Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2550
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
31 พฤษภาคม 2550
 
All Blogs
 

"9 ตุลาการ"ผู้ตัดสินคดีประวัติศาสตร์

ผ่านไปแล้วสำหรับ คดีประวัติศาสตร์ “ยุบ 2 พรรคใหญ่”

พรรคประชาธิปัตย์ VS พรรคไทยรักไทย



ผล เป็นยังไง เราๆท่านๆ ก็คงรู้กันแล้วนะครับ
งานนี้ก็มีทั้ง สุข - ทุกข์ นี่แหละหนอ ชีวิต

" เพราะชีวิตคือชีวิต เมื่อมีเข้ามาก็มีเลิกไป
มีสุขสมมีผิดหวัง หัวเราะหรือหวั่นไหว เกิดขึ้นได้ทุกวัน

อยู่ที่เรียนรู้ อยู่ที่ยอมรับมัน ตามความคิดสติเราให้ทัน
อยู่กับสิ่งที่มีไม่ใช่สิ่งที่ฝัน และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด "


ต่อไป มาดูกันดีกว่านะครับว่า
"9 ตุลาการรัฐธรรมนูญ"ผู้ตัดสินคดีประวัติศาสตร์
มีใครกันบ้าง








1.นายปัญญา ถนอมรอด
(ประธานศาลฎีกา) ประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ

เกิด : 1 ก.ค. 2490
คุณวุฒิ :
- พ.ศ.2513 นิติศาสตร์ เกียรตินิยมดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประสบการณ์ :
- พ.ศ.2516 ผู้ช่วยผู้พิพากษา
- ผู้พิพากษา ศาลจังหวัดเชียงใหม่
- หัวหน้าศาล ศาลจังหวัดน่าน
- รองอธิบดีศาลแพ่ง
- ประธานแผนกคดีพาณิชย์ในศาลฎีกา
- รองประธานศาลฎีกา

นายปัญญาเป็นผู้พิพากษาศาลยุติธรรมตัดสินงานคดีเป็นหลัก เติบโตในหน้าที่การงานจนมีอาวุโสสูงสุดได้ขึ้นเป็นประธานศาลฎีกา เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2549 สืบต่อจากนายชาญชัย ลิขิตจิตถะ นอกเหนือจากการก้าวขึ้นถึงตำแหน่งสูงสุดในสายอาชีพแล้วล่าสุดนายปัญญายังได้รับรางวัล “สัญญา ธรรมศักดิ์” ปี 2550 สำหรับผลงานในทางคดีนายปัญญาได้ตัดสินวางบรรทัดฐานคดีศาลฎีกาไว้ 33 ฎีกา ผ่านประสบการณ์พิพากษาคดี “หินๆ” มามากมาย ล่าสุดเป็นผู้อนุมัติให้ “องค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกา” เปิดซองพิพากษาคดี “ค่าโง่ทางด่วน 6 พันล้าน” ที่มีปัญหาเนื่องจากเจ้าของสำนวนคือ “วิชัย วิวิตเสวี” ออกไปเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งผลสรุปก็คือสามารถรักษาผลประโยชน์ของชาติได้กว่า 6,200 ล้านบาท






2.นายอักขราทร จุฬารัตน
(ประธานศาลปกครองสูงสุด) รองประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ

เกิด : 1 เมษายน 2483
คุณวุฒิ :
- นิติศาสตรบัณฑิต (มธ.)
- เนติบัณฑิต
- ปริญญาเอกกฎหมาย มหาวิทยาลัยโรม (อิตาลี)
- ศาสตราจารย์พิเศษ คณะนิติศาสตร์ (มธ.)
- ปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (มธ.)
ประสบการณ์ :
- เลขานุการกรรมการร่างกฎหมาย
- ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
- รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
- เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
- ประธานสมาคมศาลปกครองสูงสุดระหว่างประเทศ
ราชการพิเศษในอดีต :
- กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517
- กรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2520 - 2522
- ที่ปรึกษากฎหมายของนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2514 - 2524
- สมาชิกวุฒิสภา

นักกฎหมายดีเด่นรางวัล “สัญญา ธรรมศักดิ์” ประจำปี 2549 นอกจากผลงานในฐานะผู้พิพากษาแล้วยังเขียนตำรากฎหมายมหาชนและหลักสัญญาทางปกครอง มีผลงานคดีสำคัญจำนวนมาก เช่น กรณีเพิกถอนการกระจายหุ้นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.), ไอทีวี ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เคยผ่านสายตาบุคคลผู้นี้มาแล้วทั้งสิ้น





3.หม่อมหลวง ไกรฤกษ์ เกษมสันต์
ตุลาการรัฐธรรมนูญ

เกิด : 1 พฤศจิกายน 2486
คุณวุฒิ :
- นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- เนติบัณฑิตไทย
ประวัติการรับราชการ :
- อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดแม่สะเรียง, ศาลจังหวัดลำปาง
- อธิบดีกรมคุมประพฤติ
- รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา
- ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
- ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 6
- ผู้พิพากษาศาลฎีกา
- ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
- คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.)

ม.ล.ไกรฤกษ์ หรือที่ลูกศิษย์ผู้พิพากษาเรียกว่า “อาจารย์หม่อม” มีผลงานคดีที่วางบรรทัดฐานให้กับศาลฎีกามากมาย ได้รับการยอมรับจากผู้พิพากษาทั่วประเทศว่าใจซื่อมือสะอาด ตรงไปตรงมา และมีความกล้าหาญในการตัดสินคดี






4.นายสมชาย พงษธา

ตุลาการรัฐธรรมนูญ
ประวัติการรับราชการ :
- ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดชลบุรี, ศาลจังหวัดทุ่งสง, ศาลจังหวัด สมุทรปราการ
- รองอธิบดีกรมบังคับคดี
- รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง
- ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค 1
- ผู้พิพากษาศาลฎีกา
- ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา





5.นายกิติศักดิ์ กิติคุณไพโรจน์
ตุลาการรัฐธรรมนูญ

ประวัติการรับราชการ :
- ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดสงขลา, ศาลแขวงสงขลา
- รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา
- ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
- ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลอุทธรณ์
- รองประธานศาลอุทธรณ์
- ผู้พิพากษาศาลฎีกา





6.นายธานิศ เกศวพิทักษ์
ตุลาการรัฐธรรมนูญ

ประวัติการรับราชการ :
- อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- อัยการผู้ช่วย
- ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดมุกดาหาร
- ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลภาษีอากรกลาง
- ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
- เลขานุการศาลฎีกา
- รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งธนบุรี
- ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์

มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในหมู่ผู้พิพากษา ถือเป็นปรมาจารย์ทางประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาผู้แต่งตำรา ป.วิอาญาและเป็นอาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ เนติบัณฑิตยสภา เขียนคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นบรรทัดฐานไว้ 86 คดี นอกจากนี้ยังเคยเป็นเลขานุการศาลฎีกาในยุคนายศักดา โมกขมรรคกุล อดีตประธานศาลฎีกาและอดีตองคมนตรี







7.นายนุรักษ์ มาประณีต
ตุลาการรัฐธรรมนูญ

ประวัติการรับราชการ :
- อัยการผู้ช่วย
- ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดไชยา, ศาลจังหวัดภูเก็ต
- รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค 6
- ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค 8
- ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลอุทธรณ์ภาค 7

ผู้พิพากษาที่เคยเป็นอัยการ เป็นเพื่อนร่วมรุ่นวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรกับ พล.อ.วินัย ภัททิยกุล เลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ทั้งยังเป็นผู้เสนอแนวคิดแหวกแนว เช่น ลงมติสนับสนุนให้นายกรัฐมนตรีสามารถมาจากคนนอกได้





8.นายจรัญ หัตถกรรม
ตุลาการรัฐธรรมนูญ

เกิด : 10 มกราคม 2481
คุณวุฒิ :
- พ.ศ.2506 นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พ.ศ.2507 เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
- พ.ศ.2534 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 33
ประวัติการรับราชการ :
- ผู้ช่วยผู้พิพากษา (18 ธันวาคม 2510 ถึง 18 ธันวาคม 2511)
- ผู้พิพากษาประจำกระทรวง
- ผู้พิพากษาศาลจังหวัดปราจีนบุรี
- ผู้พิพากษาประจำกระทรวงช่วยราชการศาลอุทธรณ์
- ผู้พิพากษาศาลแขวงธนบุรี (19 ธันวาคม 2511 ถึง 30 กันยายน 2519)
- ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำกระทรวง
- ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดไชยา
- ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดปทุมธานี (1 ตุลาคม 2519 ถึง 31 มีนาคม 2526)
- ผู้พิพากษาศาลแพ่งและผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลแพ่ง (1 เมษายน 2526 ถึง 30 เมษายน 2530)
- รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค 8 และภาค 6 (1 ตุลาคม 2530 ถึง 16 เมษายน 25 32)
- รองปลัดกระทรวงยุติธรรม (17 เมษายน 2532 ถึง 17 พฤศจิกายน 2535)
- รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงยุติธรรมและเป็นคณะกรรมการตุลาการโดยตำแหน่ง (2 ตุลาคม 2534 ถึง 6 ธันวาคม 2534) (7 ตุลาคม 2535 ถึง 17 พฤศจิกายน 2535)
- รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง (18 พฤศจิกายน 2535 ถึง 3 ตุลาคม 2536)
- ผู้พิพากษาศาลฎีกาและผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา (4 ตุลาคม 2536 ถึง 30 กันยายน 2542)
- ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอาญา (1 ตุลาคม 2542 ถึง 21 กุมภาพันธ์ 2543)
- ตุลาการศาลปกครองสูงสุด(27 มีนาคม 2543 ถึง ปัจจุบัน)

นายจรัญ อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาที่ย้ายมาศาลปกครองสูงสุด ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้พิพากษาสุดเฮี้ยบ มีผลงานโด่งดัง นั่นคือ เพิกถอนการกระจายหุ้น กฟผ. ตามพระราชกฤษฎีกาการแปรรูปกฟผ.ที่ผ่านคณะรัฐมนตรีสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทั้งยังเป็นหนึ่งในตุลาการผู้ตัดสิน คดีเพิกถอนคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการกรณีสัมปทานไอทีวี ซึ่งส่งผลให้บริษัทไอทีวีต้องจ่ายค่าสัมปทานและค่าปรับมูลค่ากว่าแสนล้านบาทให้กับสำนักนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ยังเคยปะทะคารมกับนายสมศักดิ์ โตรักษา ทนายความของพรรคไทยรักไทยในศาลระหว่างการพิจารณาคดียุบพรรคด้วย






9.นายวิชัย ชื่นชมพูนุท
ตุลาการรัฐธรรมนูญ

เกิด : 1 พฤศจิกายน 2486
คุณวุฒิ :
- นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- เนติบัณฑิตไทย
ประวัติการรับราชการ :
- ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์
- ผู้พิพากษาศาลฎีกา ศาลฎีกา
- ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ศาลฎีกา
- ประธานแผนกคดีภาษีอากรในศาลฎีกา







= อีกด้านหนึ่ง =




รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์
แห่งคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ดร.วรเจตน์ ตอกหน้าศาลรธน. ตัดสินส่งเดช ทำลายหลักนิติศาสตร์



รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์กับรายการข่าวภาคเที่ยงของสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี กรณีตุลาการรัฐธรรมนูญมีคำพิพากษายุบพรรคและตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี ของกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า พรรคพลังแผ่นดินไทย และพรรคพัฒนาชาติไทย ว่า เขาได้เคยเขียนบทความแสดงความเห็นไว้เมื่อเดือนตุลาคม 49 หลังจากประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ 27 แล้วว่า การตรากฎหมายย้อนหลังซึ่งส่งผลร้ายต่อบุคคลไม่สามารถกระทำได้

รศ.ดร.วรเจตน์ กล่าวต่อว่า แม้วันนี้เมื่อตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้ว ความเห็นของเขายังคงเป็นอย่างเดิม เนื่องจากกฎหมายที่บังคับใช้ในขณะที่ระบุว่ามีการกระทำผิดนั้น กำหนดผลร้ายที่สุดเพียงแค่ว่า ห้ามกรรมการบริหารพรรคที่ถูกยุบพรรคตั้งพรรคการเมืองหรือมีส่วนร่วมตั้งพรรคขึ้นใหม่ นอกจากนี้ คดีนี้ยังเป็นคดีที่ค้างอยู่ในศาลรัฐธรรมนูญก่อนการยึดอำนาจของ คปค. และประกาศของ คปค. ที่ให้เพิ่มโทษตัดสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรค 5 ปี

ต่อข้อถกเถียงว่าระบบกฎหมายตราย้อนหลังได้หรือไม่นั้น รศ.ดร.วรเจตน์ มีความเห็นว่า โทษทั้งหลายที่เป็นผลร้ายต่อบุคคล ไม่สามารถตราเพื่อบังคับย้อนหลังได้ การตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปีเป็นโทษรุนแรงที่พรากความเป็นพลเมืองไปจากบุคคลที่ถูกลงโทษ หากต้องการกำหนดโทษควรตรากฎหมายขึ้นก่อน ไม่ใช่ให้เหตุการณ์เกิดขึ้น เปลี่ยนแปลงไม่ได้และจบไปแล้ว

หากการตรากฎหมายย้อนหลังทำได้แม้ไม่ใช่โทษทางอาญา เมื่อมีบุคคลทำผิด อาจมีโทษได้หลายประการ อาทิ ลดบำเหน็จบำนาญ กักบริเวณ หรือปรับเป็นแสน ความยุติธรรมของกฎหมายจะไม่มี จะไม่ใช่เรื่องของเหตุผล แต่เป็นเรื่องอำนาจ ถ้าเช่นนั้นก็ไม่ควรศึกษานิติศาสตร์กัน เพราะเขียนกฎหมายอย่างไรก็ได้” รศ.ดร.วรเจตน์ กล่าวและว่า เขามีความเห็นทางวิชาการว่า คำวินิจฉัยส่วนนี้เป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้อง ตัดสินไม่ได้

ผู้สื่อข่าวถามว่า คิดว่าเรื่องนี้จะเป็นบรรทัดฐานหรือไม่ รศ.ดร.วรเจตน์ ตอบว่า ไม่ โดยเห็นว่ากฎหมายมีผลไปข้างหน้า นอกจากนี้ ในประกาศ คปค. ก็ไม่ได้ประกาศเอาไว้ว่าจะมีผลย้อนหลัง จึงต้องใช้ตั้งแต่ 30 ก.ย. ที่ออกประกาศ

รศ.ดร.วรเจตน์ กล่าวว่า ไม่คิดว่า (การตัดสินครั้งนี้) เป็นบรรทัดฐาน เป็นการตัดสินเฉพาะในคดีนี้ เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญที่ตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว ซึ่งรับโอนคดีมาจากศาลรัฐธรรมนูญซึ่งสิ้นสภาพไปหลังรัฐธรรมนูญ 40 ถูกฉีก ซึ่งไม่ถูกหลักแต่แรกอยู่แล้ว

ทั้งนี้ เห็นว่า การตัดสินครั้งนี้น่าจะส่งผลต่อการเรียนการสอน เพราะต่อไปจะมีนักกฎหมายจำนวนหนึ่ง เชื่อ และสอนว่า การตรากฎหมายย้อนหลังทำได้หากไม่ใช่โทษอาญา

ด้วยความเคารพ มันอธิบายไม่ได้ มันมีโทษที่แรงกว่าโทษอาญาเสียอีก แม้แต่การปรับเป็นเงิน 500 บาท เรายังรับกันว่าตรากฎหมายย้อนหลังไม่ได้ แล้วทำไมโทษนี้ถึงยอมรับได้ ถ้าเกิดรับว่า ตรากฎหมายย้อนหลังได้ ก็ต้องบอกว่า โทษอาญาก็ทำได้ด้วย และถ้าโทษอาญารับว่าทำไม่ได้ โทษที่มันหนักกว่านั้นตามสามัญสำนึกธรรมดายิ่งต้องทำไม่ได้ รศ.ดร.วรเจตน์ กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า กรรมการบริหารพรรคที่ถูกตัดสิทธิเลือกตั้งจะสามารถยื่นอุทธรณ์ได้หรือไม่ รศ.ดร.วรเจตน์ กล่าวว่า จากตัวกฎหมาย ถ้าเรายอมรับว่า รัฐธรรมนูญชั่วคราวเป็นกฎหมายสูงสุดและมีสภาพบังคับ ถ้ายอมรับว่าตุลาการรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาคดี สภาพทางกฎหมายก็จะเด็ดขาดไป ไม่สามารถอุทธรณ์ได้

(คดี) เป็นอันปิดตายแล้ว แม้เป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรมก็ตาม จึงเรียนว่ากระทบกับทางหลักนิติศาสตร์เป็นสำคัญ ส่วนตัวเคารพตุลาการรัฐธรรมนูญ แต่ยอมรับคำวินิจฉัยเรื่องนี้ไม่ได้ โดยเฉพาะประเด็นตัดสิทธิเลือกตั้งย้อนหลังของทุกพรรค รศ.ดร.วรเจตน์ กล่าว








๐'0 To ... คุณจาตุรนต์ ฉายแสง


When life comes to change, though sometimes we are not prepared for it.


Happiness, sadness, who knows when they come and how much we can take it.


Because life is life.Things have come and gone.
Gratification, Gloom, Laugh, or Anxiety, they could have happened all the time.


It is about learning and accepting it, be sensible and conscious.
Stay with what you have not what you wish, and do your best.

Don't overjoy your happiness 'cause sorrow won't be far away.
So that you can face when the pain comes







ป.ล. ขอคาราวะ ท่านตุลาการศาลรัฐธรรมนูญสองท่านที่พูดได้เป็นสิบชั่วโมงไม่หยุดเลย


ป.ล.สองจุด อดดู กาษานาคา เลย

Credit : www.manager.co.th








 

Create Date : 31 พฤษภาคม 2550
8 comments
Last Update : 3 มิถุนายน 2550 13:36:15 น.
Counter : 1154 Pageviews.

 

ขอบคุณครับ
เป็นการตัดสินที่เที่ยงธรรมจริงๆ

 

โดย: REX-REX 31 พฤษภาคม 2550 18:53:20 น.  

 

เข้ามาชมครับ

 

โดย: mambococonut 31 พฤษภาคม 2550 19:02:21 น.  

 

ทันเหตุการณ์จริงๆ

เมื่อคืนดูจนดึกเลย

 

โดย: จันทร์น้อย 31 พฤษภาคม 2550 20:18:10 น.  

 

เห็นควรด้วย

 

โดย: null (ลิงจ๊ากจ๊าก ) 1 มิถุนายน 2550 16:10:52 น.  

 

มาดูนักการเมืองงงงงงงงงับ

 

โดย: บุ๊ค (devil_za101 ) 2 มิถุนายน 2550 11:00:44 น.  

 

I also share the same position as Professor Worajet as well sir!

 

โดย: POL_US 3 มิถุนายน 2550 0:28:54 น.  

 

เห็นท่านพูดนานขนาดนั้น ยังเจ็บคอแทนเลย

 

โดย: tpipe 3 มิถุนายน 2550 9:25:00 น.  

 

การตัดสินที่มีความยุติธรรม ย่อมยิ่งใหญ่กว่าทฤษฎีเสมอ..

 

โดย: .. IP: 202.44.70.52 22 มีนาคม 2554 14:43:54 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


นิรมาณ
Location :
นครพนม Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]









อันชีวิตคนเราช่างสั้นนัก
ต้องรู้จักทำประโยชน์ก่อนจะสาย
ทิ้งไว้เป็นอนุสรณ์หลังความตาย
มีความหมายคงอยู่ ตลอดไป


อันนินทากาเลเหมือนเทน้ำ
ไม่ชอกช้ำเหมือนเอามีดมากรีดหิน
แม้นองค์พระปฏิมายังราคิน
คนเดินดินหรือจะสิ้นคนนินทา








"..ที่ใดมีรักที่นั่นมีทุกข์.."
"..จงมีตนเป็นเกาะ จงมีตนเป็นที่พึ่ง.."
"..จงมีธรรมเป็นเกาะ จงมีธรรมเป็นที่พึ่ง.."


++++++++++
น้องกิ๊กลิง
น้องเพนกี้
น้องลิงกี้
X
X
X
Friends' blogs
[Add นิรมาณ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.