ (ผมชอบบล็อกนี้จริงๆ)

โยโกะ โอโนะ ฟังแล้วรู้สึกว่าห่วย แต่ไม่ถึงกับตัวสั่นไข้ขึ้นแบบเพลงไจแอนนะครับ 555


โดย: ชีริว วันที่: 26 กรกฎาคม 2559 เวลา:22:30:17 น.  

 
แวะมาทักทายและขอบคุณสำหรับโหวตด้วยค่ะ


โดย: Raizin Heart วันที่: 27 กรกฎาคม 2559 เวลา:9:40:56 น.  

 
อ่านบล็อกน้องฟ้าทีไร พี่จะนึกตลอด ว่าน่าอิจฉามาก ได้เที่ยวแมนๆ เอ๊ะ!

แล้วเหมือนน้องฟ้าจะมีโชคทางด้านนี้นะคะพี่ว่า
เพราะไม่ว่าจะเดินทางไปที่ไหนก็จะได้ไปพบเจอกับมิตรภาพดีๆ เสมอ

อ่านบล๊อกของน้องฟ้าแล้วพี่รู้สึกเหมือนเวลาที่ดูสารคดีของพวกฝรั่งหน่ะ
อย่างเนตจีโออะไรประมาณนั้น



โดย: อาร์ลาฟองค์ วันที่: 27 กรกฎาคม 2559 เวลา:23:13:35 น.  

 
สวัสดียามเช้าผม
:)


โดย: Tongstory95 วันที่: 28 กรกฎาคม 2559 เวลา:9:32:27 น.  

 
แวะมาเยี่ยมค่า
มานั่งรอว่าจะพาไปลุยที่่ไหนอีก


โดย: ข้ามขอบฟ้า วันที่: 30 กรกฎาคม 2559 เวลา:13:39:03 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

กาบริเอล
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 58 คน [?]




ชอบต้นไม้, แมว, หนังสือ
และออกเดินทางท่องเที่ยวบ้าง

ไม่ชอบพบปะผู้คนมากนัก
เป็นมนุษย์จำพวก introvert

การเขียนบล็อก
คืออีกพื้นที่บอกเล่าผ่านตัวอักษร
และตัวตนของเราก็อยู่ในสิ่งที่เขียนค่ะ

ขอบคุณ Bloggang
สำหรับพื้นที่แบ่งปันตรงนี้

....

เริ่มต้นลงบันทึกอย่างเป็นทางการ
ณ วันที่ 16 ม.ค. 2014


###ไม่สะดวกพูดคุยหลังไมค์นะคะ###

© ขอสงวนลิขสิทธิ์ ภาพถ่าย 
ห้ามนำไปใช้ ดัดแปลง แก้ไข 
โดยไม่แจ้งที่มา ก่อนได้รับอนุญาต


New Comments
Friends' blogs
[Add กาบริเอล's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.