แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ เวชศาสตร์ป้องกัน ร.พ.พนมสารคาม อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
<<
เมษายน 2550
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
12 เมษายน 2550
 
 
"งบประกันสุขภาพเพิ่มขึ้นทุกปี ทำอย่างไร??ถึงจะให้คนสุขภาพดีเจ็บป่วยน้อย จะได้ไม่ต้องเพิ่มงบทุกปีได้"

ข่าวจาก น.ส.พ.ไทยรัฐ [วันอังคาร ที่ 10 เม.ย. 50 - 04:56]
"สปสช.ส่อ 'ถังแตก' จี้คลังเพิ่มงบรายหัว"

อยากให้สมาชิกบล็อกแก็งค์ มาช่วยกันออกความเห็นกัน ทำอย่างไรถึงจะแก้ปัญหา "ถังแตก" ต้องเพิ่มงบรายหัวขึ้นทุกปี

ทำไมเราไม่มาคิด หาทางทำอย่างไรให้ ค่าใช้จ่ายมันไม่เพิ่มขึ้น หรือ เท่าเดิม หรือ ถ้าเป็นไปได้ให้ค่าใช้จ่ายมันลดลง โดยที่ผู้ประกันตน หรือ ประชาชน ยังคงมีสุขภาพดี ได้ เพื่อจะได้ไม่ต้องมาคิดกับปัญหาเงินไม่พอทุกปี ไม่ดีกว่าหรือ

ลองสมาชิกมาช่วยกันเสนอความคิดเห็นแก้ปัญหากันดีไหม






นพ.มงคล ณ สงขลา รมว.สาธารณสุขในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่า

สปสช.ได้เสนออัตราเหมาจ่ายรายหัวในการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าปีงบประมาณ 2551 โดยคณะกรรมการการเงินการคลังที่มี ดร.โอฬาร ไชยประวัติ ได้เสนองบประมาณรายหัวในอัตราเหมาจ่าย 2 กรณี โดย

1.อัตราแรกเป็นเงิน 2,228.60 บาท/คน/ปี
และ
2.อัตราเหมาจ่ายรายหัว 2,337.11 บาท/คน/ปี

เพิ่มขึ้นจากงบประมาณปี 2550 กว่า 10,000 ล้านบาท และเพิ่มจากปี 2550 ที่ได้รับงบเหมาจ่ายรายหัว 1,899.69 บาทต่อประชากร

ทั้งนี้ ยังเน้นวิธีการจ่ายเงินให้พื้นที่ทุรกันดารตามข้อมูลปี 2549 คือ พื้นที่ทุรกันดาร พื้นที่เสี่ยงภัยระดับรุนแรงและรุนแรงมาก และพื้นที่ที่มีจำนวนประชากรน้อย

รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า คณะกรรมการฯได้มีมติให้ สปสช.หารือกับสำนักงบประมาณ 3 ประเด็น คือ

1.อัตราการใช้บริการ
2.อัตราการเพิ่มขึ้นของค่าบริการทางการแพทย์
3.อัตราเงินเฟ้อ

การเพิ่มค่าตอบแทนของบุคลากรสาธารณสุข (ซึ่งไม่รวมเงินเดือนของบุคลากรสาธารณสุข) ก่อนเห็นชอบในการเสนองบเหมาจ่ายรายหัวเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีต่อไป

อย่างไรก็ตาม งบที่ขอเพิ่มขึ้นนั้นเป็นการเพิ่มงบให้กับการบริการผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยในพื้นที่ทุรกันดาร การส่งเสริมป้องกันโรค และงบลงทุนเพื่อการทดแทน รวมถึงเพิ่มงบช่วยเหลือผู้ให้บริการเป็น 0.55 บาทต่อประชากร จากเดิมที่ให้ 0.40 บาทต่อประชากร ซึ่งจะทำให้เงินกองทุนชดเชยผู้ให้บริการที่เสียหายจากการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น 26 ล้านบาท จาก 18 ล้านบาท เป็นการสร้างขวัญกำลังใจและความมั่นใจในการปฏิบัติงานมากขึ้น

นอกจากนี้ ในส่วนของกองทุนชดเชยความเสียหายทางการแพทย์ตามมาตรา 41 นั้น ในปี 2551 ไม่ได้ตั้งงบไว้ เนื่องจากมีเงินคงเหลือในกองทุน 181 ล้านบาท ซึ่งเพียงพอในการดำเนินการ ขณะที่งบการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS) และงบฟื้นฟูสมรรถภาพคงเดิมคือ ที่ 10 บาทต่อประชากร และ 4 บาทต่อประชากรตามลำดับ ส่วนการคิดงบสำหรับการบริหารจัดการโรคเฉพาะ ในปี 51 จะแยกคำนวณเฉพาะโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็ก เพื่อการบริการครอบคลุมและเข้าถึงมากขึ้น.



Create Date : 12 เมษายน 2550
Last Update : 12 เมษายน 2550 22:36:17 น. 1 comments
Counter : 602 Pageviews.

 


โดย: Yoawarat วันที่: 12 เมษายน 2550 เวลา:23:44:18 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 

samrotri
Location :
ฉะเชิงเทรา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




น.พ.สำเริง ไตรติลานันท์
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ เวชศาสตร์ป้องกัน
ตำแหน่ง นายแพทย์เชี่ยวชาญ หัวหน้ากลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน ร.พ.พนมสารคาม และ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบลเขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา โทรฯ 0896112714
[Add samrotri's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com