sansook
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 40 คน [?]




คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...
โค้ดนี้เป็นภาพพื้นหลังนำไปวางที่ช่อง Script Area ค่ะ https://youtu.be/K2vg5yDgVX4
Group Blog
 
 
เมษายน 2551
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
9 เมษายน 2551
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add sansook's blog to your web]
Links
 

 
หลักสูตรแกนกลางสู่หลักสูตรสถานศึกษา

หลักสูตรแกนกลางสู่หลักสูตรสถานศึกษา

1. หลักสูตรแกนกลาง หมายถึง หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 มีรายละเอียดแสดงให้เห็นกรอบทิศทางในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สามารถนำไปใช้จัดการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยรวมทั้งสำหรับการจัดการศึกษาทุกกลุ่ม เช่น การศึกษาพิเศษ การศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ เป็นต้น โดยมีมาตรฐานการเรียนรู้เป็นข้อกำหนดคุณภาพของผู้เรียน
2. หลักสูตรสถานศึกษา หมายถึง หลักสูตรระดับท้องถิ่นซึ่งสถานศึกษานำข้อมูลสภาพที่เป็นปัญหาหรือความต้องการในชุมชนและสังคมภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพังประสงค์ เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ มาจัดทำสาระของหลักสูตร และจัดการเรียนรู้โดยยึดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นกรอบหรือแนวทางในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
3. มาตรฐานการเรียนรู้ หมายถึง ข้อกำหนดคุณภาพผู้เรียนด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมของแต่ละกลุ่มเพื่อใช้เป็นจุดมุ่งหมายในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ซึ่งกำหนดเป็น 2 ลักษณะ คือ  มาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐานเป็น
มาตรฐานการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้
เมื่อผู้เรียนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นเป็นมาตรฐานการเรียน
รู้ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ เมื่อผู้เรียนจบในแต่
ละช่วงชั้น คือชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 6 และชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6

ความรู้เกี่ยวกับวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย คุณลักษณะอันพึงประสงค์
และโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา
วิสัยทัศน์
 เป็นเจตนารมณ์ อุดมการณ์ หลักการ ความเชื่อ อนาคตที่พึงประสงค์ เป็นการคิดไปข้างหน้า มีเอกลักษณ์
 สามารถสร้างศรัทธา และจุดประกายความคิดในสภาพการพัฒนาสูงสุด
 วิสัยทัศน์ประกอบด้วยตัวชี้วัดดังนี้
1. แสดงภาพที่พึงพอใจในอนาคตอย่างชัดเจน
2. แสดงถึงเจตนารมณ์ อุดมการณ์ของสถานศึกษา
3. สามารถสร้างศรัทธา / จุดประกายความคิดของบุคลากร
4. มีเอกลักษณ์ชัดเจน
5. สอดคล้องกับสภาวะข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
6. บ่งบอกภารกิจของสถานศึกษา
7. สอดคล้องกับนโยบายของสถานศึกษา
8. มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่ายทั้งในโรงเรียนและชุมชน
9. มีความเป็นไปได้
10. มีระยะเวลาที่แน่นอน
ภารกิจ
เป็นการแสดงวิธีดำเนินงานของสถานศึกษา เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์และนำไปสู่การวางแผนปฏิบัติต่อไป ประกอบด้วยตัวชี้วัด ดังนี้
1. แสดงถึงงานที่สถานศึกษาต้องปฏิบัติอย่างชัดเจน
2. สะท้อนถึงวิธีดำเนินงานที่นำไปสู่ความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้
3. มีการให้ชุมชนเข้ามามีส่วนในการดำเนินงาน
4. ตรงกับบทบาทหน้าที่ของสถานศึกษา

เป้าหมาย
เป็นความคาดหวังด้านคุณภาพที่เกิดกับผู้เรียนเมื่อจบหลักสูตร ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา และจุดหมายของหลักสูตรการศึกษาขึ้นพื้นฐาน ประกอบด้วยตัวชี้วัดดังนี้
1. สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา
2. สอดคล้องกับจุดหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. มุ่งเน้นผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ กระบวนการ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์อย่างชัดเจน
มาตรฐานการเรียนรู้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดไว้เฉพาะมาตรฐานการเรียนรู้ที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนทุกคนเท่านั้น สำหรับมาตรฐานการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ตลอดจนมาตรฐานการเรียนรู้ที่เข้มขึ้นตามความสามารถความถนัด และความสนใจของผู้เรียนให้สถานศึกษาพัฒนาเพิ่มเติมได้
4. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความรู้ ความสามารถ คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่บ่งบอกถึงระดับคุณภาพที่คาดหวังจะให้เกิดกับผู้เรียนหลังจากได้ผ่านกระบวน การเรียนรู้ในแต่ละปีการศึกษา หรือแต่ละภาคเรียน
5. สาระการเรียนรู้ หมายถึง ที่องค์ความรู้ ทักษะกระบวนการ คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ
6. สาระการเรียนรู้แกนกลาง หมายถึง รายละเอียดที่เป็นองค์ความรู้ ทักษะกระบวนการ คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ที่กระทรวงศึกษาธิการวิเคราะห์จากมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระและช่วงชั้นของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อให้สถานศึกษาเทียบเคียง ตรวจสอบ และปรับใช้กับสาระการเรียนรู้พื้นฐานที่การศึกษากำหนด
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
เป็นคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่สถานศึกษากำหนดขึ้น เพื่อแก้ปัญหาหรือสร้างค่านิยมที่ดีให้แก่ผู้เรียนตามจุดเน้นของหลักสูตร และหรือ ตามนโยบายของสังคมระดับประเทศประกอบด้วยตัวชี้วัด ดังนี้
1. กำหนดคุณลักษณะที่ต้องการพัฒนาด้านคุณภาพ จริยธรรม และค่านิยม
2. กำหนดคุณลักษณะที่ต้องการพัฒนาไว้ชัดเจนทุกช่วงชั้น
3. กำหนดตัวบ่งชี้ในการพัฒนาที่นำไปปฏิบัติได้จริง
4. มีการกำหนดผู้รับผิดชอบการประเมินไว้ชัดเจน
5. มีการกำหนดวิธีการประเมิน
โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา
เป็นการแสดงให้เห็นถึงมวลประสบการณ์ที่สถานศึกษาจัดให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดหลักสูตรที่ผู้เรียนได้ศึกษาอยู่ในสถานศึกษานั้นๆ โดยแบ่งเป็นช่วงชั้นที่ 1 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3 ) ช่วงชั้นที่ 2 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6) ช่วงชั้นที่ 3 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1- 3 ) ช่วงชั้นที่ 4 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 -6 ) ในแต่ละช่วงชั้นแสดงให้เห็นสาระการเรียนรู้ทั้งพื้นฐานและเพิ่มเติมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งกำหนดสัดส่วนเวลาหรือหน่วยคิดของแต่ละสาระการเรียนรู้เป็นรายปี / รายภาค หรือรายสัปดาห์ ประกอบด้วยตัวชี้วัด ดังนี้
1. สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ภารกิจ และเป้าหมายของหลักสูตรสถานศึกษา
2. สอดคล้องกับโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
3. มีการกำหนดสัดส่วนเวลาระหว่างสาระการเรียนรู้กับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างเหมาะสม
4. มีการกำหนดสัดส่วนเวลาระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ อย่างเหมาะสม
5. มีหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้
6. มีหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการกับวิถีชีวิตของผู้เรียน
7. มีรายวิชาพื้นฐาน/ หน่วยการเรียนรู้ครบตามกำหนดในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
8. มีรายวิชาเพิ่ม / หน่วยการเรียนรู้ตรงตามความต้องการของผู้เรียนและชุมชน
9. รายวิชาพื้นฐาน / หน่วยการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ครอบคลุมมาตรฐานการเรียนรู้ตามที่หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด

แผนภูมิแนวทางกำหนดเวลาเรียนตามโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ช่วงชั้นที่ 1
(ป. 1 – 3) ช่วงชั้นที่ 2
(ป. 4 – 6) ช่วงชั้นที่ 3
(ม. 1 – 3) ช่วงชั้นที่ 4
(ม. 4 – 6)

เวลา
800 – 1,000 ซม. / ปี
(4 – 5 ซม. / วัน)
1,000 – 1,200 ซม. / ปี
(5 – 6 ซม. / วัน) ไม่น้อยกว่า
1,200 ซม. / ปี
ไม่น้อยกว่า
6 ซม. / วัน
สาระพื้นฐาน
1. ภาษาไทย
2. คณิตศาสตร์

50 %
(2 1/2 ชม./วัน)
40 %
(2 1/2 ชม./วัน)



50 %
(3 ชม./วัน)




30 - 35 %
(360 ชม./วัน)
(9 นก.)

3. วิทยาศาสตร์
4. สังคมศึกษาฯ
5. สุขศึกษาฯ
6. ศิลปะ
7. การงานฯ
8. ภาษาต่างประเทศ

30 %
(1 1/2 ชม./วัน)


40 %
(2 1/2 ชม./วัน)

สาระเพิ่มเติม


5 % 35 %
2 ชม. / วัน 55 – 60 %
720 ชม. / วัน
(18 นก.)
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 20 % 15 % 15 % 10 %

หมายเหตุ ตารางที่นำเสนอข้างต้นนี้เป็นตารางที่สรุปจากแนวทางการจัดหลักสูตรที่เสนอไว้ในเอกสารหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 อย่างไรก็ดี หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดเวลาในการจัดการเรียนรู้ไว้ในลักษณะยืดหยุ่น ไม่กำหนดเวลาไว้ตายตัว โดยเปิดโอกาสให้สถานศึกษาสามารถกำหนดเวลาของแต่ละสาระตามความเหมาะสม
การจัดทำหน่วยการเรียนรู้
องค์ประกอบของหน่วยการเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้แต่ละหน่วย ประกอบด้วย
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
สาระการเรียนรู้
เวลา
การจัดทำหน่วยการเรียนรู้
การจัดทำหน่วยการเรียนรู้สามารถทำได้โดยการเอาสาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาคที่กำหนดไว้ในคำอธิบายรายวิชาไปบูรณาการ แล้วการจัดทำเป็นหน่วยการเรียนรู้ย่อยๆ เพื่อความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ และผู้เรียนรู้ในลักษณะองค์รวม มีแนวทางในการจัดทำได้หลายวิธี ดังตัวอย่าง เช่น
วิธีที่ 1 วิเคราะห์สาระการเรียนรู้รายปี / ภาค ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี / การจากคำอธิบายรายวิชาจำแนกเป็นเรื่องย่อยๆ แล้วนำเรื่องย่อยๆ ที่สอดคล้องกันมารวมกันเป็นหน่วยการเรียนรู้ แล้วตั้งชื่อหน่วย
วิธีที่ 2 นำความคิดรวบยอดของสาระการเรียนรู้จากคำอธิบายรายวิชามาวิเคราะห์เป็นหน่วยย่อย ตั้งเป็นหัวข้อเรื่อง แล้วนำสาระต่างๆ หรือเรื่องย่อยๆ ที่เกี่ยวข้องมาบูรณาการจัดทำเป็นหน่วยการเรียนรู้ แล้วตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ให้น่าสนใจ
การจัดทำหน่วยการเรียนรู้ อาจบูรณาการทั้งภายในและระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือเป็นการบูรณาการเฉพาะเรื่องตามลักษณะสาระการเรียนรู้ หรือเป็นการบูรณาการที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้เรียน
คำอธิบายรายวิชา
เป็นการสะท้อนภาพรวมของคุณภาพของผู้เรียนที่แสดงออกด้านความรู้ ทักษะ กระบวนการควบคู่กับคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม หลังจากผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในแต่ละปีหรือแต่ละภาค โดยกำหนดสาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาคที่สอดคล้องกับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น รวมทั้งสอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่นและชุมชน และกำหนดจำนวนเวลาหรือจำนวนหน่วยกิตที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้
แนวการเขียนคำอธิบายรายวิชา กำหนดไว้ดังนี้
จัดทำคำอธิบายรายวิชา จัดทำได้โดยการนำเอาผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาคสาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค รวมทั้งเวลาและจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดมาเขียนเป็นคำอธิบายรายวิชาโดยให้ประกอบด้วย ชื่อรายวิชา รหัสวิชา จำนวนเวลาหรือจำนวนหน่วยกิตผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี/รายภาค และสาระการเรียนรู้ของรายวิชานั้นๆ ซึ่งสามารถเขียนคำอธิบายรายวิชาได้หลายรูปแบบ เช่น




รูปแบบที่ 1 เขียนเป็นความเรียงเสนอภาพรวมของผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและสาระการเรียนรู้ทั้ง 3 ด้าน
รูปแบบที่ 2 เขียนแยกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย
- ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง : เขียนเป็นความเรียง สรุปภาพรวมของผลการเรียนรู้ทั้ง 3 ด้าน
- สาระการเรียนรู้ : เขียนเป็นความเรียงของขอบข่ายเนื้อหา
รูปแบบที่ 3 เป็นความเรียง ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
- ขอบข่ายกิจกรรมที่กำหนดกว้างๆ สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ของรายวิชา
- ขอบข่ายเนื้อหาที่สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ของรายวิชา
- ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียนอย่างกว้างๆ
รูปแบบที่ 4 เป็นความเรียง ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
- จุดประสงค์ของรายวิชาที่สอดคล้องกับผลการเรียนรู้รายวิชา
- ขอบข่ายสาระการเรียนรู้
- กิจกรรมการเรียนรู้
- วิธีการวัดและประเมินผล
รูปแบบที่ 5 เขียนแยกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย
- ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง : เขียนให้เป็นครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน เป็นข้อๆ โดยไม่แยกด้าน
- สาระการเรียนรู้เขียนเป็นข้อๆ
สำหรับชื่อรายวิชามีแนวทางในการกำหนดดังนี้ ชื่อรายวิชาของสาระเรียนรู้ให้ใช้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ส่วนรายวิชาที่สถานศึกษาจัดทำเพิ่มเติมสามารถกำหนดตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ต้องสื่อความหมายได้ชัดเจนมีความสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ทีกำหนดไว้ในรายวิชานั้น

******เพิ่มเติมข้อมูลการเสนอร่างหลักสูตรแกนกลางสู่หลักสูตรสถานศึกษา(ฉบับปรับปรุง)สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้นำร่างหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับปรับปรุง เสนอให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) พิจารณา ซึ่งร่างหลักสูตรนี้ ยังคงจัดโครงสร้างหลักสูตรเป็น 8 กลุ่มสาระวิชา ได้แก่ สาระวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ
สำหรับเรื่องที่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น เปลี่ยนตัวชี้วัดเป็นรายปี จากที่เคยกำหนดเป็นตัวชี้วัดช่วงชั้น และเขียนตัวชี้วัดให้อ่านเข้าใจง่ายขึ้น ที่สำคัญมีการกำหนดกรอบการจัดสรรเวลาเรียนสำหรับแต่ละระดับชั้น ด้วย โดยระดับประถมศึกษาให้มีเวลาเรียนวันละประมาณ 4-5 ชั่วโมง ระดับม.ต้น วันละประมาณ 5-6 ชั่วโมง ระดับ ม.ปลาย ไม่น้อยกว่าวันละ 6 ชั่วโมง
อีกทั้งยังมีการกำหนดกรอบเวลาเรียนในแต่ละกลุ่มวิชา โดย กลุ่มวิชาภาษาไทยและ กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ ระดับ ป.1 – ป.3 ให้มีเวลาเรียนขั้นต่ำปีละ 200 ชั่วโมง ชั้น ป.4-ป.6 ปีละ 160 ชั่วโมง ม.ต้น ปีละ 120 ชั่วโมง ส่วน ม.ปลาย รวม 3 ปี ต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 240 ชั่วโมง กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และสังคมศึกษาให้มีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าปีละ 80 ชั่วโมง ในระดับ ป.1 – ป.6 ม.ต้นปีละ 120 ชั่วโมง ม.ปลาย รวม 3 ปี ต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 240 ชั่วโมง
กลุ่มวิชาสุขศึกษาฯ ,การงานฯ และศิลปะ ระดับ ป.1 - ม.3 ให้มีเวลาเรียนขั้นต่ำปีละ 80 ชั่วโมง ส่วน ม.ปลาย รวม 3 ปี ต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 120 ชั่วโมง กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ ป.1 – ป.3 ให้มีเวลาเรียนขั้นต่ำปีละ 40 ชั่วโมง ป.4-ป.6 .ปีละ 80 ชั่วโมง ม.ต้นปีละ 120 ชั่วโมง ม.ปลาย รวม 3 ปี ต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 240 ชั่วโมง นอกจากนั้นให้มีกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนปีละ 120 ชั่วโมงด้วย
อย่างไรก็ดี ได้มอบให้สถานศึกษาจัดสรรเวลาเรียนในแต่ละกลุ่มสาระวิชาและรายวิชาที่สถานศึกษาจัดทำขึ้นให้เหมาะสมทั้งหมด ระดับประถมศึกษา จะมีเวลาเรียนในแต่ละกลุ่มสาระวิชาไม่เกินปีละ 1,000 ชั่วโมงต่อวิชา ม.ต้น ไม่เกินปีละ 1,200 ชั่วโมงต่อวิชา และ ม.ปลาย รวม 3 ปี ต้องมีเวลาเรียนไม่เกิน 3,600 ชั่วโมงในแต่ละวิชา
นางเบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กล่าวว่า กรรมการ กพฐ.ได้รับร่างหลักสูตร ไปพิจารณาแล้ว โดยที่ประชุมมีความเห็นว่า ตัวชี้วัดที่ปรับใหม่นั้น ควรจะส่งเสริมให้เกิดการเรียนการสอนที่สร้างกระบวนการคิดให้กับเด็ก ไม่ต้องการให้ตัวชี้วัดไปส่งเสริมการเรียนแบบเน้นเนื้อหา เพราะความรู้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ถ้าเด็กรู้จกกกระบวนการเรียนรู้แล้ว จะนำไปปรับใช้กับการเรียนรู้ความรู้ใหม่ ๆหลักสูตรที่ปรับปรุงใหม่ต้องมีการจัดกรอบเวลาเรียนในแต่ละกลุ่มสาระวิชา เพราะหลักสูตรเดิมให้โรงเรียนจัดสรรเวลาเรียนแต่ละวิชา ผลทำให้การจัดการเรียนการสอนของแต่ละโรงเรียนแตกต่างกันมาก ส่วนใหญ่ ร.ร.จะจัดเวลาเรียนให้วิชาใดมากหรือน้อยเท่าใด ขึ้นอยู่กับครูที่ตัวเองมี เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีมาตรฐานขั้นต่ำในการจัดสรรเวลาเรียนแต่ละวิชาไว้
อย่างไรก็ตาม หลักจากได้ข้อสรุปแล้ว ทาง สพฐ.จะนำร่างหลักสูตรฯ ไปจัดประชาพิจารณ์ รับฟังความเห็นใน 4 ภูมิภาค แล้วนำความเห็นที่ได้จากการประชาพิจารณา รวมทั้งความเห็นของ กพฐ. มาปรับปรุง ร่าง หลักสูตรฯ อีกครั้ง ก่อนนำหลักสูตรไปใช้จริง--




Create Date : 09 เมษายน 2551
Last Update : 15 ธันวาคม 2552 18:38:52 น. 5 comments
Counter : 46602 Pageviews.

 
ขอข้อมูลคำอธิบายรายวิชาของกลุ่มสาระสังคมศึกษาฯระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ด้วยค่ะ


โดย: นาลิน IP: 192.168.182.249, 58.10.164.158 วันที่: 18 มกราคม 2553 เวลา:15:26:41 น.  

 
อิอิ ผ่านมาอ่านจ้ามีประโยชน์มั้กๆเลยจ้าขอบจายม้ากๆๆ


โดย: polo IP: 119.31.126.141 วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:10:47:29 น.  

 
จะทำหลักสูตรแกนกลางกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ)พอมีตัวอย่างให้ดูม่ะครับ เริ่มต้นไม่ถูกเลย ขอน่ะครับ ขอบใจม้าก หรือส่งให้ทาง polo_548@hotmail.com ขอน่ะครับ


โดย: ois IP: 119.31.126.141 วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:10:52:47 น.  

 
ขอบคุณมากๆๆ


โดย: ลักษ์ IP: 192.168.0.116, 203.172.184.99 วันที่: 22 เมษายน 2553 เวลา:9:04:54 น.  

 
ขอบคณมากๆๆจ้าที่เผยแพร่ความร้เป็นธรรมทาน ขอให้มีสติปัญญาที่เฉียบแหลมยิ่งๆๆขึ้นไป


โดย: pom IP: 118.173.57.80 วันที่: 6 มิถุนายน 2556 เวลา:20:51:02 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.