แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ เวชศาสตร์ป้องกัน ร.พ.พนมสารคาม อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
<<
พฤศจิกายน 2550
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
11 พฤศจิกายน 2550
 
 
สุขภาพดี ด้วยการมีแพทย์ประจำตัว ต้องอาศัย รัฐบาล และ ผู้แทนสมาชิกสภานิติบัญญัติ ที่เราจะเลือกเข้าไป



น.พ.ปราชญ์ บุญยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงสาธารณสุขได้สร้างสถานพยาบาลใกล้บ้าน ไว้พร้อมแล้ว คือ สถานีอนามัย ทุกตำบล และ กำลังพัฒนาขีดความสามารถให้เป็นสถานพยาบาลประจำพื้นที่ ประจำครอบครัว ประจำตัว ให้ประชาชนในพื้นที่นั้น ๆ มารับบริการด้านสุขภาพ ใกล้บ้าน อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐาน ไปสู่การเป็น


"ศูนย์สุขภาพชุมชน" ซึ่งมีเกณฑ์การประเมินตัวหนึ่ง คือ มีแพทย์มาทำงานประจำสัปดาห์ละ มากกว่า 15 ชั่วโมง จะได้ 10 คะแนน เต็ม แต่เป็นตัวชี้วัด ที่เพียง 10 คะแนน ดูว่า น้อย แต่มีความสำคัญต่อการเป็นศูนย์สุขภาพชุมชน มากที่สุด เพราะ มีกฏหมาย ว่า ยา บางกลุ่ม ต้องจ่ายโดยแพทย์ ดังนั้น ถ้าแพทย์ไปตรวจ ยาทุกตัวที่ ร.พ.ใช้จะไปใช้ได้ที่ สถานีอนามัย ด้วย และ คนไข้ถ้ารู้ว่า มีแพทย์ประจำตัว หรือ ประจำพื้นที่ มาออกตรวจ จะมีผลทำให้คนไข้มาตรวจกันมาก เปรียบได้กับ ละคร ถ้าไม่มีพระเอก หรือ คือ แพทย์ ถ้าไม่มีมา ก็จะหาคนมาดูยาก

จึงสำคัญมากถ้าต้องการจะพัฒนาให้ศูนย์สุขภาพ พัฒนาได้เร็ว ต้องพัฒนาเกณฑ์ชี้วัดตัวนี้ ถ้ายังไม่พร้อมก็ เอาคะแนน น้อยไปก่อนได้

ถ้ามีไปสัปดาห์ละ วัน เพียง ไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง ก็ได้คะแนนมาแล้วถึง 5 คะแนนจาก 10 คะแนน

แบบประเมินของศูนย์สุขภาพชุมชน ปี 2549
ศูนย์สุขภาพชุมชน ................อำเภอ...........................จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่เวบบ์ข้างล่าง

//province.moph.go.th/suratthani/download/%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%20%E0%B8%A8%E0%B8%AA%E0%B8%8A..doc

จากเกณฑ์ชี้วัด ข้างบน ต้องมีแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป หรือ ประเทศเราเรียก เป็นแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว มาตรวจรักษาให้ทุกเช้า ทำหน้าที่เป็นแพทย์ประจำตัว หรือ ประจำครอบครัว ที่จะต้องดูแลประชาชน ที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ ตามเกณฑ์

ซึ่งเคยกำหนดให้แพทย์ 1 คน ดูแลประชาชน 1 หมื่น คน แต่ในประเทศเจริญ ที่จัดระเบียบสาธารณสุขได้ ดี จะ ดูแลน้อยกว่า นี้ เช่น เป็น1 ต่อ พันคน เป็นต้น จะทำให้การดูแล สุขภาพ ได้ดีขึ้น ตามหลัก ที่ว่า คุณภาพ จะ แปรผัน ตาม จำนวนคนไข้ มีคนไข้มากโอกาศ จะให้บริการผิดพลาด ก็จะสูง เป็นต้น

ปัจจุบัน ประเทศเรามีการกระจายแพทย์ผิดไป นำแพทย์เฉพาะทางซึ่งไม่จำเป็นต้องมาอยู่ที่ ร.พ.อำเภอ มาอยู่ ร.พ.อำเภอ ๆ ละ 1 คน เพราะตามข้อเท็จจริง จะพบว่าการเจ็บป่วยจะเริ่มป่วยเล็กน้อยก่อน มากกว่า 90 % จะรักษากับแพทย์ทั่วไปได้ มีส่วนน้อยเท่านั้น ที่ต้องพบแพทย์เฉพาะทางการนำแพทย์เฉพาะทางมาไว้ที่ ร.พ.อำเภอละคน และ นำเครื่องมือเฉพาะทางมาให้ เช่น Gastroscope ซึ่งต้องผ่านการอบรม จึงจะทำได้ปลอดภัย แต่การนำมาไว้ ร.พ.อำเภอ ก็ใช้ได้เพียงคนเดียว

ผล ข้างต้นทำให้แพทย์ ทุกคนเครียดหมด คือ แพทย์เฉพาะทางจะถูกปรึกษา ให้ช่วยรักษา คนเดียว ตลอดทุกวัน และ ต้องตรวจรักษาคนไข้นอกสาขา ที่เรียนมาด้วย เรียนมาเป็นหมอเด็ก ต้องมาทำคลอด มาผ่าตัด แพทย์ทั่วไป หรือ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว เองก็เครียด เพราะ เมื่อมีคนไข้เข้าใจว่ามีแพทย์เฉพาะ ทางจะดูได้ตลอด 24 ชั่วโมง แต่เมื่อมาแล้วมาพบแพทย์ที่ไม่ใช่สาขานั้น ดู แพทย์ที่รับคนไข้ก็เครียด เพราะ ไม่ได้เรียนมา สาขานั้น จะโทรฯปรึกษา ก็เกรงใจว่าปรึกษาทุกวัน จึงเครียดกันถ้วนหน้า ถ้าไม่จัด ระบบเครือข่ายให้ถูกต้อง แพทย์ครอบครัว หรือ แพทย์ทั่วไปมีอุดมการณ์ว่า

"ดูแลแต่แรก แทรกทุกเรื่อง อย่างต่อเนื่องผสมผสาน ดูแลใกล้บ้าน ประสานส่งต่อ"



สถานีอนามัย ซึ่ง อนาคต จะได้รับการพัฒนาเป็น "ศูนย์สุขภาพชุมชน"

แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป หรือ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ทำหน้าที่เป็นแพทย์ประจำตัว หรือ ครอบครัว มาออกตรวจ คนไข้ ทุกเช้า สัปดาห์ละ 15 ชั่วโมง หรือ มาทุกเช้า วันละ 3 ชั่วโมง เพื่อให้การรักษา และ ให้คำปรึกษาเรื่องสุขภาพ กับทุกคนในพื้นที่ ฟรี อย่างมีคุณภาพ โดยไม่ต้องเดินทางมา ร.พ.
เว้นแต่กรณี อุบัติเหตุ และ ฉุกเฉิน สามารถรักษาได้ที่ ร.พ.ที่ใกล้ที่สุด ฟรีเช่นกัน
แต่ถ้าไม่ใช่กรณีดังกล่าว ควรมารักษากับสถานพยาบาลประจำครอบครัวใกล้บ้าน
มิฉะนั้น อาจจะต้องเสียค่าบริการเอง เพื่อให้เกิดการใช้บริการสถานพยาบาลประจำครอบครัว เป็นจริง
ทุกคนมีสถานพยาบาลประจำตัวแห่งเดียว ทำให้มีประวัติการดูแลสุขภาพที่เดียว คุ้นเคยกับเจ้าหน้าที่ เหมือน เป็นญาติมิตร ใกล้บ้าน ใกล้ใจ เหมือนประเทศพัฒนา เช่น ประเทศอังกฤษ และ ฟินแลนด์ ตามบทความตามเวบบ์

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=11-2006&date=16&group=1&gblog=4

และ การมีสถานพยาบาลที่ให้บริการสุขภาพ ที่มี คุณภาพ

ด้วยการพัฒนาและรับรองให้เป็นสถานพยาบาลคุณภาพ ตามเวบบ์

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=06-2007&date=24&group=1&gblog=11

และ การเป็น โรงพยาบาลคุณภาพ ที่จะทำให้เกิดได้ตามแนวทาง
"ทางดีที่ไม่มีคนเดิน ทำให้เดินได้ด้วยการพัฒนาและรับรองคุณภาพ"
ตาม เวบบ์

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=09-2007&date=13&group=1&gblog=17

สรุป ถ้าประเทศเราจัดระบบสาธารณสุขให้ถูกต้องเป็นรูปเครือข่าย ใช้บุคลากรที่เหมาะสมในที่ ๆ เหมาะสม ก็จะทำให้ประชาชนทุกคน มีแพทย์ประจำตัว เหมือนอารยะประเทศ
การจะทำให้สำเร็จ คงต้องอาศัยการเมือง อาศัยผู้แทน หรือ สมาชิกสภานิติบัญญัติ(สส.)ซึ่ง เป็น ตัวแทนประชาชน ที่เรามีสิทธิเลือก ในวันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม 2550 วันเลือกผู้แทนราษฏร เข้าไปเป็นรัฐบาล หรือ ออกกฏหมาย เพื่อกำกับให้รัฐบาล จัดทำให้เกิดการจัดการดูแลรูปเครือข่าย เป็นจริง เราทุกคน จะมีแพทย์ประจำครอบครัว ดังนั้น ขอพวกเราจงไปใช้สิทธิ เลือก พรรค ที่มี นโยบายที่สนับสนุน การดูแลสุขภาพรูปเครือข่าย และ เลือกดูว่า นโยบาย ที่พรรคนั้น ๆ เสนอ หลอกลวง หรือ ทำได้จริงหรือไม่
ถ้าเลือกพรรคถูกก็จะได้สิ่งที่ปราถนา คือ มีแพทย์ประจำตัว และ มีการดูแลรูปเครือข่าย ในที่สุด




Create Date : 11 พฤศจิกายน 2550
Last Update : 11 พฤศจิกายน 2550 16:03:27 น. 0 comments
Counter : 491 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 

samrotri
Location :
ฉะเชิงเทรา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




น.พ.สำเริง ไตรติลานันท์
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ เวชศาสตร์ป้องกัน
ตำแหน่ง นายแพทย์เชี่ยวชาญ หัวหน้ากลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน ร.พ.พนมสารคาม และ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบลเขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา โทรฯ 0896112714
[Add samrotri's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com