มีการศึกษา (Education) ไม่ได้แปลว่า มีความรู้ (Knowledge)
กระดาษหนึ่งแผ่น..ไม่ได้ทำให้คนฉลาดขึ้น การเรียนรู้..ไม่ได้มีอยู่แต่ในห้องเรียน
การต่อยอดจากสิ่งที่ดี ย่อมได้สิ่งที่ดีกว่า
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
18 มีนาคม 2551
 
All Blogs
 
Tips&Tricks : การซ่อนหรือแสดงบรรทัดและคอลัมน์โดยใช้แป้นพิมพ์ลัด

แป้นพิมพ์ลัด (Keyboard Shortcut) เป็นเทคนิคการทำงานที่สะดวก และรวดเร็ว สำหรับหลายๆ โปรแกรม ไม่ว่าจะเป็น MS Word, MS Excel, MS PowerPoint ฯลฯ และโปรแกรมอื่นๆ ทั่วไป

ผู้ใช้ส่วนใหญ่คุ้นเคยกับการใช้เมาท์ แต่บางคนก็จะรู้สึกหงุดหงิด ที่ต้องละมือจากแป้นพิมพ์มาคลิกเมาท์ หรือละจากเมาท์มาจับแป้นพิมพ์ สลับไปมา ดังนั้น แป้นพิมพ์ลัด ดังกล่าว จึงเป็นอีกเทคนิคหนึ่ง ที่จะช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว

วันนี้เรามารู้จักแป้นพิมพ์ลัดที่ใช้ในการซ่อน/แสดง (Hiding/Unhiding) บรรทัดและคอลัมน์ (Row & Column) ของ Excel กันสักหน่อย ดังต่อไปนี้


1. วิธีการซ่อน/แสดง (hide/unhide) บรรทัด

เมื่อต้องการซ่อน (hide) บรรทัดใดๆ ให้เลื่อนเซลพอยเตอร์ไปยังเซลไหนก็ได้ในบรรทัดนั้นๆ แล้วกดแป้น Ctrl+9

เมื่อต้องการแสดง (unhide) บรรทัดที่ถูกซ่อนไว้ ให้ทำการเลือกช่วงเซล ให้ครอบคลุมช่วงบรรทัดที่ถูกซ่อนไว้ แล้วกดแป้น Ctrl+Shift+(


2. วิธีการซ่อน/แสดง (hide/unhide) คอลัมน์

เมื่อต้องการซ่อน (hide) คอลัมน์ใดๆ ให้เลื่อนเซลพอยเตอร์ไปยังเซลไหนก็ได้ในคอลัมน์นั้นๆ แล้วกดแป้น Ctrl+0

เมื่อต้องการแสดง (unhide) คอลัมน์ที่ถูกซ่อนไว้ ให้ทำการเลือกช่วงเซล ให้ครอบคลุมช่วงคอลัมน์ที่ถูกซ่อนไว้ แล้วกดแป้น Ctrl+Shift+)


3. วิธีการแสดงบรรทัดและคอลัมน์ที่ถูกซ่อนไว้ทั้งหมดในชีทงาน

ในกรณีที่มีบรรทัดหรือคอลัมน์ถูกซ่อนไว้หลายที่ในชีทงานหนึ่งๆ และเราต้องการที่จะแสดงบรรทัดหรือคอลัมน์ที่ถูกซ่อนไว้ทั้งหมดในครั้งเดียว สามารถทำได้โดยการ

1. กดแป้น Ctrl+A เพื่อเลือกทั้งชีท
2. กดแป้น Ctrl+Shift+( หนึ่งครั้ง และกดแป้น Ctrl+Shift+) อีกหนึ่งครั้ง


4. วิธีการแสดงบรรทัดและคอลัมน์ที่ถูกซ่อนไว้ในทุกชีทของสมุดงาน

ในกรณีที่สมุดงานนั้นๆ เราใช้งานอยู่หลายชีท และในแต่ละชีทอาจมีการซ่อนคอลัมน์ซ่อนบรรทัด หากเราต้องการให้ทุกชีท แสดงบรรทัดหรือคอลัมน์ที่ซ่อนไว้ในครั้งเดียว โดยที่ไม่ต้องไปทำทีละชีท ก็สามารถทำได้ดังนี้

1. ทำการจัดกลุ่มชีท (Group) คือเลือกทุกชีทในสมุดงาน ที่มีการซ่อนบรรทัดและคอลัมน์ โดยการกดแป้น Ctrl+Shift+PgDn ไปเรื่อยๆ จนครบทุกชีทที่ต้องการ (กรณีใช้เมาท์ ให้คลิกขวาที่ชื่อชีท แล้วเลือก Select All Sheets จากเมนูย่อย)
2. กดแป้น Ctrl+A เพื่อเลือกทั้งชีท
3. กดแป้น Ctrl+Shift+( หนึ่งครั้ง และกดแป้น Ctrl+Shift+) อีกหนึ่งครั้ง

เป็นอย่างไรบ้างครับ เทคนิคเล็กน้อยเหล่านี้ พอจะช่วยให้เราทำงานกับ Excel ได้เร็วขึ้นและสะดวกขึ้นหรือไม่ จริงๆ แล้วแป้นพิมพ์ลัดยังมีอีกมากมาย โอกาสหน้าผม จะนำเรื่องอื่นมาแนะนำนะครับ


Create Date : 18 มีนาคม 2551
Last Update : 18 มีนาคม 2551 8:51:11 น. 9 comments
Counter : 7987 Pageviews.

 
มีวิธีไปยังชีทอื่นโดยไม่ต้องใช้ mouse ไปชี้ที่แถบชีตอื่นไหมครับ และ (ห้ามกด ctl+pgdw หรือ pgup)

อยากรู้จริงๆครับ


โดย: แดนน้อย IP: 202.176.67.25 วันที่: 18 มีนาคม 2551 เวลา:22:09:05 น.  

 
ตอบ คุณแดนน้อย

สำหรับแป้นพิมพ์ลัด ในการไปยังชีทอื่น เท่าที่ผมทราบและใช้อยู่บ่อยๆ ก็คือ การใช้แป้น Ctrl+PgDn เพื่อไปยังชีทถัดไป และ Ctrl+PgUp เพื่อกลับมายังชีทก่อนหน้า เท่านั้นครับ ไม่ทราบว่ามีการใช้แป้นอื่นอีกหรือไม่


โดย: ครูเอก วันที่: 19 มีนาคม 2551 เวลา:9:28:18 น.  

 
อ้อไม่มีหรือครับ...
คือผมมักจะจัดรูปแบบการแสดงผลของ excel ให้เหมือนเป็นโปรแกรมๆหนึ่ง เลยเลือกคุณสมบัติซ่อน tab sheet และหน้า sheet ที่ผมตั้งเป็นหน้าเริ่มต้นผมก็ดัน lock cell แบบว่า cell ไหนที่ lock จะไม่สามารถเลือกได้ด้วย...

ทำให้เวลาต้องการเปลี่ยน sheet ไม่สามารถกด pageup pagedown ได้

จริงๆก็ไม่ใช่ปัญหาอะไรยิ่งใหญ่หรอกครับแค่เป็นจุดเล็กๆน้อยที่ผมเจอเวลาที่ต้องการแก้ไข sheet อื่นแล้วไม่ค่อยสะดวกที่ต้องคอยมาแก้คุณสมบัติซ่อนแถบชีตออกก่อน แล้วจึงไปยัง sheet อื่นได้


โดย: แดนน้อย IP: 202.176.66.92 วันที่: 19 มีนาคม 2551 เวลา:20:58:44 น.  

 
สวัสดีค่ะ คุณครู

แวะมาชวนไปย้อนรำลึกความหลังกับหนังจีนชุดเรื่อง "ประกาศิตเหยี่ยวพญายม"กันค่ะ ไม่ทราบว่าเรื่องนี้คุณครูได้ดูหรือเปล่า ยังไงก็แวะไปชมได้นะคะ นอนหลับฝันดีค่ะ


โดย: ฝากเธอ วันที่: 20 มีนาคม 2551 เวลา:20:50:27 น.  

 
ถึงแม้ว่าผมค่อนข้างจะทำงานด้วย VBA แต่ทิปนี้ของครูเอก ก็ช่วยให้การออกแบบหน้างานเร็วขึ้นอีกเป็นกองเลย ขอบคุณมากๆครับ


โดย: มิตรภาพ IP: 222.123.164.122 วันที่: 21 มีนาคม 2551 เวลา:0:06:12 น.  

 
ขอความช่วยเหลือครับเรื่อง excel ครับ
คือว่า ผมใส่คะแนนเด็ก 50 ต่างกันในคอลัมน์ B
แต่ในคอลัมน์ C ต้องการให้แสดงว่า ใครได้คะแนนลำดับที่เท่าใดครับ โดยไม่ต้องการใช้คำสั่ง เรียงลำดับนะครับ อยากให้ป้อนคะแนนเสร็จ 50 ก็โชว์ลำดับเลย
ตัวอย่าง
A B C
ชื่อ คะแนน สอบได้ที่
นาย ก 50
นาย ข 80
นาย ค 40

เมื่อพิมพ์เสร็จ ก็ให้ขึ้น สอบได้ที่ทันที
รบกวนด้วยครับ ต้องใส่สูตรในช่อง C ว่าอย่างไร


โดย: ชาย IP: 58.10.15.14 วันที่: 21 มีนาคม 2551 เวลา:12:23:25 น.  

 
ตอบ คุณชาย

เรื่องที่คุณถามมานี้ มันเป็นคนละประเด็นกับหัวข้อบทความ การคอมเมนท์ต่อท้ายบทความใดๆ ควรจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องเท่านั้น คำถามของคุณก็ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก แต่เมื่อผมตอบลงในนี้ ถ้าหากว่ามีคนที่อยากรู้เช่นเดียวกับคุณ เขาจะหาไม่เจอ เพราะหัวข้อบทความหลัก มันคนละเรื่องกัน จึงขอความกรุณา ไปโพสคำถามที่ฟอรัมที่ผมเพิ่งเปิดใหม่ คือ //www.e-hrit.com/it4hr/ นะครับ

ผมมีคำถามที่ต้องการคำตอบ ก่อนที่จะตอบปัญหาคุณ นั่นคือ กรณีที่เด็กมีคะแนนเท่ากันหลายคน ลำดับที่จะแสดงผลอย่างไร
เช่น มีคนได้คะแนนสูงสุดเท่ากัน 3 คน ก็คือได้ลำดับที่ 1 ทั้งสามคน แล้วคนที่ได้คะแนนรองลงมา จะให้เป็นลำดับที่ 2 หรือ เป็นลำดับที่ 4 ขอทราบเงื่อนไขตรงนี้ด้วยครับ

ตอนนี้ผมลองคิดวิธีไว้ทั้งสองแบบแล้ว ดังนั้น กรุณาไปโพสคำถามในฟอรัมที่ผมบอก พร้อมกับบอกด้วยว่า คุณต้องการเงื่อนไขแบบไหน แล้วผมจะโพสไฟล์ตัวอย่างให้


โดย: ครูเอก วันที่: 21 มีนาคม 2551 เวลา:20:08:34 น.  

 
สวัสดียาม ๑๑นาฬิกาจ้ๅครู Opey มาเยี่ยมจ้ๅๅๅ

หวังว่ๅครูสบๅยดีนะค่ะ เมืองอากๅศไม่ค่อยปกติ

จริงก็เป็นทั่วโลกละจ๊ะ ขอครูรักษาสุขภๅพด้วยนะค่ะ


โดย: Opey วันที่: 24 มีนาคม 2551 เวลา:11:05:51 น.  

 
ขอบคุณมากครับ
และต้องขอโทษเป็นอย่างสูงเพิ่งเข้ามาดูครั้งแรก
และไม่ได้อ่านกฏ กติกา ให้ละเอียด
แต่ตอนนี้ได้แล้วครับมีผู้รู้ช่วยแล้วครับ



โดย: ชาย IP: 58.10.15.252 วันที่: 24 มีนาคม 2551 เวลา:15:48:23 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ครูเอก
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 112 คน [?]




เนื้อหาบทความ ภาพประกอบ ไฟล์ตัวอย่าง ทั้งหมดใน blog นี้ "สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พุทธศักราช ๒๕๓๗" อนุญาตให้นำไปเผยแพร่ได้ โดยต้องระบุแหล่งที่มาของเนื้อหาให้ชัดเจน เพื่อแสดงถึงการรับรู้ในความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ทั้งนี้ไม่อนุญาตในการนำไปใช้เพื่อการแสวงหาผลกำไรทางธุรกิจ โดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร

ส่งข้อความหลังไมค์ถึงครูเอก
MSN : ysamroeng@hotmail.com
ชมรมนักเรียนสาธิตเสริมสมอง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
กิตติกรรมประกาศ

ผมใช้คอมพิวเตอร์ครั้งแรก โดยมีหนังสือชื่อ "เรียน DBASE III PLUS ด้วยตนเอง" ของ พ.ต.ประพัฒน์ อุทโยภาศ เป็นเสมือนอาจารย์ และมี บร.โรเบิร์ต ปาแนสโต (ซดบ.) เป็นผู้ให้โอกาส และ้คำแนะนำ ถือเป็นก้าวแรก ที่้ผมจับคอมพิวเตอร์ และสนใจเรียนรู้ มาตั้งแต่วันนั้น นอกจากเรื่อง "การเขียนโปรแกรมด้วย Clipper" แล้ว ผมไม่เคย ไปเรียนคอมพิวเตอร์ จากสถาบันใด อาศัยที่เป็น คนชอบอ่านหนังสือ และซื้อหนังสือเยอะมาก บวกกับลงทุน ซื้อเครื่องไว้ใช้งานเอง (เครื่องแรก Intel 386DX-40) จึงได้ฝึกฝน เรียนรู้ ต่อเนื่องมาจนทุกวันนี้
มีของมาขาย

1. หนังสือ "Excel for HR"


การใช้ไมโครซอฟต์เอ็กเซล ในงาน HR แบบมืออาชีพ พิมพ์ครั้งที่ 2 เป็นหนังสือที่เก็บเกี่ยวประสบการณ์ จากงานจริงๆ มาเป็นวัตถุดิบ เป็นหนังสือคอมพิวเตอร์เล่มแรก ที่เขียนขึ้นมาเพื่อ นักบริการทรัพยากรมนุษย์ (HR) โดยเฉพาะ เป็นตัวอย่างของการใช้โปรแกรม MS Excel ในงานประจำวันของ HR หาซื้อได้ที่ ร้านซีเอ็ดบุ๊ค ทุกสาขา, HR Center, ศูนย์หนังสือ สสท., ศูนย์หนังสือจุฬา, Thailand Book Tower, B2S เป็นต้น
หรือสั่งซื้อโดยตรงได้ที่ 02-347-1066, 081-423-9828
ราคาเล่มละ 200 บาท จัดส่งฟรี

2. CD รวมไฟล์ตัวอย่าง Excel จากงานจริง


มีไฟล์ตัวอย่างมากที่สุด สามารถนำไปใช้งานได้ทันที หรือใช้ศึกษาเทคนิคการเขียนสูตร Excel อัพเดตใหม่ทุกสัปดาห์
ของแท้ไม่มีวางจำหน่ายที่ไหน
สนใจสั่งซื้อโดยตรงที่ 02-347-1066, 081-423-9828
ราคาแผ่นละ 200 บาท ค่าจัดส่งฟรี

หมายเหตุ : ปัจจุบันมีจำหน่ายทั้งสิ้น 3 ชุด ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://sites.google.com/site/excel4hr/product
กิจกรรมของพวกเราที่ผ่านมา

โครงการห้องสมุดเพื่อน้อง รร.บ้านซับงูเหลือม จ.ลพบุรี

โครงการห้องสมุดเพื่อคนพิการ มูลนิธิส่งเสริมและพัฒนาคนพิการ ปากเกร็ด
รูปภาพหรือข้อความแสดงความเห็น เกิดจากการแสดงความคิดเห็นโดยอิสระ ของบุคคลทั่วไป และถูกส่งขึ้นแสดงในหน้า blog โดยอัตโนมัติ เจ้าของ blog มิได้มีส่วนรู้เห็น หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งไม่จำเป็นต้องร่วมรับผิดชอบ ต่อทุกความคิดเห็นใดๆ
Friends' blogs
[Add ครูเอก's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.