สมุดบันทึกผู้หญิงชอบเที่ยว "ภัทรานิตย์" -- www.atourthai.com --

"เที่ยวเมืองไทยด้วยหัวใจ แล้วคุณจะรักเมืองไทยอย่างยั่งยืน"


<<
กุมภาพันธ์ 2558
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
 
28 กุมภาพันธ์ 2558
 

ในวันที่พ่อป่วย ตอนที่ 6 เมื่อหมอไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุดเสมอไป

จากตอนที่แล้ว "ย้ายพ่อกลับมาอยู่บ้านห่างหายจากการอัพบล็อกหมวดนี่ไปเสียนาน .. ย้อนไปเมื่อวันที่ 5 ธ.ค 2556 พวกเรายังถ่ายรูปกับตุ๊เตี่ยกันสนุกสนานในวันพ่อ ผ่านไปสามเดือนเตี่ยประสบอุบัติเหตุรถมอเตอร์ไซค์ชนในถนนเส้นหมู่บ้านขณะกำลังไปงานแต่งงานใครสักคนที่เค้ารู้จักในวันที่ 9 มี.ค 2557 ด้วยความที่ไม่ใส่หมวกกันน็อคทำให้เตี่ยต้องเข้ารับการผ่าตัดสมองในวันที่ 10 มี.ค 2557 หลังจากนั้น 15 วันก็ย้ายตัวพ่อมาโรงพยาบาลประจำอำเภอ อยู่โรงพยาบาลได้เกือบเดือนก็ย้ายพ่อกลับมาบ้าน หลังจากนั้นชีวิตที่แสนเรียบง่ายของพวกเราก็เปลี่ยนไป 





"แม่" เป็นคนที่มีบทบาทกับเหตุการณ์ครั้งนี้มากที่สุด .. พวกเรากลายเป็นกองหนุน  แม่หลังจากทำใจไม่ได้กับอาการของเตี่ยก็ต้องเปลี่ยนมาเป็นคนดูแลใกล้ชิดซึ่งโชคดีมากที่แม่เป็นคุณนายสะอาด ทำให้ความหวังของเราผ่านมาได้ด้วยดี เตี่ยได้ถอดเหล็กที่คอออกในเวลาสองเดือนถัดมา ซึ่งต้องดูแลกันเป็นอย่างดีไม่ให้ติดเชื้อ ซึ่งการใช้เครื่องดูดเสมหะไม่ใช่เรื่องง่ายๆ แต่ก็ไม่ยากเกินไป พวกเราทุกคนฝึกฝนการใช้เครื่องดูดเสมหะ ซึ่งต้องบอกว่ามันน่ากลัวมาก หมอบอกว่าการดูดเสมหะด้วยเครื่องแต่ละครั้งคนไข้จะเจ็บมาก ซึ่งด้วยคำคำนี้แหละทำให้ความกลัวบังเกิด บอกตรงๆ จขบ.มือสั่นทุกครั้งที่ใช้เครื่องนี้ แต่พอผ่านไปหนึ่งเดือนเซียนมากเลย เพราะต้องทำให้เร็วยิ่งเร็วคนไข้ก็เจ็บน้อยลง 

ซึ่งเวลาสอดสายสำหรับดูดเสมหะเนี่ยเค้ามีขั้นตอนต้องใช้ถุงมือพาลเจอร์ไลท์ทุกครั้ง โดนมือเราเองที่ไม่ใส่ถุงมือก็ไม่ได้เรียกว่า โดนสิ่งที่เรียกว่า "ความไม่สะอาด" ไม่ได้เลย เชื่อไหมว่า จขบ. ใช้ทิ้งใช้ขว้างเลย บางทีโดนหรือเปล่าวะ คือเราก็ไม่แน่ใจเวลาเหวี่ยงไปมาเราก็ไม่รู้โดนอะไร ทิ้งมันก่อนเลยชัวร์สุด ดีกว่ามันไม่สะอาดแล้วสอดลงคอติดเชื้อยุ่งกว่าอีก จขบ.เข้าใจความหมายของคำว่า "วัสดุสิ้นเปลื้อง" ก็ครั้งนี้แหละ คือมันต้องตัดสินใจทิ้งจริงๆ เลยนะ เสียดายเนี่ยไม่ได้เลย มันเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก ใครไม่เจอไม่มีทางรู้เลย ลองได้เจอดิยังไงก็ต้องทิ้ง เส้นละ 5 บาท วันๆ ทิ้งไม่รู้กี่เส้นในช่วงแรก พอชำนาญแล้วก็สบายประหยัดหน่อย 




พอถอดท่อได้ก็ทำให้พวกเราตั้งเป้าหมายใหม่ในการถอดสายอาหาร ด้วยความที่เตี่ยไม่ยอมกินยาทางปาก พวกเราเลยไม่สามารถถอดสายอาหารออกได้ ประกอบกับเตี่ยไม่ยอมอ้าปากเลยทำให้ลำบากเข้าไปใหญ่เพราะน้ำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนไข้ติดเตียง ฉี่ต้องใสห้ามขุ่นเพราะจะติดเชื้อทางปัสสาวะอีก  พวกเราเลยเบี่ยงประเด็นมาให้ความสนใจกับการนั่งแทน เป็นที่น่าแปลกใจมากทำไมเตี่ยนั่งไม่ได้เอียงไปเอียงมา จนพวกเราตัดสินใจซื้อรถเข็นเพื่อหัดให้เตี่ยได้นั่ง และนี่เองก็เป็นสาเหตุให้เรารู้ว่าที่ผ่านมาพวกเราพลาดที่ไม่ให้เค้านั่งตั้งแต่ยังใส่ท่อเหล็ก 

ซึ่งพวกเราก็ทำตามนักกายภาพและหมอบอกทุกอย่าง มันพลาดได้อย่างไร? คำตอบมันพลาดตรงที่ "หมอไม่ได้ให้คำแนะนำตั้งแต่แรกว่าให้หัดให้คนไข้ลุกนั่งตั้งแต่แรก" ด้วยความกังวลเรื่องท่อที่คอ พวกเราเลยไม่กล้าให้เตี่ยลุกนั่ง ใช้เตียงปรับช่วยอย่างเดียว ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ผิดมากเพราะมันจะทำให้คนไข้ไม่สามารถลุกนั่งและยืนได้ ดังนั้นหากใครมีปัญหาในแบบเดียวกันต้องผ่าตัดสมอง หลังผ่าตัดแล้วต้องให้คนไข้ลุกนั่งด้วยตนเองนะคะ ไม่งั้นอาจจะพลาดเหมือนครอบครัวเรา ที่ปัจจุบันเตี่ยยังนั่งไม่ได้เลย 

หลังจากที่พวกเราต้องซื้อรถเข็นให้เตี่ย จึงได้รู้ว่าสิทธิ์ข้าราชการสามารถเบิกทุกสิ่งอย่างได้แต่ไม่เต็มนะคะ ตามสัดส่วนของแต่ละส่วนงาน จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้พวกเราได้ทราบความจริงต่อมาว่า "การทำกายภาพเองนั้นมันไม่เพียงพอ ต้องมาทำกายภาพที่โรงพยาบาลโดยนักกายภาพด้วย"  อ้าว .. เป็นคำถามที่งงมาก ประเด็นคือ "ทำไมหมอไม่บอกฟ่ะว่าต้องทำกายภาพด้วย" มาทีไรก็ตรวจแต่คอและให้ยาความดันกลับบ้านเท่านั้น 

พอมีเหตุเรื่องการเบิกรถเข็นต้องให้แพทย์ทำการสั่งให้เบิก เป็นช่วงเวลาที่ต้องติดต่อหลายฝ่ายมาก จึงทำให้เราได้มาพบกับแพทย์เฉพาะทางอีกท่านหนึ่ง พร้อมกับคำถามในใจว่า "ทำไมไม่ส่งเคสคนไข้ให้หมอคนนี้ต่อหลังจากถอดท่อออกแล้ว" ตอนนี้ปาเข้าไปเดือนที่ 5 แล้ว เตี่ยยังต้องนอนมาโรงบาลอยู่เลย หลังจากพบหมอคนนี้ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ต้องเคลมประกันพอดี ซึ่งเวลาเคลมประกันเนี่ย กรอกเอกสารเยอะมากซึ่งเราไม่ได้กรอกเองนะ ต้องเป็นหมอเท่านั้นที่กรอก เนื่องจากหมอคนเดิมไม่กรอกให้แล้วส่งต่อให้หมออีกคนเป็นคนประเมินแทน 

หมอคนใหม่เนื่องจากไม่เคยทราบเคสคนไข้คนนี้มาก่อน จึงได้ส่งเคสคนไข้ไปทำกายภาพดูก่อน แล้วอีกหนึ่งเดือนค่อยมาดูกันว่าจะสามารถกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้ไหม ซึ่งหมอคนใหม่ขอให้พวกเราลองก่อนแล้วถึงจะเซ็นต์เอกสารให้ ทางเราก็ไม่ได้ซีเรียสอะไรเพราะอยากให้เตี่ยหายมากกว่าได้เงินจากการประกัน เตี่ยถูกส่งตัวเป็นคนไข้ของนักกายภาพ พวกเรามาเตี่ยมาโรงพยาบาลมากที่สุดเท่าที่จะว่างพามาได้ 


และที่นี่เองพวกเราได้เจอกับนักกายภาพจากญี่ปุ่น เค้าก็พยายามสอนพวกเราให้รู้ว่าต้องทำอย่างไรเพื่อฟื้นฟูคนไข้ และจากจุดนี้เองที่ห้องนี้สร้างจุดกระจ่างอีกอย่างพวกเราได้รู้ พี่นักกายภาพบอกว่าทำไมพวกเราไม่พาไปหาหมอเฉพาะทาง งงเลย .. อ้าวแล้วที่หาอยู่เนี่ยไม่ใช่เฉพาะทางเหรอฟ่ะ? พี่เค้าแนะนำให้พวกเราไปหาแพทย์เกี่ยวกับผ่าตัดสมองโดยตรงที่เปิดคลีนิคอยู่ในเมืองราชบุรี โดยให้ชื่อมาสองท่าน 

ท่านแรกคลีนิคอยู่ตรงแถวๆ โรงพยาบาลราชบุรี พอได้คิวก็เข้าพบหมอหมอก็เขียนโน็ตมาถึงโรงพยาบาลราชบุรี แล้วบอกพวกเราให้พาพ่อไปตรวจที่โรงพยาบาลราชบุรี พวกเราก็งงๆ เอาวะไปก็ไปรอกว่าสองชั่วโมงกว่าหมอโรงพยาบาลราชบุรีเจาะเลือดไปตรวจ แล้วก็บอกว่าพ่อปกติ .. เอ่อ ตอนมาหาหมอคลีนิคเนี่ยเตี่ยก็ปกตินะ สรุปมาเพื่อเจาะเลือดแค่นั้น 


ความหวัง.. ว่าเตี่ยจะได้รับการรักษาที่ดีกว่านี้พังลงไป จนแม่ไปเจอกับเพื่อนแม่บอกว่าให้ไปหาหมอสมองสิคลีนิคอยู่ตรงโรงแรมผ่านฟ้า เอาวะ.. ไหนๆ ก็ไม่มีอะไรจะเสียแล้ว ลองดูอีกทีก็คงไม่เป็นไรมั้ง พวกเราหอบหิ้วเตี่ยมาตามหาคลีนิคที่เพื่อนแม่บอกด้วยความหวัง .. จนกระทั่งได้เจอหมอ 

หมอบอกว่าคนไข้มียาอะไรกินมั้ง จขบ.ก็บอกว่ามีแต่ยาความดัน หมอทำหน้างงเล็กน้อยแล้วบอกว่ามันต้องมียาบำรุงสมองจ่ายมาสิ ? พวกเราเลยบอกว่าตั้งแต่ผ่าตัดสมองเสร็จ เตี่ยก็มีแต่ยาความดันเนี่ยแหละ หมอก็เลยอธิบายว่าการผ่าตัดสมองเนี่ยก็ต้องใช้เวลา หกเดือนแรกจะฟื้นตัวได้เร็ว 6 เดือนถึงสองปีการพัฒนาจะช้าลง และเมื่อสองปีไปแล้วทุกอย่างคือจบแล้ว พวกเราก็นับระยะเวลากันเลย นี่ก็ห้าเดือนแล้ว นี่เรามีเวลาเหลือแค่หนึ่งเดือนใช่ไหมมมมมม 

แล้วหมอก็จ่่ายยาบำรุงสมองมาให้สองชนิด จนมาสามและสี่ชนิดในเวลาต่อมา ซึ่งเราก็ไม่ทิ้งเรื่องการทำกายภาพยังคงไปสม่ำเสมอ จนเริ่มมีคนพูดกันหนาหูมาด้วยการแชร์ประสบการณ์จากการรักษาว่า "ลองไปโรงพยาบาลดอนตูมดูสิ" ด้วยความที่มันต้องลองพวกเราเลยพาพ่อไปโรงพยาบาลดอนตูม จังหวัดนครปฐม แว่บแรกที่มาถึงประมาณช่วงบ่าย นี่มันโรงพยาบาลอะไรฟ่ะ เงียบมากไม่มีคนเลย ไหวป่ะว้า แต่มาแล้วนิถอยไม่ได้แล้ว เจ้าหน้าที่ให้พวกเราไปติดต่อตึกด้านหลัง (ด้านหน้ายังกะโรงพยาบาลร้าง แต่ด้านหลังน่าอยู่มาก) 

พวกเรามาวันที่ได้เจอกับท่าน ผอ.โรงพยาบาลพอดี ท่านก็บอกว่าต้องใช้เวลาประมาณ 3 เดือนถึงจะประเมินได้ว่าคนไข้จะรักษายังไงต่อ ซึ่งเชื่อไหมว่าตลอดเวลาการรักษากว่า 5 เดือน พวกเราไม่เข้าใจการรักษาเลย จนมาเจอกับ ผอ.ท่านอธิบายเกี่ยวกับการผ่าตัดและปัญหาที่ตามมาซึ่งจะมีผลกับคนไข้อย่างไร  บางอ้อเลยจ้า ... ทำไมหมอไม่อธิบายแบบนี้ตั้งแต่แรกฟ่ะ  แล้วยังไงต่อดีเรา ผอ.บอกว่าให้คนไข้ลองมาอยู่ที่นี่ทำตามโปรแกรมก็มีกายภาพ ฝังเข็ม นวดและทำกิจกรรม 

จขบ.กับน้องชายมองหน้ากัน มันไม่มีอะไรจะต้องเสียแล้วเวลานี่ก็ต้องเสี่ยงที่จะลอง อย่างน้อยๆ ก็ทำให้รู้ว่าเราควรหยุดการรักษาเมื่อไหร่ละวะ พวกเราเลยตัดสินใจย้ายบ้านมาอยู่โรงพยาบาล พร้อมกับไปขอฟิมล์เอ็กซ์เรย์การผ่าตัดสมองมาให้ ผอ.ดู จากฟิมล์แทบจะบอกอะไรไม่ได้เลย เพราะฟิลม์ที่สแกนไว้มีแต่ฟิลม์ก่อนผ่าหลังผ่าตัดไม่ได้มีการสแกนไว้ เลยทำให้พวกเราไม่รู้ว่าส่วนที่ผ่าตัดออกไปมากน้อยขนาดไหน แต่เท่าที่ ผอ.ดูท่านบอกว่าเตี่ยน่าจะสูญเสียการรับรู้ก็ต้องใช้เวลา  .. ไว้มาต่อตอนหน้านะคะ 



Photo and Story By
Patthanid C.




 

Create Date : 28 กุมภาพันธ์ 2558
1 comments
Last Update : 28 กุมภาพันธ์ 2558 1:58:54 น.
Counter : 2561 Pageviews.

 
 
 
 
เป็นกำลังใจให้นะคะ

 
 

โดย: ชลบุรีมามี่คลับ วันที่: 6 มีนาคม 2558 เวลา:21:35:49 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

patthanid
 
Location :
ราชบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 47 คน [?]




: การท่องเที่ยวไปในที่ต่างๆ
: คืออีกก้าวของประสบการณ์
: ทุกๆ ก้าวที่ก้าวเดิน
: มีจุดหมายที่อยากสัมผัส
: โลกใบกลมๆ ใบนี้

ติดต่อผู้เขียน
Email :: patthanids@hotmail.com
Line :: @atourthai
Facebook :: Patthanid Cheang
Fanpage :: โสดเที่ยวสนุก

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
พ.ศ.2539 ห้ามผู้ใดละเมิดโดยนำภาพถ่าย
รูปภาพ, บทความ งานเขียนต่างๆ รวมถึง
ข้อความต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดส่วนหนึ่ง
หรือทั้งหมดของข้อความใน Blog แห่งนี้
ไปใช้ทั้งโดยเผยแพร่ไม่ว่าเป็นการส่วนตัว
หรือเชิงพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็น
ลายลักษณ์อักษร มิฉะนั้นจะถูกดำเนินคดี
ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด
New Comments
[Add patthanid's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com