<<
กันยายน 2550
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
14 กันยายน 2550

แรงดันลมยาง ตอนขึ้นแม่แรง กับตอนจอดปกติต่างกันขนาดไหน !!!???

คัดลอกมาจากที่นี่
//www.pantip.com/cafe/ratchada/topic/V5794742/V5794742.html


กระทู้เก่าเมื่อนานมาแล้ว รู้สึกว่าจะเป็นพี่หมอ JFK ได้ตั้งเอาไว้
แต่คราวโน้นรถที่ใช้เป็นโจยท์คือ Fortuner
ผลทั้งภาคปฏิบัติและทฤษฏี มันก็เลยได้คำตอบว่า
แรงดันไม่ต่างกัน

มาวันนี้มาลองดูรถเก๋งคันเล็กๆ ใส่ล้อเล็กๆดูบ้าง
รถตัวอย่างเป็น Civic96 ใช้ยางเบอร์ 195/60R14


ภาคปฏิบัติได้ผลดังนี้

ตอนขึ้นแม่แรงวัดแรงดันได้ 32 PSI
พอเอาแม่แรงลงวัดแรงดันได้ 32.5 PSI
สรุปว่าเพิ่มขึ้นมา 0.5 PSI นะครับ

ลมยางเป็นลมไนโตรเจน ไม่ใช่ลมธรรมดา
ผมว่าผมเป็นคนที่ดูเหมือนจะ anti ลมไนโตรเจน
แต่ผมว่าผมจะเป็นคนที่เสียเงินให้กับลมไนโตรเจนมากกว่าคนที่คอยเชียร์เสียอีก


ภาคทฤษฏีได้ผลดังนี้
รถคันนี้เคยเอาไปชั่งน้ำหนัก พบว่าล้อคู้หน้ามีน้ำหนักลง 667 kg
ผมเลยขออนุมานว่าน้ำหนักตกที่ล้อข้างละ 333.5 kg
ยาง 195/60R14 กับกระทะล้อกว้าง 5.5"
คำนวณได้พื้นที่ผิวทั้งหมดที่รับแรงของล้อได้ 8647 cm^2
เฉลี่ยแรงกดจากน้ำหนักต่อพื้นผิวได้ 0.038569 kg/cm^2 หรือเท่ากับ 0.5486 PSI
สรุปจากการคำนวนพบว่า แรงดันลมยางจะเพิ่มขึ้น 0.5486 PSI

ดังนั้นจะเห็นว่าผลจากภาคปฏิบัติกับทฤษฏีสอดคล้องกัน


ตัวอย่างครั้งนี้เป็นรถเล็กล้อเล็ก ให้ผลว่าแรงดันเพิ่มขึ้น
ตัวอย่างครั้งก่อนเป็นรถใหญ่ล้อใหญ่ ให้ผลว่าแรงดันไม่เปลี่ยนแปลง
จะเห็นว่าตัวการที่ทำให้เปลี่ยนไม่เปลี่ยนจะอยู่ที่ขนาดพื้นผิวของล้อ กับ หนักที่กด

ก่อนหน้านี้ผมเคยลองวัดแรงดันลมล้อของ Jazz ตอนยกแม่แรง กับตอนจอดปกติ
ก็พบว่ามีแรงดันเพิ่มขึ้นในระดับมากกว่า 1PSI เลยทีเดียว

จากคุณ : ton99 - [ 7 ก.ย. 50 16:20:54 ]


=========================


ความคิดเห็นที่ 1

ขอมาถามคนแรกเลยครับ
คุณ ton99 พบสูตรในการคำนวณ แรงดันลมยางที่เหมาะสมแล้วเหรอครับ
ขอสูตรด้วยสิครับ

จากคุณ : P_Wut - [ 7 ก.ย. 50 16:37:56 ]






ความคิดเห็นที่ 2

มาไม่ทันกระทู้หมอ J ว่าแต่แล้วทำไม ของหมอ J ความดันไม่เพิ่มละครับงงจริงๆ

จากคุณ : IMCtactic - [ 7 ก.ย. 50 17:06:49 ]






ความคิดเห็นที่ 3

ตามหลัก แรงดันลมยางต้องเปลี่ยนอยู่แล้วครับ แต่ มันต้องขึ้นกับ
น้ำหนักที่ไปกระทำกับมันครับ ถ้ามีน้ำหนักไปกดเยอะ แน่นอนครับ
แรงดันก็จะสูงขึ้นแน่นอนครับ เหมือนเอามือไปบีบลูกโป่งนั่นแหละ

จากคุณ : สยึมกึ๋ย - [ 7 ก.ย. 50 18:16:21 ]






ความคิดเห็นที่ 4

วัสดุ(ยาง) รูปทรง(ยางล้อ) องค์ประกอบ(ผ้าใบ,ใยเหล็ก) รวมถึงแรงดันภายใน ล้วนมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงรูปทรงของยางเมื่อมีแรงกระทำจากภายนอก นั่นคือเมื่อรูปทรงของยางเปลี่ยนไปปริมาตรภายในก็แปรเปลี่ยน ความดันก็จะเปลี่ยนไปด้วย มันเป็นเช่นนั้นเอง!!!

จากคุณ : Stupid Angel - [ 7 ก.ย. 50 19:26:10 ]






ความคิดเห็นที่ 5

มันอาจเป็นความรู้สึกนะครับว่าถ้ามีน้ำหนักรถกดทับแล้วความดันจะเพิ่มขึ้น
ความเป็นจริงตามทฤษฎีคือ เท่าเดิมครับ อาจจะแตกต่างแต่น้อยมากๆ
เพราะตัวแปรของความดันในยางคือ Pความดัน,Vปริมาตร,Tอุณหภูมิ ตามสูตร
(P1V1)/T1 = (P2V2)/T2 ถ้า V1กับV2 เท่ากัน และ T1กับT2 เท่ากัน >>> P1กับP2 ต้องเท่ากันด้วย
โดยปกติปริมาตรยางจะคงเดิมครับเวลายกขึ้น หรือมีน้ำหนักกดลง มันแบนจุดหนึ่งแต่ไปขยายอีกจุดหนึ่ง

จากคุณ : Dazzle - [ 7 ก.ย. 50 19:27:01 ]






ความคิดเห็นที่ 6

ตามความคิดเห็นที่ 4
ความดันในยางจะเปลี่ยน เนื่องจาก ปรืมาตรของยางเปลี่ยน เมื่อมีแรงภายนอก มากระทำต่อยาง

ตามความคิดเห็นที่ 5
ความดันในยางจะไม่เปลี่ยน เนื่องจาก ปรืมาตรของยางคงเดิม เมื่อมีแรงภายนอก มากระทำต่อยาง

คงต้องถามผู้รู้อีกทีละครับ ในกรณีนี้ ยางรถยนต์จะมีปริมาตรเปลี่ยนไปมั้ย

สำหรับภาคทฤษฎีของ จขกท ผมติดใจนิดนึง ตรงที่ น้ำหนักรถที่กระทำต่อยาง เวลาลงแม่แรง มันเป็นแรงในแนวดิ่ง พื้นที่หน้าตัดของยางที่รับแรง(น้ำหนักรถ) ควรเป็นพื้นที่หน้าตัด จุดที่สัมผัสพื้นเท่านั้น หรือเปล่าครับ ผิดถูกยังงัย อภัยด้วย

จากคุณ : Tree_Suriya - [ 8 ก.ย. 50 01:12:45 ]






ความคิดเห็นที่ 7

แรงมันกระทำต่อจุดสัมผัส
แต่เมื่อยางรับแรงมาแล้ว มันจะกระจายแรงออกไปทุกๆทางโดยผ่านไปในรูปของแรงดัน

สำหรับยางรถยนต์ ปริมาณเปลี่ยนแน่นอนครับ
แต่จะเปลี่ยนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแรงที่กระทำกับยาง และความยืดหยุ่นของโครงสร้างยาง


ตอบคุณ P_Wut
ตอนนี้ยังได้แค่คิดอยู่ครับ ยังไม่สูตร
ในทางปฏิบัติ ใช้การเพิ่ม-ลด จนได้ความแข็งจนพอใจเป็นหลักก่อน
ซึ่งในขั้นนี้จะได้เรื่องความแข็ง-นิ่มการบังคับควบคุมตามที่ต้องการ
หลักจากนั้นค่อยมาเพิ่มหรือลดแรงดันล้อข้างใดข้างหนึ่ง
แล้วเบรคทดสอบดูว่าข้างที่เพิ่มหรือลดแรงดันนั้น ล้อล็อคเร็วขึ้นหรือช้าลง
ถ้าเร็วขึ้นก็ให้ทดลองกลับในทางตรงกันข้าม
ถ้าช้าลงก็ให้จัดการให้ล้ออีกข้างมีแรงดันเท่ากัน
แก้ไขเมื่อ 08 ก.ย. 50 03:53:06

จากคุณ : ton99 - [ 8 ก.ย. 50 01:29:16 ]







ความคิดเห็นที่ 8

ผมยังงงๆกับการคิดพท.ที่รับแรงของคุณ ton99 อยู่

จาก คห.7 แรงกระจายออกทุกทิศทางจริง แต่เมื่อเอาแรงดันมาคูณพท.ผิวแล้ว ทำไมมันต้องได้เท่ากับนน.รถที่กดลงไปด้วย?

มันน่าจะเป็นว่า แรงดัน x พท.ผิวที่สัมผัสพื้นเท่านั้น = น้ำหนักรถที่กด มากกว่านะครับ
พท.ผิวที่สัมผัสพื้นคือส่วนที่ยุบลงไป จนทำให้ล้อไม่เป็นวงกลม
เพราะฉะนั้น แรงดันที่เพิ่ม ขึ้นอยู่กับวัสดุที่มาทำยางว่ามันยืดหยุ่นได้แค่ไหน ซึ่งเกี่ยวกับ V เปลี่ยนไปมากน้อยแค่ไหน
แก้ไขเมื่อ 08 ก.ย. 50 06:09:18

จากคุณ : อวิรุืทธ์ - [ 8 ก.ย. 50 06:04:20 ]







ความคิดเห็นที่ 9

แรงดัน มันคือ แรงที่กระทำต่อพื้นที่ผิวทั้งหมด
ดังนั้นเมื่อมีแรงภายนอกมากระทำเพิ่ม ต้องเอาแรงที่เพิ่ม มาหารด้วย พื้นที่ผิวทั้งหมด
ถึงจะได้แรงดันสุทธิ

เมื่อได้แรงดันสุทธิแล้ว ก็เอาแรงดันนี้ ไปหาร แรง(หน้ำหนัก)ที่มากดเพิ่ม
ก็จะได้เป็นพื้นที่สัมผัส

จากคุณ : ton99 - [ 8 ก.ย. 50 12:57:52 ]






ความคิดเห็นที่ 10

"ดังนั้นเมื่อมีแรงภายนอกมากระทำเพิ่ม ต้องเอาแรงที่เพิ่ม มาหารด้วย พื้นที่ผิวทั้งหมด ถึงจะได้แรงดันสุทธิ"

สงสัยต้องให้อ.ฟิสิกส์มาฟันธง แต่ผมว่ามันไม่ใช่ ไม่เคยเห็นกฏทางฟิสิกส์ข้อนี้

การจะหาแรงจากแรงดันได้ ตามหลักคือ แรงดัน x พท.ผิว
ได้แรงที่ตั้งฉากกับพท.ผิว อย่าลืมครับ แรงไม่ใช่ตัวเลขอย่างเดียว ต้องมีทิศทางด้วย

จึงยืนยันตามเดิม แรงดัน x พท.สัมผัสพื้น(คือ พท.ผิวแนวราบ) = น้ำหนักรถที่กดลง เป็นการสมดุลย์ตามแนวตั้ง

กรณีล้อไม่ยุบ แรงดัน x พท.ผิวทั้งหมด = 0 ครับ เพราะทิศทางมันจะหักลบกันไปหมด

กรณีล้อยุบ จะเหลือเฉพาะแรงดัน x พท.สัมผัสพื้นครับ ออกมาเป็นแรงในแนวตั้งครับ

จากคุณ : อวิรุืทธ์ - [ 8 ก.ย. 50 23:08:32 ]






ความคิดเห็นที่ 11

ผมไม่ใช่ อ.ฟิสิกส์ แต่อาศัยว่าเรียนมาบ้าง

Pascal's law
Pressure applied to an enclosed fluid is transmitted undiminshed to every
portion of the fluid and the walls of the containing vessel


ตรงที่คุณ อวิรุทธ์ พูดมา ไม่นับตรงที่แย้งกับผม ตรงนี้คิดว่าทุกคนคงเข้าใจตรงกันคือ
p = F/A

คือ แรงดัน = แรงกด / พื้นที่
หรือ แรงดัน x พื้นที่ = แรงกด

ตรงนี้ก็ไม่มีอะไร คิดง่ายๆคือถ้าแรงดันคงที่ มีแรงกดมาก ก็ต้องใช้พื้นที่ผิวมาก
แต่สูตรตรงนี้เอาไว้ใช้หาความสัมพันธ์ของ แรงดัน แรงกด พื้นที่
ไม่ได้บอกว่าเมื่อมีแรงภายนอกมากด แรงดันภายในจะเป็นอย่างไร

คิดง่ายๆแบบยังไม่ต้องอิงกฏ ถ้ายางรับน้ำหนักมากหรือน้อยแล้วแรงดันไม่เปลี่ยน
แบบนี้ไม่ว่าจะเอาน้ำหนักกดลงไปเท่าไหร่ ยางก็จะไม่ระเบิดเพราะแรงดัน
เพราะดันดันที่กระทำต่อยางมันไม่เปลี่ยน

จากกฏปาสคาล
เมื่อมีน้ำหนักกดทำให้ยางยุบ ใช้แรงกดเท่าไหร่ ได้พื้นที่เท่าไหร่ ก็กลายเป็นแรงดันขึ้นมา
แรงดันที่เกิดขึ้นนี้มันไม่หายไปไหน แต่มันจะกระจายไปพื้นผิวทุกส่วน แรงดันภายในจึงเพิ่มขึ้น
ส่วนเรื่องยางยุบแล้วไปยืดตรงอื่นหรือไม่ยืดนั้น อย่างไรแรงดันก็เพิ่มน่าจะเท่ากันอยู่ดี


ปล.
ผมไปตจว กลับมาอีกทีวันพุธนะครับ
ผิดถูกตรงไหนขอฝากหลายๆท่านดูแลแทนด้วย

จากคุณ : ton99 - [ 9 ก.ย. 50 02:49:55 ]






ความคิดเห็นที่ 12

ความดัน กับ แรงดัน คนละตัวกันนะครับ ต้องแยกให้ออกก่อน สิ่งที่เราวัดได้ในยางเป็น PSI คือความดัน ไม่ใช่แรงดัน มันเท่ากันทุกจุดในยาง
การใช้สูตร P=F/A ในยางนั้นทั้ง P และ F คือความดันและแรงดันของอากาศ"ภายใน"ยางเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับFแรงกดภายนอก ที่เป็น mg ของรถ
วิธีง่ายๆดูว่าความดันมันจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่อย่างไร ดูแค่ว่าปริมาตรของยางมันเปลี่ยนหรือไม่ หรือไม่ก็ดูจากพื้นผิวยางทั้งเส้นว่ามันเปลี่ยนแปลงหรือเปล่า ถ้ามันหดเล็กลงนั่นคือความดันต้องเพิ่มขึ้น แต่ถ้ามันมีทั้งส่วนที่หดเข้าและยืดออกสมดุลกัน ความดันจะเท่าเดิม
กรณีศึกษาที่ผมเคยเจอคือ รถขนของ วัดตอนบรรทุกเต็มกับตอนที่เอาของออกแล้ว ความดันลมยางก่อนและหลังเอาของลงมันเท่ากันครับ

จากคุณ : Dazzle - [ 9 ก.ย. 50 10:56:32 ]






ความคิดเห็นที่ 13

ผมว่าน้ำหนักมีผลให้แรงดันเปลี่ยนครับ ถ้าน้ำหนักต่างมากๆผมว่าความดันเปลี่ยนแน่

จะบอกว่าน้ำหนักกดลงมา หน้ายางแบนแล้วไปป่องที่ส่วนอื่นเพื่อจะทำให้แรงดันเท่าเดิมนั้น . . . . อาจจริงครับที่น้ำหนักระดับนึง ที่ยางยังสามารถยืดยุบ เพื่อรักษาปริมาตรเดิมไว้ได้

แต่ผมมองว่าไม่เสมอไปครับ ยางแต่ละรุ่นแต่ละดีไซน์ไม่ได้มีความสามรถในการยืดยุบของรูปทรงเพื่อรักษาปริมาตรได้เท่าเทียมกัน . . . ผมจึงไม่คิดว่าข้อสรุปที่บอกว่ายางสามรถรักษาปริมาตรให้เท่าเดิมได้ตลอดจะจริงเสมอไปครับ


จากเรื่องที่เคยพบเจอมา . . จากการใช้จุ๊บลมแบบที่เราใช้ตั้งแรงดันได้ แรงดันเกินเมื่อไร มันก็จะคายทิ้งคล้ายๆ Blow Off Valve

เคยตั้งไว้ว่าเกิน 36 ให้คายทิ้ง . . . วิ่งจนยางร้อนมันก็คายทิ้งจนแรงดันอยู่ที่ 36 . . . แต่พอกระแทกเนินไปไม่กี่ที ก็รู้สึกได้เลยว่ายางอ่อนลง เอามาวัดก็อ่อนลงจริง

ตอนกระแทกก็เหมือนกับยางรับน้ำหนักมากขึ้น จนแรงดันขึ้นสูงเกิน 36 ที่ตั้งไว้ มันก็ระบายแรงดันทิ้ง พอกลับมาเป็นน้ำหนักปกติ จอดวัดแรงดันก็ลดลงเพราะปริมาณลมถูกคายทิ้งไปตอนโดนน้ำหนักกดมาหนักๆ

ดังนั้นผมเชื่อว่าน้ำหนักมีส่วนทำให้แรงดันเปลี่ยนได้ จะต่างมากน้อยชึ้นอยู่กับน้ำหนักที่ต่างไปรวมกับข้อจำกัดในการเปลี่ยนรูปทรงของยางแต่ละแบบ



หรือคิดดูง่ายๆ ว่าทำไมยางจึงมีพิกัดการรับน้ำหนักสูงสุดของยางแต่ละรุ่น . . . ถ้าน้ำหนักที่กดลงมายังไง ยางก็ยังรกษาปริมาตรไว้ได้จากการเปลี่ยนรูปทรง ยางก็จะไม่มีแรงดันเพิ่มขึ้น ก็จะไม่มีอะไรน่ากลัว

แต่จริงๆแล้ว มันไม่สามรถรักษาปริมาตรไว้ได้เท่าเดิมเสมอไป มันก้ยอมได้ที่ระดับนึงเท่านั้น กดหนักมากไป เกินกว่ายางจะเปลี่ยนรูปทรงเพื่อรักษาปริมาตรได้ แรงดันมันก็เพิ่มจนชวนระเบิดได้ครับ

ยางใหญ่ๆ บ่าหนาๆจึงมักรับน้ำหนักที่มากกว่าได้ เพราะมันยอมเปลี่ยนรูปทรงเพื่อรักษาปริมาตรและแรงดันได้ง่ายกว่ายางเล็กๆ แก้มบางๆที่ยืดออกข้างได้ยากกว่า แรงดันเปลี่ยนง่ายกว่า

ฟอร์จูนเนอรืที่ทดลองมา แก้มมันหนา รักษาปริมาตรได้ง่าย แรงดันเลยไม่เปลี่ยน . . . ลองเอามาใส่ยางเล็กๆดู ผมว่าเปลี่ยน

ยางใหญ่ๆ ปริมาตรลมเยอะ รูปทรงที่เปลี่ยนไปกระทบต่อแรงดันน้อย . . . ยางเล้กๆ ปริมาตรลมน้อย ถ้ารูปทรงของห้องอากาศในยางเปลี่ยนไปรักษาปริมาตรไม่ได้เมื่อไร ตัวเลขแรงดันก้เปลี่ยนได้ง่ายกว่า

จากคุณ : A-Z - [ 11 ก.ย. 50 01:47:02 A:203.146.63.182 X: TicketID:002452 ]






ความคิดเห็นที่ 14

จากสูตร C x V จะเป็นค่าเท่าเดิมตลอดสำหรับก๊าซที่มีมวลเท่าเดิม เมื่อ C คือความหนาแน่น และ V คือปริมาตรของก๊าซ เมื่อยางรับน้ำหนัก V ย่อมลดลงแน่นอน จะมากน้อยขึ้นอยู่กับโครงสร้างของยาง จะเห็นว่า C ก็เพิ่มเช่นกัน เมื่อความหนาแน่นเพิ่ม ความดันก็จะเพิ่มด้วย ลองพิจารณาดูนะครับ ผิดถูกประการใด รอผู้รู้ท่านอื่นชี้แจงด้วยครับ

จากคุณ : saax - [ 11 ก.ย. 50 09:51:37 A:222.123.21.221 X: ]






ความคิดเห็นที่ 15

แรงดันต้องเท่าเดิมครับ

แรงดันในยางรถ มาจากแรงดันอากาศที่เติมเข้าไป

แรงดันจะเพิ่มขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อ อุณหภูมิอากาศในยางสูงขึ้น หรือ ปริมาตรของยางลดลงเท่านั้น

ซึ่งการที่ยางรถ จะขึ้นแม่แรง หรือ ตอนจอดรับน้ำหนักรถ (ที่ไม่ได้วิ่ง) อุณหภูมิมันไม่เปลี่ยนนี่ครับ แล้วปริมาตรยางก็ไม่เปลี่ยนด้วย มีแต่การเปลี่ยนรูปร่างโครงสร้างเท่านั้นเองแต่ปริมาตรคงเดิม

คือพอรับน้ำหนักแล้ว แก้มยางมันก็จะเตี้ยลงและขยายออกทางด้านข้าง ก็แค่นั้นครับ แต่ปริมาตรยังเท่าเดิม

ส่วนเรื่องพื้นที่ผิวที่คุณ ton นำมาคิดเมื่อยางรับแรงจากภายนอก อันนั้นไม่ใช่ปัจจัยที่จะทำให้ แรงดันลมยางเปลี่ยนไปนะครับ แค่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของขนาดพื้นที่ที่จะกระจายแรง(น้ำหนักรถ)ลงบนพื้นผิวถนนเท่านั้นเองครับ แต่ลมยางยังเท่าเดิมครับ

จากคุณ : คนที่รออยู่ - [ 14 ก.ย. 50 14:21:59 ]






ความคิดเห็นที่ 16

ผมว่าลองไปยกแม่แรงแล้ววัดเลยดีกว่า
ยกทฤษฏีมาแย้งกันว่าเพิ่มไม่เพิ่ม มันก็ไม่เห็นอะไร

ผมลองมา 2 คันแล้วมันเพิ่มทั้งคู่
ที่ลองคือ Civic กับยาง 195/60R14
อีกคันคือ Jazz กับยาง 185/55R15

จากคุณ : ton99 - [ 14 ก.ย. 50 19:46:45 ]






 

Create Date : 14 กันยายน 2550
0 comments
Last Update : 14 กันยายน 2550 19:48:29 น.
Counter : 2269 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


ton99
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




[Add ton99's blog to your web]