Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2557
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
11 ธันวาคม 2557
 
All Blogs
 

Dharamshala (2) - Little Lhasa




บันทึกการเดินทางในอินเดีย ครั้งที่ 2 : ตุลาคม 2014
(ได้ทำการเรียบเรียงเนื้อหาใหม่อีกครั้งในปี 2018)




บ่อยครั้งฉันก็แอบสงสัย ไม่เข้าใจว่าทำไมพื้นที่ของผู้ลี้ภัยฯ มันช่างดูคึกคัก
แบบนี้ 
เพราะเมื่อมองไปทางไหนก็มักจะเต็มไปด้วยร้านค้า ร้านอาหาร แผงขาย
ของที่ระลึก 
เกสท์เฮาส์ ที่พากันผุดขึ้นเต็มไปหมด

แต่ว่าสิ่งที่ดูผิดแผกไปจากย่านความเจริญอื่นก็คงเห็นจะเป็น 'จำนวนพระ' 
ที่มีสูสีพอ ๆ กับนักท่องเที่ยวเลย  ดังนั้นเหล่าผู้คนเดินถนนที่จะสวนผ่านเราใน
แมคลอดกันจ์ 
ก็จะมีจำนวนชาวต่างชาติ คนอินเดีย พระสงฆ์ และคนทิเบต 
ในอัตราส่วนที่สูสีพอกันเชียวล่ะ



สองข้างทางเดินของตรอกถนนที่เต็มไปด้วยร้านค้า 


ฉันตั้งใจที่จะแวะไปยังวัดของทะไลลามะ ที่อยู่ไกลห่างเพียงฟากถนน
และคาด-
หวังถึงอะไรบางอย่างตามที่เคยจิตนาการไว้ 
ถึงความโอ่อ่าของสถานที่ดังกล่าว
เมื่อเทียบกับ 'พระราชวังโปตาลา' 
ในกรุงลาซาของทิเบต ตามที่ได้เคยเห็นผ่าน
ตาจากสารคดีมาก่อนหน้านี้




ที่มาของภาพ : https://en.wikipedia.org/wiki/Potala_Palace






temple road - เส้นถนนที่จะตรงไปยังวัดทะไลลามะ (ภาพถ่ายนี้หันย้อนกลับไปยังทางเดินเข้า)



โรงเรียนเด็กทิเบต บนแมคลอดกันจ์ (upper TCV School) 



เพิงร้านขายของที่ระลึกตรงข้างทาง กับภาพการจราจรที่ฝั่งถนนซีกนี้มักจะมีรถวิ่งสวนผ่านบ่อยครั้ง



เมื่อเดินตรงไปสุดทางถนน ก็จะพบกับตลาดขนาดเล็กที่ขายผัก,ผลไม้ และมีซุ้มนั่งสำหรับดื่มชา
โดยมากแล้วก็มักจะเป็นพ่อค้าชาวอินเดียที่มาปักหลักเปิดร้านกัน  



เส้นถนนทางไป Tsuglagkhang complex ดูไม่ได้มีความซับซ้อนอะไรมากมาย
เพราะเพียงแค่เดินตรงไปอย่างเดียวเท่านั้น  
พื้นที่ทางเดินช่วงแรกก็ดูไม่ต่างจาก
ย่านที่พักของฉันนัก มันเต็มไปด้วยร้านค้ามากมายที่
ยาวเหยียดไปจนเกือบตลอด
เส้นทาง และยิ่ง
ใกล้สุดเส้นถนนเท่าไหร่ใจฉันก็ยิ่งเต้นระทึกถึงพระราชวังที่กำลัง
จะได้เห็นมากขึ้น ๆ 

มีเหล่าพระและชาวทิเบต ตลอดจนนักท่องเที่ยวบางส่วน ที่เดินเท้ามาเอง กำลัง
มุ่งหน้าไปยังทางเดียวกับฉัน แต่บางครั้งก็จะเห็นผู้คนบางส่วนเลือกเดินทางมา
ด้วยรถรับจ้างก็มี 




แต่แล้วเมื่อได้มาจนถึงปลายทาง 
ฉันกลับมองหาที่ตั้งของสถานที่ดังกล่าวไม่เจอ!
จะเห็นก็เพียงแต่ปากทางเดินเข้าไปยังพื้นที่แห่งหนึ่ง ที่ซึ่งมีหน้าตาเป็นซุ้มที่ก่อ
ด้วยอิฐอย่างเรียบง่าย มีประตูรั้วสีเหลืองที่ถูกเปิดไว้ ตรงคานด้านบนมีแถบผ้าสี
น้ำเงิน,เหลือง,แดง กับชายผ้าสีขาวที่อัดกลีบติดเป็นระบายประดับ ส่วนบริเวณ
ด้านข้างประตู ต่างก็มีคนเอาของมาตั้งวางขายกัน

แม้ว่าจะยังไม่เข้าใจกับภาพที่เห็นเบื้องหน้าดีเท่าไหร่
แต่
ถึงอย่างนั้น ฉันยังคิดที่จะก้าวเท้าเดินไปยังเขตด้านในต่อ




ภาพวาดของเด็กชายคนหนึ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปบนแมคลอดกันจ์  เป็นป้ายปิดประกาศถึง 
เด็กทิเบตผู้ถูกลักพาตัวหายไป และอยู่ในสถานะนักโทษทางการเมืองที่อายุน้อยที่สุดในโลก

พวกเขาเชื่อกันว่านี่คือ "ปัญเชนลามะ ลำดับที่ 11" (ที่ซึ่งเป็น ตุลกู ของ ปัญเชนลามะลำดับที่ 10
กลับชาติมาเกิด) ** Panchen Lama คือตำแหน่งประมุขของทิเบตรองจากองค์ทะไลลามะ **

Gedhun Goekyi Nyima เกิดในปี 1989 และมีอายุเพียงหกขวบในขณะนั้น
หลังจากที่ได้รับการรับรองว่าเขาคือ "ปัญเชนลามะ" ได้สามวัน ก็ถูกทางการจีนจับตัวไป
นับตั้งแต่ปี 1995 ...จากวันนั้นจนถึงปัจจุบันนี้เขาก็ยังไม่ได้ถูกปล่อยตัวเป็นอิสระ


...



ระหว่างที่เดินเข้าไป ก็มีภาพบางอย่างที่ติดบนป้ายให้ได้พอสังเกตและสะดุดตา
ฉันคุ้นหน้ากับภาพเด็กชายที่ถูกลักพาตัวคนนี้มาก เพราะได้เห็นอยู่บ่อยครั้งบน
ใบประกาศขนาดต่าง ๆ ที่ติดแปะไปทั่วแมคลอดกันจ์ หรือกระทั่งชุมชนของชาว
ทิเบต
ในพื้นที่อื่นก็ด้วย   

ถัดไปไม่ไกลนัก จะมีซุ้มขนาดเล็กตั้งอยู่ตรงขวามือเขียนบอกให้นำอุปกรณ์
อิเล็ก
ทรอนิกส์ทุกประเภท โทรศัพท์มือถือ กล้อง วีดิโอ มาฝากไว้ที่จุดนี้ (แต่ไม่รับ
ฝากทั้งกระเป๋า) 
ดังนั้นฉันจึงต้องหยิบเอาโทรศัพท์ฯ และกล้องถ่ายรูป มาฝากไว้
ก่อนที่จะเลี้ยวเข้าไปยังข้างใน ที่จุดทางเลี้ยวนั้นมีที่ตั้งของอนุสาวรีย์นักบวชใน
เปลวเพลิงตรงทางเลี้ยวเข้าวัด และอาคารที่อยู่เยื้องด้านตรงข้ามก็เป็น
พิพิธภัณฑ์
ทิเบตและร้านขายของที่ระลึก 


เมื่อเดินขึ้นไปยังทางเนินเข้าวัด ก็พบว่ายังต้องมีการตรวจค้นกันอีกรอบ ผู้คนที่มี
ความประสงค์จะเข้าไปเยี่ยมชมสถานที่ด้านในหลายคนต่างพากันยืนต่อแถวเดิน
ผ่านเครื่องตรวจจับโลหะ และแยกไปค้นตรวจตามตัวกับเจ้าหน้าที่อีก 
กระทั่งเปิด
ดูกระเป๋าที่พกถือเข้ามาทุกชิ้นทุกชั้นอย่างละเอียดสุด ๆ

ก็แน่ละ...หากนึกถึงสถานภาพของท่านทะไลลามะแล้ว ที่ประทับแห่งนี้
คงมี
สถานะไม่ต่างไปจากพระราชวัง ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการเข้มงวดกวดขันกันมาก
และก่อนที่ฉันจะได้รับอนุญาตให้เข้าไปเยือนพื้นที่ด้านใน 'กระบอกไฟฉาย'
ที่ดันพกติดกระเป๋ามา ก็ต้องถูกริบเก็บโดยเจ้าหน้าที่หญิงผู้หนึ่งที่แต่งตัวในชุด
แบบทิเบต (หรือที่เรียกว่า "ชูปา') 



และแล้วเมื่อผ่านพ้นการตรวจที่แสนจะจุกจิก ฉันก็ได้เข้ามาถึงเขตด้านในเสียที!
จากภาพแรกเห็นเท่าที่จำได้ มันคือลานพื้นโล่งที่ปูทับด้วยอิฐตัวหนอน
มีการคลุม
หลังคาเพื่อบังแดดกันฝนด้วยผืนผ้าใบสีขาวขึงตรึงกับโครงเหล็ก ลานนี้จึงดูโปร่ง
และรับแสงจากภายนอกให้ส่องเข้ามายัง
บริเวณนี้ได้ นอกจากนี้ยังมีที่ตั้งของวัด
ซึ่ง
แบ่งออกเป็นสองชั้น และทั้งนี้ยังมีสถาบันการเรียนการสอนของพระสงฆ์ที่ชื่อ
ว่า 
Institute of Buddhist dialectics ตั้งอยู่ภายในอีกด้วย 

"Dialectic" แปลว่า วิภาษวิธี ... 

พอเปิดศัพท์ออกมาดูก็ออกจะงงสักหน่อย ว่าเป็นการเรียนแบบไหนกันนะ?

แต่ปริศนานี้ก็ถูกคลี่คลายไปอย่างว่องไว หลังจากได้เห็นพื้นที่ส่วนหนึ่งบนลานฯ
จะเต็มไปด้วยพระและเณรที่กำลังแบ่งกลุ่มย่อยนั่งแยกกระจายกันไป พวกเขามี
การฝึกพูดอะไรบางอย่างโต้ตอบใส่กันแบบดังลั่น ... 
พระบางรูปที่เป็นฝ่ายถามก็
จะยืนและคอยตบมือใส่หน้า หลังจากส่งคำถามให้แก่ผู้ตอบ
ที่อยู่ในตำแหน่งนั่ง
นี่คงจะเป็นการฝึกตอบหัวข้อธรรมะกันแบบด้นสด ดูแล้วก็อึกทึก
ไปด้วยเสียงตะโกน
โต้ตอบในแบบที่ดุเดือดมากทีเดียว

...



ที่ชั้นสองของวัด Namgyal จะมีห้องใหญ่สำหรับใช้ประกอบพิธีทางศาสนา
ภายในมีแท่นวางพระพุทธรูปตั้งอยู่เป็นฉากหลัง พร้อมด้วย
ธรรมาสน์ขององค์-
ทะไลลามะวาง
อยู่ด้านหน้า ที่ตอนนี้มีการล้อมกั้นพื้นที่และสวมผ้าคลุมสีเหลือง
ห่อเอาไว้
 ส่วนชั้นวางพระไตรปิฎกก็จะสร้างติดกับผนัง นอกเหนือไปจากนี้ก็เป็น
ห้องโถงโล่ง ๆ ซึ่งอาจจะถูกจัดแต่งเพิ่มเติมในวันที่มีการประกอบพิธีฯ สำคัญ   

รอบนอกตัวอาคาร (เมื่อเดินอ้อมออกไปยังด้านหลัง) จะมีการจัดวางแนว
กงล้ออธิษฐานล้อมรอบ และถัดไปไม่ไกลก็จะมีห้องที่กั้นด้วยเหล็กดัดและกระจก
โปร่งแสงที่อาจดูหมองเพราะถูกเขม่าควัน แต่ก็ยังมองทะลุเห็นได้ว่าภายในนั้นจะ
เต็มไปด้วยถ้วยตะเกียงบูชาที่จุดไฟเรียงรายเต็มไปหมด โดยผู้ที่ทำหน้าที่ดูแล
ด้านใน จะคอยจุดไฟและเติมน้ำมันลงตะเกียงเพื่อให้ส่องแสงสว่างอยู่ตลอดเวลา

ทั้งนี้ตรงลานกว้างหน้าระเบียงชั้นสองจะมีผู้คนมานั่งสวดมนต์ ทำสมาธิ หรือไม่
ก็ทำการกราบอัษฎางคประดิษฐ์ กันบนแผ่นกระดาน
ที่ทางวัดมีจัดเตรียมไว้รองรับ



ดูเหมือนว่าฉันจะสำรวจวัดทะไลลามะจนครบแล้วใช่ไหม?
หากไปนับอาคารชั้นล่างที่ตั้งติดกับลาน ที่เป็นเพียงห้องสมุด
ห้องเรียน และห้องประชุมเล็ก ๆ แค่นั้น

ฉันยอมรับว่ากำลังแอบมองหาพระราชวังของทะไลลามะ ที่อินเดีย
ในแบบที่คิดว่าน่าจะจำลอง
ให้คล้ายคลึงกับพระราชวังโปตาลาในทิเบตอยู่ ...
แต่พอเอาเข้าจริงก็ไม่รู้ว่าองค์ทะไลลามะ ประทับอยู่ที่ไหนกันแน่ในพื้นที่นี้?

เหลือเพียงแค่ที่ตั้งของอาคารขนาดย่อมจุดสุดท้ายที่มีการกั้นรั้วเอาไว้ 
มีเจ้าหน้าที่คอยยืนดูแลอยู่แบบเข้มงวด นี่ยังไม่นับ เจ้าหน้าที่อารักขา-
ชาวอินเดีย ที่ยืนคุ้มกันถือปืนตรวจตราไปมา
ในบริเวณรอบนอกอีกนะ

ฉันจึงพอจะเดาออกแล้วว่า ที่ตรงนั้นแหละ
คือทางเข้าตำหนักขององค์ทะไลลามะ

ช่วงเวลานั้น มีชาวทิเบตกลุ่มหนึ่งที่มาเป็นครอบครัวพากันเดินเข้าไปในนั้นกัน 
พวกเขาต่างมีป้ายบางอย่างที่แขวนติดสำหรับผู้เข้าเยี่ยม โดยมีคนพาเดินนำทาง
เข้าไปติดต่อเจ้าหน้าที่ด้านในและนั่งรอการประสานงานบางอย่าง

แต่ที่น่าสงสัยกว่านั้นก็คือ พวกเขาดูเป็นคนธรรมดามาก ๆ ถึงมากที่สุด
คงไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ บุคคลสำคัญ หรือคนมีตำแหน่งใหญ่โตแน่นอน 
พอสอบถามเจ้าหน้าที่ชาวทิเบตที่ยืนอยู่ด้านหลังรั้ว ว่าทำยังไงถึงจะเข้าไป
ยังด้านในได้แบบคนกลุ่มนี้ได้?

เจ้าหน้าที่ได้บอกว่าหากฉันมีเวลาอยู่ที่นี่นานพอที่จะรอการจัดลำดับคิวให้ได้
ก็สามารถฝากเบอร์โทรและลงชื่อกับผู้ดูแลด้านหน้าโดยตรงเลย

"การที่จะมาเข้าเฝ้าองค์ทะไลลามะนั้นไม่ยากครับ หากคุณมีเวลานานพอ
ที่จะอยู่ที่นี่ แต่
ถ้ามาในนามขององค์กรก็จะสะดวกกว่าบุคคลทั่วไป"

ทั้งนี้เขาบอกให้ฉันลองตรวจหมายกำหนดการ ตรงป้ายประชาสัมพันธ์ที่ติดอยู่ริม
ประตูรั้วว่าท่านฯ จะยังคงอยู่ที่พระตำหนักนี้หรือเดินทางไปที่อื่น ๆ ช่วงไหนบ้าง
เผื่อจะได้วางแผนเข้าพบได้ถูกเวลา หลังจากที่ดูโดยคร่าวแล้วก็พบว่าในช่วง
สัปดาห์นี้ท่านฯ ยังคงไม่ได้ไปไหนไกล และเป็นที่แน่นอนว่าชาวทิเบตกลุ่มนั้น 
กำลังจะได้เข้าพบกับองค์ทะไลลามะในอีกไม่ช้า


มีบทความหนึ่งที่กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า ... แม้จะเป็นช่วงเวลาของการพลัด
ถิ่นฐานบ้านเกิดเมืองนอนก็ตาม 
แต่ถึงอย่างนั้นชาวทิเบตกลับมีโอกาสพบเจอกับ
องค์ทะไลลามะได้อย่างใกล้ชิดมากกว่าในสมัยที่ท่าน
ประทับอยู่ในทิเบตเสียอีก
ซึ่งจากที่เห็น มันก็ไม่ใช่เรื่องที่เกินจริงเลยสักนิด  
น่าเสียดาย ที่การเดินทางใน
ครั้งนี้ฉันไม่มีโอกาสได้ไปเข้าเฝ้าเช่นพวกเขา 


เอาล่ะ ฉันจะขอเฉลยภาพของโปตาลาที่หวังจะได้เจอในอินเดียให้ฟังก็แล้วกัน
อันที่จริงแล้วตำหนักขององค์ทะไลลามะที่เห็นตรงหน้า (แม้จะมีกำแพงกั้นบัง
อยู่) 
ดูแล้วก็แทบไม่ต่างไปจากเรือนพักรับรองธรรมดา ๆ เลย... เว้นเสียแต่จะมี
การดูแลรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดเท่านั้น มันไม่ได้ดูใกล้เคียงหรือเป็นอย่าง
ที่เคยคิดเอาไว้สักนิด






และเมื่อถึงเวลาที่ต้องเดินออกไปจากวัด โดยย้อนออกไปยังทางเก่าและผ่านจุด
ที่ตั้งของเครื่องตรวจฯ
เจ้าหน้าที่หญิง (คนเดียวกับที่ตรวจค้นฉัน) ได้ยื่นอะไรบาง
อย่าง
ออกมาให้ดู แล้วก็ทำท่าดึงกลับไปมาอยู่สองสามหน คล้ายกับจะให้ก็ไม่ให้
แบบทีเล่นทีจริง 
แต่กว่าจะนึกออกเธอก็แอบหัวเราะในความขี้ลืมของฉันล่วงหน้า
ไปนานละ

นี่มันกระบอกไฟฉายที่ฝากไว้นี่นา 
โอ๊ย...เกือบลืมไปแล้วเชียว!


....


ฉันได้ใช้เวลาที่เหลือไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ทิเบต ที่ว่าเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติ-
ศาสตร์ความเป็นมาของชนชาตินี้ มีข้าวของเครื่องใช้ในอดีตที่ยังเก็บรักษา
ไว้เป็น
อย่างดี จนถึงการเดินทางอพยพของผู้ลี้ภัยที่บอกเล่า
ผ่านภาพถ่าย และมีการฉาย
วิดีทัศน์สั้น ๆ ที่เห็นแล้วก็อดไม่ได้ที่จะเกิดคำถามย้อนกลับว่า

มันเกิดอะไรขึ้น!? 
ภาพความงดงามของที่ราบสูงทิเบตนั้น 
ทำไมกลับมีคราบเลือดฝังกลบซ่อนอยู่?

อีกครั้ง ก่อนที่จะไปรับของที่ฝากไว้ที่ซุ้มด้านนอก ฉันต้องเดินผ่านจุดที่ตั้งของรูป
ปั้นที่เป็นสัญลักษณ์ของผู้พลีชีพ
ในเปลวเพลิง ตลอดจนภาพถ่ายของผู้ที่เสียชีวิต
จากการปลิดชีพตนเพื่อประท้วงฯ ตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงปัจจุบันอยู่
นับร้อยรายที่จัด
เรียงอยู่ไม่ไกล
ก็ยิ่งรู้สึกหดหู่ยิ่งขึ้นกว่าเมื่อแรกเห็นเสียอีก 

ฉันไม่รู้ว่าบทสุดท้ายของเรื่องราวจะจบลงยังไง แต่จะว่าไปแล้ว ...
การเดินทางครั้งนี้ก็ได้เริ่มทำให้อยากรู้จักกับทิเบตมากขึ้นกว่าก่อนเยอะเลย 



หลังจากจีนได้เปลี่ยนรูปแบบการปกครองเป็น 'สาธารณรัฐ' เมื่อปี 1949 ภายใต้
การนำของเหมาเจ๋อตุง ในตอนนั้นจีนต้องการจะผนวกทิเบตเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ
ตนด้วย ต่อมา (ปี 1950) จึงได้ส่งกองทัพปลดแอกประชาชนฯ บุกล้ำเข้าทิเบต
และรบชนะจนได้ครอบครองพื้นที่ไปครึ่งหนึ่ง



ภาพจำลองเหตุการณ์ กองทัพปลดแอกประชาชนฯ บุกเข้าทิเบต
(จากฉากหนึ่งของภาพยนตร์เรื่อง "Kundun')    



ถัดจากนั้น ก็มีการบัญญัติข้อตกลง 17 ประการแก่ทิเบตและส่งผลให้เกิดความไม่
พอใจเกิดขึ้นเพราะเป็นกฏที่สร้างขึ้นเพื่อเอาเปรียบและจำกัดอิสระ โดยเฉพาะ
การ
ถูกกลืนทางวัฒนธรรมและเชื้อชาติ รวมไปถึงการหลั่งไหลเข้ามาอยู่อาศัยของ
ชาวฮั่นก็ด้วย 

ทิเบต มีการปกครองในรูปแบบรัฐศาสนาโดยมี องค์ทะไลลามะ เป็นประมุขสูงสุด
(ส่วนคณะรัฐมนตรีและข้าราชการก็ต้องประกอบด้วยพระอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง)
แม้ว่าในอีกสถานะหนึ่งของท่านฯ จะดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำศาสนาพุทธนิกาย
'เกลุกปา' ด้วยก็ตาม...แต่ชาวทิเบตไม่ว่าจะนับถือนิกายไหนต่างก็ให้ความเคารพ
ทะไลลามะ 
ในฐานะศูนย์รวมจิตใจของพวกเขา

ฟังดูแล้วก็ย้อนแย้งกับแนวคิดของจีนที่เห็น "ศาสนา คือ ยาเสพติด" เสียจริง
และนั่นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ที่จะมีการกวาดล้างทางศาสนาขี้นในเวลาต่อมา

จนกระทั่งปี 1959 ได้เกิดการจราจลต่อต้านจีน จนเกิดสงครามกลางเมืองขึ้น
แต่แล้วกองทัพจีนก็เข้ามาปราบปราม...องค์ทะไลลามะ ได้ตัดสินใจทำการลี้ภัย
ออกมาจากทิเบต โดยได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลอินเดีย สำหรับศูนย์อพยพฯ
ในช่วงแรกอยู่ที่เมืองมัสซูรี และต่อมาก็ได้มีการจัดตั้งที่ทำการ
รัฐบาลฯ พลัด
ถิ่นขึ้นชั่วคราว

ไม่นานนักจำนวนผู้ลี้ภัยได้มีเพิ่มมากเรื่อย ๆ ทางการอินเดียจึงได้จัดสรรพื้นที่แห่ง
ใหม่ให้กับผู้อพยพเหล่านี้ไปยัง พื้นที่ว่างเปล่าแห่งหนึ่งที่ซึ่งเคยเป็นสถานที่พัก
ตากอากาศของชาวอังกฤษในอดีต ซึ่งก็คือเมืองดารัมซาลา ตอนบน นั่นเอง
ในปี 1960 องค์ทะไลลามะ คณะรัฐบาลพลัดถิ่น และชาวทิเบตคนอื่น ๆ ต่างก็
พากันย้ายมาอยู่ยังพื้นที่ดังกล่าวกัน


แม้ว่าหลังจากนี้จะยังมีการขยายศูนย์ผู้อพยพไปยังภูมิภาคอื่น ๆ อีกก็ตาม
แต่สำหรับ แมคลอดกันจ์ ก็ได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางของชาวทิเบตพลัดถิ่น
มันจึงได้รับการเปรียบเปรยว่าเป็น Little Lhasa (ลาซาน้อย) คล้ายกับสถานะ
"กรุงลาซา" ของทิเบตในอดีต

ตอนนี้ที่นี่ดูเจริญมากทีเดียว ทุกอย่างดูทันสมัยและเต็มไปด้วยผู้คนมากมาย
ที่พากันแวะมาเยี่ยมเยือนจนแทบจะไม่ขาดสาย หนำซ้ำยังเที่ยวรถโดยสาร
ที่วิ่งตรงมายังธรรมศาลาก็มีมากหลายเส้นทาง 

แต่หากย้อนเวลากลับไปในช่วงแรกมันคงมีสภาพที่แตกต่างจากนี้สุดขั้วแน่ 
จากบทบันทึกที่ว่าด้วยเรื่อง ผู้ลี้ภัยรุ่นแรกในอินเดีย (ในหนังสือ ธิเบต บันทึก
ชีวิต เจซุน เปมา น้องสาวองค์ทะไลลามะ) ได้เอ่ยถึงสภาพแวดล้อมในยุคนั้นไว้

"เรารู้สึกราวกับว่า เรากำลังมุ่งไปสู่สถานที่แยกตัวออกจากโลกภายนอกห่างไกล
จากอารยธรรม ข้าพเจ้านึกภาพไม่ออกว่าจะมีอะไรคอยอยู่ที่
ปลายทางถนนเต็มไป
ด้วยหลุมบ่อนี้ บางแห่งมีร่องรอยหินที่เพิ่งถูกตัดใหม่ ๆ 
อาจจะเป็นชาวทิเบตที่ทำ
ทางเปิดถนนถวายองค์ทะไลลามะนั่นเอง

ที่เมืองธรรมศาลาล่าง ข้าพเจ้าสังเกตเห็นร้านรวงเล็ก ๆ 
คนขับรถขับเลาะไปตาม
ถนนเป็นวงรอบเขตทหาร
มุ่งสู่แมคลอดกันจ์ ภาพเบื้องหน้าคือความโกลาหล
อลหม่าน 
มีอาคารอยู่สามหลัง มีหนึ่งร้านและเต๊นท์ผ้าใบเต็มไปหมดทุกพื้นที่  

ชาวทิเบตสวมผ้าขาดวิ่น เด็ก ๆ กำลังร้องไห้และกำลังหนาวสั่นด้วย
ความเย็น 
พวกผู้หญิงนั่งเหม่อลอยงุนงงกับเคราะห์กรรมที่กระหน่ำตน พวกเขาต้องเผชิญ
ความทุกข์ยากแสนสาหัสเพียงใด
กว่าจะดั้นด้นมาถึงเมืองแห่งความยากลำบากนี้"

(บันทึกนี้น่าจะเป็นช่วงปี 1960 หลังจากที่รัฐบาลอินเดียได้จัดหาที่อยู่ใหม่ที่เหมาะสมให้ผู้ลี้ภัย
ชาวทิเบตและสถานที่ประทับสำหรับองค์ทะไลลามะ ตลอดจนที่ทำการรัฐบาลพลัดถิ่นของทิเบต)


....



พื้นที่สำหรับประชาสัมพันธ์แถว mall road ซึ่งอาจจะไม่ได้มีการเจาะจงเรื่องราวเฉพาะเท่าไหร่
ก็มีทั้งข่าวคราว การเปิดอบรมการออกกำลังกาย, อาสาสมัครโครงการต่าง ๆ ไปจนถึง
งานคอนเสิร์ต
เกาหลี  ฯลฯ... และ
ในช่วงที่เราเดินทางครั้งนั้นเป็นช่วงปฏิวัติร่ม (Umbrella Revolution) ในฮ่องกง
พอดี ซึ่งก็มีแผ่นปิดแสดงการสนับสนุนติดมาด้วย



ร้านขายของชำขนาดเล็ก ที่ตั้งอยู่บริเวณจุดนัดพบม้านั่งเขียวแถว main square
และคำว่า "Mcllo" นั้นเป็นชื่อเรียก "แมคลอดกันจ์" แบบย่อ  



บริเวณชั้นสองของวัด Kalachakra ที่ตั้งอยู่ใกล้ main square กำลังถูกทาสีใหม่เพื่อซ่อมแซม



พนักงานราชการอินเดีย ที่เป็นชาวซิกข์ 




พื้นที่ค้าขายผักผลไม้ ใกล้กับที่ทำการไปรษณีย์
กับผู้คนที่หลากหลายทั้งทิเบตและอินเดีย 



เด็ก ๆ ในโรงเรียน TCV (Tibetan children's village)



แมคลอดกันจ์ ยามค่ำคืนเมื่อมองจากดาดฟ้าของที่พัก 



ช่วงค่ำวันสุดท้าย ก่อนที่ฉันจะเดินทางย้ายเมืองในวันรุ่งขึ้น ระหว่างที่ออกไปเดิน
เล่นแถวตลาดได้พักใหญ่ ก็ได้เลี้ยวแวะไปที่ร้านขายเครื่องห่มกันหนาวมือสอง
แม้ว่าจะไม่ได้ตั้งใจเข้ามาซื้ออะไรก็ตาม ฉันแค่อยาก
ไปทักทายคนกลุ่มหนึ่งที่ซึ่ง
เคยเดินสวนผ่านกันไปมาหลายรอบมาก ๆ แต่ที่ผ่านมากลับไม่มีฝ่ายไหนเริ่มต้น
ทักถามกันเสียที

"พระไทยหรือปล่าวคะ?"

ฉันลองถามพระรูปหนึ่งที่ยืนอยู่ไม่ไกลด้วยภาษาไทย 
พวกท่านมากันทั้งหมดห้ารูปและกำลังหาซื้อเครื่องกันหนาวเพิ่มเติม

"ใช่จ้ะ" หลังจากมีการตอบรับกลับมา

พระรูปอื่นที่เหลือต่างก็หันมามองและบอกเป็นเสียงเดียว
ว่า
นึกแล้วเชียว ทายไม่ผิดจริง ๆ ว่าฉันต้องเป็นคนไทยแน่นอน!  
ซึ่งพวกท่านต่างก็มีข้อสงสัยที่อยากจะถามไม่แพ้กัน

"แล้วโยมมาทำอะไรที่นี่คนเดียว?"

เอาเป็นว่า ค่ำคืนนี้ฉันได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนเรื่องการเดินทางกับเหล่าพระไทย
กลุ่มนี้ได้แบบไม่ต้องกังวลห่วงเรื่องภาษาเลย แม้ว่าฉันจะไม่ค่อยถนัดคุยสนทนา
ธรรมเท่าไหร่ แต่หลวงพี่กลุ่มนี้ก็ให้เคล็ดลับการเดินทางเพิ่มเติมมาเล็ก ๆ น้อย ๆ
อย่างเช่นเรื่องการขึ้นรถไฟอินเดีย เป็นต้น




ฉันรู้แค่ว่า ที่ดารัมซาลาตอนบน มีพระทิเบตและชาวทิเบตอาศัยอยู่จนแทบ
เรียกว่าเป็นพลเมืองหลักไปเลยก็ว่าได้ แต่เรื่องการเดินทางมาพำนักอาศัยของ
พระไทยนั้นฉันไม่เคยรู้มาก่อน พอสอบถามเข้าก็ได้ความรู้ใหม่เพิ่มเติมว่า
พระกลุ่มนี้ได้เดินทางมาที่นี่เพื่อเรียนภาษาอังกฤษกันนานหลายเดือนแล้ว 
และ
ข้อมูลที่น่าสนใจก็คือ เรื่องค่าใช้จ่ายสำหรับหลักสูตรการเรียนภาษาฯ นั้นก็ช่าง
ถูกแสนถูก โดยผู้สอนจะเป็นชาวต่างชาติที่เข้ามาเป็นอาสาสมัครกับทางสถาบันฯ
ส่วนกลุ่มนักเรียนในชั้นก็จะมีคละปนกันทั้งพระและบุคคลทั่วไป  


หลังได้สอบถามสารทุกข์สุกดิบกันตามประสาคนไกลบ้านไปพอสมควรแล้ว
ฉันก็ต้องขอตัวลากลับไปเดินเล่นรับลมหนาวที่เพิ่งจะพัดโบกมาแทนที่ลมฝน
ต่ออีกหน่อย คืนนี้ท้องฟ้าดูปลอดโปร่งจนมองเห็นดาวได้ชัดกว่าที่ผ่านมาเสียอีก 

ดารัมซาลา
 เป็นเมืองที่มีอากาศเย็น โดยเฉพาะยิ่งในช่วงปลายฝนต้นหนาว ก็ยิ่ง
เย็นชื้นและมีหมอกลงจัด จากการที่ฝนตกชุกบ่อยจนน่าเบื่อหน่าย ไม่รู้ว่าฉันแอบ
คิดไปเองหรือปล่าว
ว่าเมืองนี้มันช่างเงียบเหงา แต่ก็อาจเพราะไม่ค่อยได้ออกไป
ไหนได้บ่อยนัก พอเห็นฟ้า
ที่ครึ้มไปด้วยเมฆฝนทีไรก็ต้องรีบหาทางจ้ำอ้าวกลับมา
ยังที่พักทุกที 


ฉันนึกย้อนไปถึงชาวทิเบตรุ่นแรก ๆ ที่อพยพมายังประเทศอินเดีย พวกเขาต่าง
พากันล้มตายไปเยอะหากไม่เสียชีวิตระหว่างทางที่เดินข้ามภูเขาหิมาลัย ก็อาจ
ปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศที่ร้อนชื้นกว่าในทิเบตได้ไม่ดีนัก หลายคนจึงล้มป่วย 
และเสียชีวิตกันในเวลาต่อมา ซึ่งนั่นก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นนานหลายสิบปีก่อนโน่น

แม้ความเป็นอยู่ของชาวทิเบตพลัดถิ่นในอินเดียรุ่นถัดมา จะดีขึ้นกว่าเดิมก็จริง 
หากมองจากภายนอกตามความเข้าใจของฉัน ก็คิดว่าพวกเขาน่าจะมีความสุข-
กันดีแล้วในพื้นที่ปลอดภัยแห่งนี้ 
และไม่เห็นจำเป็นจะต้องไปเรียกร้องหรือคิดหา
ทางกลับไปตั้งรกรากในทิเบตอีกก็ได้นี่นา

สุดท้ายแล้ว เมื่อฉันได้พบเจอกับข้อความสั้น ๆ ที่ปรากฏให้เห็นจากร้านอาหาร
แห่งหนึ่ง ในเมืองมะนาลี 
(ที่นั่นก็มีชุมชนชาวทิเบตตั้งอยู่เช่นกัน) ก็ยิ่งตอกย้ำให้
กลับใจคิดใหม่ว่า อุดมการณ์บางอย่างแม้จะดูห่างไกลจนเกินความเป็นจริงก็ตาม
แต่เรื่องเหล่านี้มันคือสิ่งที่ละเอียดอ่อนและยากเกินกว่าจะไปเข้าใจ 
หรือคิดแทน
กันได้ซะที่ไหน หากเราไม่ได้เป็นอย่างพวกเขา 



"ร้านอาหาร Chopsticks ในครั้งหน้าเราจะให้บริการท่านในทิเบต"





Dharamsala (tibetan version) 
credit : FREEBETTI




" อื่น ๆ "


- ตุลกู (tulku) แปลตรงตัวว่า ร่างที่เปลี่ยนไป

คำอธิบายเพิ่มเติม
 จากหนังสือ "ทิเบต ขอบฟ้าที่สูญหายไป" , กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์
: จุดเด่นจุดหนึ่งของพุทธทิเบตคือ ความเชื่อเรื่องการกลับชาติมาเกิด คนทิเบตเหมือนคนไทย
ตรงที่เชื่อว่าเมื่อตายแล้วไม่เป็นสูญ แต่สิ่งที่เหลืออยู่ซึ่งเป็นผลกรรมเป็นเหตุให้เกิดใหม่
แต่คนไทยไม่มีความเชื่อหรือประเพณีในการเสาะแสวงหาผู้มาเกิดใหม่ 
หากพระที่ปฏิบัติสมาธิจนแก่กล้ามรณภาพไป คนไทยอาจเชือว่าท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์ แต่จะ
ไม่เชื่อว่าท่านสามารถตั้งจิตปรารถนามาเกิดใหม่เป็นคนใดคนหนึ่งได้ คนทิเบตมีความเชื่อเช่นนี้
เมื่อพระสำคัญ ๆ มรณภาพไป พวกเขาจะแสวงหา ตุลกู ผู้มาเกิดใหม่

- ประวัติความเป็นมาของ TCV - Tibetan Children's Village
https://tcv.org.in/historical-background/


- ข่าวอื่นที่น่าสนใจ
ดาไลลามะยินดี พบทหารที่ช่วยพาหนีข้ามพรมแดนเมื่อ 58 ปีก่อน
https://www.bbc.com/thai/international-39487959

*หมายเหตุ : เรากลับไปยังดารัมซาลาอีกครั้งในปี 2015
และได้มีโอกาสเก็บภาพบางส่วนจากวัดทะไลลามะ ไว้ที่เอนทรี่นี้แทนค่ะ
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=wachii&month=05-
2016&date=11&group=16&gblog=35









 

Create Date : 11 ธันวาคม 2557
47 comments
Last Update : 16 มกราคม 2561 9:22:59 น.
Counter : 1175 Pageviews.

 

สวัสดีจ้า

อ.เต๊ะ อ่านบันทึกการท่องเที่ยวตอนนี้แล้ว รู้สึกเศร้า รันทด หดหู่
ห่อเหี่ยว... เอาแค่นี่ดีกว่า ห.หีบมันแยะ ดีไม่ดี เขียนต่อมันจะติดเรท เอาได้ อิอิ

เดี๋ยวจะโดนแบนแต๊ดแต๋ซะอีก 555

สรรพนาม ที่น้องฟ้าใช้เรียกตัวเองว่า ฉัน นี่มันก้ออกเศร้าๆด้วย
ยิ่งทำให้เรื่องออก ซึมๆขึ้นไปอีก

อ.เต๊ะ แนะนำให้เปลี่ยนเป้น เดี๊ยน หรือ อาเจ๊ฟ้า แทน
เรื่องจะออกแนว จี๊ดจ๊าด น่าหมั่นไส้ ขึ้นมาทันที
ไม่เชื่อน้องฟ้าลองดุตอนหน้าก้ได้ 555

เข้าเรื่องเลยดีฝ่า ภาพพระราชวัง ที่พำนักขององค์ ดาไล ลามะนี่
ดูแล้วสะท้อนใจมากจริงๆ

ของเดิมนี่ อภิมหาเกรียงไกร ยิ่งใหญ่อลังการ
ของใหม่นี่ บรรยายไม่ถูกเลยเนอะ

แล้วก็ อ.เต๊ะ ดูภาพการสนทนาธรรมแล้วนี่ แปลกตามากเลย ยังกะจะฝึกกังฟู ก้ไม่ปาน

มีทั้งรุกทั้งรับ แพ้ชนะ นี่จะตัดสินกันยังไง ถ้ามี ทีเคโอ แอนตาซิล จะให้กี่บาท สงสัยจัง555

เรื่องราวของทิเบตนี่ ถือเป็นการทำลายล้างเผ่าพันธุ์ ที่น่ากลัวจริงๆเลยเนอะ ผู้คนล้มตายไปมากมาย บ้านแตกสาแหรกขาด

เด็กตัวกระเปี๊ยก แค่ 6ขวบ ยังพลอยต้องมารับเคราะห์ไปด้วย

ทั้งนี้สาเหตุก้มาจาก อำนาจและผลประโยชน์ตัวเดียวแค่นั้นเอง จริงๆ

ธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ ของทิเบตตั้งแต่ถุกรุกราน นี่ ป่าไม้ก็ถุกทำลาย ตัดขายซะเหี้ยนเลยแล้วมั้ง

และที่น่ากลัวไปกว่านั้น เคยได้ยินมาว่า

มีการตั้ง ฐานทัพจรวดนำวิถีและ ระเบิดนิวเคลียร์ในทิเบตอย่างมากมาย ประเทศข้างเคียง ได้แต่หนาวๆร้อนๆไปตามๆกัน

นอกจากนั้นยังมีการใช้ทิเบตให้เป็นประโยชน์โดยการฝึกฝนการทำสงคราม เคยมีการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ และการทิ้งขยะนิวเคลียร์และขยะเป็นพิษจากประเทศอื่น ๆอีกต่างหาก

เรียกว่า ไม่เหลืออะไรดีๆ ไว้ให้เลยทีเดียว
ถึงแม้ว่าจะได้ประเทศกลับคืนมานะ

ก่อนไป ยังไง อาเจ๊ฟ้า ก้อย่าลืมคำแนะนำ อ.เต๊ะ เรื่องสรรพนามนะ รับรองเรื่องจะสนุก ออกแนวละครหลังข่าวขึ้นมาทีเดียวเชียว ขอบอก อิอิ

ไอ้บ้า อ.เต๊ะ น้องฟ้าเค้าเขียนสไตล์เค้า ก้ดีอยู่แล้ว
เอ็งไปแนะนำแต่ละอย่างนี่ เหลือเกินจริงๆ ใครเชื่อเอ็งก้บ้าแล้วละ 555

วันนี้โหวตหมดจ้า เดี๋ยวมาจัดให้ใหม่น้า

 

โดย: multiple 11 ธันวาคม 2557 10:35:36 น.  

 

โหวต Travel Blog ครับน้องฟ้า

พี่ก๋าขอบสีสันในงานศิลปะธิเบตมากๆเลย

สีสันสดใสมากๆ
ภาพวาดเทพต่างๆก็สวยจริง



ปล.แมลงที่หมิงหมิงจับเล่น รอดทุกตัวครับ 555

 

โดย: กะว่าก๋า 11 ธันวาคม 2557 10:37:34 น.  

 

อ่านเพลิน ได้ความรู้...แบบนี้ สารคดีท่องเที่ยว ใช่เลย

ชอบครับ... เสียดายโหวตหมดแล้ว ๆ จะมาโหวตให้ครับ

 

โดย: ไวน์กับสายน้ำ 11 ธันวาคม 2557 10:43:24 น.  

 

สวัสดีค่ะ
แวะมาทักทายค่ะ

ได้ความรู้กลับไปด้วยเลยค่ะ
ขอบคุณนะคะ

 

โดย: tanjira 11 ธันวาคม 2557 14:54:43 น.  

 

น่าเห็นใจธิเบตมาก ๆ ค่ะ

 

โดย: tuk-tuk@korat 11 ธันวาคม 2557 15:36:55 น.  

 

กาบริเอล Travel Blog
เหนื่อย ๆ แล้วแวะมาใหม่นะคะ

 

โดย: mariabamboo 11 ธันวาคม 2557 18:17:58 น.  

 

สวัสดีค่า คุณฟ้า ^^
มาดึกมากมายเลย อยากอ่านมากแต่ท่าจะอ่านไม่ละเอียดเพราะง่วงจัด
เดี๋ยวพรุ่งนี้นุ่นมาใหม่ค่า

 

โดย: lovereason 12 ธันวาคม 2557 1:42:30 น.  

 

thx u crab

 

โดย: Kavanich96 12 ธันวาคม 2557 2:10:58 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับน้องฟ้า

 

โดย: กะว่าก๋า 12 ธันวาคม 2557 6:24:06 น.  

 

ที่เหงื่อตกคือวิ่งเป็นลิงครับ 5555

หมิงหมิงกล้าจับหมดเลยนะ
พี่ก๋าซะอีก
ไม่กล้าจับอะไรเลยครับ 555

 

โดย: กะว่าก๋า 12 ธันวาคม 2557 12:40:22 น.  

 

เรียกแทนตัวว่า "ดั๊น" ก้ดีนะ ตะเอง

แล้วไปเที่ยวคราวหน้า ก็เปลี่ยนลุคใหม่ซะหน่อย

เอา ลุค คุณนายไฮซ้อ เอ๊ย ไฮโซ อิอิ

Mini dress หน้าสั้น หลังกรุยกราย ผ้าพันคอ ขนมิ้ง
แล้วก็ ถุงปุ๋ยสีเหลืองๆไม่ต้องเอาไปน้า

รับรองบลอกแตก แขกตรึมแน่ๆจ้า 555

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
กาบริเอล Travel Blog ดู Blog

 

โดย: multiple 12 ธันวาคม 2557 13:44:47 น.  

 

โหล ๆ
แวะมาทักก่อน อ่านไปได้ครึ่งนึงแระ
มีคนมาเคาะจานให้ไปกินข้าว

เด๋วมาใหม่ค่า

ปอลอ เปลี่ยนกุ้งออกไปแล้วค่า

 

โดย: secreate 12 ธันวาคม 2557 14:06:53 น.  

 


เป็นอีกหนึ่งประเทศที่อยากไปค่ะ
อิจฉา จขบ.จังเลยค่ะ

 

โดย: ผีเสื้อยิปซี 12 ธันวาคม 2557 17:12:46 น.  

 

อ่านแล้วได้ความรู้มากมายเลยค่ะคุณฟ้า
แอบเศร้าใจกับชะตากรรมของธิเบต
และตะลึงกับแนวความคิดของจีนเรื่องศาสนา

อ่านบล็อกนี้แล้วสะเทือนใจ
แต่ไม่ใช่เพราะคุรฟ้านะคะ

 

โดย: AdrenalineRush 12 ธันวาคม 2557 20:21:34 น.  

 

เนินน้ำ Food Blog ดู Blog
กาบริเอล Travel Blog ดู Blog

ปกติหนึ่งเอาเสื้อไปเยอะเหมือนกัน แต่เอาไปแล้วไม่ค่อยใส่
หลังๆมีเสื้อไม่ได้ใส่เพิ่มขึ้นทุกทริปเลย ฮี่ๆ

 

โดย: AdrenalineRush 12 ธันวาคม 2557 20:22:47 น.  

 


ธรรมศาลาอยากไปเหมือนกัน อ่านแล้วได้ความรู้ดีค่ะน้องฟ้า

โหวตให้ด้วยค่ะ

กาบริเอล Travel Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

 

โดย: พรไม้หอม 12 ธันวาคม 2557 21:01:22 น.  

 

ดีจังเลยครับเคยสงสัยว่าที่ประทับของท่านดาไลลามะเป็นอย่างไร
ได้ยินมาว่าอยู่ที่อินเดีย
วันนี้น้องฟ้าพามาชม ขอบคุณมากๆครับ
พระมหายาน ดูภายนอกผมว่าไม่เคร่งเท่าหินยานบ้านเรานะครับ
ไปพม่าเมื่อสองเดือนก่อนก็เห็นว่าเป็นอย่างนั้นจริงๆครับ
แต่การปฏิบัติอันนี้ไม่รู้นะครับ เพราะส่วนใหญ่จะบวชกันตลอดชีวิต
ก็น่าจะเคร่งพอสมควรไม่งั้นคงอยู่ไม่ได้แน่ๆ แหะๆ

โหวตท่องเที่ยวให้เลยครับ

ปิดเม๊นท์ก่อนแล้วจะเปิดอีกทีเสาร์หน้านะครับผม ขอพักเอาแรงก่อน แหะๆ ^^

 

โดย: วนารักษ์ 12 ธันวาคม 2557 22:28:58 น.  

 

เรื่องธิเบตมันละเอียดอ่อนนะ ต่างฝ่ายต่างก็พูดอ้างแต่ละฝ่าย ตอนนี้ขึ้นกับจีน เรื่องศิลปะธิเบตหลายคนชอบ ผมกลับรู้สึกเฉยๆ ซะงั้น แต่ยอมรับว่าแปลกตาดี

+

 

โดย: คุณต่อ (toor36 ) 12 ธันวาคม 2557 23:38:10 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับน้องฟ้า

 

โดย: กะว่าก๋า 13 ธันวาคม 2557 7:00:05 น.  

 

หมิงหมิงขอเลี้ยงงูด้วยนะครับ
พี่ก๋ายืนยันหนักแน่นเลยว่า "ไม่ได้" 555

พี่ก๋ากลัวงูครับ



หมิงหมิงไม่ค่อยกลัวแมลงอะไรเลยครับ

 

โดย: กะว่าก๋า 13 ธันวาคม 2557 13:06:19 น.  

 

น่าไปมากๆ ค่ะ ชอบจังวัดสวย สีสันสวยงาม ธิเบตเป็นอีกประเทศที่ใฝ่ฝันอยากไปค่ะ

 

โดย: sawkitty 13 ธันวาคม 2557 15:03:10 น.  

 

ตามมาเที่ยวต่อค่ะน้องฟ้า
วัดที่นี่สีสันสดใสดีจังเลยนะคะ

 

โดย: เนินน้ำ 13 ธันวาคม 2557 15:38:43 น.  

 

ตามมาเที่ยวค่ะ

พระที่นี่ทันสมัยมากเลยนะคะ เล่นสมาร์ทโฟนด้วย
ภาพสุดท้ายมองแว๊บแรกเหมือนเปลวเพลิงเลยนะคะ
พอมองอีกที อ้าวไม่ใช่ๆ 555

เข้ามาแล้วได้เห็นภาพแปลกตา แล้วยังได้ความรู้ด้วยนะ

โหวตให้เลยค่ะ

กาบริเอล Travel Blog

ขอบคุณที่แวะไปเที่ยวมอหินขาวนะคะ
อยากเห็นแสงสีขาว คืนวันพระเหมือนกันค่ะ
ไม่รู้ว่าปัจจุบัน ยังมีอยู่ไหม
อยากรู้ต้องไปค้างนะคะ แต่คงไม่มีโอกาสอ่ะนะ

 

โดย: ดาวริมทะเล 13 ธันวาคม 2557 18:42:33 น.  

 

มาอ่านจบแล้ว
แอบเศร้่าใจกับคนที่ทำเพื่ออุดมการณ์อันแรงกล้า แต่พี่คิดว่าจะเผาตัวเองไปทำไม คนที่มองไม่่เห็นเหตุผลในแง่มุมเดียวกัน ก็ย่อมไม่สะทกสะท้านกับการประท้วงแบบนี้เช่นกัน

แต่คิดอีกที คนทำคงไม่ได้ต้องการให้ฝ่ายรุกรานเห็นหรอก คงต้องการให้ชาวโลกรับรู้มากกว่านะ

กำลังเศร้าๆ อยู่ เลื่อนลงมาอ่านเจอเม้นท์(อีตา)อาจารย์คนนึงที่แนะนำให้น้องฟ้าเปลี่ยนสรรพนามบุรุษที่หนึ่ง อารมณ์หายเศร้าเป็นปลิดทิ้ง เปลี่ยนเป็นอยากเขกหัวใครบางคนแทน..

ชอบประโยคบนป้ายร้านอาหารนั่นอ่ะ ฟังดูเรียบๆ แต่แน่วแน่มาก

โหวตหมวดท่องเที่ยวของวันนี้ให้ค่ะ ชอบๆ

 

โดย: secreate 13 ธันวาคม 2557 19:00:05 น.  

 

อ่านเพลินเลยค่ะ ธิเบตเป็นประเทศที่น่าสนใจ น่าเห็นใจคนธิเบตที่พยายามดิ้นรนเป็นอิสระจากจีนมานานแต่ก็ไม่สำเร็จ

สีสันของวัดบ้านเขาสดใสเตะตามาก ๆ ขอบคุณคุณฟ้าที่พาเที่ยวและเก็บภาพมาฝากัน แถมให้ข้อมูลเพียบเลย

 

โดย: haiku 13 ธันวาคม 2557 22:33:40 น.  

 

ลป. ขอบคุณมาก ๆ ที่แวะไปชมภาพวาดงาม ๆ และสุขสันต์วันเกิดให้ค่า ^_^

 

โดย: haiku 13 ธันวาคม 2557 22:34:53 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับน้องฟ้า


 

โดย: กะว่าก๋า 14 ธันวาคม 2557 6:40:02 น.  

 

ภาพประกอบที่พี่ก๋าเลือก
ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาในบล็อกเลยครับน้องฟ้า 555

เลือกจากโฟลเดอร์เก่าๆนี่ล่ะ
ยังเหลือแภาพที่ไม่ได้ใช้อีกเพียบเลยครับ

 

โดย: กะว่าก๋า 14 ธันวาคม 2557 14:53:33 น.  

 

ชะอ้าว ผมคิดว่าทิเบตเป็นของจีนอยู่แล้วซะอีก เพิ่งจะโดนฮุบไปไม่นานมานี้เองเหรอเนี่ย
ดารัมชาลาได้ยินชื่อน้ผ่านหูหลายครั้ง เพิ่งได้อ่านเรื่องราวแบบละเอียดก็ครั้งนี้เองครับ เป็นที่ลี้ภัยของดาไลลามะด้วย

เด็กหกขวบไปทำอะไรเข้าล่ะครับ เป็นนักโทษการเมืองที่อายุน้อยแบบสุดๆ เรื่องของผู้ใหญ่พาเอาเด็กซวยแบบไม่รู้เรื่องเลย

เป็นบล็อกท่องเที่ยวที่เนื้อหาหาอ่านได้ยากและเข้มข้นเช่นเดิมครับ โหวตให้เลยครับ

กาบริเอล Travel Blog

 

โดย: ชีริว 14 ธันวาคม 2557 19:51:34 น.  

 

ตามมาเที่ยวต่อแบบเจาะลึก
ส่งกำลังใจเช่นเคย

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ


บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้ 
ผู้เขียน Blogหมวดเนื้อหาBlog ได้รับโหวต
กาบริเอลTravel Blogดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

 

โดย: pantawan 14 ธันวาคม 2557 20:51:49 น.  

 

งบท่องเที่ยวหมดขอรับ ไว้ดึกๆจะกลับมาอ่านขอรับ

 

โดย: ขุนเพชรขุนราม 14 ธันวาคม 2557 22:08:43 น.  

 

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
กาบริเอล Travel Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

 

โดย: ขุนเพชรขุนราม 15 ธันวาคม 2557 0:23:55 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับน้องฟ้า

 

โดย: กะว่าก๋า 15 ธันวาคม 2557 6:43:54 น.  

 

สวัสดียามสายๆคะ

 

โดย: Chic Bossy 15 ธันวาคม 2557 11:21:52 น.  

 

จริงครับน้องฟ้า
เด็กนี่สนุกง่ายมาก
เล่นอะไรก็สนุกครับ

 

โดย: กะว่าก๋า 15 ธันวาคม 2557 13:43:49 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับน้องฟ้า

 

โดย: กะว่าก๋า 16 ธันวาคม 2557 7:00:06 น.  

 

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
กาบริเอล Travel Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น
:) สวัสดียามเช้าจ้ะ

 

โดย: Opey 16 ธันวาคม 2557 7:39:39 น.  

 

มาอ่านจ้ะน้องฟ้า

อ่านแล้วก็สะท้อนใจ ยิ่งนักโทษที่เด็กที่สุดนั่น เฮ้อออออ

วันนี้พี่โหวตเต็มแล้ว พรุ่งนี้พี่มาโหวตให้นะคะ

เพิ่งกลับมาจากเดินทางเลยเพิ่งได้มาตอบน้าา

 

โดย: สาวไกด์ใจซื่อ 16 ธันวาคม 2557 8:48:17 น.  

 

สวัสดียามสายสวรรค์ ขยันยิ่ง คะ

 

โดย: Chic Bossy 16 ธันวาคม 2557 10:36:09 น.  

 

พักนี้ไม่ค่อยได้อ่านบล็อกท่องเที่ยวเลยครับ
อยู่บ้าป่า ภาพไม่ขึ้น แต่วันนี้อยู่กท.เลยได้
อ่านและชมสมใจ

อยากไปเที่ยวแบบนี้บ้าง

 

โดย: nulaw.m (คนบ้า(น)ป่า ) 16 ธันวาคม 2557 13:45:58 น.  

 

ขอบคุณที่ชอบค่ะ ตามมาเที่ยวสถานที่ในฝันอีกรอบ ชอบมากๆ ค่ะ

 

โดย: sawkitty 16 ธันวาคม 2557 15:30:26 น.  

 

ได้เปรียบเทียบพระราชวังระหว่างดั่งเดิมกับของใหม่ ก็ทำให้ได้รับรู้ถึงความไม่จีรัง ถ้าคิดแบบนี้ได้ไม่ต้องให้หรูหราอลังการณ์มาก

 

โดย: สำรวจฟ้า IP: 58.137.161.226 16 ธันวาคม 2557 15:58:22 น.  

 

จุดตรวจเคร่งเลยนะคะ

 

โดย: มี้เก๋ + ป๊าโอ๋ = ซีทะเล (kae+aoe ) 16 ธันวาคม 2557 16:54:32 น.  

 

สวัสดีค่ะคุณฟ้า
แวะมาเยี่ยมค่ะ

 

โดย: pantawan 17 ธันวาคม 2557 0:32:30 น.  

 

มาโหวตให้จ้าา

 

โดย: สาวไกด์ใจซื่อ 17 ธันวาคม 2557 8:57:19 น.  

 

สีสันฉูดฉาด สดใสดีค่ะ

 

โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ 7 มกราคม 2558 18:13:50 น.  

 

 

โดย: ธนู ลุงแอ็ดชวนเที่ยว (สมาชิกหมายเลข 4365762 ) 19 กุมภาพันธ์ 2562 21:52:40 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


กาบริเอล
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 58 คน [?]




ชอบต้นไม้, แมว, หนังสือ
และออกเดินทางท่องเที่ยวบ้าง

ไม่ชอบพบปะผู้คนมากนัก
เป็นมนุษย์จำพวก introvert

การเขียนบล็อก
คืออีกพื้นที่บอกเล่าผ่านตัวอักษร
และตัวตนของเราก็อยู่ในสิ่งที่เขียนค่ะ

ขอบคุณ Bloggang
สำหรับพื้นที่แบ่งปันตรงนี้

....

เริ่มต้นลงบันทึกอย่างเป็นทางการ
ณ วันที่ 16 ม.ค. 2014


###ไม่สะดวกพูดคุยหลังไมค์นะคะ###

© ขอสงวนลิขสิทธิ์ ภาพถ่าย 
ห้ามนำไปใช้ ดัดแปลง แก้ไข 
โดยไม่แจ้งที่มา ก่อนได้รับอนุญาต


New Comments
Friends' blogs
[Add กาบริเอล's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.