มีการศึกษา (Education) ไม่ได้แปลว่า มีความรู้ (Knowledge)
กระดาษหนึ่งแผ่น..ไม่ได้ทำให้คนฉลาดขึ้น การเรียนรู้..ไม่ได้มีอยู่แต่ในห้องเรียน
การต่อยอดจากสิ่งที่ดี ย่อมได้สิ่งที่ดีกว่า
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2551
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
8 สิงหาคม 2551
 
All Blogs
 

การกำหนดรูปแบบวันที่และเวลาใน Excel (Date-Time format)

โดยปกติแล้วข้อมูลที่เป็นวันที่ใน Excel (for Windows) นั้น จะเริ่มนับวันที่ 1 มากราคม 1900 เป็นวันลำดับที่หนึ่ง และนับวันที่ต่อเนื่องกันมา โดยสรุปก็คือ Excel รับข้อมูลวันที่เป็นปี ค.ศ.

แต่ผู้ใช้สามารถกำหนดการแสดงรูปแบบ วันที่ (date) หรือเวลา (time) ในแบบเฉพาะเจาะจงได้ เพื่อกำหนดลักษณะในการแสดงผล เช่น แสดงรูปแบบเป็น ปี พ.ศ. หรือแสดงเป็นภาษาไทย เป็นต้น อีกทั้งยังสามารถเพิ่มข้อความใดๆ (text), การเว้นวรรค (punctuation) และช่องว่าง (spaces) เข้าไปได้อีกด้วย

อ่านเรื่อง "วันและเวลาใน Excel" เพิ่มเติมได้ที่
เว็บบล็อกของคุณคนควน

วันนี้ผมจะมาแนะนำ วิธีการกำหนดรูปแบบให้กับข้อมูล วันที่และเวลา ใน Excel ตามมาเลยครับ


===================================

1. องค์ประกอบของรูปแบบวันที่ (Date format)

1.1 การกำหนดรูปแบบเดือน (M)

ในภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษร "M" เป็นตัวพิมพ์ใหญ่เท่านั้น เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างรูปแบบของเดือน กับรูปแบบของนาที


รูปแบบ
Mแสดงค่าเดือนเป็นตัวเลขเดี่ยวโดยไม่มีเลขศูนย์นำหน้า ในกรณีที่เดือนนั้นเป็นเลขตัวเดียว เช่น เดือนกรกฎาคม จะแสดงค่าเป็น "7"
MMแสดงค่าเดือนเป็นตัวเลขสองหลักโดยให้มีเลขศูนย์นำหน้า ในกรณีที่เดือนนั้นเป็นเลขตัวเดียว เช่น เดือนกรกฎาคม จะแสดงค่าเป็น "07"
MMMแสดงค่าเดือนเป็นตัวอักษรย่อ 3 ตัวแรกในชื่อเดือนภาษาอังกฤษ เช่น July จะแสดงค่าเป็น "Jul"
MMMMแสดงชื่อเดือนในภาษาอังกฤษแบบเต็ม เช่น July
แสดงค่าเดือนเป็นตัวเลขไทยเลขเดี่ยวโดยไม่มีเลขศูนย์นำหน้า ในกรณีที่เดือนนั้นเป็นเลขตัวเดียว เช่น เดือนกรกฎาคม จะแสดงค่าเป็น "๗"
ดดแสดงค่าเดือนเป็นตัวเลขไทยสองหลักโดยให้มีเลขศูนย์นำหน้า ในกรณีที่เดือนนั้นเป็นเลขตัวเดียว เช่น เดือนกรกฎาคม จะแสดงค่าเป็น "๐๗"
ดดดแสดงค่าเดือนเป็นภาษาไทยตัวย่อ 3 เช่น กรกฏาคม จะแสดงค่าเป็น "ก.ค."
ดดดดแสดงชื่อเดือนเป็นภาษาไทยแบบเต็ม เช่น "กรกฏาคม"


1.2 การกำหนดรูปแบบวันที่และวันในสัปดาห์ (d)

ใช้เพื่อแสดงค่าวันที่หรือวันในสัปดาห์ โดยตัวอักษร "d" สามารถใช้ได้ทั้งตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่

รูปแบบ
dจะแสดงค่าวันในสัปดาห์หรือวันที่โดยไม่มีเลขศูนย์นำหน้า ในกรณีที่ค่าวันในสัปดาห์หรือวันที่นั้นเป็นตัวเลขหลักเดียว เช่น วันที่ 6 ของเดือนใดๆ จะแสดงค่าเป็น "6"
ddจะแสดงค่าวันในสัปดาห์หรือวันที่โดยมีเลขศูนย์นำหน้า ในกรณีที่ค่าวันในสัปดาห์หรือวันที่นั้นเป็นตัวเลขหลักเดียว เช่น วันที่ 6 ของเดือนใดๆ จะแสดงค่าเป็น "06"
dddแสดงชื่อวันในสัปดาห์เป็นอักษรย่อ 3 ตัวแรกของชื่อวันในภาษาอังกฤษ เช่น Tuesday จะแสดงเป็น "Tue"
ddddแสดงชื่อเต็มของวันในสัปดาห์ เป็นภาษาอังกฤษ
จะแสดงค่าวันในสัปดาห์หรือวันที่เป็นเลขไทย โดยไม่มีเลขศูนย์นำหน้า ในกรณีที่ค่าวันในสัปดาห์หรือวันที่นั้นเป็นตัวเลขหลักเดียว เช่น วันที่ 6 ของเดือนใดๆ จะแสดงค่าเป็น "๖"
ววจะแสดงค่าวันในสัปดาห์หรือวันที่เป็นเลขไทย โดยมีเลขศูนย์นำหน้า ในกรณีที่ค่าวันในสัปดาห์หรือวันที่นั้นเป็นตัวเลขหลักเดียว เช่น วันที่ 6 ของเดือนใดๆ จะแสดงค่าเป็น "๐๖"
วววแสดงชื่อวันในสัปดาห์เป็นอักษรย่อในภาษาไทย เช่น Tuesday จะแสดงเป็น "อ."
ววววแสดงชื่อเต็มของวันในสัปดาห์ เป็นภาษาไทย เช่น "อังคาร"


1.3 การกำหนดรูปแบบปี (y)

แสดงค่าปีเป็นตัวเลขจำนวน 2 หลัก หรือ 4 หลัก โดยตัวอักษร "y" สามารถใช้ได้ทั้งตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่
รูปแบบ
yyแสดงค่าเป็นปี ค.ศ. เป็นตัวเลข 2 หลัก เช่น 2008 จะแสดง "08"
yyyyแสดงค่าเป็นปี ค.ศ. เป็นตัวเลข 4 หลัก
bbแสดงค่าเป็นปี พ.ศ. เป็นตัวเลข 2 หลัก เช่น 2551 จะแสดง "51"
bbbbแสดงค่าเป็นปี พ.ศ. เป็นตัวเลข 4 หลัก
ปปแสดงค่าเป็นปี พ.ศ. เป็นเลขไทย 2 หลัก เช่น 2551 จะแสดง "๕๑"
ปปปปแสดงค่าเป็นปี พ.ศ. เป็นเลขไทย 4 หลัก เช่น 2551 จะแสดง "๒๕๕๑"



===================================

2. องค์ประกอบของรูปแบบเวลา (Time format)

2.1 รูปแบบชั่วโมง (h)

ในกรณีที่ "h" เป็นตัวพิมพ์เล็ก จะเป็นการอ้างอิงเวลาแบบ 12 ชั่วโมง (AM หรือ PM) และถ้าในกรณีที่ "H" เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ จะเป็นการอ้างอิงเวลาแบบ 24 ชั่วโมง เช่น 5 โมงเย็น (5 P.M.) จะแสดงค่าเป็น "17" เป็นต้น
รูปแบบ
h หรือ Hจะแสดงค่าชั่วโมงโดยไม่มีเลขศูนย์นำหน้า ในกรณีที่ค่าชั่วโมงเป็นตัวเลขหลักเดียว
(ใช้ "ช" สำหรับแสดงเป็นเลขไทย)
hh หรือ HHจะแสดงค่าชั่วโมงโดยมีเลขศูนย์นำหน้า ในกรณีที่ค่าชั่วโมงเป็นตัวเลขหลักเดียว
(ใช้ "ชช" สำหรับแสดงเป็นเลขไทย)


2.2 รูปแบบนาที (m)

ให้ใช้ตัวอักษร "m" เป็นตัวพิมพ์เล็กเท่านั้น เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างรูปแบบของเดือน กับรูปแบบของนาที
รูปแบบ
mจะแสดงค่านาทีโดยไม่มีเลขศูนย์นำหน้า ในกรณีที่ค่านาทีเป็นตัวเลขหลักเดียว
(ใช้ "น" สำหรับแสดงเป็นเลขไทย)
mmจะแสดงค่านาทีโดยมีเลขศูนย์นำหน้า ในกรณีที่ค่านาทีเป็นตัวเลขหลักเดียว
(ใช้ "นน" สำหรับแสดงเป็นเลขไทย)


2.3 รูปแบบวินาที (s)
รูปแบบ
sจะแสดงค่าวินาทีโดยไม่มีเลขศูนย์นำหน้า ในกรณีที่ค่าวินาทีเป็นตัวเลขหลักเดียว
(ใช้ "ท" สำหรับแสดงเป็นเลขไทย)
ssจะแสดงค่าวินาทีโดยมีเลขศูนย์นำหน้า ในกรณีที่ค่าวินาทีเป็นตัวเลขหลักเดียว
(ใช้ "ทท" สำหรับแสดงเป็นเลขไทย)


2.4 รูปแบบ A.M. และ P.M.

จะแสดงอักษร A.M. และ P.M. เมื่อมีการตั้งรูปแบบเวลาเป็น A.M. และ P.M. ใน MS Windows โดยเข้าไปตั้งค่า regional settings ใน Control Panel
รูปแบบ
am/pm
หรือ AM/PM
จะแสดง A.M. และ P.M. ด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ เช่น { TIME @ "h AM/PM" } และ { TIME @ "h am/pm" } จะแสดง "9 AM" หรือ "5 PM"



===================================

วิธีการจัดรูปแบบให้กับเซลวันที่

คลิกขวาที่เซลนั้นๆ เลือก Format cell...
แล้วเข้าไปกำหนดรูปแบบ ดังรูป




 

Create Date : 08 สิงหาคม 2551
14 comments
Last Update : 8 สิงหาคม 2551 17:23:22 น.
Counter : 11637 Pageviews.

 

มาเจิม
ตกลงได้วิธีใช้สูตรความน่าจะเป็นรึยัง
งานนี้เจ้ามือหวยรวยแน่
คริคริ
(อัพบลอกแล้ว อย่าลืมไปดู)

 

โดย: คุณน้อง (patra_vet ) 9 สิงหาคม 2551 11:52:44 น.  

 

ขออนุญาตพาดพิงถึงในบลอกนะคะ
อิอิ

 

โดย: คุณน้อง (patra_vet ) 10 สิงหาคม 2551 3:59:42 น.  

 

D...วันหยุดค่ะครูเอก

ตื่นยังค่ะ.....

วันนี้ไปเที่ยวไหนค่ะ...

รึว่าต้องทำงาน.....

 

โดย: Opey 10 สิงหาคม 2551 8:26:50 น.  

 

ของคุณมากครับ
... ไม่เคยใช้ bbbb เลย...
ไม่เสียเที่ยวครับ

ฝากไว้อีกหนึ่ง format ของเวลาครับ
[h]
มีประโยชน์มากสำหรับการคำนวนเวลา

 

โดย: แดนน้อย (แดนน้อย ) 10 สิงหาคม 2551 15:03:40 น.  

 



หวัดดีเช้าวันจันทร์ค่ะ.....

โอพี...มาสร้างสีสรรด้วยภาพค่ะ...

อีตาลี ค่ะ.... เพิ่งไปหยิบมาจาก sns ของ
เมกา เค้ามีแค่ สิบภาพ ....

ขอให้มีความสุขมากๆในวันนี้ค่ะ....

 

โดย: Opey 11 สิงหาคม 2551 8:00:21 น.  

 

แวะมาทักค่ะ


ไม่เคยทราบว่าครูเอกก็มีบ๊อค กับเค้าด้วยเหมือนกัน

พลอยขออนุญาต แอ๊ดบ๊อค เลยนะคะ

รักษาสุขภาพคะ

 

โดย: พลอย (Blomst ) 11 สิงหาคม 2551 8:22:22 น.  

 

ครูเอกขยัน อัพบล็อค แยกสีดีจังเลยค่ะ
ดูง่าย แต่ลำบากครูเอก

ขอบคุณสำหรับความรู้นะีคะ

 

โดย: Shallow Grave 11 สิงหาคม 2551 15:40:53 น.  

 

แหะๆ ยอมรับว่าไม่รู้เรื่องเลยครับ

 

โดย: Tangible 13 สิงหาคม 2551 17:22:42 น.  

 

ของคุณครูเอกค่ะ ที่แชร์ความรู้มาให้อ่าน ข้าพเจ้าขออนุญาต copy เกี่ยวกับ excel ไปอ่านเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานนะคะ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

 

โดย: colin IP: 58.9.3.158 14 สิงหาคม 2551 11:18:14 น.  

 

ขอบคุณครับ

 

โดย: คนขับช้า 14 สิงหาคม 2551 21:16:28 น.  

 

รบกวนครูเอกครับ ผมมีปัญหาเรื่อง word2007(ใช้Notebookลง Vista Ultimate 32bit ) - เวลาพิมพ์ไทยจะต้องเคาะ SpaceBar ก่อน1ที ถึงจะพิมพ์ได้ แม้จะแทรกตัวอักษรก็ต้องเคาะBar 1 ทีก่อน

ขอบคุณครับ
wachira.chantana@gmail.com

 

โดย: วชิระ จันทนา IP: 58.9.111.238 24 สิงหาคม 2551 22:51:41 น.  

 

สวัสดีค่ะครูเอก ขอรบกวนถามเรื่อง Macro หน่อยค่ะ คือถ้าเราต้องการให้ โปรแกรม Excel รู้จัก Macro ของเรา (เป็นลักษณะ CA ค่ะ) ตอนนี้มีปัญหาคือว่ารูปแบบที่เป็นไฟล์ Excel ซึ่งมีการสร้าง Macro ไว้ด้วย แต่เวลาที่ Copy ไปเครื่องอื่นๆ โปรแกรมไม่อนุญาตให้เนื่องจากมีเงื่อนไขของความปลอดภัยของ Macro (นอกจากต้องไปตั้งค่าให้เป็นระดับต่ำสุดค่ะ) แต่ทางเราไม่ต้องการให้ทำแบบนั้นเนื่องจากอาจมีผลกระทบกับอย่างอื่นด้วยค่ะ ครูเอกพอจะมีวิธีไหนบ้างหรือเปล่าคะ รบกวนด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

 

โดย: ทิพย์ IP: 58.9.170.33 8 กันยายน 2551 10:56:26 น.  

 

ถ้าเราจะพิมพ์ 1/1/2012 ใน excel แล้วให้แสดงเป็น 1 Jan 2012 จะต้องใช้สูตรแบบไหนค่ะ

 

โดย: nongbird IP: 203.114.108.30 17 มกราคม 2556 14:51:49 น.  

 

เคยใช้นานแล้วจำไม่ได้ ได้ข้อมูลใน blog นี้ ช่วยไว้ ขอบคุณมากค่ะ

 

โดย: ์N.A. IP: 119.76.5.140 9 มีนาคม 2561 18:47:14 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ครูเอก
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 112 คน [?]




เนื้อหาบทความ ภาพประกอบ ไฟล์ตัวอย่าง ทั้งหมดใน blog นี้ "สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พุทธศักราช ๒๕๓๗" อนุญาตให้นำไปเผยแพร่ได้ โดยต้องระบุแหล่งที่มาของเนื้อหาให้ชัดเจน เพื่อแสดงถึงการรับรู้ในความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ทั้งนี้ไม่อนุญาตในการนำไปใช้เพื่อการแสวงหาผลกำไรทางธุรกิจ โดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร

ส่งข้อความหลังไมค์ถึงครูเอก
MSN : ysamroeng@hotmail.com
ชมรมนักเรียนสาธิตเสริมสมอง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
กิตติกรรมประกาศ

ผมใช้คอมพิวเตอร์ครั้งแรก โดยมีหนังสือชื่อ "เรียน DBASE III PLUS ด้วยตนเอง" ของ พ.ต.ประพัฒน์ อุทโยภาศ เป็นเสมือนอาจารย์ และมี บร.โรเบิร์ต ปาแนสโต (ซดบ.) เป็นผู้ให้โอกาส และ้คำแนะนำ ถือเป็นก้าวแรก ที่้ผมจับคอมพิวเตอร์ และสนใจเรียนรู้ มาตั้งแต่วันนั้น นอกจากเรื่อง "การเขียนโปรแกรมด้วย Clipper" แล้ว ผมไม่เคย ไปเรียนคอมพิวเตอร์ จากสถาบันใด อาศัยที่เป็น คนชอบอ่านหนังสือ และซื้อหนังสือเยอะมาก บวกกับลงทุน ซื้อเครื่องไว้ใช้งานเอง (เครื่องแรก Intel 386DX-40) จึงได้ฝึกฝน เรียนรู้ ต่อเนื่องมาจนทุกวันนี้
มีของมาขาย

1. หนังสือ "Excel for HR"


การใช้ไมโครซอฟต์เอ็กเซล ในงาน HR แบบมืออาชีพ พิมพ์ครั้งที่ 2 เป็นหนังสือที่เก็บเกี่ยวประสบการณ์ จากงานจริงๆ มาเป็นวัตถุดิบ เป็นหนังสือคอมพิวเตอร์เล่มแรก ที่เขียนขึ้นมาเพื่อ นักบริการทรัพยากรมนุษย์ (HR) โดยเฉพาะ เป็นตัวอย่างของการใช้โปรแกรม MS Excel ในงานประจำวันของ HR หาซื้อได้ที่ ร้านซีเอ็ดบุ๊ค ทุกสาขา, HR Center, ศูนย์หนังสือ สสท., ศูนย์หนังสือจุฬา, Thailand Book Tower, B2S เป็นต้น
หรือสั่งซื้อโดยตรงได้ที่ 02-347-1066, 081-423-9828
ราคาเล่มละ 200 บาท จัดส่งฟรี

2. CD รวมไฟล์ตัวอย่าง Excel จากงานจริง


มีไฟล์ตัวอย่างมากที่สุด สามารถนำไปใช้งานได้ทันที หรือใช้ศึกษาเทคนิคการเขียนสูตร Excel อัพเดตใหม่ทุกสัปดาห์
ของแท้ไม่มีวางจำหน่ายที่ไหน
สนใจสั่งซื้อโดยตรงที่ 02-347-1066, 081-423-9828
ราคาแผ่นละ 200 บาท ค่าจัดส่งฟรี

หมายเหตุ : ปัจจุบันมีจำหน่ายทั้งสิ้น 3 ชุด ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://sites.google.com/site/excel4hr/product
กิจกรรมของพวกเราที่ผ่านมา

โครงการห้องสมุดเพื่อน้อง รร.บ้านซับงูเหลือม จ.ลพบุรี

โครงการห้องสมุดเพื่อคนพิการ มูลนิธิส่งเสริมและพัฒนาคนพิการ ปากเกร็ด
รูปภาพหรือข้อความแสดงความเห็น เกิดจากการแสดงความคิดเห็นโดยอิสระ ของบุคคลทั่วไป และถูกส่งขึ้นแสดงในหน้า blog โดยอัตโนมัติ เจ้าของ blog มิได้มีส่วนรู้เห็น หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งไม่จำเป็นต้องร่วมรับผิดชอบ ต่อทุกความคิดเห็นใดๆ
Friends' blogs
[Add ครูเอก's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.