Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2553
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
14 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 

ผลวิจัยแฉ 1,300 เว็บเฟซบุ๊คเกี่ยวการเมืองเชียร์รบ.มากกว่าแดงเชื่อสื่อออนไลน์ทำแตกแยกมากกว่าสมานฉันท์


*วันที่ 3 มิ.ย. ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับโครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม (มีเดีย มอนิเตอร์) ร่วมจัดประชุมเครือข่ายนักวิชาการและนักชาชีพสื่อมวลชน ครั้งที่ 1/ 2553 วาระ"สื่อในวิกฤตการเมือง สะท้อนปรากฏการณ์ หรือแสวงหาทางออก" โดยมีนักหนังสือพิมพ์ นักวิชาการเข้าร่วม อาทิ นายภัทระ คำพิทักษ์ บรรณาธิการข่าว หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์, ดร.นฤมล ทับจุมพล อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, ดร.อัจฉริยา อักษรอินทร์ ผู้อำนวยการสถาบันฝึกอบรมเนคเทค

ก่อนที่จะมีการเสวนา นายธาม เชื้อสถาปนาศิริ จากมีเดีย มอนิเตอร์ ได้เสนอผลการศึกษา เรื่อง ปรากฏการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในเครือข่ายสังคมออนไลน์ ซึ่งได้ศึกษาตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค. – 30 มี.ค. ในการสื่อสาร 4 ช่องทาง คือ เว็บเฟซบุ๊ค, ทวิตเตอร์ เว็บบอร์ดพันทิป และ การใช้ฟอร์เวิร์ดเมล์

1,300 เว็บเฟซบุ๊คเกี่ยวการเมือง หนุนรบ.มากกว่าแดง

ผลการศึกษาพบว่ามีการใช้พื้นที่ออนไลน์เพื่อการสื่อสารทางการ เมืองในระดับกว้าง คึกคัก และเข้มข้น แต่ค่อนข้างไปในลักษณะที่สร้างความแตกแยกมากกว่าการสร้างความสมานฉันท์ คือ

1.ในเว็บเฟซบุ๊ค พบว่ามี 1,300 เว็บไซต์ แบ่งออกเป็น 19 กลุ่ม มีวัตถุประสงค์ทั้งการสนับสนุน การต่อต้านรัฐบาล-คนเสื้อแดง กลุ่มสันติวิธี กลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบ หรือกลุ่มล้อเลียนทางการเมือง ซึ่งในจำนวน 1,300 เว็บไซต์ นั้น พบว่ามีเว็บที่ต่อต้านการชุมนุม, สนับสนุนรัฐบาลไม่ให้ยุบสภาอยู่ในระดับที่สูงกว่าการสนับสนุนเสื้อแดง

สำหรับเนื้อหาร้อยละ 90 พบว่า เป็นกลุ่มที่ตั้งขึ้นเพื่อแสดงความเห็นทางการเมืองต่อการชุมนุม ทั้งการต่อต้านการกระทำ และไม่สนับสนุนกลุ่มคนเสื้อแดง ทั้งนี้มีบางส่วนที่ใช้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่สอดแนม เฝ้าระวัง นอกจากนั้นยังใช้พื้นที่เพื่อแจ้งข่าวสารไปยังสมาชิก เพื่อรู้ เพื่อประจาน ประณามและขอให้ช่วยกันลงโทษทางสังคมออนไลน์ ซึ่งมีการนำข้อมูลส่วนตัวของบุคคลดังกล่าวไปเผยแพร่ต่อในอีเมล์, เว็บบอร์ด เพื่อให้รับรู้ในที่สาธารณะ ซึ่งมีกรณีที่นำไปสู่การจับกุม ไล่ออกจากสถานที่ทำงาน

2. ทวิตเตอร์ พบว่ามีความโดดเด่นในการใช้งานเพื่อติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างเกาะติด ต่อเนื่อง โดยมีนักข่าว ผู้สื่อข่าวเป็นผู้ที่ทรงอิทธิพลในข่าวสารมากกว่ากลุ่มอื่นๆ สื่อกระแสหลักได้นำพื้นที่ทวิตเตอร์เป็นช่องทางเลือกในการสื่อสาร

ชี้กระทู้ในห้องราชดำเนินส่วนมากไม่สร้างสรรค์

3. เว็บบอร์ดสาธารณะในเว็บไซต์พันทิป ห้องราชดำเนิน ในช่วงที่มีการชุมนุมทางการเมือง พบว่ามีการตั้งกระทู้มากกว่า 7,000 กระทู้ คนที่ตั้งกระทู้รวมถึงแสดงความเห็น พบว่าเป็นผู้ที่สนับสนุนรัฐบาล, สนับสนุนคนเสื้อแดง อย่างชัดเจน และใช้พื้นที่แสดงความคิดการเมือง, ตรวจสอบข้อเท็จจริงตามความขัดแย้งทางการเมืองหลายๆ กรณี ทั้งนี้ได้เชื่อมโยงข้อมูล, ระดมข้อมูลข่าวจากพลเมืองเน็ตจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นกระทู้ที่ไม่สร้างสรรค์ สำหรับการแสดงความเห็นในพื้นที่ดังกล่าว มีทั้งช่วยเสริมสร้างความสมานฉันท์ ความเข้าใจ และบางพื้นกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองอย่างดุดัน แบ่งฝ่าย และสะท้อนความเกลียดชัง ผ่านภาษาเชิงเหยียดหยาม ประณาม

4. การใช้ฟอร์เวิร์ดเมล์ทางการเมือง ช่วงที่มีการศึกษา ฟอร์เวิร์ดเมล์ แบ่งออกเป็นหลายๆ กลุ่ม คือ ทั้งเผยแพร่ข้อมูลข้อเท็จจริง, กลุ่มรัก และชื่นชมสถาบัน, กลุ่มตลก ล้อเลียนทางการเมือง เป็นการสื่อสารให้ข้อมูลทางการเมืองในลักษณะชี้แจง แฉ และวิพากษ์วิจารณ์ ทั้งเบื้องลึกเบื้องหลังเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง ของคนเสื้อแดง, พฤติกรรมของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในพฤติกรรมตีตนเสมอเจ้า หรือการกระทำที่คิดล้มล้างสถาบัน, คดีคอรัปชั่นในอดีต รวมถึงเบื้องหลังความรุนแรงของการชุมนุมคนเสื้อแดง, กลุ่มบุคคล,องค์กร, สื่อเว็บไซต์ ที่เผยแพร่ความคิดล้มล้างสถาบัน


สรุปสื่อออนไลน์ทำแตกแยกมากกว่าสมานฉันท์

“การสื่อสารออนไลน์ จากการศึกษาพบว่าเป็นการสร้างความแตกแยกทางการเมือง มากกว่าการสร้างความสมานฉันท์ เห็นได้จาก

1. ก่อนการเข้าร่วมกับกลุ่มต่างๆ คุณต้องเลือกข้างทันที ว่า ไม่เอาเสื้อแดง สนับสนุนเสื้อแดง เป็นต้น
2. ในการแสดงความเห็นเป็นในลักษณะการโต้แย้ง โต้เถียงอย่างดุเดือด
3. มีพฤติกรรมการสอดแนม เฝ้าระวังฝ่ายตรงกันข้าม
4. มีการประณาม แฉ และชักชวนให้กีดกันทางสังคม และ
5. สร้างความเกลียดชัง และปฏิเสธการอยู่ร่วมกัน”

นอกจากนี้ มีเดีย มอนิเตอร์ ได้เสนอแนะว่า สำหรับผู้ที่เข้าไปเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ รวมถึงสื่อมวลชนต้องคำนึงถึง

1. ความน่าเชื่อถือของข้อมูล ที่อาจจะมีการนำข้อคิดเห็นผสมกับข้อเท็จจริง
2. ความรวดเร็วของข้อมูล ซึ่งข้อมูลที่โพสต์นั้นมีอาจจะยังไม่มีการตรวจสอบ
3. ข้อความที่เผยแพร่อาจจะเป็นข้อความที่ไปละเมิดส่วนบุคคล หรือหมิ่นประมาทบุคคลอื่น
4. การแสดงความคิดเห็นบนพื้นที่ สาธารณะ ที่อาจะนำเสนอทัศนคติที่เกลียดชัง สร้างความแบ่งแยก เกลียดชัง
5. การรับส่ง สร้าง เผยแพร่ข้อความต่อ ต้องใช้วิจารณญาณในการรับรู้ ส่วนการส่งต่อต้องไม่ส่งต่อข้อความมีที่ไม่เหมาะสม
6. ต้องตระหนักว่าสื่อออนไลน์ เต็มไปด้วยข้อมูลที่หลากหลาย ไร้การควบคุม ดังนั้นข้อความอาจจะเป็นการปลุกเร้าอคติ การเกลียดชัง การความรุนแรง และ
7. เจ้าของสื่อรวมถึงผู้ที่โพสต์ข้อความต้องตระหนึกในบทบาทของสื่อ ด้านการสร้างเสริมคุณภาพของความรู้ ความคิดเห็นเสรีที่หลากหลาย และการส่งเสริมการสร้างความสมานฉันท์ปรองดอง


เปลี่ยนระดับจากทะเลาะบนถนนสู่หน้าสื่อ

จากนั้น ดร.ณัฏฐา โกมลวาทิน พิธีกรสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ซึ่งเป็นผู้ดำเนินรายการได้เชิญวิทยากร ขึ้นเวทีเพื่อเสวนา ตามหัวข้อ สื่อในวิกฤตการเมือง: สะท้อนปรากฎการณ์หรือแสวงหาทางออก”

นายภัทระ คำพิทักษ์ บรรณาธิการข่าว หนังสือพิมพ์โพสต์ ทูเดย์ เริ่มต้นเสวนาว่า ขณะนี้เรากำลังอยู่ในสถานการณ์ของบ้านเมืองที่มีความยากลำบาก เพราะหลังจากที่ทะเลาะกันบนถนนแล้ว ก็มาทะเลาะกันบนหน้าหนังสือพิมพ์ ทีวี หน้าปัดวิทยุ และคอมพิวเตอร์ ผมอยากเริ่มว่างานนี้เปรียบเสมือนการส่องกระจกให้เห็นภาพของตัวเอง เพื่อแก้ไขปัญหา


บก.ข่าวชี้เหตุ โครงสร้างสื่อใหม่ข้อมูลหลั่งไหล

ผมมองว่าปฐมเหตุที่ทำให้เกิดภาพอย่างปัจจุบัน คือ โครงสร้างของสื่อใหม่ ทำให้เกิดการหลั่งไหลของทัศนคติและข้อมูล และทำให้เกิดผลกระทบหลายด้าน เช่น

1.ทำให้ทุกคนกลายเป็นสื่อ โดยลืมนึกไปว่าการที่จะเป็นสื่อมวลชนได้นั้น ต้องประกอบด้วย 2 ขา คือ ขาเสรีภาพ และขาของความรับผิดชอบ ซึ่งทั้ง 2 ขาต้องก้าว แต่ในสื่อออนไลน์ มีแต่ขาเสรีภาพเป็นตัวนำ เพราะด้วยความไว รัฐไม่สามารถจำกัดได้ ไม่มีกฎหมายใดมาควบคุม จึงไม่แปลกที่เว็บไซต์ประชาไท เป็นผู้ที่ถูกกระทำ แม้จะมีการเรียกร้องเรื่องของเสรีภาพ แต่ในวงการนักวิชาการกลับมองว่าไม่มีน้ำหนัก

2. เรื่องความรู้ความสามารถ สื่อใหม่ถือว่ายังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งข่าวได้มากนั้น ดังนั้นการนำเสนอข้อมูลจึงเป็นลักษณะที่เรียกว่าปนกันระหว่างความรู้และความเห็น

3.เรื่องกรอบความคิดไม่ชัดเจน อยากเขียนอะไรก็เขียน โดยไม่รับผิดชอบ ซึ่งต่างจากอดีต เพราะว่าที่นักข่าวจะเขียนหนังสือได้ ต้องอาศัยประสบการณ์ และระยะเวลาในการสั่งสม ดังนั้นการสร้างบุคลากรในสื่อใหม่จึงแตกต่างจากสื่อยุคเก่า

“ระยะที่ผ่านมาสื่อมวลชนไม่สามารถรองรับความเปลี่ยนแปลงได้ ทำให้การจัดการสื่อมีปัญหา การขยายตัวไม่ทันตามโครงสร้างสังคมทำให้เป็นปัญหา ผมเคยตั้งคำถามไว้ว่า ในศูนย์ราชการ ที่แจ้งวัฒนะ มีนักข่าวประจำอยู่กี่คน เพราะในศูนย์ราชการนั้นเป็นที่ตั้งของหลายหน่วยงาน หรือขณะที่ประเทศไทยเปิดพรมแดนเชื่อมโยงกับเพื่อนบ้าน อย่างประเทศลาว โครงสร้างนักข่าวเราเปลี่ยนไปตามนั้นหรือไม่ หากการปรับปรุงโครงสร้างของราชการสื่อยังตามไม่ทัน อาจทำให้เกิดปัญหาได้ หรือการนิยามความเป็นสื่อ ผมว่ายังมีความสับสน เช่น ตอนที่คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ถูกยิง สมาคมนักข่าวฯ ก็เอากระเช้าไปเยี่ยมเพราะมองว่าสื่อถูกคุกคาม จนเกิดเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า ทำถูกต้องหรือไม่ และเพราะคุณสนธิ ได้ออกไปมีบทบาททางการเมืองแล้ว”

เชื่อสื่อคุมกันเองสำคัญที่สุด ไม่ไว้ใจรัฐควบคุม

ภัทระ กล่าวอีกว่า สำหรับความน่าเชื่อถือรวมถึงการควบคุมกันเอง ผมว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะหากเราเชื่อว่าว่าการควบคุมโดยรัฐ โดยกฎหมาย เป็นสิ่งที่ไม่น่าไว้ใจ แต่สภาพเป็นจริงของสังคมที่เปลี่ยนไป สภาการหนังสือพิมพ์ฯ ก็ไม่สามารถคุมได้ทุกสื่อ ทำให้กลายเป็นช่องว่างที่สื่อที่อยู่นอกการควบคุมใช้เสรีไปการละเมิดสิทธิ ของบุคคลอื่น ส่วนการจัดการของสำนึกคนเป็นสื่อมวลชน ฐานะที่เป็นปัจเจกชน ในบางครั้งนักข่าวก็ตกเป็นข่าวซะเอง ซึ่งผมมองว่าเป็นสิ่งที่โหดร้าย เดชะบุญ ที่นักข่าวมีจิตสำนึกที่รอบคอบ จึงไม่เกิดอันตราย แต่หากเป็นผู้ที่ไม่มีวุฒิภาวะ อาจจะได้รับอันตรายได้มาก

“ความเป็นสื่อจะน้อยลง หากไม่บูรณการ การเชื่อมโยงความคิด ไม่นำข้อมูลมาประกอบ เช่น ในเหตุการณ์เมื่อเดือนพฤษภาคม การรายงานข่าวโดยส่งนักข่าวลงในพื้นที่ นักข่าวก็รายงานว่ามีคนตาย ใครยิงใคร ผมจึงตั้งคำถามกับทีมว่า ผมไม่ต้องการข่าวแบบนี้ หากให้นักข่าวลงสนามแล้วไปชะโงกดูว่าใครยิงใคร ผมไม่ต้องการ แต่สิ่งที่ต้องการคือ เขามารวมกลุ่มตรงนี้ได้อย่างไร มาด้วยองค์ประกอบใด หรือใครมาจัดตั้ง เช่น ที่เวทีที่คลองเตย เห็นนักการเมืองพื้นที่เข้ามา เห็นการเชื่อมโยงของผู้ที่มีอิทธิพลในพื้นที่ ซึ่งหากมีการเชื่อมโยงก็จะเข้าใจ ส่วนคนที่มาชุมนุม เขาบอกว่าเขามาเรียกร้องเรื่องความทุกข์ยาก แต่เสธฯแดง บอกไว้ว่า ในจำนวนผู้ชุมนุมมีผีขนุนอยู่ 3,000 คน นั่นเป็นผู้เดือดร้อนจริงๆ สำหรับองค์กรชาวบ้านที่มาชุมนุมแล้วถอนตัวไป เป็นเพราะอะไร ต้องเข้าใจ หากเราไม่เห็น หรือไม่เข้าใจก็จะพูดกุมๆ ว่า เดี๋ยวก็ต้องมีการฆ่ากันอีกรอบ คำถามที่มีคือจะลุกมาฆ่ากันเพื่ออะไร ต่อสู้เพื่ออะไร เพื่อเรียกร้องให้ยุบสภา ให้คุณอภิสิทธิ์ลาออก ให้คุณทักษิณกลับมา หรือแก้ไขปัญหาสองมาตรฐาน หรือแก้ไขปัญหาความยากจน

การเข้าไปพื้นที่ เพื่อให้รู้ว่าเป็นใครมาจากไหน เป็นทหารมาจากพลไหน ใครบังคับบัญชา มีหน่วยแม่นปืนไหม รู้แล้วก็สามารถตรวจสอบได้ รู้ว่าใครต้องรับผิดชอบ”


แนะนักข่าวต้องเข้าถึงแหล่งข่าวให้มากที่สุด

บก.โพสต์ทูเดย์ กล่าวอีกว่า ผมว่าการเข้าถึงแหล่งข่าวจำเป็นมาก ช่วงเดือนพฤษภาคม มีสื่อมวลชนเท่าไรที่เข้าถึงเสื้อแดง นักข่าวที่เฝ้าแกนนำเสื้อแดง มีกี่คนที่ได้คุยกับแกนนำและเข้าใจเขาจริงๆ ผมว่าน้อยมาก ซึ่งโพสต์ทูเดย์ เราพยายามสัมภาษณ์ให้พื้นที่เขา แล้วจะพบว่าคนอย่างอริสมันต์ ที่ถูกมองว่าเป็นแกนนำกลุ่มฮาร์ดคอร์ ก็เป็นแฟมิลี่แมน เพราะก่อนเริ่มต้นสนทนา เขาเปิดรูปลูกสาวให้ดู ดังนั้นต้องเข้าไปคุยคุยเพื่อให้รู้ว่าในสมอง และหัวใจว่าเขาคิดอะไร แกนนำ และมวลชนคนเสื้อแดงคิดอย่างไร ต้องมองอย่างละเอียด อย่างที่ผ่านมาผมว่านักข่าวภาคสนามเขาไม่มีคำถามที่ว่าคุณวีระ หายไปไหน แต่มันเป็นคำถามที่เกิดจากนักข่าวภายนอก ส่วนภาวะอึมครึมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ ไม่ว่าใครก็ตัดสินใจไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่ารัฐบาลตัดสินใจอย่างไร เพราะนักข่าวไม่มีใครไปถามนักการเมือง เพราะนักการเมืองเก็บตัว หรือจะถามใครไม่มีใครบอก พอนักการเมืองออกมาพูดที ก็ไม่มีคนเชื่อ การเข้าถึงแหล่งข่าวทั้งฝ่ายเสื้อแดง และรัฐบาล มันเป็นเรื่องที่ยาก แต่ โดยพื้นฐานโดยวิชาชีพ ต้องเข้าหาแหล่งข่าวมากที่สุด แม้ว่าจะยาก


หนุนปฏิรูปสื่อครบวงจรหลังถามฉันทามติสังคม

สำหรับบทบาทของสื่อ “ภัทระ” บอกเอาไว้ว่า หากบทบาทของสื่อไม่ชัดเจน ผมว่าสุ่มเสี่ยง ที่จะตกเป็นเครื่องมือของความขัดแย้งและเข้าไปอยู่ในวงความขัดแย้ง ภาพที่พูดเป็นภาพย่อยในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม ยกตัวอย่าง วันที่มีเหตุเพลิงไหม้ เจ้าหน้าที่ดับเพลิงของกทม. ไม่กล้าเข้าไปดับไฟ เพราะกลัวถูกยิง ผมมองว่าหากเจ้าหน้าที่ไม่เข้า หรือไม่ทำหน้าที่ ประเทศนี้ก็แย่ไปหมด และหากต่างคนต่างทำหน้าที่ โดยไม่ไปชี้หน้าว่าคนนี้เป็นแม่มดแล้วออกตามล่า แต่ต้องเป็นการทำหน้าที่เต็มที่ให้เต็มที่ ด้วยความรับผิดชอบ

“ผมเห็นด้วยที่สมาคมสื่อฯ ต้องเป็นผู้นำในการปฏิรูปสื่ออย่างครบวงจร แต่ต้องทำด้วยฉันทามติของสังคม ว่าจะเอาอย่างไรก็คนที่เป็นสื่อ ที่เป็นส่วนหนึ่งของความรุนแรง ปัจจุบันผมว่ามีคนที่เอาตัวรอดไปได้เป็นหย่อมๆ เราเห็นประชาชนที่เอาตัวรอดในสังคมได้ โดยละการพึ่งพาบุคคลอื่น ในวงการสื่อก็เช่นกัน ความเป็นองค์กรหมดความหมายไปมาก เพราะมันแต่วิ่งเข้าหาสื่อใหม่ แต่ผมว่าผมต้องการกัลยาณมิตร แทนที่จะหาเพื่อนใหม่ เพราะคนที่ได้ชื่อว่าเป็นกัลยาณมิตรและเชื่อมต่อกัน ถือว่าเป็นเรือโนอาร์ได้เลย หากคนเหล่านี้ที่ขับเคลื่อนด้วยวิชาชีพ ด้วยธรรมมะ จะเป็นพลัง ที่คล้ายๆ กับการช่วยประกอบเรือโนอาร์ ขึ้น และพากันไปให้รอด เพื่อสร้างเผ่าพันธุ์ใหม่” ภัทระ สรุปในตอนท้าย


นักวิชาการชี้คนชนบทรับสื่อการเมืองมากขึ้น

ดร.นฤมล ทับจุมพล อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าฐานะผู้ทำวิจัยเรื่องของการสื่อสารการเมืองในบริบทการเปลี่ยนแปลงใน ชนบท พบว่าในการชุมนุมทางการเมืองที่ผ่านมา ทำให้ล้มทฤษฎีคนชนบทตั้งรัฐบาล คนเมืองล้มรัฐบาลได้ เนื่องจากว่าคนชนบท ในฐานะคนที่อาศัยฐานการจ้างงานในชนบท เขาคาดหวังว่ารัฐ ต้องตอบสนองเขาให้ได้มากกว่านี้ ส่วนในเรื่องของการเมืองแนวคิดที่ว่าหากการเมืองในระบบปกติทำไม่ได้ ก็ใช้การเมืองบนถนนมีมากขึ้น ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากการเปิดรับสื่อ และในปัจจุบันคนชนบทเลือกรับสื่อทางการเมืองที่ชัดเจนขึ้น เห็นได้จากการติดจานดาวเทียมที่เป็นสื่อการเมือง เช่น ดาวเทียมพีทีวี ดาวเทียมเอเอสทีวี ทำให้สื่อกระแสหลักที่กลางๆ มองว่าทำไมคนเลือกอ่านน้อย แต่เป็นเพราะว่าเขาเชียร์ข้างไหน เขาก็จะเลือกอ่านสื่อตามกระแสนั้นๆ ซึ่งไม่ใช่เรื่องของการสร้างความแตกแยก แต่เป็นการสร้างลักษณะ ทั้งนี้สื่อกระแสหลักต้องตั้งคำถามกับตัวเองแล้วว่า ทำไมไม่เป็นฝ่ายที่ถูกเลือก หรือพูดถึงน้อยลง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าไม่ค่อยแยกข้อมูลออกจากความเห็น ดังนั้นเมื่อสื่อที่เขาติดตามถูกปิดกั้น ก็จะเกิดเป็นความรู้สึกว่าทำไมต้องปิดกั้นสิ่งที่เขาเลือก


จวกเสนอข่าวลดค่า"ความเป็นคน"ของคู่กรณี

“ทุกวันนี้เราจึงเห็นภาพของการปิดสื่อมากกว่าการนำกฎหมายหมิ่นประมาทมา ใช้ และที่สำคัญ การนำเสนอข่าวบางครั้งทำให้รู้สึกว่าคู่กรณีมีความเป็นมนุษย์น้อยลงกว่าคุณ สะท้อนภาพได้จากช่วงการชุมนุมทางการเมือง เมื่อคนเราคิดว่าคู่ตรงข้ามมีความเป็นคนน้อยกว่าเลยไม่สนใจว่าจะใช้วิธีการ อารยชนกับคนๆ นั้นหรือไม่ ซึ่งความคิดดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างมากกับบุคคล ดังนั้นสื่อต้องมีบรรทัดฐานที่ไม่เอาสิ่งที่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยไปกระทบ กับการศึกษาของบุคคลที่ไม่อยู่ข้างเดียวกัน”


แนะทางออกสื่อต้องติดตามข่าวหลากด้าน

ดร.นฤมล กล่าวอีกว่า ทางออกของสื่อปัจจุบันคือ ต้องมีการติดตามข่าวให้หลากหลายด้าน เช่น คนเสื้อแดงที่กลับบ้านไปแล้วเขาเป็นอย่างไร เพราะหากสื่อคิดจะสร้างความปรองดองสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นแล้ว ต้องทำให้คนรายย่อยๆ นั้นรู้ว่าเสียงของเขาได้รับการฟัง ส่วนหลักการทำงานของสื่อในภาวะวิกฤตทางการเมือง ที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นแล้วว่า สื่อกำลังเมาหมัด คือสะท้อนปรากฎการณ์มากกว่าการแสวงหาทางออก มีแต่การนำเสนอปรากฎการณ์ สัมภาษณ์ได้ข้อมูลมาแล้วแต่ไม่รู้จะเลือกอย่างไร เพราะข้อมูลดูเหมือนจริงทุกเรื่อง ดังนั้นการกลั่นกรองเป็นสิ่งจำเป็น และหากต้องนำพื้นที่สาธารณะมาใช้ ต้องมีหลักการ คือ ต้องเป็นข้อมูลข้อเท็จจริง ไม่ใช้มาจากความเห็น, ค่านิยมพื้นฐานทั่วไป และต้องนำไปสู่การสร้างสิ่งที่เรียกว่าฉันทามติ คือทำให้คนอยู่ร่วมกันได้ แม้จะมีความแตกต่าง เพราะสังคมประชาธิปไตย สอนไว้ว่าให้ต้องยอมรับคนแตกต่างให้มีพื้นที่ที่ยืนอยู่ได้ ซึ่งสื่อเป็นตัวสำคัญอย่างมาก


หวั่นความรุนแรงเข้าสู่วัฒนธรรม จี้สร้างสันติวิธี

“ส่วนนักวิชาการ เป็นสิ่งที่ต้องกลับมามองและย้อนทบทวนแก้ไขตัวเอง เนื่องจากที่ผ่านมาก่อนความขัดแย้งจะเริ่มขึ้น ไม่มีใครที่กล้าวิจารณ์สายเหยี่ยวในแต่ละข้าง เพราะมัวแต่คิดว่าพูดไปจะสร้างความเสียหาย ส่วนประเด็นที่สังคมกำลังลืมคือ สังคมจะอยู่ได้ หรือ ไม่ได้ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับบังคับ แต่อยู่ที่ความสมัครใจ ซึ่งอาจารย์เชื่อว่าปัจจุบันความรุนแรงสามารถขยายได้ด้วยตัวของมันเอง ซึ่งประเด็นพวกนี้ไม่ค่อยมีใครคิด และปล่อยให้เกิดขึ้น จะกลับมาซ่อมอีกครั้ง ก็ซ่อมยากแล้ว ในฐานะที่อาจารย์เป็นพวกสันติวิธี คงไม่มีประโยชน์ที่จะพูดว่าสันติวิธี หากไม่ได้ทำอะไร เพราะขณะนี้ความรุนแรงกลายเป็นความรุนแรงทางวัฒนธรรมไปแล้ว ซึ่งสะท้อนให้เห็นชัดเจนหลังจากที่เกิดวิกฤตทางการเมืองครั้งที่ผ่านมา” ดร.นฤมล สรุปทิ้งท้าย


อ.หอการค้า ชี้สื่อเสนอภาพเหมือนแสดงละคร

ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่าผมว่าสื่อที่เสนอวิกฤตการเมือง กำลังทำภาพให้เหมือนกับการแสดงละคร คือ แบ่งเป็นพระเอก นางเอก ผู้ร้าย มีการจัดแบ่งที่ชัดเจนมาก รวมถึงการนำเสนอที่เพื่อผลักภาระไปให้คนชม เพราะสื่อเลือกนำเสนอข่าวลักษณะ 2 ด้าน คือไม่ดำ ก็ขาว ไม่เหลือง ก็แดง ดังนั้นผมจึงไม่แปลกใจที่คนรุ่นใหม่ เช่น นักศึกษาที่ผมสอน แสดงอารมณ์ชัดเจน เลือกข้างอย่างแน่นอน โดยการสะท้อนในสื่อออนไลน์เช่น เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ โดยไม่ได้พิจารณาระหว่างข้อมูลข้อเท็จจริง อารมณ์ และเหตุผล วัยรุ่นสมัยนี้จึงแสดงอารมณ์ตามความคิดและความเชื่อ และโดยส่วนตัว ผมไม่เชื่อความเป็นกลางของสื่อ หากสื่อเสนอข้อมูลข้อเท็จจริงก็พอยอมรับได้ แต่หากให้ข้อมูลบิดเบือนผิดพลาดกระตุ้นให้เกิดการฆ่า การเกิดสงคราม นั่นเป็นการล้ำเส้น ผมยอมรับไม่ได้

“เมื่อข่าวเป็นการการนำเสนอ เชิงละคร ซึ่งสะท้อนออกมามากในเรื่องของแหล่งข่าว ที่ไม่หลากหลาย กลุ่มคนแบบเดิมๆ ไม่มีการใช้มุมมองที่เปิดกว้าง ถ้าหากสื่อใช้ช่องทางสื่อออนไลน์ในการค้าหาข้อมูล นอกเหนือไปจากนักวิชาการหน้าเดิมๆ ผมว่าจะเป็นการนำเสนอข้อมูลที่หลากหลาย ในขณะเดียวกันพื้นที่ของสื่อออนไลน์ เป็นสิ่งที่ผมเป็นห่วง หากองค์กรวิชาชีพสื่อไม่ให้ความสำคัญ กับจริยธรรมของสื่อยุคดิจิตอล อาจจะทำให้เกิดปัญหา เพราะอย่าลืมว่าความเร็วของเทคโนโลยี ก็เป็นดาบสองคมได้ คือ สื่อสารได้เร็ว แต่หากเป็นข้อมูลที่ผิด เสนอข้อมูลในลักษณะที่เป็นความเห็นเกลียดชัง มันก็เผยแพร่ไปได้เร็วเช่นกัน “


หนุนคนใช้สื่อออนไลน์สร้างจริยธรรมคุมกันเอง

ดร.มานะ กล่าวอีกว่า ผมว่าทางออกของปัญหาการใช้สื่อออนไลน์ คือ ผู้ใช้ทั่วๆ ไป จำเป็นต้องเรียนรู้วางรากฐานกันเอง สร้างจริยธรรมของคนใช้ควบคุมด้วยกันเอง หลังจากเกิดวิกฤต คนในสังคมออนไลน์ก็พูดคุยกันเยอะขึ้น ถือว่าเป็นนิมิตรหมายที่ดี ที่จะมีการพูดคุยกันให้มากขึ้น สื่อมวลชนน่าจะมีการสะท้อนภาพ ส่วนการปฏิรูปสื่อผมว่าต้องเกิดจากคนทุกคน พวกเราทุกคนฐานะปัจเจกชนต้องลุกขึ้นมาตรวจสอบสื่อและสื่อต้องตรวจสอบตัวเอง และในวิกฤตที่ผ่านมาผมมองว่าต้องพลิกให้เป็นโอกาสคือให้ผู้ใช้กำหนดกฎ ระเบียบ ด้วยตัวเองและสร้างสิ่งที่ดีงาน แทนที่จะให้รัฐเป็นผู้มากำหนด


"เนคเทค"เตือนต้องทันเว็บ ถ้าไม่พร้อมอย่ายุ่ง

ดร.อัจฉริยา อักษรอินทร์ ผู้อำนวยการสถาบันฝึกอบรมเนคเทค กล่าวว่าฐานะนักเทคโลยีและนักเก็บเกี่ยวประสบการณ์ทางสังคม เห็นด้วยกับคำพูดที่ว่า ทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ค เป็นสื่อสารสาธารณะ มากกว่าเป็นสื่อส่วนตัว เพราะในหลายประสบการณ์ส่วนตัวพบว่าองค์กรทางสังคมสามารถใช้เอาผิดกับบุคคล ได้ และทำให้เราเห็นกันได้โปร่งใสมากยิ่งขึ้น อาจารย์เคยอ่านหนังสือเล่มหนึ่งที่เชื่อในอัจฉริยภาพของคน ในเนื้อหาระบุว่าอัจฉริยภาพของคนเกิดได้ คือ ต้องมีความหลากหลายของคนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย, ความคิดเห็นของคนทุกคนต้องเป็นอิสระไม่ถูกโน้มน้าวไปทางใดทางหนึ่ง ขณะที่ปิดกั้นในอีกหลายๆ ทาง, ต้องกระจายอำนาจจากส่วนกลาง ไม่มีกลุ่มคนที่จะจูงความคิดเห็นของคนไปในทางเดียวกัน ไม่รวมศูนย์อำนาจ และ การตกผลึกทางความคิดแบบฉันทามติ

ส่วนการลดอัจฉริยภาพในตัวเองก็เช่นกัน ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับการสร้างอัจฉริยภาพ คือ หากไม่มีความหลากหลายทางสังคม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก็จะลดลง ก็จะกลายเป็นคนสีเดียวกัน เช่นคนที่มาชุมนุมก็จะไม่มีความหลากหลาย ไม่มีความยุติธรรมเกิดขึ้นในกลุ่มคนดังกล่าว , ถ้าคนกลุ่มเล็กๆ รวมศูนย์อำนาจทางความคิด คนกลุ่มอื่นไม่มีโอกาสได้รับการแตกยอดทางความคิด อัจฉริยภาพทางความคิดก็จะหายไป, มีการแบ่งแยกความคิด ทำให้ได้ภาพไม่เหมือนกัน การแบ่งแยกความคิดแบ่งเป็นห้วงๆ , การเลียนแบบ การว่าตามกัน, ชี้นำความคิดด้วยอารมณ์ ความรู้สึก หยิบจุดอ่อนของอารมณ์คนนำมาพูด

“ในการชุมนุมใดก็ตามแค่ 2 ใน 5 การนำพาฝูงชนไม่เกิดอัจฉริยภาพ เป็นการว่าตามกัน หรือเฮไหนเฮนั่น สำหรับสื่อออนไลน์ถ้าไม่ลองจะไม่รู้ ไม่คลุกก็ไม่รู้รสชาติ ซึ่งคนที่เข้าไปต้องมีธรรมะ อย่างตอนที่อาจารย์เรียนขับรถ มือไม้สั่นไปหมด ผู้สอนก็บอกว่าหากคิดว่าพร้อมแล้ว จะ ชน จะเฉี่ยว ก็ต้องชน ต้องเฉี่ยว เพื่อให้เราเกิดการเติบโต และเรียนรู้ไประหว่างทาง สื่อออนไลน์ก็เช่นเดียวกัน เมื่อใช้ก็จะเกิดการเรียนรู้ และใช้อย่างเท่าทัน แต่ถ้ารู้ว่าไม่พร้อมก็อย่าไปยุ่ง ดูอยู่ข้างนอก อาจารย์ชอบดูหนังฝรั่ง ตอนท้ายที่ตำรวจจับผู้ต้องหาได้มีคำพูดหนึ่ง ที่ถือว่าเป็นมิรันดาไรท์ คือ “คุณมีสิทธิ์ที่จะไม่พูด ไม่โวยวาย เพราะคำพูด คำโวยวาย และข้อเขียนของคุณ สามารถนำไปปรักปรำคุณในชั้นศาลได้” ดร.อัจฉริยา ให้ข้อคิดทิ้งท้ายก่อนจบการเสวนา

Credit : มติชนออนไลน์ 3 มิถุนายน 2553

สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์

H O M E




 

Create Date : 14 มิถุนายน 2553
0 comments
Last Update : 14 มิถุนายน 2553 18:41:10 น.
Counter : 854 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


jenifaae
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




Editor
บทความ ความคิดเห็นที่นำลง"สนามหลวงแก็งค์" ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
เพียงเราเห็นว่าน่าสนใจและเป็นประโยชน์ในทางข้อมูล ข่าวสาร
หากท่านมีข้อคิดเห็นประการใด โปรดแจ้งให้เราทราบ จักขอบคุณยิ่ง
"สนามหลวงแก็งค์"
kunkorn : Facebook



"Sanamluang's Gang"
"สนามหลวงแก๊งค์"

kunkorn : Facebook

     เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนให้เกิดการศึกษา การเรียนรู้ เผยแพร่ ส่งเสริม สนับสนุน รวบรวมข้อมูล ข่าวสาร อนุรักษ์ รักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ของชนชาติไทย วิถีชีวิต และปรัชญา คุณค่าจิตวิญญาณที่งดงาม สืบสานต่อยอดกันมานานนับพันๆปี และกำลังถูกทำลายด้วยอิทธิพลจากแนวคิดเชิงวัตถุนิยมแบบตะวันตก

● เพื่อการศึกษาหาความรู้ ส่งเสริม สนับสนุน ให้เกิดการศึกษา เรียนรู้ สิ่งที่พระพุทธเจ้าค้นพบ และนำมาเผยแพร่แก่มวลมนุษยชาติ อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ที่แท้จริง มิใช่เพียงวิทยาศาสตร์เชิงวัตถุเพียงอย่างเดียว เพราะถือว่าพระพุทธเจ้า ทรงค้นพบความจริงของธรรมชาติ ทั้งหมดทั้งสิ้น ที่มนุษย์ธรรมดาสามัญอย่างเราๆ ท่านๆ ยังเป็นเพียงผู้รู้ แค่หางอึ่งที่ยังอยู่ในกะลาครอบ แต่บังอาจด่วนสรุป ขัดแย้งกับ สิ่งที่องค์ศาสดาทรงค้นพบมากว่าสองพันปี จนทำให้บังเกิดความสับสน ลดความน่าเชื่อในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

● สนามหลวงแก๊งค์ ต้องขออนุญาตและขอขอบคุณท่านเจ้าของข่าวสาร ข้อมูล ที่เราได้นำลงในสนามหลวงแก๊งค์ ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยจิตคารวะ ทั้งนี้และทั้งนั้น ก็เพื่อให้สนามหลวงแก๊งค์ เป็นแหล่งในการเผยแพร่ ข้อมูล ข่าวสารที่เป็นประโยชน์และเพื่อเป็นวิทยาทานแก่สาธารณชน แต่หากท่านเจ้าของข้อมูล ข่าวสารที่ สนามหลวงแก๊งค์ นำลงไม่มีความประสงค์ให้นำลง ขอได้โปรดแจ้งความประสงค์ เรายินดีที่จะถอดออกต่อไป

ด้วยจิตคารวะ
www.sanamluang.bloggang.com
kunkorn : Facebook


ดาวหาง
     เป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นในห้วงมหาจักรวาลอันยิ่งใหญ่ ลี้ลับไร้ขอบเขต ทุกครั้งที่ดาวหางปรากฏ มันจะส่งสัญญาณแห่งความพินาศ มหันตภัย ธรรมชาติ ความตาย ความเจ็บป่วย สงคราม ความขัดแย้ง การกดขี่ การเอารัดเอาเปรียบ การคดโกง การเบียดเบียนของมนุษย์บนพื้นพิภพใบนี้

     มันคือสัญญาณเตือนภัยที่มนุษย์ไม่อาจจะควบคุมได้ ทั้งภัยทางธรรมชาติและภัยที่เกิดขึ้นจากมนุษย์สร้างกันขึ้นมาเองในทุกรอบพันปี

     ไม่ว่ามนุษย์จะคิดว่าตัวเองเก่งกาจสามารถ ฉลาดสักเพียงไหน ก็ไม่อาจหลีกพ้นมหันตภัยเหล่านี้ไปได้
     ดังนั้น จงเชื่อและปฎิบัติตามอย่างไม่ลังเลต่อคำสอนของศาสดาของเราอย่างจริงจังเถิด

     แม้จอมจักรพรรดิ จอมราชันย์ หรือจอมทรราชที่ยิ่งใหญ่ในอดีต ก็ต้องตายร่างกายเน่าเปื่อยเป็นผุยผง และในที่สุดวิญญาณของเขาก็ต้องชดใช้กรรม ด้วยการถูกไฟนรกเผาผลาญโดยไม่มีข้อยกเว้นทั้งทั้งสิ้น

     จงอย่าอหังการ์ว่าตัวเองเก่ง ฉลาด และยิ่งใหญ่กว่าคำสอนของพระศาสดา ไม่มีมนุษย์ตนใดที่จะพ้นจากกฎแห่งธรรมชาติได้ มนุษย์ที่เก่งกว่าเรา เขาได้ตายร่างกายทับถมปฐพีแห่งนี้นับไม่ถ้วนแล้ว


     ● ขออนุญาตนำภาพวาด "วีระชนบนพานรัฐธรรมนูญ" ของ คุณสถาพร ไชยเศรษฐ ศิลปินอิสระ อดีตแนวร่วมศิลปินแห่งประเทศไทย ซึ่งวาดเนื่องในโอกาส 2 ปี 14 ตุลา มาเป็นส่วนหนึ่งของหัว "สนามหลวงบล็อก"                


บริการดูดวง



"สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์" มีความภาคภูมิใจในความสำเร็จตามอุดมการณ์ของเรา ที่ได้ตั้งเอาไว้ว่า "เราจะใช้วิชาความรู้ในด้านการพยากรณ์เพื่อให้เป็นประโยชน์สำหรับการให้การปรึกษาของผู้คนที่กำลังประสบปัญหา ความเดือดเนื้อร้อนใจ หรือการเผชิญกับปัญหานั้นๆได้อย่างไรดี

มนุษย์เกิดแต่กรรม มนุษย์มีกรรมเป็นเหตุ เมื่อเราประสบเคราะห์กรรม ปัญหาอยู่ที่ว่าหากเราทราบเสียก่อน ย่อมเป็นสิ่งที่ดีกว่าการไม่ทราบ อย่างน้อยก็ทำให้เราระมัดระวังตัว อย่างน้อยก็ทำให้เราหลีกเลี่ยงเพื่อทำให้เราเผชิญกับกรรมน้อยลงไป อย่างน้อยก้ทำให้เรารู้ว่าสิ่งเหล่านั้นมันมีที่มา มันมีที่ไปของมัน

มีนักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์วัตถุจิตนิยม มักโจมตีอยู่เสมอว่า การดูดวง เป็นเรื่องของความงมงาย หมอดูคู่กับหมอเดา หมายถึงว่า เขาไม่เชื่อในเรื่องของวิชาโหราศาสตร์เพราะคิดไปว่ามันเป็นเรื่องเดียรัจฉานวิชาบ้าง เป็นการคาดเดาเอาเองบ้าง คิดว่ามันเป็นวิชาที่ใช้สถิติสุ่มเอาบ้าง ไม่เชื่อว่าวิชาโหราศาสตร์จะสามารถไขปริศนาแห่งรหัสลับของดวงดาว จักรวาล และธรรมชาติรอบตัว

แสดงว่าเขาลืมไปว่า อัลเบิร์ต ไอสไตน์ และสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้กล่าวไว้ว่า ทุกสรรพสิ่งในโลกรอบตัวเรา ตั้งแต่เล็กเท่าอะตอม (จุลจักรวาล)จนถึงมหาจักรวาล ล้วนมีความผูกพัน ล้วนมีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้งแยกกันไม่ออก เพียงแต่ว่า กับอะไร เมื่อไร อย่างไร เท่านั้น

กรรมเป็นผลจากการกระทำของเราในอดีตชาติ จะดีหรือจะร้ายก็เพราะเราทำ เป็นสิ่งที่เราจะต้องได้รับผลแห่งการกระทำเหล่านั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

โหรฯเป็นเพียงผู้แปลรหัสของดวงดาวและธรรมชาติรอบตัว เพื่อเผยแผนที่ชีวิตของเรา และสามารถมองเห็นช่องทางที่จะเลี่ยงหลบสิ่งเลวร้าย ให้ลดน้อยถอยลงหรือพบพานแต่สิ่งที่ดีดี

การสะเดาะเคราะห์ หรือพิธีการตัดกรรมที่กำลังกล่าวขานถึงก็คือการขออโหสิกรรม ลดการอาฆาตจองเวรกับเจ้ากรรมนายเวรที่กำลังจ้องจองเวรด้วยความอาฆาตพยาบาทที่ถูกเรากระทำในอดีตชาติ ไม่ใช่เป็นการตัดทอนผลกรรมที่เราทำให้หมดไปหรือให้ลดลง เพราะกรรมที่เรากระทำไม่สามารถตัดทอนลงไปได้



สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์พยากรณ์เที่ยงตรง แม่นยำเชื่อถือได้ วิเคราะห์พยากรณ์อย่างเป็นระบบ ไม่เลื่อนลอย ยึดมั่นในอุดมการณ์ของครูที่ท่านได้กำชับให้นำเอาวิชาการพยากรณ์มาช่วยเหลือแนะนำ บรรเทาทุกข์ของผู้คนมากกว่าการพยากรณ์เพื่อการค้า

ต้องยอมรับว่า ไม่ว่าประเทศใด? ชาติใด ภาษาใด? สมัยไหน? ชนชั้นวรรณะใด? ไม่ว่าจะเป็นเจ้าสัว นักธุรกิจ นักการค้า แม่บ้าน นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ หรือไม่เว้นแต่นายพล นายพัน รัฐมนตรี หรือระดับผู้นำประเทศ ล้วนแต่เคยดูดวงด้วยกันทั้งสิ้น เพียงแต่ว่า เราจะเชื่ออย่างงมงายหรือจะเชื่อโดยใช้เหตุผลอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ โดยนำเอาคำพยากรณ์มาใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการดำเนินชีวิต หรือทำธุรกิจ การค้า หรือเพื่อการทำสงครามฯ

"สนามหลวงแก็งค์" ไม่สนับสนุนให้เชื่อเรื่อง "ดวง" อย่างงมงาย แต่เราสนับสนุนให้ใช้คำ "พยากรณ์"อย่างมีวิจารณญาณประกอบการตัดสินใจอย่างมีสติ ใช้ "ปัญญา"อย่างมี "เหตุผล"

หลังจาก "สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์" ได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม จนต้องมีการเข้าจองคิวดูดวงเป็นจำนวนมาก ณ ขณะนี้ ไม่ใช่แต่เฉพาะคนไทยในประเทศที่เข้ามาใช้บริการจาก "สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์"เท่านั้น

แต่ยังมีคนไทยที่อยู่หลายประเทศทั่วโลกเข้ามาดูดวง ตรวจสอบชื่อ นามสกุลมากมาย ทั้งนี้คงเป็นเพราะผู้ที่เข้ามา"ดูดวง" กับ "สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์" ได้รับความพอใจในคำพยากรณ์ที่ถูกต้อง แม่นยำ แนะนำแนวทางแก้ไขที่เหมาะสมตามหลักโหราศาสตร์ จึงได้มีการบอกเล่า แนะนำชักชวนกันปากต่อปากเป็นจำนวนมาก

ปัจจุบันนี้ มีผู้เข้ามาเยี่ยมชมwww.sanamluang.bloggang.com มีจำนวนถึง 118 ประเทศ โดยเข้ามาเปิดดูหน้า "สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์"คิดเป็นร้อยละ 80 ของ pageviews ต่างๆใน www.sanamluang.bloggang.comจัดทำบล็อกครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2550 มีผู้เข้าชมจำนวนทั้งสิ้น 579,020 ครั้ง จากจำนวน 262,960 visitors (ข้อมูล ณ เวลา 12.00 น.ของวันพุธที่ 6 ตุลาคม 2553)

ส่วนใหญ่ลูกค้าที่โทรเข้ามาเกือบ 98% เมื่อโทรฯ เข้ามาดูดวงแล้ว จะสามารถนัดวัน เวลาดูดวงได้โดยไม่มีปัญหาแต่อย่างใด อาจจะมีอยู่บ้างเพียงไม่กี่รายที่โทรฯเข้ามาเพื่อสอบถามรายละเอียดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

อาจจะเนื่องมาจากไม่คุ้นเคยการทำธุรกิจแบบออนไลน์ โดยมีการโอนเงินก่อน ไม่ไว้ใจ หรือไม่กล้า ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก ประมาณ 2%

สำหรับที่เมลฯมาถามและเงียบไป ไม่สามารถทราบจำนวนได้ อาจเนื่องจากเป็นรายที่โทรเข้ามานัดอีกทางหนึ่งก็เป็นได้

สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์ ยังมีอาจารย์ผู้สอนวิชาโหราศาสตร์ ผ่านประสบการณ์ในการดูดวงหลายปีคิดเป็นจำนวนหลายพันดวง

แน่นอน แม่นยำกระชับ ชัดเจน หากไม่ทราบเวลาตกฟากท่านก็ยังสามารถดูได้ รายที่กำลังประสบเคราะห์หามยามร้าย ท่านก็จะช่วยแนะนำและแก้ไขเรื่องเลวร้ายให้กลายเป็นดีด้วยศาสตร์แห่งความลี้ลับของโหราศาสตร์ โดยไม่ต้องเสียเงินสะเดาะเคราะห์ สามารถดูได้ถึงขนาดปัญหาเรื่องคู่ครอง เรื่องเคราะห์ เรื่องหน้าที่การงาน โดยใช้ "วิชาโหราศาสตร์ดวงไทย"อันเป็นสุดยอดของวิชาโหราศาตร์โบราณของไทย

นอกจากนั้น เรายังมี ซินแส ที่เชี่ยวชาญเรื่องการดูฮวงจุ้ย ทำเลปลูกบ้าน อาคารสำนักงาน ดูฤกษ์ยาม แต่งงาน คลอดบุตร ขึ้นบ้านใหม่ เปิดกิจการต่างๆโดยใช้วิชาโหราศาสตร์จีนโบราณผสานตำราดวงไทย ซึ่งซินแสท่านมีประสบการณ์การดูดวงมาไม่น้อยกว่า 45 ปี ผ่านการดูให้กับนักธุรกิจชื่อดังของเมืองไทย และนักธุรกิจชั้นนำจากฮ่องกงหลายราย

ติดต่อ 081-4834367 หรือ workingmailhome@hotmail.com
--------------------------------------------
● ปรึกษาปัญหากฏหมาย
ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์
--------------------------------------------
● ปัญหาติดต่อราชการ
บริการปรีกษาเรื่อง ภาษีป้าย ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน ค่าธรรมเนียมต่างๆ และการติดต่อราชการต่างๆ ของสำนักงานเขต
--------------------------------------------
● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล,

● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work
--------------------------------------------
สำนักพิมพ์ดาวหาง
www.sanamluang.bloggang.com




รับวาดรูปเหมือน และสอนวาดรูป
โดยอาจารย์ ผู้ชำนาญ

ราคาย่อมเยา

















หลังเกิดเหตการณ์ 14 ตุลา 2516 นิสิต นักศึกษา ปัญญาชน ต่างหลั่งไหลดั่งสายน้ำ ล้นขอบ ออกจากเมือง เข้าสู่ ชนบท เหตุเกิดเมื่อ กลางปี พ.ศ.2516 จนถึง พ.ศ.2519 นักศึกษากลุ่มหนึ่ง ได้ พบกันโดยบังเอิญ และ ได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันกับชาวบ้าน ณ หมู่บ้าน แม่ตะมาน ตำบลกื๊ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้ ชื่อโครงการว่า "โครงการหมู่บ้านสหกรณ์แม่ตะมาน"
เชิญ พบ และติดตาม กับเรื่องราว และบทสรุป อันควรเป็นจุดเริ่มต้น ต่อไปใน

     เมล็ดพันธุ์ประชาธิปไตย ที่ถูกหว่านทั่วท้องทุ่งแห่งประชาไทย มาบัดเดี๋ยวนี้ เมื่อต้องฝน ต้องลม แห่งกาลเวลาพัดผ่าน จาก 2516 , 2519 2535,จน 2540 ถึง 2550บางเมล็ดพันธุ์ก็ยังขาวพิสุทธิ์สดใส บ้างเมล็ดพันธุ์เปลี่ยนสี บ้างก็ดอกสีเหลือง บ้างก็ดอกสีแดง บ้างก็ดอกสีม่วงก้มี สีเขียว สีน้ำเงิน หรือบ้างก็อาจเฉาโรยรา หรือบ้าง ผสมผสานกลายพันธุ์ ก็มีไม่น้อย
มาบัดเดี๋ยวนี้ มันไม่ใช่ จิต วิญญาณ แห่ง 14 ตุลา เดิมเสียแล้ว ไม่ใช่พันธุ์เดียวกัน อย่าได้ เอ่ยอ้างเลย ว่า วิญญาณ 14 ตุลา ยังคง...มันประชาธิปไตย ที่ไม่ บริสุทธิ์ผุดผ่องเหมือนอย่างเดิมเสียแล้ว.....
..แต่มันเป็น.ประชาธิปไตย...เพื่อใคร..??


“ทุกวันนี้ เราจะรับรู้ ได้เห็น ได้ยินแต่เรื่องเลวร้าย ในสังคม
เราจึงขอบันทึกสิ่งที่ดีๆ ต่างๆ เหล่านี้ ด้วยจิตคารวะ และขอเป็นกำลังใจให้เกิดสิ่งที่ดีงามเหล่านี้ต่อไป”>>>



อ่านงานเขียนเกี่ยวกับภาพยนตร์หลากหลายประเทศทั่วโลก ที่นี่ >>>





*จำนวนผู้ชมทั้งสิ้น* สถาปนาบล็อค 21 ก.ค.2550
Friends' blogs
[Add jenifaae's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.