sansook
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 40 คน [?]




คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...
โค้ดนี้เป็นภาพพื้นหลังนำไปวางที่ช่อง Script Area ค่ะ https://youtu.be/K2vg5yDgVX4
Group Blog
 
 
เมษายน 2551
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
9 เมษายน 2551
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add sansook's blog to your web]
Links
 

 
การจัดทำแผนการเรียนรู้



การจัดทำแผนการเรียนรู้
ความสำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้เป็นเอกสารเครื่องมือที่ช่วยให้ครูมีทิศทางดำเนินการการจัดการเรียนรู้นำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เหตุผล
1. รู้เป้าหมายการสอน
2. สอนด้วยความมั่นใจ
3. จัดกิจกรรมได้เหมาะสมกับเวลา
4. จัดกิจกรรมได้เหมาะสมกับผู้เรียนทั้งในเรื่องของวัย และจำนวนของผู้เรียน
5. ผู้เรียนได้รับการส่งเสริมให้เรียนรู้ตามลำดับขั้นตอนเพื่อให้เกิดพฤติกรรมตามจุดประสงค์
6. ทำให้ทราบปัญหาของการสอน และสามารถปรับปรุงการสอนให้ดีขึ้นในโอกาสต่อไป

สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
1. การสอนต้องใช้เด็กเป็นศูนย์กลาง
2. ให้เน้นกระบวนการ ไม่เน้นเนื้อหาเป็นหลักในการพัฒนาผู้เรียน
3. เน้นการค้นพบด้วยตนเอง (โดยครูออกแบบกิจกรรม)
4. พยายามใช้สื่อที่ผลิตเอง หรือสื่อที่หาง่าย
5. มีแนวทางในการพัฒนาผู้เรียน โดยกิจกรรมที่ครูจัดนั้น ส่วนใหญ่เด็กจะมีส่วนร่วมในการคิดและลงมือปฏิบัติที่มิใช่ทำตามคำสั่งของครู
การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ครูผู้สอนต้องคำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวุฒิภาวะ เพราะความสามารถของมนุษย์ คือ “ความสำเร็จ” เมื่อเราเป็นผู้ที่วางพื้นฐานการดำรงชีวิตของมนุษย์ ดังนั้นจึงควรเริ่มต้นด้วยการพัฒนาเด็ก

การพัฒนาเด็ก ต้องการมุ่งเน้น
1. สร้างความรู้สึกที่ประสบความสำเร็จด้วยตนเอง
2. พยายามงดเว้นในสิ่งที่เด็กต้องทำตามคำสั่งทุกอย่าง เพราะจะเป็นการสกัดกั้นความคิดและความสามารถ
3. อย่างยัดเหยียดความรู้เพราะจะเป็นการสร้างความทุกข์ให้กับผู้เขียน





แนวคิดในการจัดกิจกรรม
กิจกรรมที่ควรปลูกฝังให้กับผู้เรียน คิดเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม และเห็นความสำคัญของตน กิจกรรมที่จัดต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1. เด็กเป็นศูนย์กลางในการปฏิบัติ
2. เด็กมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ
3. เด็กมีส่วนร่วมในการคิด
กิจกรรมที่ควรฝึกให้ผู้เรียนรู้จักว่าตนเองมีความสามารถด้านใดสูงเมื่อได้ปฏิบัติแล้วตัวเด็กจะสามารถปฏิบัติได้ดี รู้จักชื่นชมและชื่นใจในการทำงาน กิจกรรมที่ควรฝึก ได้แก่
1. ฝึกให้รู้จักการพูด
2. ฝึกให้รู้จักวิเคราะห์
3. ฝึกให้รู้จักวิจารณ์
หลักสูตรต้องการพัฒนาอะไรให้ผู้เรียน
1. ต้องการให้ผู้เรียนทำงานด้วยตนเอง
2. ต้องการให้ผู้เรียน คิด และสามารถสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง
ในแต่ละการสอนแต่ละครั้ง ครูควรคำนึงถึงความคิดรวบยอด / หลักการของเรื่องนั้นๆ จึงจะทำให้ผู้เรียนได้รู้อย่างแท้จริงตรงตามจุดประสงค์ของเรื่อง
การฝึกสรุป
เนื่องจากผู้เรียนอยู่ในวัยที่ต้องการเรียนรู้จากครูเป็นสำคัญ ดังนั้นการจะให้สรุปความคิดรวบยอดหรือหลักการ หรือสาระสำคัญที่เป็นตัวความรู้ หรือสิ่งที่จะได้จากการเรียนรู้ครูจะต้องเป็นผู้ฝึกให้ก่อน จึงจะทำให้ผู้เรียนมีความสามารถในการกระทำได้ด้วยตนเอง โดยครูฝึกให้เด็กพิจารณาโดยวิธีการ ดังนี้
1. การสังเกต
2. การคิดวิเคราะห์วิจารณ์
3. การบันทึกข้อมูล
4. รวบรวมคำตอบที่เป็น “ความ” มิใช่ “คำ” มาเรียงเป็นความคิดรวบยอด หรือ หลักการ หรือสาระสำคัญ ของเรื่องนั้นๆ
วิธีฝึกสรุป
ครูควรใช้คำถามนำให้ผู้เรียน เป็นแนวทางในการพิจารณา เช่น
1. รู้สึกอย่างไร
2. คิดถึงอะไร
3. คิดว่าเป็นอย่างไร
4. มองเห็นอย่างไร
ฯลฯ
ความรู้และแนวคิดในการทำแผนการจัดการเรียนรู้
1. กรอบของแผนการจัดการเรียนรู้
ความชัดเจนของแผนการสอน
1.1 จุดประสงค์การเรียนรู้ ต้องสัมพันธ์เนื้อหาของกิจกรรมและนำไปประเมินผลได้
1.2 เน้นผู้เรียนให้เกิดคุณลักษณะอย่างไร
1.3 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างไร หมายถึง
- ต้องการให้ผู้เรียนทำได้ จะต้องจัดกิจกรรมอะไร และจะให้ทำอะไรบ้าง (ควรเน้น
กิจกรรมอันนำไปสู่กระบวนการ)
- ใช้เวลาส่วนใหญ่ปฏิบัติกิจกรรม ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าการสอนหนังสือ
2. ลักษณะการจัดกิจกรรมที่นำไปสู่ทักษะกระบวนการ
2.1 การจัดกิจกรรมเพื่อการแก้ปัญหา
- เด็กสังเกต
- ครูใช้คำถาม
- แบ่งกลุ่มปฏิบัติกิจกรรม
- ครูตั้งประเด็นหรือคำถามให้รายงาน / ศึกษาค้นคว้า
- ฝึกสรุปเป็นแนวปฏิบัติ
- ฝึกการวางแผนเพื่อปรับพฤติกรรม / เสริมแรง / สร้างเจตคติ
2.2 การสร้างกิจกรรมเพื่อสร้างทางเลือก
ในการเรียนกิจกรรม ครูไม่ควรเขียนว่า อภิปราย - ซักถาม แต่ควรเขียนกิจกรรมในลักษณะการปฏิบัติ โดยครูเป็นผู้กำหนดประเด็น เรื่องราวอย่างชัดเจน ให้ตรงกับจุดประสงค์ที่ต้องการ เช่น
- อภิปรายลักษณะอะไร
- มีประเด็นอภิปรายอะไร
- ให้ค้นคว้าเกี่ยวกับอะไร
- นำผลมาทำอะไร
- เปรียบเทียบ
- ข้อมูลปฏิบัติ




3. ผลที่เกิดกับเด็กระหว่างวิธีการสอนที่เน้นกระบวนการและการสอนเนื้อหา
3.1 วิธีสอนที่เน้นกระบวนการ ผลที่จะเกิดขึ้นกับเด็ก
- มีความคงทนในการจำเพราะการเรียนรู้จากการกระทำ
- รู้จักคิดและมีความคิดสร้างสรรค์
- มีความเชื่อมั่นในตนเอง
- กล้าแสดงออกทางความคิดและการกระทำ
- มีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้
3.2 การสอนเนื้อหา ผลที่เกิดกับเด็ก
- จำได้เพาะส่วนที่เป็นเนื้อหา
- มีความจำอยู่ในระยะสั้น
- ไม่สร้างสรรค์ความคิดและการใฝ่รู้
- ไม่กล้าแสดงออก
- มีความเชื่อมั่นในตนเองน้อย
- เกิดความเบื่อหน่ายต่อการเรียน
4. คุณภาพที่ต้องการให้เกิดกับนักเรียน (จากแนวคิดของ ดร.โกวิท ประวาลพฤกษ์) เน้นคุณภาพ 3
ระดับ
1. มีความสามารถในการคิด
- คิดอย่างมีระบบ
- คิดอย่างมีเหตุผล
- คิดอย่างรอบคอบ
- สามารถคาดการณ์ได้อย่างใกล้เคียง
2. มีความสามารถคิดเรื่องการทำงาน
- เกิดการวางแผน
- คิดประกอบอาชีพที่เหมาะกับตน และเป็นประโยชน์ต่อสังคม
- เสริมสร้างสังคม
3. มีความสามารถในการทำงาน และปรับได้ทันเหตุการณ์
- รู้จักการปรับ ระหว่างปฏิบัติ
- ใช้ทักษะกระบวนการ





ผลของการใช้ทักษะกระบวนการจะทำให้ผู้เรียนเกิดสิ่งต่อไปนี้
 การทำงานเป็นกลุ่ม
 ทำงานได้ด้วยตนเอง
 ได้คิด
 ได้สรุปความรู้ด้วยตนเอง
5. แผนการสอนเน้นคุณภาพ 4 ประการ
คุณภาพที่เกิดกับผู้เรียน ขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่ครูจัดให้ ลักษณะกิจกรรมที่จะนำให้เกิดคุณภาพ 1.1 นักเรียนเป็นผู้ร่วมกิจกรรม
1.2 นักเรียนเป็นผู้ค้นพบสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ด้วยตนเอง
1.3 นักเรียนใช้กระบวนการต่างๆ เพื่อการค้นพบ
1.4 นักเรียนทำกิจกรรมโดยพยายามใช้ทรัพยากรท้องถิ่น

การจัดทำแผนการเรียนรู้
แผนการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ที่นำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของหลักสูตร องค์ประกอบของแผนการเรียนรู้มีดังต่อไปนี้
1. สาระสำคัญ
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
3. สาระการเรียนรู้
4. กิจกรรมการเรียนรู้
5. สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
6. การวัดและประเมินผล
7. การบันทึกผลหลังสอน
รายละเอียดการเขียนในแต่ละองค์ประกอบมีดังนี้
1. สาระสำคัญ
หมายถึง ข้อความที่เป็นแก่นของเนื้อหาสาระ หลักการ ข้อเท็จจริง และแนวคิดต่างๆ ของเนื้อหาสาระในแผนการสอนนั้น ต้องเขียนให้สรุป กระชับ อาจเป้นความเรียง หรือแยกเป็นข้อๆ ก็ได้ วิธีเขียนต้องเริ่มด้วยส่วนที่จำเป็นและสำคัญที่สุดของเนื้อหาก่อน แล้วจึงตามด้วยรายละเอียดที่สำคัญของเรื่อง






2. จุดประสงค์การเรียนรู้
หมายถึง พฤติกรรมที่คาดหวังของผู้เรียน หลักการสอน อาจเขียนแยกเป็นจุดประสงค์ปลายทางและจุดประสงค์การนำทางก็ได้
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
หมายถึง พฤติกรรมที่คาดหวังของผู้เรียน หลักการสอน อาจเขียนแยกเป็นจุดประสงค์ปลายทางและจุดประสงค์การนำทางก็ได้
3. สาระการเรียนรู้
เป็นส่วนที่ให้รายละเอียดการเชื่อมโยงกับสาระสำคัญและสอดคล้องกับจุดประสงค์
4. กิจกรรมการเรียนรู้
เป็นกิจกรรมหรือประสบการณ์ต่างๆ ที่ผู้สอนจัดให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกจากจะเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแล้ว ยังต้องคำนึงถึงวิธีการจัดการเรียนรู้ตามธรรมชาติของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้นั้นๆ รวมทั้งทักษะ / กระบวนการ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้วย
5. สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ วิธีการ และแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ที่ผู้สอนนำมาเป็นเครื่องมือช่วยให้ความรู้แก่นักเรียน
6. การวัดและประเมินผล
เป็นการตรวจสอบว่า ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้ การประเมิน ใช้วิธีการ เครื่องมือ และเกณฑ์ที่หลากหลาย ครอบคลุมด้านความรู้ทักษะกระบวนการคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ทั้งนี้ให้วัดตรงตามสภาพจริงที่เกิดขึ้นด้วยความเที่ยงตรง น่าเชื่อถือและตรวจสอบได้
7. การบันทึกผลหลังสอน
เป็นการบันทึกผลการจัดการเรียนรู้ตามแผนการเรียนรู้ ควรบันทึกในประเด็นต่อไปนี้
7.1 ปัญหา / วิธีแก้ปัญหา
7.2 ข้อเสนอแนะ
เป็นกิจกรรมที่ไม่สามารถปฏิบัติได้ในเวลาปกติ เช่น แบบฝึกหัดเพิ่มเติม หรืองานที่มอบหมายเพิ่มเติมอาจเป็นงานเกี่ยวกับงานกลุ่ม โดยเน้นทักษะที่มีความเกี่ยวพันกับทักษะที่ผู้เรียนในชั้นเรียน จะช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกฝนได้อย่างต่อเนื่อง



Create Date : 09 เมษายน 2551
Last Update : 15 ธันวาคม 2552 18:38:44 น. 1 comments
Counter : 6320 Pageviews.

 
อยากรู้หัวข้อส่วนประกอบต่างๆก่อนถึงแผนรายคาบค่ะ
เช่นปกหน้า ประกาศกระทรวง มาตรฐาน คำอธิบาย ฯลฯ ไม่ค่อยแม่นค่ะ


โดย: สมศรี IP: 118.173.152.84 วันที่: 25 มีนาคม 2556 เวลา:16:12:08 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.