" เรื่องราวต่างๆเป็นดั่งทองคำในเทพนิยาย เมื่อคุณแจกจ่ายไปมากขึ้น คุณก็ได้รับกลับมามากขึ้น " พอลลี แมคไกวร์
Group Blog
 
 
มิถุนายน 2552
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
22 มิถุนายน 2552
 
All Blogs
 

007.อบต.หนองควาย อ.หางดง จ.เชียงใหม่

อบต.หนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
โทร. 0-5312-5070



1.website อบต.หนองควาย อ.หางดง จ.เชียงใหม่
://www.nhongkhay.com/



2.website อบต.หนองควาย อ.หางดง จ.เชียงใหม่
://www.tambol.com/xyz/default.asp?itemno=501509
target=_blank>//www.nhongkhay.com/


3.ข้อมูลชุมนุมชนและกลุ่มประชาชนของตำบล
ตำบล หนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่



://www.thaitambon.com/tambon/tcommlist.asp?ID=501509






อบต.หนองควาย อ.หางดง จ.เชียงใหม่
เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลที่ได้คะแนนสูงที่สุด 9 ลำดับแรก ก่อนการนำเสนอผลงานนวัตกรรมเพื่อพิจารณาคัดเลือกให้รับรางวัลองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีการบริการจัดการที่ดี ประจำปี 2552 จังหวัดเชียงใหม่






ที่ทำการ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองควาย อ.หางดง จ.เชียงใหม่






























































1.นายสมคิด ยังเยี่ยม คลังจังหวัดเชียงใหม่ กรรมการ
2.นายดนัย เลียวสวัสดิพงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการ
3.นายอินสม ปัญญาโสภา ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการ
4.ผู้ประสานเครือข่ายองค์กรชุมชนจังหวัดเชียงใหม่หรือผู้แทน
นายเกรียงเดช เจริญทรัพย์ ประธานมูลนิธิไทยเพื่อการพัฒนา

ภาพประกอบ
การออกตรวจสอบผลการประเมินองค์การบริหารส่วนตำบลที่ได้คะแนนสูงสุด 9 ลำดับแรก

ก่อนการนำเสนอผลงานนวัตกรรมเพื่อพิจารณาคัดเลือกให้รับรางวัลองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีการบริหารจัดการที่ดี ประจำปี 2552 จังหวัดเชียงใหม่

เมื่อวันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน 2552 ช่วงเวลา 09.30 -12.30 น.







เชียงใหม่ นครแห่งชีวิต และ ความมั่งคั่ง




 

Create Date : 22 มิถุนายน 2552
8 comments
Last Update : 6 สิงหาคม 2554 21:33:38 น.
Counter : 4779 Pageviews.

 

ดูสะอาดตาจังคับ

อบต ใหญ่กว่าจวนผู้ว่าแล้วคับ

บั้งประธาน อบต ก็ใหญ่กว่า เจ้าเมือง3.5เท่า

วัดด้วยสายตา คร่่าวๆ อิอิ

กาลเวลาเปลี่ยน โลกก็เปลี่ยน

แต่ขอให้รักกันเหมือนเดิมนะคับ

Photobucket

 

โดย: hiansoon 29 มิถุนายน 2552 5:43:23 น.  

 

รบกวนช่วยขยายเขตไฟฟ้่าให้หน่อยนะครับ หมู่5บ้านข้างหลังป่าช้านะครับปากทางขึ้นวัดดอยเปานะครับ. อย่าบอกว่าไม่มีบ้าน เพราะไม่มีไฟแล้วจะไปมีบ้านไดไงครับ. ตอนนี้ชาวบ้านก่ต้อง ช่วยเหลือตัวเองไปบ้างก่จั้มไฟตำ่มาฝรั่งกไอเอาโซลาเชล ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะขยายใด้ครับ. ฝากผู้เกี่ยวข้องแลขนายกช่วยเหลือหน่อยนะครับ แล้วจะร้องเรียนไปทางนายกรัฐมนตรีอีกทางครับ

 

โดย: คนไม่มีไฟ IP: 27.55.115.153 14 กรกฎาคม 2553 21:40:20 น.  

 

ร้อยกว่าปีแห่งการอพยพจาก แม่เหียะ เชียงใหม่ ไปสู่ แม่เหียะ พร้าว

ส่วนที่ท่านจะอ่านต่อไปนี้เป็นบางตอนของที่มาเกี่ยวกับ "ประวัติบ้านแม่เหียะ เมืองพร้าว"
มาจากไหน เป็นอย่างไร

ข้อสังเกตของการอพยพ

การโยกย้ายถิ่นฐานมาอยู่บ้านเหล่า แม่เหียะ ต้นแหนนั้น กล่าวกันได้หลายประเด็น เช่น มาตามญาติที่ให้คำแนะนำ หรือหลบลี้หนีภัย หนีความอดอยากก็แล้วแต่จะคิดค้นหาข้อเท็จจริงกัน แต่ข้อสังเกตที่แสดงให้เห็นชัดเจนก็คือ มีคนไทลื้อจำนวนไม่น้อยที่มาอาศัยอยู่(ไทยลื้อนี้ถ้าเป็นคนลำพูนมักจะเรียกตัวเองว่า "คนยอง" เพราะอดีตอาจเคยอยู่ที่เมืองยองในพม่า) เชื่อว่าเป็นคนบ้านต้นแหน(ดอยสะเก็ด) ย้ายมาอยู่บ้านต้นแหน(พร้าว)(ปัจจุบันสำเนียงไทลื้อหายไปหมดสิ้น หลงเหลือแต่คำว่า บ่าเหมอนกั๋น(ไม่เหมือนกัน) บ่าหมี(ไม่มี) และลักษณะการแต่งกายของผู้หญิงที่นิยมเอาผ้าโพกศีรษะ ผู้เขียนจำได้ว่าทั้งแม่อุ้ยสม โปธาและแม่อุ้ยแก้วมาเรือน พวงมาลัย ยังใช้ผ้าโพกมัดศีรษะ เรียกว่าเอาผ้าเคียนหัว นุ่งซิ่นตีนจก และสำเนียงการพูดก็ไม่เหมือนปัจจุบัน เช่นการออกสำเนียงว่า "น้ำ" แม่อุ้ยจะออกสำเนียงเอียงไปทางเชียงใหม่ แต่ปัจจุบันมีการออกสำเนียง "น้ำ" เอียงไปทางเชียงราย

 

โดย: คนเมืองพร้าว IP: 124.122.44.25 4 ตุลาคม 2553 23:56:07 น.  

 

นอกจากนี้ยังมีคำกล่าวที่น่าสนใจเป็นอย่างมากเพราะเกี่ยวข้องกับการโยกย้ายมาอยู่ที่บ้านแม่เหียะ โดยที่ว่าคนบ้านแม่เหียะ(พร้าว)นี้ได้อพยพโยกย้ายมาจากบ้านแม่เหียะต๋องกาย ไปอยู่เมืองวะ ลวงเหนือ ดอยสะเก็ด แล้วจึงอพยพโยกย้ายขึ้นมาอยู่ที่แม่เหียะ และพ่อหนานอ้าย พวงมาลัยได้บอกไว้ว่าหมู่ที่ 5 (บ้านแม่แวน) หมู่ที่ 4 (บ้านป่าแขม) หมู่ที่ 3 (บ้านเหล่า) หมู่ที่ 2 (บ้านแม่เหียะ ต้นแหน) เพราะชาวบ้านต้องการอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลำน้ำแม่งัด เรื่องเหล่านี้เป็นประเด็นที่ยังต้องค้นคว้าสอบถามกันต่อไปว่าใครชวนใครมาอยู่ที่นี่ เพราะสาเหตุใด

ที่มาของบ้านแม่เหียะ
ตามคำกล่าวของผู้เฒ่าผู้แก่ที่ว่าบ้านเหล่า หมู่ 3 นั้นน่าจะมีมานานแล้ว เพราะมีหมู่บ้านและมีวัดที่ชื่อวัดต้นม่วงซึ่งพ่ออุ้ยหนานจัย ทองอินทร์ ได้เคยอุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่จำพรรษาที่วัดต้นม่วงนี้ และคาดเดาว่าประมาณ พ.ศ. 2450 - 2460 วัดต้นม่วงได้กลายเป็นวัดร้าง ส่วนบริเวณบ้านแม่เหียะนี้จะเคยมีใครมาตั้งบ้านเรือนอยู่ก่อนหน้านั้นแล้วหรือไม่ ยังเป็นข้อสันนิษฐานอยู่ และบางคนก็คิดว่าน่าจะเคยมีมาอยู่บ้างแล้ว แต่ก็อาจจะโยกย้ายไปอยู่ที่อื่น
คำว่า "แม่เหียะ" ชื่อนี้ตรงกับตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีประวัติความเป็นมาว่าประมาณ พ.ศ. 2414 คนบ้านต๋องกาย (ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่) ได้อพยพมาอยู่บ้านแม่เหียะ อำเภอพร้าว

 

โดย: คนเมืองพร้าว IP: 124.122.44.25 4 ตุลาคม 2553 23:57:03 น.  

 

ลำดับเหตุการณ์ที่น่าสนใจ

การให้ข้อมูลที่กล่าวอ้างถึงนี้พ่ออุ้ยหนานอ้าย พวงมาลัย ได้ลำดับเหตุการณ์ไว้ดังนี้

พ.ศ. 2414 คนบ้านต๋องกายได้พากันอพยพโยกย้ายจากเชียงใหม่จำนวน 5 ครอบครัวด้วยกัน คือ
1. ครอบครัว พ่ออุ้ยหนานปัญญา (หนานปั๋ญญามาตั้งบ้านอยู่บริเวณบ้านพ่อหลวงประสิทธิ์) ซึ่งพ่ออุ้ยหนานปัญญานี้เป็นบิดาของแม่อุ้ยเผือ และแม่อุ้ยเผือก็เป็นมารดาของแม่อุ้ยแก้วมาเรือน พวงมาลัย(มารดาของพ่อหนานอ้าย พวงมาลัย)
2. ครอบครัวของพ่ออุ้ยน้อยแก้ว เป็นอุ้ยหม่อนของนางต๋า ปันอิ่นแก้ว มาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณบ้านของนายสั้น นางต๋า
3. ครอบครัวของพ่ออุ้ยอ้ายโซ่ มาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณบ้านของแม่อุ้ยสา พ่อน้อยดวงจันทร์ พ่ออุ้ยอ้ายนุ้ยนี้เป็นอุ้ยหม่อนของแม่สา มาวัน พ่อน้อยปัน จิณะวัน
4. ครอบครัวของปู่อูบ มาตั้งอยู่บริเวณบ้านของพ่อน้อยดวง ศิริรักษ์ (อุ้ยหม่อนของพ่อน้อยดวง)
5. ครอบครัวของปู่ผัด เมื่ออพยพมาอยู่แม่เหียะเมืองพร้าวได้ไม่นานก็ทนคิดถึงบ้านเดิมไม่ได้ เลยอพยพกลับไปอยู่เชียงใหม่เหมือนเดิม

 

โดย: คนเมืองพร้าว IP: 124.122.44.25 4 ตุลาคม 2553 23:58:24 น.  

 

การมาอยู่ที่บ้านแม่เหียะเมืองพร้าวนั้นเป็นด้วยเหตุว่าอุ้ยหนานปัญญาพร้อมด้วยพรรคพวกได้มาค้าขายผ่านมาเห็นทำเลอันเป็นที่ตั้งของบ้านแม่เหียะปัจจุบันเหมาะสมแก่การแผ้วถางเป็นไร่เป็นนา ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านเหล่าหมู่ 3 ขึ้นมาทางเหนือและไม่ไกลกันมากนัก อีกอย่างก็มีน้ำเหมืองหลวงซึ่งคนหมู่ 5 ได้ทำไว้แล้ว ส่วนบ้านสันต้นแหนนั้นสันนิษฐานว่าน่าจะอพยพมาตั้งบ้านเรือนทีหลัง ในเวลาไล่เลี่ยกัน

พ.ศ. 2415 ได้เริ่มสร้างอารามสงฆ์ขึ้น
เมื่อมีการตั้งบ้านเรือนขึ้นก็อยากสร้างวัดวาอาราม หาที่พึ่งพาทางใจ จึงมีการสร้างวัดแม่เหียะขึ้น โดยนิมนต์พระสงฆ์รูปหนึ่งชื่อ พระเต๋จ๊ะ (เตชะภิกขุ) มาอยู่ โดยประวัติของพระภิกษุรูปนี้เดิมอยู่บ้านแม่เหียะเชียงใหม่ ต่อมาได้มาจำพรรษาอยู่ที่เมืองวะ ดอยสะเก็ด (มาอยู่วัดแม่เหียะเป็นเวลานานเท่าใดไม่ทราบ แต่ว่าหลังจากนั้นวัดแม่เหียะเกือบเป็นวัดร้าง ทั้งนี้เพราะหาพระภิกษุมาจำพรรษาไม่ได้ จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2460 จึงมีพระสงฆ์มาอยู่จำพรรษา)

พ.ศ. 2450 พ่อน้อยแก้ว เป็นผู้ใหญ่บ้าน และนับแต่นั้นอีกคนหนึ่งไม่ทราบว่าใครผู้ใหญ่บ้านต่อจากพ่อน้อยแก้ว แต่ช่วงปี พ.ศ. 2460 นั้น พวกเงี้ยวหรือไทยใหญ่ได้มีอิทธิพลครองงำเชียงใหม่ จึงมีคำว่า "แสน" หมายถึง พ่อหลวง, ผู้ใหญ่บ้าน, แก่บ้าน ดังนั้น นายสิริ สิทธิฤกษ์ จึงถูกเรียกว่า นายแสน

พ.ศ. 2460 ชาวบ้านได้ไปหานิมนต์พระสงฆ์มาอยู่ ในที่สุดได้พระโพธิ ซึ่งเป็นคนล้านตอง(สันกำแพง) ในขณะที่มาอยู่ที่วัดป่าฮิ้นเมืองพร้าว ท่านได้รับนิมนต์ให้มาอยู่วัดแม่เหียะ และมาอยู่วัดแม่เหียะได้ 8 พรรษาก็ลาสิกขา(พ่ออุ้ยหนานหลวง หรือ พ่ออุ้ยหนานโพธิ พวงมาลัย บิดาของพ่อหนานอ้าย พวงมาลัย) ในระหว่างนี้มีการขอตั้งนามสกุลกันคือ พ.ศ. 2465 - 2466 ทำให้นามสกุลต่าง ๆ เกิดขึ้นและอาจจะไปซ้ำกับคนอื่นทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่ญาติพี่น้องกัน

พ.ศ. 2468 พระสุกซึ่งเป็นรองเจ้าอาวาสขึ้นเป็นเจ้าอาวาส (พระสุกนี้เป็นน้องชายของพ่ออุ้ยสมตุ่น บ้านอยู่ติดวัดแม่เหียะทิศใต้)

พ.ศ. 2477 พระคำ เป็นเจ้าอาวาส และลาสิกขาปี 2485 (พ่ออุ้ยหนานคำ สมบูรณ์ / บ้านเหล่า)
พ.ศ. 2477 - 2481 โรงเรียนยังอยู่ในวัด เมื่อพ่ออุ้ยหนานอ้าย พวงมาลัย อยู่ชั้นประถมปีที่ 2 โรงเรียนก็ได้ย้ายออกจากวัด 2482 ไปอยู่ทางทิศเหนือของวัด มีนายกัลยา โปธา (นายถนอม โปธา / แก่สุก) และพระคำ เป็นครูสอน โดยในสมัยนั้นมีพระสงฆ์เป็นครูสอนหนังสือ

พ.ศ. 2485 พระอ้าย สารตฺถิโก เป็นเจ้าอาวาส จนถึงปี พ.ศ. 2500 ได้ลาสิกขา (พ่ออุ้ยหนานอ้าย เดชะ บ้านสหกรณ์แปลง 2)
พ.ศ. 2492 ได้มีการจับจองที่นากัน นาต่งแพะได้เริ่มมีการขุดทำคันนา ทำคลองระบบชลประทาน และน้ำเหมืองจากบ้านแม่เหียะลงไปบ้านเหล่านั้นได้ขุดขึ้นภายหลังจากมีการตั้งหมู่บ้านแม่เหียะแล้

พ.ศ. 2501 พระปัน ปวโร เป็นเจ้าอาวาส ได้ 3 ปีลาสิกขา (พ่ออุ้ยหนานปัน อัมรินทร์ / บ้านเหล่า)

พ.ศ. 2503 พระโชติ เป็นเจ้าอาวาส มรณภาพ พ.ศ. 2506 (มีการประชุมเพลิงใกล้ ๆ ลอมวัดน้อย / ซึ่งสมัยผู้เขียนเป็นเด็กเล็ก ประมาณ พ.ศ. 2513 ยังพากันไปส่องดูบาตรเก่าที่หลงเหลือเป็นเศษเหล็กวางไว้มีผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟังว่านั่นคือบาตรที่ยังเหลือไว้ให้เห็นจากการประชุมเพลิงของพระโชติ / ลอมวัดหน้อย)

พ.ศ. 2506 พระอธิการสม อินฺทจกฺโก มาจากลำพูน (คนอู้ยอง/ลื้อ) มาเป็นเจ้าอาวาส และเป็นอาจารย์ของผู้เขียน เพราะเมื่อผู้เขียนไปอยู่เป็นเด็กวัด หลวงพ่อรูปนี้ได้เริ่มสอนอักขระล้านนา(ตั๋วเมือง)ให้ เมื่อพระอธิการสมมรณภาพ 2524 พระประพันธ์ มหาวีโร รักษาการเจ้าอาวาสระยะหนึ่ง จากนั้นได้ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสที่วัดทรายแดง อำเภอแม่อาย

พ.ศ. 2530 พระอินสม ฐาวโร จากจังหวัดพะเยามาเป็นเจ้าอาวาส

พ.ศ. 2532 พระประถม ปัญญาธโร เป็นเจ้าอาวาส และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูพิศิษฏ์ปัญญาธร (เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน / รองเจ้าคณะอำเภอรูปที่ 2)

 

โดย: คนเมืองพร้าว IP: 124.122.44.25 4 ตุลาคม 2553 23:59:13 น.  

 

กลุ่มเพื่อน 5.63 โรงเรียนอุตรดิตถ์ ขอเชิญชวนให้ทุกท่านไปเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 3 ก.ค. 2554 และ ลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า วันที่ 26 มิถุนายน 2554 เวลา 08.00-15.00 น. ณ หน่วยเลือกตั้งทั่วประเทศ

 

โดย: กลุ่มเพื่อน 5.63 อ.ต. IP: 210.246.186.4 10 พฤษภาคม 2554 8:03:42 น.  

 

ฝารางระบายน้ำบ้านตองกายเหนือซอยเหนือวัดตองกาย(ซอยเข้าบ้านเลขานายก)ก่อสร้างเสร็จยังไม่ถึงปีฝารางเกิดความเสียหายแล้วช่วยซ่อมด่วนอีกเรื่องบริเวณถนนสายคลองชลประทานหน้าวัดตองกายตอนเช้ามีแม่ค้าขายอาหารขายอาหารข้างถนนซึ่งเป็นมลพิษทางสายตาเวลารถออกซอยมาไม่สามารถที่จะเห็นรถทางตรงได้จึงเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งช่วยแก้ไขโดยด่วนนะท่านนายกและ ส อบต.บ้านตองกาย

 

โดย: เอด IP: 223.204.16.7 18 พฤษภาคม 2554 21:15:50 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


moonfleet
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้ หากไม่เคยเป็นความฝันมาก่อน
New Comments
Friends' blogs
[Add moonfleet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.