" เรื่องราวต่างๆเป็นดั่งทองคำในเทพนิยาย เมื่อคุณแจกจ่ายไปมากขึ้น คุณก็ได้รับกลับมามากขึ้น " พอลลี แมคไกวร์
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2556
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
28 สิงหาคม 2556
 
All Blogs
 
045. ความเป็นมา การเจรจาจัดทำความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก.

ความเป็นมา

การเจรจาจัดทำความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก

(Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement : TPP)


ความเป็นมา

ความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิก (Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement : TPP) มีจุดเริ่มต้นมาจากข้อเสนอของสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2541 ที่ต้องการให้มีการเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศสมาชิกในกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิค หรือ เอเปค (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC) [1] ในลักษณะที่เป็นความตกลงการค้าที่ให้สิทธิพิเศษเฉพาะกลุ่ม (Preferential Trade Agreement : PTA) โดยมีการหารือกันระหว่าง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ ชีลี และสหรัฐฯ แต่ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน ทำให้สหรัฐฯ ออสเตรเลีย และชีลีไม่มีการดำเนินการต่อในเรื่องนี้ จึงเหลือเพียง 2 ประเทศ คือ นิวซีแลนด์ และสิงคโปร์ ที่มีการเจรจาระดับทวิภาคีต่อและเป็นผลสำเร็จ ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นระหว่างนิวซีแลนด์และสิงคโปร์ (Agreement on New Zealand-Singapore Closer Economic Partnership: ANZSCEP) ซึ่งมีการลงนามเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2543 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2544


หลังจากนั้น เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2545 ประเทศชิลีได้ประกาศเข้าร่วมเจรจาระดับไตรภาคี (Trilateral PTA) กับทั้ง 2 ประเทศ เพื่อขยายความตกลง ANZSCEP ให้เป็นความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นระหว่าง 3 ประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Three Closer Economic Partnership Agreement: P3) ซึ่งมีการเจรจาทั้งหมด 5 รอบ รอบแรกเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 24-26 กันยายน 2546 ณ ประเทศสิงคโปร์ แต่ในปลายปีเดียวกัน ชิลีขอหยุดพักการเจรจาชั่วคราว เนื่องจากอยู่ระหว่างการหารือกับภาคเอกชน หลังจากนั้น การเจรจารอบที่ 2 จึงได้เริ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อวันที่ 18-21 กรกฎาคม 2547 ณ ประเทศสหรัฐฯ โดยประเทศบรูไนได้รับเชิญให้เข้าร่วมในฐานะผู้สังเกตการณ์ ตามมาด้วยรอบที่ 3 เมื่อวันที่ 13-16 ธันวาคม 2004 ณ ประเทศชิลี และรอบที่ 4 เมื่อวันที่ 7-11 มีนาคม 2548 ณ ประเทศนิวซีแลนด์ จนในที่สุด บรูไนได้เข้าร่วมการเจรจาอย่างเต็มรูปแบบในรอบสุดท้ายเมื่อวันที่ 18-23 เมษายน 2548 ณ ประเทศสิงค์โปร์ และเข้าร่วมเป็นสมาชิกประเทศที่ 4 อย่างเป็นทางการในเดือนต่อมา [2] ดังนั้น ความตกลง P3 จึงได้กลายเป็นที่รู้จักในชื่อ “ความตกลง P4” (Pacific Four)


เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2548 ทั้ง 4 ประเทศได้ประกาศสรุปผลการเจรจาความตกลง P4 ในช่วงการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค ณ ประเทศเกาหลีใต้ และมีการลงนาม ณ ประเทศนิวซีแลนด์ โดยมีผลบังคับใช้ในความตกลงฯ ของแต่ละประเทศ ดังนี้

ตารางที่ 1:

วันที่มีการลงนามและวันที่มีผลบังคับใช้ของประเทศสมาชิกความตกลง P4

วันที่ นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ ชิลี บรูไน

วันที่ลงนาม 18 ก.ค 48 18 ก.ค 48 18 ก.ค 48 2 ส.ค.48

วันที่มีผลบังคับใช้ 28 พ.ค.49 28 พ.ค.49 8 พ.ย.49 12 ก.ค.46


เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2552 ระหว่างเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำ APEC ณ ประเทศสิงคโปร์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ส่งสัญญาณว่า พร้อมที่จะเริ่มหารือเต็มรูปแบบกับประเทศสมาชิก P4 เพื่อขยายการเจรจาออกไปเป็นความตกลง TPP


เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2552 ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (Ambassador Ron Kirk) ได้มีหนังสือถึงประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ (นาง Nancy Pelosi) และประธานวุฒิสภา (วุฒิสมาชิก Robert C. Byrd) เพื่อแจ้งความประสงค์ของสหรัฐฯ ต่อรัฐสภาที่จะเข้าร่วมการเจรจาความตกลง TPP นอกจากสหรัฐฯ ยังมีประเทศที่สนใจเข้าร่วมอีกรวม 3 ประเทศได้แก่ ออสเตรเลีย เปรู และเวียดนาม ต่อมา เมื่อเดือนสิงหาคม 2553 มาเลเซียตัดสินใจเข้าร่วมเจรจาความตกลง TPP ทำให้ความตกลง TPP มีสมาชิกทั้งสิ้น 9 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐฯ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ชิลี เปรู สิงคโปร์ บรูไน เวียดนาม และมาเลเซีย



การประชุมสุดยอดประเทศสมาชิก TPP ครั้งที่ 1 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553 ณ ประเทศญี่ปุ่น ผู้นำทั้ง 9 ประเทศสมาชิก ได้เห็นชอบร่วมกันกำหนดเป้าหมายให้การเจรจาแล้วเสร็จในปี 2554 แต่การเจรจาไม่สามารถสำเร็จตามเป้าหมายได้ การประชุมสุดยอด TPP เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2554 ณ ประเทศสหรัฐ ผู้นำของประเทศสมาชิก TPP จึงกำหนดเป้าหมายใหม่ว่า จะเร่งในการบรรลุข้อตกลง TPP ให้ได้อย่างรวดเร็ว (คาดว่าในปี 2555)



ทั้งนี้ สมาชิกปัจจุบันของความตกลง TPP ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่ไทยมี FTA อยู่แล้ว ได้แก่ ประเทศสมาชิกอาเซียน (บรูไน สิงคโปร์ มาเลเซีย และเวียดนาม) ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และเปรู รวมทั้งชิลี ที่ไทยได้เริ่มเจรจา FTA แล้วเมื่อเดือนพฤษภาคม 2554 ส่วนสหรัฐฯ ได้หยุดการเจรจา FTA ไปตั้งแต่ปี 2549


ฝ่ายบริหารงานเอเปค
สำนักยุทธศาสตร์การเจรจาการค้า
กุมภาพันธ์ 2555


[1] APEC ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2532 และปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 21 เขตเศรษฐกิจ โดยมีออสเตรเลีย บรูไน แคนาดา อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย สหรัฐฯ (เข้าร่วมเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2532) จีน ฮ่องกง ไทเป (เข้าร่วมเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 1991) เม็กซิโก ปาปัวนิวกินี (เข้าร่วมเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2536) ชิลี (เข้าร่วมเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2537) เปรู รัสเซีย เวียดนาม (เข้าร่วมเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2541)




[2] Letter from Minister of Industry and Primary Resources of Brunei Darussalam to Minister for Trade Negotiations of New Zealand on 23 May 2558


Source: //www.dtn.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=7694%3A2012-02-01-02-07-31&catid=377%3Atpp&Itemid=838&lang=th

-----------------------------------------------------------------------------






Editor's Picks

ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement - TPP



ภูมิหลัง

ความตกลง Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement หรือ TPP เริ่มการเจรจาโดย 3 เขตเศรษฐกิจ คือ นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ และชิลี เมื่อเดือน ก.ค. 2548 ต่อมาบรูไนที่เคยเข้าร่วมเจรจาในฐานะผู้สังเกตการณ์ ได้ลงนามเข้าร่วมเจรจาในเดือน ส.ค. 2548 สมาชิกทั้ง 4 สรุปผลการเจรจาได้ในปี 2548 และ TPP มีผลใช้บังคับในปี 2549 ความตกลงมีระดับการเปิดเสรีสูง เพราะสินค้าร้อยละ 90 จะถูกลดภาษีเป็นร้อยละ 0 ทันที ส่วนสินค้าที่เหลือทั้งหมดจะลดภาษีเป็น 0 ภานในปี 2558 สำหรับนิวซีแลนด์และบรูไน และชิลี ภายในปี 2560 สำหรับกสรเปิดเสรีภาคบริการใช้หลัก negative list approach จึงนับเป็นความตกลงที่มีระดับการเปิดเสรีสูง และยังวางรากฐานด้านมาตรฐานกฎเกณฑ์ต่างๆ ในระดับสูงเช่นกัน

TPP แบ่งออกเป็น 24 กลุ่ม รวมไปถึงการค้าสินค้า กฎถิ่นกำเนิดสินค้า พิธีการศุลกากร มาตรการเยียวยาทางการค้า มาตรการอนามัยและสุขอนามัยพืช มาตรการอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า นโยบายการแข่งขัน สิทธิทรัพย์สินทางปัญญา การจัดซื้อจัดจ้างโดยภาครัฐ การค้าบริการ การเข้าเมืองชั่วคราวของนักธุรกิจ ความโปร่งใส การระงับข้อพิพาท หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ การลงทุน บริการการเงิน ความตกลงความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม และความร่วมมือด้านแรงงาน โดยมีข้อกำหนดว่า จะไม่สามารถเข้าร่วมเป็นสมาชิกได้ หากยกเว้นความร่วมมือในด้านแรงงานและสิ่งแวดล้อม

ขณะนี้ TPP อยู่ระหว่างการเจรจาใหม่ ซึ่งได้ผ่านไปแล้ว 3 ครั้ง รอบแรก เมื่อเดือน มี.ค. 2553 ที่นครเมลเบิร์น ออสเตรเลีย เพื่อพิจารณาให้ TPP เป็น FTA แห่งศตวรรษที่ 21 ที่เบ็ดเสร็จ มีคุณภาพสูง และเปิดให้ประเทศอื่นๆ เข้าร่วมเพิ่มเติม รอบสอง เมื่อเดือน มิ.ย. 2553 ที่นครซานฟรานซิสโก สหรัฐฯ เพื่อพิจารณาเรื่องการเปิดตลาด และความสัมพันธ์ระหว่าง TPP และ FTAs ของประเทศคู่เจรจา รอบสาม เดือน ต.ค. 2553 ที่บรูไน เพื่อพิจารณาเรื่อง cross-cutting อาทิ ความเชื่อมโยง การปฏิบัติตามมาตรฐานและกฎระเบียบเดียวกันทั่วภูมิภาค สำหรับรอบต่อไปจะจัดขึ้นประมาณเดือน ธ.ค. 2553 ที่นครโอ๊คแลนด์ นิวซีแลนด์



สมาชิก TPP






เมื่อเดือน ต.ค. 2553 ในระหว่างการเจรจา TPP รอบล่าสุด (รอบที่ 3) ที่ประเทศบรูไน ออสเตรเลีย เปรู สหรัฐอเมริกา เวียดนาม และมาเลเซีย ได้เข้าเป็นสมาชิก TPP ทำให้ในขณะนี้ TPP มีสมาชิกทั้งสิ้น 9 ประเทศ นอกจากนี้ ทราบว่า แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลี จีน ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ได้แสดงความสนใจเข้าร่วมกระบวนการเจรจากับสมาชิก และเป็ไปได้ว่า จีนไทดป จะเข้าสู่กระบวนการเจรจา TPP ซึ่งหมายความว่า ขณะนี้ ทุกประเทศในอาเซียนที่เป็นสมาชิกเอเปค ได้แสดงความสนใจหรือเข้าสู่กระบวนการเจรจา TPP แล้ว ยกเว้นประเทศไทยเท่านั้น ส่วนในเอเปค สมาชิกที่ยังไม่ได้แสดงความสนใจที่ 5 เขตเศรษบกิจ คือ รัสเซีย ฮ่องกง ปาปัวนิวกินี เม็กซิโก และไทย

•คอสตาริกา โคลอมเบีย และอุรุกวัย ได้มีหนังสือแสดงเจตจำนงเข้าร่วมเป็นสมาชิก แต่สมาชิก TPP ยังไม่สามารถหาข้อสรุปสำหรับ 3 ประเทศนี้ได้

•ญี่ปุ่นได้ประกาศท่าทีการเข้าร่วมกระบวนการหารือ (consultation) ของ TPP อย่างเป้นทางการเมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2553 ระหว่างการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคครั้งสุดท้าย (APEC Concluding Senior Officials’ Meeting) ที่นครโยโกฮามา ซึ่งญี่ปุ่นเป้นเจ้าภาพก่อนการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ด้วย



กระบวนการการเข้าร่วม TPP

TPP เปิดรับทุกเขตเศรษฐกิจที่ประสงค์จะเข้าร่วม แต่เขตเศรษฐกิจที่จะเข้าร่วมต้องผ่านกระบวนการเจรจากับสมาชิกดั้งเดิมเป็นรายประเทศ และแสดงความมุ่งมั่นในการปฏฺบัติตามข้อกำหนดของ TPP เมื่อสมาชิกดั้งเดิมเห็นชอบ จึงเข้าเป็นสมาชิกได้ ทั้งนี้ ในขณะนี้ TPP ไม่มี associated member หรือ observer แล้ว เพราะเห็นว่า กระบวนการเข้าเป็น associated member ก็จะต้องผ่านกระบวนการเจรจากับสมาชิกเช่นเดียวกับการเข้าเป็นสมาชิกปกติ เขตเศรษฐกิจที่สนใจจึงน่าจะสมัครเข้าเป็นสมาชิกมากกว่า associated member เพราะเป็นกระบวนการเดียวกัน


TPP กับไทย

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศอยู่ระหว่างการศึกษาผลกระทบของ TPP ในฐานะเป็นหนึ่งในความตกลงแม่บทสำหรับการจัดทำความตกลงด้านการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก ทั้งนี้ น่าจะมีหลายประเด็นที่อ่อนไหวต่อไทย อาทิ ทรัพย์สินทางปัญญา แรงงาน สิ่งแวดล้อม การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ นโยบายการแข่งขัน การระงับข้อพิพาท นอกจากนี้ ผู้แทนคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้เคยให้ข้อสังเกตกับกระทรวงการต่างประเทศเมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2553 เนื่องในโอกาสเข้าพบรองปลัดกระทรวงฯ ว่า ภาคเอกชนไทย โดยเฉพาะสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มีความกังวลเกี่ยวกับ TPP เพราะจะทำให้การแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมสูงขึ้นมาก และจะทำให้มาตรฐานต่างๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมสูงขึ้นตามไปด้วย เช่น สิ่งแวดล้อม แรงงาน ซึ่งจะทำให้ภาคเอกชนไทยแข่งขันได้ยาก

ขณะนี้ ไทยให้ความสำคัญสูงสุดกับการรวมตัวในกรอบอาเซียน และต้องการผลักดันให้อาเซียนคงความเป็นศูนย์กลาง (ASEAN Centrality)


ความคืบหน้าในหลังการเจรจา Trans-Pacific Partnership รอบที่ 3

หลังการจัดประชุมกรอบเจรจาความตกลง Trans-Pacific Partnership (TPP) รอบที่ 3 เมื่อต้นเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา ณ ประเทศบรูไน มีความคืบหน้าในการเจรจา ดังนี้
1.ขณะนี้ ประเทศญี่ปุ่น กำลังพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่จะเข้าร่วมในการเจรจา TPP ซึ่งการพิจารณาของญี่ปุ่นนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการทบทวนนโยบายด้านการค้าของญี่ปุ่นในภาพรวม โดยได้มีการริเริ่มหารือกันภายในกับสหรัฐฯ แล้ว ซึ่งสหรัฐฯ ได้แสดงความยินดีที่ญี่ปุ่นให้ความสนใจในกรอบความตกลง และถือว่าเป็นการเปลี่ยนท่าทีของญี่ปุ่น อย่างไรก็ดี การที่ประเทศสมาชิก TPP จะยอมรับญี่ปุ่นเข้าเป็นคู่เจรจานั้น ญี่ปุ่นจะต้องแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจ (commitment) และความพร้อมที่จะเจรจาในทุกสาขา รวมถึงการพิจารณาการเปิดตลาดสินค้าเกษตรให้มากกว่านี้ ทั้งนี้ การเข้าร่วมการเจรจา TPP อาจจะส่งผลให้ต้องเลื่อนกำหนดการเจรจาให้แล้วเสร็จ จากเดิมที่ตั้งเป้าไว้ที่เดือน พ.ย. 2554 ออกไปอีก


2. ประเทศแคนาดา ซึ่งแสดงความสนใจเข้าร่วมการเจรจา แต่ประเทศมาชิก TPP แจ้งว่า ยังไม่พร้อมที่จะรับแคนาดาเข้าเป็นคู่เจรจา เนื่องจากยังมีประเด็นการค้าที่ค้างคาระหว่างแคนาดากับประเทศสมาชิก TPP อีกหลายประเด็นที่จะต้องได้รับการแก้ไขเสียก่อน อาทิ การเปิดตลาดสินค้าเกษตรของแคนาดา โดยเฉพาะสาขา dairy และ poultry นอกจากนั้น ยังมีประเด็นเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งแคนาดาถูกจัดอันดับให้เป็น Priority Watch List ในรายงาน Special 301 ของสหรัฐฯ


3. ประเทศมาเลเซีย ในระกว่างการเจรจารอบที่ 3 นี้ ประเทศสมาชิก TPP ได้ตกลงรับมาเลเซียเข้าเป็นคู่เจรจาแล้ว และมาเลเซียได้เข้าร่วมการเจรจาในรอบที่ 3 ด้วย นอกจากนั้น สมาชิก TPP ได้แจ้งให้เวียดนามตัดสินใจก่อนการประชุมในรอบต่อไปว่า จะเข้าร่วมการเจรจาอย่างเต็มตัวหรือไม่


4. นาง Barbara Weisel, Assistant USTR ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายสหรัฐฯ กล่าวเมื่อปลายเดือน ต.ค. ที่ผ่านมาว่า การที่จะรับสมาชิกใหม่ในชั้นนี้อาจจะลำบาก เนื่องจากการเจรจาได้ดำเนินมาพอสมควรแล้ว ประเทศที่สนใจจะเข้าร่วมจะต้องมีความพร้อมที่จะเจรจา และพร้อมที่จะรับพันธะข้อตกลงที่มีมาตรฐานระดับสูง (high-quality) ประเทศใดที่ยังไม่พร้อมควรรอไปก่อน

ทั้งนี้ คาดการณ์ว่า รัฐสภาในสมัยต่อไปที่จะเริ่มขึ้นในเดือน ม.ค. 2554 และมีพรรครีพับพลิกันครองเสียงข้างมากนั้น น่าจะมีแรงผลักดันให้รัฐสภาสหรัฐฯ เร่งพิจารณาอนุมัติความตกลงการค้าเสรีที่ได้ลงนามไว้กับเกาหลีใต้ ปานามา และโคลอมเบีย โดยเร็ว รวมทั้งจะสนับสนุนการเจรจา TPP ประกอบกับฝ่ายบริหารที่จะพยายามลักดันการเจรจา TPP ให้สำเร็จโดยเร็ว เนื่องจากเห็นว่า TPP จะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และการว่างงาน ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของการพ่ายแพ้การเลือกตั้ง Mid-Term ของพรรคเดโมแครต

อนึ่ง นอกเหนือจากผลประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจและการค้าแล้ว สหรัฐฯ มองว่า TPP จะเป็นกรอบความร่วมมือหลักที่เป็นรูปธรรมในการดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิในระยะต่อไป




แนวโน้มทิศทางของ TPP ในอนาคต

แม้สหรัฐฯ จะปฏิเสธ แต่สมาชิกเอเปคหลายเขตเศรษฐกิจมีความเห็นตรงกันว่า สหรัฐฯ พยายามจะผลักดันให้การเจรจา TPP เสร็จสิ้นในปี 2554 เพื่อเป็นผลงานชิ้นสำคัญในปีที่สหรัฐฯ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปคในปี 2554 และเป็นผลงานกลางสมัยของปธน. โอบามาด้วย อย่างไรก็ตา คู่เจรจาตระหนักดีว่า เป็นไปได้ยาก

ในระหว่างการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 18 ระหว่างวันที่ 13-14 พ.ย. 2553 ผู้นำจากนิวซีแลนด์ สิงคโปร์ ออสเตรเลีย เปรู สหรัฐอเมริกา และแคนาดา มีท่าทีชัดเจนว่า TPP น่าจะเป็นกลไกหลักที่จะนำไปสู่ความตกลงการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก ส่วนเวียดนามและฟิลิปปินส์ให้ความสำคัญกับอาเซียนเป็นหลัก

หากประเทศที่แสดงความสนใจเข้าร่วม TPP ทั้งหมด (รวมทั้งจีน) เข้าเป็นสมาชิก TPP ในท้ายที่สุด จะส่งผลให้ TPP กลายเป็นโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญของโลก เนื่องจาก GDP ของประเทศสมาชิก TPP รวมกันจะเป็นเท่ากับครึ่งหนึ่งของ GDP โลก และมีปริมาณการค้า (trade volume) เกินกว่า 1 ใน 3 ของโลก ซึ่งจะเปลี่ยนให้เอเชีย-แปซิฟิก เป็นตลาดขนาดใหญ่ที่แข็งแกร่งอย่างมาก และเกิดความน่าเชื่อถือมากกว่าการเป็นเพียงความร่วมมือแบบเอเปค (แบบสมัครใจ) เพราะแต่ละสมาชิกมีพันธกรณีที่ชัดเจนที่จะต้องปฏิบัติตตาม ซึ่งหากเกิดขึ้นจริง ก็จะเหลือขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจเพียง 2 ขั้ว คือ ขั้วแรกภายใต้ TPP และขั้วสอง คือสหภาพยุโรป แต่ขนาดของสหภาพยุโรปก็จะมีขนาดเล็กกว่าขั้ว TPP อยู่มาก จึงน่าจะเกิดการแข่งขันที่จะยึดครองตลาดที่เหลือให้เข้ากับขั้วหนึ่งขั้วใด ซึ่งได้แก่ ตลาดแอฟริกา ตลาดตะวันออกกลาง และตลาดลาตินอเมริกา



ที่มา: กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

Source: //aspa.mfa.go.th/aspa/th/editor_picks/detail.php?ID=685

----------------------------------------------------------------------------





4846. การสัมมนาเวทีสาธารณะเพื่อนำเสนอ รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อสาธารณชน ต่อการจัดทำ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans - Pasific Partnership : TPP)

วันพุธ ที่ 28 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2556
เวลา 08.30 - 15.00 น.
ณ.ห้องเชียงแสน โรงแรม เซ็นทาราดวงตะวัน จังหวัดเชียงใหม่





4900. การสัมมนาเวทีสาธารณะเพื่อนำเสนอ รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อสาธารณชน ต่อการจัดทำ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans - Pasific Partnership : TPP)

วิทยาการผู้ร่วมการเสวนา ได้แก่.

1.คุณ พิทักษ์ อุดมวิชัยวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักอเมริกา และ การวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ กรมเจรการค้าระหว่างประเทศกระทรวงพาณิชย์.









4855.







04851. คุณ พิทักษ์ อุดมวิชัยวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักอเมริกา และการวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ กรมเจรการค้าระหว่างประเทศกระทรวงพาณิชย์






4861. ดร. รัชดา เจียสกุล. ผู้จัดการอาวุโส บริษัท ไบรอัน เคฟ (ประเทศไทย) จํากัด.






4876. คุณ.บัณฑูร วงศ์สีลโชติ วศ.บ.(เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) จุฬา ฯ. M.Sc. (University of Southampton, England). ประธานคณะกรรมการความยั่งยืนทางธุรกิจ อนุกรรมการฯ ปปช สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย.






4898. คุณ.สมิต ทวีเลิศนิธิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท นิธิฟู้ดส์ จำกัด กรรมการรองเลขาธิการ สภาหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่.






4873. การสัมมนาเวทีสาธารณะเพื่อนำเสนอ รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อสาธารณชน ต่อการจัดทำ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans - Pasific Partnership : TPP)







4883.







4884.







4842.







4844.





4906.







4909.








4907.







4904.


-----------------------------------------------------------------------------


Create Date : 28 สิงหาคม 2556
Last Update : 18 กันยายน 2557 17:03:56 น. 0 comments
Counter : 2895 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

moonfleet
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้ หากไม่เคยเป็นความฝันมาก่อน
New Comments
Friends' blogs
[Add moonfleet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.