แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ เวชศาสตร์ป้องกัน ร.พ.พนมสารคาม อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
 
พฤศจิกายน 2549
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
25 พฤศจิกายน 2549
 
 

หมอเสียขวัญถูกฟ้องอาญาปีละ 60 ราย

ข่าวจากมติชน รายวัน
วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10486

เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน แพทยสภาจัดการประชุมสัมมนา

เรื่อง "การแก้กฎหมายอาญาเพื่อความเป็นธรรมต่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม"



เพื่อหาทางออกในการแก้ไขปัญหาการฟ้องร้องแพทย์ทางอาญาที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยมีแพทย์จากทุกสังกัด เช่น กระทรวงสาธารณสุข ทหาร ตำรวจ เอกชน เข้าร่วมการประชุมประมาณ 250 คน

การเสวนาในครั้งนี้ที่ประชุมมีข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

1.ควรจะมีการร่างกฎหมายการฟ้องร้องแพทย์ทางอาญาจากการประกอบวิชาชีพเวชกรรมขึ้นมาใหม่

2.ตั้งศาลเฉพาะคดีทางการแพทย์หรือแยกเป็นแผนกคดีทางการแพทย์โดยเฉพาะ

3.ให้มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจากราชวิทยาลัยต่างๆ เข้าร่วมตัดสินและพิจารณาคดีทางการแพทย์

4.ต้องมีขั้นตอนการพิสูจน์ก่อนการประทับรับฟ้องว่าเป็นการประกอบวิชาชีพโดยสุจริตหรือไม่

5.ตั้งกองทุนช่วยเหลือเบื้องต้นจากการประกอบอาชีพเวชกรรม และ

6.มีการเพิ่มเติมมาตราที่เกี่ยวข้องกับการฟ้องร้องอาญาแพทย์ใน พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ

ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กุศลานันท์ อุปนายกแพทยสภาคนที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกแพทยสภา กล่าวว่า
ได้เชิญนายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม และตัวแทนจากสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมาหารือหลังพบว่า
การยื่นฟ้องอาญาแพทย์ทำให้แพทย์ที่ตั้งใจทำงานเสียขวัญกำลังใจ เสี่ยงต่อการติดคุก

ปัจจุบันมีแพทย์ที่ถูกฟ้องร้องทางอาญาอยู่ระหว่างการสอบสวนประมาณเดือนละ 2-3 ราย
นอกจากนี้ยังมีแพทย์อีกหลายคนที่มาปรึกษาอย่างไม่เป็นทางการอีก เฉลี่ยแล้วเดือนละ 4-5 ราย
ปีหนึ่งประมาณ 60 ราย เฉลี่ยแพทย์ 1 ต่อ 500 คนจากทั่วประเทศที่เสี่ยงต่อการถูกฟ้องทางอาญา

ศ.คลินิก นพ.อำนาจกล่าวต่อว่า กรณีที่มีการตัดสินจำคุกแพทย์ 4 ปี โดยไม่รอลงอาญาที่ รพ.แห่งหนึ่ง ทำให้แพทย์เสียขวัญ ซึ่งอาจเป็นผลเสียต่อประชาชน เช่น
รพ.จังหวัดอาจไม่กล้าผ่าตัดคนไข้ เพราะเกรงว่าจะเกิดปัญหา ก็มีการส่งต่อคนไข้ หรืออาจมีการตรวจคนไข้อย่างละเอียด ทำให้เสียเวลาและเสียเงิน ทั้งๆ ที่ไม่มีความจำเป็น

ดังนั้นข้อสรุปที่ได้ในวันนี้จะต้องมีการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อขวัญและกำลังใจของแพทย์และเพื่อประโยชน์ของประชาชน แทนที่คนไข้มีโอกาสรอด 60% ก็เหลือ 40% ยืนยันว่าหากแพทย์ผิดก็ต้องถูกลงโทษ ไม่มีใครไปช่วยได้

นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ ประธานชมรมแพทย์เพื่อวิชาชีพแพทย์ กล่าวว่า คดีอาญาการฟ้องร้องแพทย์โรงพยาบาลสมุยอินเตอร์ ที่ศาลตัดสินให้จำคุกแพทย์ที่ถูกฟ้องร้อง 4 ปี ไม่รอลงอาญา และกรณีเดียวกันนี้ยังมีการฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหายอีกถึง 204 ล้านบาท สร้างความสั่นสะเทือนความรู้สึกของแพทย์ทั่วประเทศ เพราะไม่มีแพทย์คนใดที่ตั้งใจอยากจะทำให้คนไข้ของตัวเองเสียชีวิต และการฟ้องทางอาญาทำให้จิตวิญญาณของแพทย์แหลกสลาย และคงไม่มีการฝากผีฝากไข้กันอีก การรักษาต่อจากนี้ต้องว่ากันไปตามตัวหนังสือและตัวเลขแทน ชมรมจะส่งแบบสอบถามไปถึงแพทย์จำนวน 32,000 คนทั่วประเทศ เพื่อสอบถามความเห็นและหาทางแก้ไขการฟ้องร้องแพทย์ทางอาญา คาดว่าใน 1-2 เดือนน่าจะสรุปผลได้ ซึ่งผลที่ได้จะได้นำเสนอต่อแพทยสภา กระทรวงสาธารณสุข นำไปเป็นข้อมูลในการแก้ไขปัญหาต่อไป




 

Create Date : 25 พฤศจิกายน 2549
1 comments
Last Update : 25 พฤศจิกายน 2549 18:52:09 น.
Counter : 696 Pageviews.

 

อันนี้ความเห็นส่วนตัวของผมเลยจริง ๆนะครับ

การแพทย์ควรจะเป็นการบริการจากรัฐเท่านั้น จะได้ไม่เกิด double standard จะได้ไม่เปรียบเทียบ จะได้ไม่กล่าวหาว่ารักษาน้อยกว่าที่ควรทำ

จะได้ไม่คาดหวังเกินเหตุ

 

โดย: Plin, :-p 27 พฤศจิกายน 2549 1:24:51 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

 

samrotri
Location :
ฉะเชิงเทรา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




น.พ.สำเริง ไตรติลานันท์
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ เวชศาสตร์ป้องกัน
ตำแหน่ง นายแพทย์เชี่ยวชาญ หัวหน้ากลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน ร.พ.พนมสารคาม และ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบลเขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา โทรฯ 0896112714
[Add samrotri's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com